fbpx

20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.World เดือนตุลาคม 2566

เด็กจุฬาฯ รวยกว่าคนทั้งประเทศจริงไหม?

ร่วมหาคำตอบจากคำพูดที่ว่า “เด็กจุฬาฯ เป็นเด็กบ้านรวย” ผ่านแบบสำรวจฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และความเหลื่อมล้ำ ในนิสิตจุฬาฯ ปี 1 ปีการศึกษา 2566

ฉากทัศน์ต่อไปของอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่สั่นสะเทือนระเบียบโลกใหม่: ศราวุฒิ อารีย์

7 ตุลาคม กลุ่มฮามาสเปิดฉากขีปนาวุธกว่า 5,000 ลูกใส่อิสราเอล จุดชนวนความขัดแย้งซึ่งเดิมทีก็ไม่เคยดับหายไปอยู่แล้วให้ปะทุกว่าที่เคย จนอาจนับได้ว่านี่เป็นการต่อสู้ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่รุนแรงที่สุดในรอบทศวรรษ

จนถึงนาทีนี้ การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ยังดำเนินต่อไปโดยปราศจากทีท่าของความสงบหรือยุติลง 101 สนทนากับ ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงเงื่อนไขและตัวแปรของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น, ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและรัฐอาหรับ, อนาคตของปาเลสไตน์ ตลอดจนระเบียบโลกใหม่ที่ก่อตัวขึ้นมาหลังยุคสงครามเย็น

แกะสูตรความสำเร็จของ ‘สัปเหร่อ’ จะทำหนังไทย มีหัวใจก็อาจยังไม่พอ

‘สัปเหร่อ’ (2566) สร้างปรากฏการณ์ทำรายได้ถล่มทลาย ดึงให้คนกลับไปดูหนังในโรงภาพยนตร์อีกครั้งในวันที่ดูเหมือนศรัทธาที่คนดูมีต่อหนังไทยจะจางหายไปทุกที

เฮบบรอนกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ความเหมือนที่แตกต่าง

ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ เล่าเรื่องจากการไปเที่ยวเมืองเฮบบรอน ในอิสราเอล ที่ทำให้เห็นภาพความขัดแย้งในพื้นที่ และเทียบเคียงได้กับกรณีสามจังหวัดภาคใต้

ความรักของวัลยา วิวัฒน์ศร “การแปลวรรณกรรมมอบชีวิตที่มีความหมาย”

101 พูดคุยกับวัลยา วิวัฒน์ศร นักแปลและอาจารย์ภาษาฝรั่งเศส ผู้เป็นเจ้าของผลงานแปลวรรณกรรมฝรั่งเศสเล่มสำคัญหลายเล่ม เป็นหนึ่งในนักแปลและบรรณาธิการคนสำคัญของการแปลวรรณกรรมฝรั่งเศสในประเทศไทย

Claudia Goldin เจ้าของรางวัลโนเบลเศรษฐศาสตร์ปี 2566: ผู้ทำให้เศรษฐศาสตร์เข้าใจผู้หญิงได้ดีขึ้น

เนื้อแพร เล็กเฟื่องฟู เขียนถึง Claudia Goldin เจ้าของรางวัลโนเบลเศรษฐศาสตร์ปี 2566 ผู้ทำให้เศรษฐศาสตร์เข้าใจผู้หญิงได้ดีขึ้น

อำนาจของภาพยนตร์: ว่าด้วยผู้คน เมือง และนิเวศทางวัฒนธรรม เมื่อการดูหนังไม่ใช่แค่เรื่องบันเทิง กับ ดร.วิกานดา พรหมขุนทอง

สกู๊ปว่าด้วยเรื่องราวของภาพยนตร์ ผู้คน และเมือง ที่ร่วมกันสร้างนิเวศทางวัฒนธรรมขึ้นมาในสังคม ผ่านความเห็นของวิกานดา พรหมขุนทอง

Monster: สัตว์ประหลาดคือคนอื่น

วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา เขียนถึง Monster ภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของ Kore-eda ผู้กำกับชาวญี่ปุ่น ว่าด้วยเรื่องที่ตั้งต้นจากตึกไฟไหม้ ไปจนถึงเรื่องราวของครู แม่เลี้ยงเดี่ยว และความสัมพันธ์ของเด็กชายสองคน

