fbpx

20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.World เดือนสิงหาคม 2566

นักวิทย์ไทยไส้แห้ง (?) : ฟังเสียงที่บอกว่าวิทยาศาสตร์ไม่อาจเบ่งบานในสังคมขาดการสนับสนุนจากรัฐ

101 พาไปตรวจสอบสมมติฐานที่เขาว่ากันว่าอาชีพนักวิทยาศาสตร์หรือนักวิจัยในไทยนั้น ‘ไส้แห้ง’ จนคนไม่เลือกเรียน ฟังเสียง 2 นักวิจัย อดีตนักเรียนทุนรัฐบาลเพื่อเปิดไปสู่ภาพใหญ่ว่ารัฐไทยจริงจังกับการสนับสนุนวิทยาศาสตร์มากแค่ไหน

จากประชามติอัปยศสู่วันไม่ได้เข้าสภา : ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ กับความหวังดีที่ไม่อยากเห็นเพื่อไทยผิดสัญญาประชาชน

101 สนทนากับ ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ อดีต ส.ส. เชียงใหม่จากพรรคเพื่อไทย ต่อประเด็นรัฐธรรมนูญปี 60 และสัญญาณการจัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้วของเพื่อไทย

ผีทักษิณ-เข้าค่ายทหาร-โดนจอดำ: ประทีป คงสิบ กับชีวิตที่วอยซ์ทีวี จากวันแรกจนจากลา

101 คุยกับประทีป คงสิบ อดีต ผอ.วอยซ์ทีวี ว่าด้วยเรื่องการปลุกปั้นวอยซ์ทีวี เขาคิด-เขาทำงานสื่ออย่างไร และเขามองหน้าตาการเมืองไทยอย่างไรในอนาคต

ไม่มีเสรีภาพทางวิชาการในมหาวิทยาลัยชายขอบ

สมชาย ปรีชาศิลปกุล ชวนมองการคุกคามเสรีภาพในทางวิชาการ โดยเฉพาะในเรื่องที่กระทบกับความมั่นคงของอำนาจนำทางการเมือง

ทำไมนักเรียนกฎหมายจึงต้องอ่านงานประวัติศาสตร์

สมชาย ปรีชาศิลปกุลชี้ชวนให้เห็นความสำคัญที่นักกฎหมายจำเป็นต้องอ่านงานประวัติศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการตีความกฎหมายโดยเข้าใจสังคม

จากเสื่อผืนหมอนใบ สู่รถโรลส์-รอยซ์ : มองวิวัฒนาการทุนจีนในไทยและเอเชียอุษาคเนย์ กับ ‘ยศ สันตสมบัติ’

101 ชวนศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร.ยศ สันตสมบัติ มองเส้นทางวิวัฒนาการของทุนจีนในภูมิภาคอาเซียนถึงไทย ประวัติศาสตร์การเติบโตของเศรษฐกิจแดนมังกร และความท้าทายของเศรษฐกิจไทย

สถาปัตยกรรมภายใต้เขี้ยวเล็บเสรีนิยมใหม่ : ดักลาส สเปนเซอร์

101 สนทนากับ ดักลาส สเปนเซอร์ อาจารย์สาขาวิชาประวัติศาสตร์และทฤษฎีวิพากษ์เชิงวิจารณ์ ที่มหาวิทยาลัยบักกิงแฮมเชอร์ ชิลเทิร์นส์ในสหราชอาณาจักร เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมในระบอบเสรีนิยมใหม่ ที่ชวนยึดโยงมาถึงกรณีศษลเจ้าแม่ทับทิมและสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ ในเวลานี้

ถึงคราวอวสาน ‘รายการเด็ก’ บนทีวีไทย (?) เมื่อเด็กไทยเป็นแค่ผู้บริโภคที่ไร้สิทธิไร้เสียง : คุยกับ มรรยาท อัครจันทโชติ

101 คุยกับ มรรยาท อัครจันทโชติ ถึงการหายไปของรายการเด็กบนโทรทัศน์ไทย และหาทางออกว่าทำอย่างไรเด็กๆ ได้สิทธิในการรับสื่อเด็กคุณภาพคืนมา

อัตราการว่างงานของหนุ่มสาวจีน : สะท้อนวิกฤตเศรษฐกิจขาลง

อาร์ม ตั้งนิรันดร เขียนถึงอัตราการว่างงานของคนรุ่นใหม่ในประเทศจีนที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ สะท้อนวิกฤติเศรษฐกิจและความไม่มั่นคงในประเทศจีน

From Online to Real Life : แด่ความรักอันเกิดจาก ‘พรหมลิขิต’ ในนามของ ‘อัลกอริทึม’ – วิลาสินี พนานครทรัพย์

ทำความเข้าใจวัฒนธรรม ‘ปัดขวาหาคู่’ ไปกับ ผศ.ดร.วิลาสินี พนานครทรัพย์ อาจารย์สาขาสังคมวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผีคณะราษฎร-ผีคอมมิวนิสต์-ผีทักษิณ: ไตรภาคชัยชนะปีกอนุรักษนิยม สู่บทใหม่ ‘ผีก้าวไกล’

