fbpx

ศิลปะ-วัฒนธรรม 2566 : กระบองเพชรที่เติบโตบนทะเลทราย

‘ศิลปะและวัฒนธรรม คือกระจกสะท้อนภาพของสังคม’ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ปีวลีนี้ก็ยังคงเป็นจริงอยู่เสมอ

จากสถานการณ์สังคมและการเมืองที่เกิดขึ้นตลอดรอบปี 2566 ย่อมส่งผลมายังวงการศิลปวัฒนธรรมของไทยและโลกไม่มากก็น้อย โดยในรอบปีที่ผ่านมาเราได้เห็นการลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้องสิทธิแรงงานในวงการศิลปะ ปัญหาที่เกิดขึ้นในวงการศิลปะและวัฒนธรรมอันเป็นผลมาจากปัญหาสังคมและการเมืองผ่านมุมมองของคนทำงาน

สังคมดี ศิลปะก็จะเติบโต แต่ในวันนี้ – วันที่สังคมไทยยังคงมีปัญหาการเมือง ปัญหาความเหลื่อมล้ำ หรือปัญหาอะไรมากมาย เรากลับเห็นผู้คนในแวดวงนี้ออกมาผลิตผลงานหรือเคลื่อนไหวมากมายไปในทิศทางที่ดีขึ้น สวนทางกับสังคมที่พวกเขากำลังอาศัยอยู่

101 ชวนย้อนอ่านชุดผลงานว่าด้วยแวดวงศิลปะและวัฒนธรรมในปี 2566 ที่จะสามารถสรุปภาพรวมของสังคมผ่านวงการนี้ว่า ‘แวดวงศิลปะและวัฒนธรรมในประเทศไทยนี้คงไม่ต่างอะไรไปจากกระบองเพชรที่เติบโตบนทะเลทรายหรอก’

ซอฟต์พาวเวอร์ที่อาจจะไม่นุ่มนวลต่อคนทำงาน

‘ซอฟต์พาวเวอร์’ อาจเป็นคำแห่งปีของปี 2566 เลยก็ว่าได้ เพราะรัฐบาลซึ่งมีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ โดยมองว่า ‘ซอฟต์พาวเวอร์’ จะเป็นเครื่องมือสำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจ จนทำให้หลายฝ่ายออกมาทั้งสนับสนุน โต้แย้ง จนไปถึงการบอกว่าสิ่งที่พรรคเพื่อไทยกำลังทำนั้นกำลังจะกลายเป็นเรือธงที่ส่อจะล่มปากอ่าว?

ในรอบปีที่ผ่านมา 101 มีโอกาสได้พูดคุยกับผู้คนในแวดวงทำงานศิลปะ ที่มาบอกเล่าถึงอุปสรรคในการรังสรรค์ผลงานออกมาในสังคมที่มีกรอบและเพดานเช่นนี้อย่างสังคมไทย จนทำให้มองได้ว่าซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทยอาจจะไม่นุ่มนวลต่อคนทำงานมากสักเท่าไหร่

ตลอดจนการพาผู้อ่านไปสำรวจวงการศิลปวัฒนธรรมรอบโลกซึ่งมีทั้งการลุกออกมาเคลื่อนไหวจากคนทำงาน ไปจนถึงการใช้ผลงานเพื่อต่อต้านความไม่ปกติที่เกิดขึ้นในประเทศของพวกเขา


ความทรหดและอุปสรรคผ่านสุ้มเสียงของเหล่าคนทำงาน

ฉากสังคมไทยในนาฏกรรม slow burn กับจารุนันท์ พันธชาติ

“อุตสาหกรรมหนังไทยไม่เคยเล่นกันเป็นทีม” หนังไทยในยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงโดย อุ๋ย-นนทรีย์ นิมิบุตร

“เราไม่เคยสนเลยว่ากระแสหนังจะเป็นแบบไหน ยังไงหนังเราก็หาเงินทำยากเท่าเดิม” ขันขื่นของชีวิตกับ เป็นเอก รัตนเรือง

“อยากทำหนัง ก็ต้องหนังเหนียว (ไม่งั้นเดี๋ยวได้ตายสมใจแน่)” อาคมแคล้วคลาดเพื่อคนทำหนังไทยของ ก้องเกียรติ โขมศิริ