‘การกราดยิง’ สำรวจสาเหตุอันซับซ้อนของพฤติกรรมสังหารหมู่

เสกสิทธิ์ แย้มสงวนศักดิ์ ชวนมองสาเหตุอันซับซ้อนของเหตุการณ์กราดยิงผ่านงานศึกษาหลายชิ้นที่มุ่งศึกษาเรื่องความรุนแรง อาวุธปืน และสาเหตุทั้งในเชิงปัจเจกและเชิงสังคม

ชีวิตแรงงานไทยเปราะบางอย่างยิ่งต่อสงคราม: คุยกับ Yahel Kurlander ผู้ศึกษาชีวิตแรงงานไทยในอิสราเอล

101 คุยกับ Yahel Kurlander ผู้ศึกษาชีวิตแรงงานไทยในอิสราเอล ถึงความเปราะบางของชีวิตของแรงงานไทยทั้งในภาวะปกติและในช่วงสงคราม

ตรรกะการเมืองโลกและการกลับมาของภูมิรัฐศาสตร์ – คุยกับ มาร์ค ศักซาร์

101 สนทนากับมาร์ค ศักซาร์ ว่าด้วยตรรกะของการเมืองโลกในวันที่ภูมิรัฐศาสตร์กลายเป็นแว่นตาหลักในการเมืองระหว่างประเทศ

มิลาน คุนเดรา และเสียงหัวเราะอันหนักอึ้งเหลือทนของเหล่าเทวดา: คำอุทิศและคำสารภาพจากนักอ่านเฟมินิสต์

วริตตา ศรีรัตนา เขียนคำอุทิศถึงผลงานและชีวิตของมิลาน คุนเดรา นักเขียนผู้รื้อถอนและถ่ายทอดยุโรปกลางผ่านเรื่องเล่าของความเป็นมนุษย์ได้อย่างแหลมคมที่สุดคนหนึ่ง

ใครผูกขาด ‘โครงสร้างพื้นฐาน’ ภาคการเงินไทย?

รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ เขียนถึงโครงสร้างพื้นฐานของภาคการเงินสำคัญของไทยที่ถูกผูกขาดอยู่เพียงผู้ให้บริการไม่กี่บริษัท

“เราไม่เคยสนเลยว่ากระแสหนังจะเป็นแบบไหน ยังไงหนังเราก็หาเงินทำยากเท่าเดิม” ขันขื่นของชีวิตกับ เป็นเอก รัตนเรือง

กว่าสองทศวรรษที่ เป็นเอก รัตนเรือง ยืนอยู่ในสังเวียนการทำหนัง สมัยนั้นเขาแจ้งเกิดจากการเป็นคนทำโฆษณาที่ข้ามสายมาทำหนัง วันนี้ เขาข้ามสายอีกครั้งในฐานะคนทำหนังมาสู่คนทำซีรีส์ -แถมท้าทายกว่าตรงที่เขาออกตัวว่าไม่เคยดูซีรีส์อะไรกับใครเขาเลย

101 สนทนากับเป็นเอก ว่าด้วยการเขียนบทหนังและบทซีรีส์, งานกำกับและออกกองในวัย 61 ไล่เรื่อยไปจนถึงการเมืองและคนรุ่นใหม่

โขงชีมูล: มูนมังที่พังทลายของคนอีสาน

101 ชวนอ่านสารคดีว่าด้วยการจัดการน้ำโขงชีมูล โครงการที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตคนอีสานมานานกว่า 30 ปี คำตอบของการจัดการทรัพยากรคืออะไร

จาก ‘อนาคตใหม่’ ถึง ‘ก้าวไกล’ : บันไดสามขั้นสู่ทำเนียบรัฐบาล

คอลัมน์ My Voice เดือนนี้ ประทีป คงสิบ เขียนถึง ‘บันไดขั้นที่สาม’ ที่จะส่งก้าวไกลสู่การเป็นรัฐบาลในสมัยหน้า ข้อได้เปรียบ-เสียเปรียบและข้อควรระวังต่อจากนี้คืออะไร