ประทีป คงสิบ ชวนไล่เรียงประวัติศาสตร์การเมืองไทยฉบับย่อ ผ่านเรื่องราวของผีคณะราษฎร ผีคอมมิวนิสต์ ผีทักษิณ และผีก้าวไกล ที่หลอกหลอนปีกจารีตมาอย่างยาวนาน

“Barbie (2023) เป็นเฟมินิสต์เกินไป (?)” : สำรวจประเด็นจิกกัดปิตาธิปไตยในโลกสีชมพู

101 ชวนสำรวจประเด็นจิกกัดปิตาธิปไตยในภาพยนตร์เรื่อง Barbie หาคำตอบว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ยัดเยียดสิทธิทางเพศมากไป หรือสะท้อนสังคมชายเป็นใหญ่จริง

มือที่มองไม่เห็นของ อดัม สมิธ: คำถามใหญ่ว่าด้วย ‘ธรรมชาติของมนุษย์’  

อั๊บ สิร นุกูลกิจ กะเทาะแนวคิด ‘มือที่มองไม่เห็น’ ของบิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ อดัม สมิธ ซึ่งพบว่ายึดโยงถึงความเป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์

เลือกตั้งประธานาธิบดีสิงคโปร์ 2023 – หยั่งเสียงวัดใจประชาชน ในห้วงวิกฤตศรัทธารัฐบาลพรรค PAP

101 ส่องสนามเลือกตั้งประธานาธิบดีสิงคโปร์ 2023 ที่จะชี้วัดความเชื่อมั่นประชาชนต่อพรรค PAP ท่ามกลางวิกฤตใหญ่ของพรรค และการเตรียมผลัดใบ

ความล่มสลายของสถาบันรัฐประหาร (ตอนที่ 1): รัฐประหารในประเทศไทยและการทำให้รัฐประหารเป็นสถาบันทางการเมือง

ธนาพล อิ๋วสกุล ชวนมองเรื่องความล่มสลายของ ‘สถาบันรัฐประหาร’ ผ่านบทความชุด 3 ตอน โดยในตอนแรกนี้ชวนมองรัฐประหารแต่ละครั้งในประเทศไทยและการทำให้รัฐประหารเป็นสถาบันทางการเมือง

หมายเหตุวัฒนธรรมร่วมสมัย

นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เขียนถึงนิธิ เอียวศรีวงศ์ ผ่านผลงานของนิธิและความทรงจำส่วนตัว อันสะท้อนภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยที่กำลังเกิดขึ้นตรงหน้า

‘ไร้สัญชาติ จึงไร้ความมั่นคง’ ชีวิตเปราะบางของเด็ก-ครอบครัวข้ามชาติในแม่สอด กลางวิกฤตโควิดและรัฐประหารพม่า

101 ลงพื้นที่สำรวจชีวิตเด็กและครอบครัวข้ามชาติในแม่สอด ที่แขวนบนความเปราะบางท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 และรัฐประหารพม่า

13 บุปผาแห่งนานกิง : สงครามมิเคยสร้างวีรสตรีหรือวีรบุรุษ มีเพียงแต่ทำให้มนุษย์กลายเป็นปีศาจ

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์ เขียนถึงหนังสือ ’13 บุปผาแห่งนานกิง’ กับโศกนาฏกรรมครั้งประวัติศาสตร์ที่ถูกเรียกขานว่า ‘เหตุการณ์สังหารหมู่นานกิง’

OPPENHEIMER ความสำเร็จอันเลิศเลอ เจอทีเผลอแห่งปฏิกิริยาลูกโซ่

‘กัลปพฤกษ์’ เขียนถึง Oppenheimer (2023) ภาพยนตร์ความยาวร่วมสามชั่วโมงลำดับล่าสุดของ คริสโตเฟอร์ โนแลน ในแง่มุมของการวิพากษ์วิจารณ์ประวัติศาสตร์ที่อเมริกาอยากลืม แต่ขณะเดียวกัน ก็ดูเหมือนตัวหนังยังพยายามประนีประนอมทางความรู้สึกของคนดูชาวอเมริกันอยู่ด้วย

เมื่อการรู้เฉพาะกฎหมายไม่เพียงพอ: จินตนาการใหม่ถึงนักกฎหมายที่สังคมต้องการ กับ ปารีณา ศรีวนิชย์

101 คุยกับ ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงการปรับตัวของการเรียนการสอนนิติศาสตร์ ความคาดหวังต่อนักกฎหมายที่เปลี่ยนไป และบทบาทของนักกฎหมายที่จะมีส่วนร่วมสร้างความยุติธรรมในสังคม

ผลงานใหม่เดือนสิงหาคม 2566 ของ 101PUB – 101 Public Policy Think Tank ศูนย์ความรู้นโยบายสาธารณะ