‘Breaking the Cycle’: คุยกับสองผู้กำกับท่ามกลางข้อวิจารณ์ว่า ‘ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ต่างอะไรจากโฆษณาชวนเชื่อ’

#ComicsBrokeMe (นัก) วาดทั้งน้ำตา : เมื่อวงการนักวาดกำลังทำลายสายผลิต

Dystopia Now? ผีร้ายของสังคมไทย ในคราบทุนนิยมและรัฐเผด็จการ – ธีระวัฒน์ มุลวิไล


เซนเซอร์และการผูกขาด อุปสรรคใหญ่ของวงการภาพยนตร์

เปลี่ยนกระทรวงวัฒนธรรมเกรดซี ให้เป็นหัวหอกของซอฟต์พาวเวอร์

โรงหนัง-สายหนัง และชะตากรรมหนังไทยปัจจุบัน กับ อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล

ปรากฏการณ์โรงหนังเทรอบฉาย: “ก็โรงหนังเขามาทำธุรกิจ ไม่ได้มาทำการกุศล!” (รู้แล้วจ้า)

ก้อง ฤทธิ์ดี: เมื่อภาพยนตร์ไม่ใช่แค่เรื่องธุรกิจและการสร้างสรรค์ไม่เกิดบนการเซนเซอร์

สุพรรณหงส์ วงการหนังไทย เรื่องชวนเจ็บหัวใจ : เมื่อ ‘ไม่มีใคร’ เหลียวแลคนทำหนังอิสระ

ร่าง พ.ร.บ. ภาพยนตร์และเกมฉบับใหม่ ภายใต้กรอบ ‘ศีลธรรมอันดี’ : ชลิดา เอื้อบำรุงจิต

แกะสูตรความสำเร็จของ ‘สัปเหร่อ’ จะทำหนังไทย มีหัวใจก็อาจยังไม่พอ


สำรวจเหตุการณ์รอบโลกในแวดวงศิลปวัฒนธรรม

Hollywood strikes ใครที่ได้และใครที่เจ็บ: ปลายทางของนายทุนกับแรงงาน

Hollywood writers strike ความเป็นธรรมในอุตสาหกรรมไร้หัวใจ

Myanmar Diaries เมื่อการทำหนังคือการต่อต้าน

“เราไม่สามารถชนะสงครามด้วยกวีนิพนธ์ แต่กวีเป็นประจักษ์พยานต่อสงครามได้” ‘เซอร์ฮี ซาดาน’ กวียูเครนผู้ต่อต้านจักรวรรดินิยมรัสเซีย

Female Gaze มองหนังผ่านสายตานักวิจารณ์หญิง และพื้นที่ของนักวิจารณ์ในภาพยนตร์โลก

ท่องกระแส ‘ประวัติศาสตร์นอกกระแส’

7 สิงหาคม พ.ศ. 2566 นับว่าเป็นวันที่มีข่าวสะเทือนวงการวิชาการและประวัติศาสตร์ เมื่อนิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ไทยเสียชีวิตลงในวัย 83 ปี ที่จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับนิธิคงกล่าวได้ว่าเป็นนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ที่พยายามบอกเล่าประวัติศาสตร์ให้ขยับออกไปจากกระแสความคิดหลักของสังคม

นอกจากนี้ใน 101 ยังมีผลงานมากมายที่เป็นการขยายมุมมองต่อประวัติศาสตร์ทั้งไทยและต่างประเทศเพื่อเปิดมุมมองความคิดของผู้อ่าน และร่วมจดบันทึกประวัติศาสตร์ที่อาจจะไม่เคยถูกบันทึกในหนังสือเรียน


นิธิ เอียวศรีวงศ์ ปัญญาชนแห่งสาธารณะ

‘ว่างแผ่นดิน’ ในประวัติศาสตร์ล้านนา

รฤกแด่ปัญญาชนแห่งสาธารณะ : ประชาธิปไตยในการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมไทย จากปลายปากกาของ ‘นิธิ เอียวศรีวงศ์