ตรวจชีพจรเศรษฐกิจจีน กับ อาร์ม ตั้งนิรันดร

101 ชวนสนทนากับ อาร์ม ตั้งนิรันดรถึงสถานการณ์เศรษฐกิจจีนในปัจจุบัน อนาคตของศึกชิงมหาอำนาจทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับอเมริกา และถอดบทเรียนที่ประเทศไทยควรคว้าโอกาสไว้ในห้วงเวลานี้

‘และนี่คือเสียงของชาวเน็ต’ : เมื่อโซเชียลมีเดียคือ game changer การเมืองไทย?

พลวัตสิบปีของการเมืองไทยร่วมสมัย ปฏิเสธบทบาทของโซเชียลมีเดียได้ยาก เราจะทำความเข้าใจพื้นที่ที่เข้ามามีส่วนขยับทิศทางการเมืองนี้อย่างไร

ขั้วโลกเหนือ ตอนที่ 1: จากความเงียบงันสู่การแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์

ปิติ ศรีแสงนาม เล่าถึงพื้นที่ ‘ขั้วโลกเหนือ’ ที่กำลังเป็นอีกหนึ่งสมรภูมิการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างชาติมหาอำนาจ

ชวนอ่าน ‘สัตว์สงคราม’

ศุภมิตร ปิติพัฒน์ ชวนอ่านหนังสือ ‘สัตว์สงคราม’ ในบริบทที่ความรุนแรงในฉนวนกาซาปะทุขึ้นมาอีกครั้ง พร้อมตั้งคำถามถึง’อนาคต’ ที่ตั้งต้นจากสงครามในปัจจุบัน

ผลงานใหม่เดือนตุลาคม 2566 ของ 101PUB – 101 Public Policy Think Tank ศูนย์ความรู้นโยบายสาธารณะ

‘ครูกระจุก โรงเรียนกระจาย’ ปัญหาการจัดสรรครูไทยที่ต้องแก้ไขก่อนจะสายเกิน

101 PUB ชวนสำรวจปัญหาการขาดแคลนครูในโรงเรียนประเภทต่างๆ ซึ่งส่งผลเสียคุณภาพการศึกษา โดยรัฐสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการรวมโรงเรียนและจัดสรรครูใหม่

การวิเคราะห์รายงานติดตามการรวมธุรกิจระหว่าง ซี.พี. และ เทสโก้ โลตัส

101 PUB ชวนวิเคราะห์ ‘รายงานติดตามการรวมธุรกิจ CP-Tesco Lotus’ พร้อมสะท้อนปัญหาในการทำงานกำกับดูแลการแข่งขันของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า

Research and Policy Dialogue: ตั้งโจทย์+ตอบอนาคต ประเทศไทยในบริบทโลกใหม่ #1 “โฉมหน้าใหม่ของความเหลื่อมล้ำ”

ทำความเข้าใจความเหลื่อมล้ำหลากหลายมิติ อัพเดทสถานการณ์ทั่วโลก ย้อนกลับมาดูรูปธรรมของปัญหาความเหลื่อมล้ำของไทย วิเคราะห์โฉมหน้าของการผูกขาดแบบใหม่ ตั้งโจทย์เพื่อให้ได้ข้อถกเถียงใหม่ ที่จะตอบอนาคตการวางยุทธศาสตร์แก้ไขในระยะสั้นและระยะยาว

Research and Policy Dialogue: ตั้งโจทย์+ตอบอนาคต ประเทศไทยในบริบทโลกใหม่ #2 “ที่ทางไทยในโลกท้าทาย”

สำรวจโจทย์นโยบายและโจทย์วิจัยของประเทศไทยในบริบทโลกใหม่ ประเมินความท้าทายทางเศรษฐกิจ-สังคม-การเมืองจากพลวัตโลก ตั้งหลักจัดวางตำแหน่งแห่งที่ใหม่ของประเทศ และร่วมหาคำตอบเพื่อการปรับตัวสู่อนาคตของภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาควิชาการ และประชาชน

รายการและคลิปวิดีโอยอดนิยม เดือนตุลาคม 2566

ค.การเมือง EP.5 : นายกรัฐมนตรี Easy Job?