ถ้วนหน้า vs คัดกรอง: มุมมองทางการคลังต่อการจัดสรรเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

101 PUB ชวนคิดเรื่องการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบถ้วนหน้าและแบบคัดกรองผ่านมุมมองทางการคลัง แต่ละรูปแบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

ฟ้องคดีแบบกลุ่ม: ความยุติธรรมที่ผู้บริโภคไม่อาจเอื้อมถึง

101 PUB ชวนสำรวจปัญหาในการเข้าถึงการฟ้องคดีแบบกลุ่มของผู้บริโภค และแนวทางการแก้ไขเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

รายการและคลิปวิดีโอยอดนิยม เดือนสิงหาคม 2566

Upskill Reskill จะอยู่กันอย่างไร เมื่อโลกบอกให้เราต้อง ‘เก่งขึ้น’

สำหรับมนุษย์ทำงาน เรากำลังเข้าสู่ยุคสมัยที่การ Upskill และ Reskill หรือคือการเรียนรู้เพื่อเพิ่มและพัฒนาทักษะใหม่ๆ ให้ตัวเอง กลายเป็นหนึ่งในสิ่งที่ ‘จำเป็น’ เพื่อให้เรา ‘อยู่รอด’ ต่อไปได้ ในการจะเพิ่มและพัฒนาทักษะ คำถามคือเราควรเรียนอะไรใหม่บ้าง โลกกำลังเรียกร้องอะไรจากเราอีก และรัฐบาลหรือหน่วยงานต่างๆ ควรเป็นผู้ประคับประคองมนุษย์ทำงานอย่างเราๆ มากน้อยแค่ไหน

101 POSTSCRIPT Ep.79 : การเมืองของการเจรจา

การเจรจาต่อรองเพื่อจัดตั้งรัฐบาลยังดำเนินไปอย่างเข้มข้น การเมืองของการเจรจาสะท้อนความก้าวหน้า หรือเป็นสัญญาณว่าการเมืองไทยกำลังถอยหลัง

101 POSTSCRIPT Ep.80 : มีลุงและมีเรา

ผลโหวตนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ‘เศรษฐา ทวีสิน’ สะท้อนอะไร เราเห็นอะไรบ้างในการจับมือกับ 2 ลุง และการกลับบ้านของทักษิณ

ASEAN บ่มีไกด์ EP.23: เผด็จการหรือวีรบุรุษ? ‘ฮุน เซน’ แบบไหนที่กัมพูชาจดจำ

ASEAN บ่มีไกด์ พาไปดูว่าคนกัมพูชาคิดอย่างไรกับ ฮุน เซน อดีตผู้นำกัมพูชาที่เพิ่งส่งต่อเก้าอี้ให้ลูกชาย หลังครองอำนาจยาวนาน 38 ปี

101 One-on-one Ep.306 เลี้ยงเด็กหนึ่งคน ใช้คนทั้งหมู่บ้าน: พัฒนาเด็ก-เยาวชนใน กทม. สู่นโยบายเชิงโครงสร้าง กับ ศานนท์ หวังสร้างบุญ

101 ชวนศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาพูดคุยว่าด้วยนโยบายพัฒนาเด็กเล็กในเมืองใหญ่ และชวนคุยภาพใหญ่ว่าด้วยปัญหาเชิงโครงสร้างเรื่องการพัฒนาเด็กไทย

“อ่าน ‘นิธิ’ ผ่านปฏิบัติการสร้างประชาธิปไตยทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ในสังคมไทย”

เสวนารำลึกความคิดและผลงานของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระและปัญญาชนสาธารณะคนสำคัญของไทย

101 One-on-One Ep.307 ‘ฟ้าใหม่การเมืองไทย-กัมพูชา ใต้เงาสัมพันธ์ทักษิณ-ฮุน เซน’ กับ ดุลยภาค ปรีชารัชช

101 ชวน ดุลยภาค ปรีชารัชช อาจารย์ประจำโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาสนทนาในเรื่องนี้

101 One-on-one Ep.308 นโยบายสวัสดิการภายใต้รัฐบาลใหม่

101 ชวน ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และฉัตร คำแสง ผู้อำนวยการ 101 Public Policy Think Tank มาสนทนาว่าด้วยนโยบายสวัสดิการไทยจากเบี้ยผู้สูงอายุ ถึงสวัสดิการอื่นๆ ที่คนไทยควรได้รับ

101 Public Forum เรียนได้ เรียนดี ไม่มีข้อจำกัด

101 ร่วมกับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ชวนพูดคุยกะเทาะปัญหาระบบการศึกษาที่ไม่ตอบโจทย์ชีวิตจริงของผู้เรียน ร่วมระดมสมองถึงนวัตกรรมรูปแบบต่างๆ ที่จะโอบรับคนแต่ละกลุ่มให้เข้าถึงการศึกษา และมองไปถึงโจทย์ใหญ่คือการยกระดับสู่สังคมแห่งการเรียนรู้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save