ธงชัย วินิจจะกูล: สู่หน้าถัดไปของประวัติศาสตร์สามัญชนในยุค ‘Post-นิธิ เอียวศรีวงศ์’

หมายเหตุวัฒนธรรมร่วมสมัย


อ่านประวัติศาสตร์ไทยใหม่

14 ตุลา ถึง 6 ตุลา กับการต่อสู้ของผู้หญิงที่ไม่เคยได้รับการจารึกในหน้าประวัติศาสตร์

โภชนาธิปไตย : ประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ปลายลิ้น กับ ชาติชาย มุกสง

คำปาฐกถาเรื่อง ‘เขียนสังคมใหม่ เขียนประวัติศาสตร์ประชาชน’ หรือ ‘เขียนประวัติศาสตร์ชาติด้วยประวัติศาสตร์ประชาชน’

“ความยุติธรรมก็เป็นอีกชีวิตหนึ่งในสังคม” ความยุติธรรมในสายธารประวัติศาสตร์แห่งบาดแผล: ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

จาก 14 ตุลาฯ ถึง 6 ตุลาฯ: การปรากฏขึ้นของความคิดเหมาอิสม์ในปัญญาชนไทยและรายงานการสดับตรับฟังของสันติบาล


ประวัติศาสตร์รอบโลกที่อาจไม่ถูกจดบันทึก

เปิดประวัติศาสตร์ที่ถูกปิด: สำรวจ ‘เหวิน เหม็ง’ หอนางโลมไต้หวันอายุร้อยปี

ทัศนียภาพใหม่ของประวัติศาสตร์สิงคโปร์

หมายเหตุของหญิงผู้มาเยือนพิพิธภัณฑ์แห่งความไร้เดียงสา

ในออสเตรเลีย บรรพบุรุษของเกือบทุกคนต่างเป็นผู้ย้ายถิ่น

การจากไปของ Malcolm Deas – การสูญเสียครั้งสำคัญของวงการลาตินอเมริกันศึกษา

หนังสือ หนังหา และหน้าตาของเรื่องเล่า

‘หนังสือคือเงาสะท้อนแห่งยุคสมัย’ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน หนังสือก็จะเป็นเหมือนสมุดจนบันทึกความรู้สึก เหตุการณ์ที่ผู้เขียนพบเห็น จนไปถึงอารมณ์ของพวกเขาต่อสถานการณ์ที่พบเจอข้างหน้า ตลอดปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาที่สังคมไทยเป็นเหมือนยุคสมัยแห่งความเปราะบาง หนังสือจึงกลายเป็นเหมือนเงาสะท้อนของสังคม และความสนใจของผู้คนในสังคมเลยก็ว่าได้ หากหนังสือใดได้รับความสนใจจากผู้คน นั่นย่อมแสดงให้เห็นถึงอารมณ์ของสังคมนั้น


เรื่องราวชีวิตและสังคมระหว่างบรรทัด

ความน่าจะอ่าน 2023: การเมือง-วรรณกรรม-คนทำหนังสือ ในยุคสมัยอันเปราะบางและแตกฉานซ่านเซ็น

การแปลหนังสือสะท้อนสังคมอาจแก้ปัญหาโดยตรงไม่ได้ แต่ย่อมเปิดทางแห่งการต่อสู้ให้ผู้คนได้ – ภัควดี วีระภาสพงษ์

ความรักของวัลยา วิวัฒน์ศร “การแปลวรรณกรรมมอบชีวิตที่มีความหมาย”


สังคมอยู่ในหนังสือ หนังสืออยู่ในสังคม สำรวจสังคมไทยและเทศผ่านโลกตัวอักษร

หนังสือปฏิวัติ 2475 ที่ปรีดี พนมยงค์ แนะนำให้อ่าน

มีเรื่องอยู่มากมายในนวนิยาย “กัลป์วิบัติ”

มิลาน คุนเดรา และเสียงหัวเราะอันหนักอึ้งเหลือทนของเหล่าเทวดา: คำอุทิศและคำสารภาพจากนักอ่านเฟมินิสต์

กลับไปอ่าน “มันมากับการเลือกตั้ง” ของ ศรีดาวเรือง อีกครั้งในวาระก่อนการเลือกตั้ง 2566

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save