ชวนคุยเรื่องบทบาทนายกรัฐมนตรีของเศรษฐา ทวีสิน บางผลงานของรัฐมนตรีคนสำคัญ และการขึ้นสู่หัวหน้าพรรคเพื่อไทยของแพทองธาร ชินวัตร

‘ประเทศไทยในคมกระสุน: ชะตากรรมเด็กและสังคมไทยภายใต้โครงสร้างแห่งความรุนแรง’

101 ร่วมกับ คิด for คิดส์ – ศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว เปิดวงสนทนาทำความเข้าใจเหตุการณ์นี้อย่างรอบด้าน เพื่อหาคำตอบว่า สังคมไทยควรตั้งหลักรับมือเรื่องนี้อย่างไร ต้องทำอะไรบ้างเพื่อเยียวยาความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งต่อผู้เสียหายและต่อสังคม และถึงที่สุดแล้ว เราจะถอดบทเรียนอะไรเพื่อไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก

Digital Harassment – Silent Pain: แผลร้ายซ่อนลึกของนักกิจกรรม เมื่อถูกทำร้ายในโลกเสมือน

101 และ MOVE ชวนสำรวจบาดแผลเจ็บปวดของนักกิจกรรมการเมืองจากการถูกคุกคามทางออนไลน์ ที่หนักหนาสาหัสอย่างที่สังคมแทบไม่รับรู้มาก่อน

ผู้สูงอายุมีสิทธิไหมคะ? จุดสิ้นสุดการจ่ายเบี้ยยังชีพคนชราถ้วนหน้าหลังปรับเกณฑ์การรับเงิน

101 คุยกับคนที่อายุเกิน 60 ปีและที่กำลังจะอายุครบ 60 ปี ว่าการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การรับเบี้ยเลี้ยงผู้สูงอายุนี้ กระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่พวกเขาในมิติใดบ้าง

101 POSTSCRIPT Ep.84 : คำสาปนักวิชาการในระบบเลือกตั้ง

วิเคราะห์บทบาทนักวิชาการต่อการดำเนินนโยบายของพรรคการเมืองจากกรณีกระแสค้านเงินดิจิทัลของเพื่อไทย มองความขัดแย้งอิสราเอล-ฮามาส และผลกระทบต่อไทย

ASEAN บ่มีไกด์ Ep.25: ‘อิสราเอล-ปาเลสไตน์’ – กระแสเกลียดยิว ถึงยิวแห่งบูรพาทิศ ในอาเซียน

ชวยคุยถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกระแสต่อต้านยิวและยิวแห่งบูรพาทิศในชาติอาเซียน นับตั้งแต่ยุคอาณานิคม จนถึงยุคแห่งความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ในปัจจุบัน

เสวนาความน่าจะอ่าน 2023 – อ่าน 7 ที ดี 7 หน

ส่งท้าย ‘ความน่าจะอ่าน 2023 – อ่าน 7 ที ดี 7 หน’ ด้วยวงเสวนาจากคนทำหนังสือและนักวิชาการ มองภาพรวมแวดวงการอ่านและสังคมการเมืองไทยผ่านหนังสือขวัญใจในปี 2023

101 One-on-one Ep.311 ‘ตุลาฯ สนทนา’ กับ ใบตองแห้ง-อธึกกิต แสวงสุข

101 ชวน – ใบตองแห้ง – อธึกกิต แสวงสุข วิเคราะห์การเมืองไทย สนทนาอีกครั้งเพื่อทบทวนและให้ความหมายใหม่กับการเมืองในเดือนตุลาฯ ในว้นที่การเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยยังคงเป็นคำถามใหญ่ของสังคม

101 One-on-one Ep.312 เดิมพันใหญ่นโยบายเศรษฐกิจ? กับ พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย

101 ชวน ดร. พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ และหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร วิเคราะห์สังคมเศรษฐกิจไทยอันเนื่องมาจากนโยบายเงินดิจิทัล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save