fbpx

20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.World เดือนพฤศจิกายน 2566

ไม่มี ‘วิกฤต’ ในคัมภีร์ธุรกิจของ ‘สิงห์’ : สันติ – ภูริต ภิรมย์ภักดี

หากไม่เข้าถ้ำสิงห์ ไหนเลยจะรู้จักสิงห์ 101 คุยกับ สันติ- ภูริต ภิรมย์ภักดี ถึงภูมิปัญญาการบริหารคน องค์กร และการตลาดเบื้องหลังความสำเร็จของกลุ่มธุรกิจสิงห์

ถอดบัญญัติธรรมนูญ ‘จิราธิวัฒน์’ ไม่มีวิกฤตใดที่ฝ่าไปไม่ได้ : ทศ จิราธิวัฒน์

สำรวจธรรมนูญ ‘จิราธิวัฒน์’ 76 ปีของอาณาจักรเซ็นทรัลในฐานะหลอดเลือดใหญ่ของภาคธุรกิจไทย 101 สนทนากับ ทศ จิราธิวัฒน์ ทายาทรุ่นที่สามของตระกูล ผู้มุ่งหมายอยากพาเซ็นทรัลและประเทศไทยไปเฉิดฉายบนเวทีโลก

สดศรีสุริยา-อานันท์ : ความยินดีในชีวิตที่สดศรี

กษิดิศ อนันทนาธร เล่าประวัติของ ม.ร.ว.สดศรี ปันยารชุน ภริยาผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของอดีตนายกฯ อานันท์ ปันยารชุน

“ตำน้ำพริกละลายทะเล” ความเห็นของบริษัทเดินเรือต่อโครงการ ‘แลนด์บริดจ์’ ของไทย

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เขียนถึงโครงการแลนด์บริดจ์ที่รัฐไทยจะสร้างระเบียงเศรษฐกิจ แต่บริษัทเอกชนคิดว่าจะกลายเป็นการตำน้ำพริกละลายทะเลทิ้ง

มานิ : วิถีพรานในวารวันที่ป่าเปลี่ยน และชีวิตไร้สิทธิเสียงในเทือกเขา

101 ชวนอ่านสารคดีกลุ่มชาติพันธุ์ ‘มานิ’ ในภาคใต้ ว่าด้วยวิถีแบบพรานที่ต้องปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย ชีวิตที่เข้าไม่ถึงสิทธิ และถูกทิ้งไว้ข้างหลังเทือกเขา

เดวิด สเตร็คฟัสส์: วิวัฒนาการถอยหลังของการเมืองไทย และฉากทัศน์ต่อไปของราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

101 สนทนากับ เดวิด สเตร็คฟัสส์ (David Streckfuss) เส้นทางแห่งการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยในสายตาของเขาเป็นอย่างไร และถึงที่สุด ภาพของการเมืองการปกครองไทยที่เขาอยากเห็นหน้าตาเป็นแบบไหน

โดนตกจนเป็นติ่ง! : สำรวจความรักและวัฒนธรรม ‘แฟนด้อม’ นักการเมืองไทย

101 ชวนผู้อ่านเข้าไปสำรวจโลกของ ‘ด้อมการเมือง’ ทั้งเรื่องราวความรัก และการติ่ง ในวันที่หัวใจของพวกเขาโดนนักการเมืองตกไป

แล้วแต่ปุ๊ : ว่าด้วย ‘ประวัติศาสตร์ความทรงจำลวง’ ของ ปุ๊ ระเบิดขวด-แดง ไบเล่ ใน 2499 อันธพาลครองเมือง

อิทธิเดช พระเพ็ชร เขียนถึงประวัติศาสตร์ความทรงจำลวงของภาพยนตร์ 2499 อันธพาลครองเมืองที่กลายเป็นกลไกของชนชั้นผู้ปกครองสำหรับจัดการ ‘ความทรงจำทางการเมือง’ หรือ ‘ปกครองความทรงจำทางประวัติศาสตร์’

เงินเดือนน้อย กู้ง่าย จ่ายตลอดชีวิต: ขุดรากปัญหาหนี้ครูที่ตัวเลขไม่ได้บอก

101 เปิดปมปัญหาหนี้ครูจากปากคำของครู ที่สะท้อนรากของปัญหาหลายด้าน ทั้งค่านิยมในสังคม จำนวนเงินเดือนน้อย คุณภาพชีวิตครู การออกแบบการทำงานของครู ไปจนถึงพลังของทุนนิยม

‘พุทธธรรม’ พุทธแท้คืออะไร (?): การตีความธรรมะเพื่อตอบโจทย์สังคมที่พุทธไทยตามไม่ทัน

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ เขียนถึง ‘พุทธธรรม’ งานเขียนของ ป.อ.ปยุตฺโต ที่ถูกตีพิมพ์ซ้ำกว่า 44 ครั้ง นอกจากจะแสดงหลักวิชาทางพุทธศาสนา เนื้อหาที่ถูกปรับแต่งในการพิมพ์แต่ละครั้งยังเติบโตไปตามชีวิตผู้แต่งและสะท้อนบริบทสังคมในขณะนั้น

มากกว่าความโหยหา (Nostalgia) ใฝ่ชีวิตภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ (ที่รุ่นเราไม่มีใครจำได้)

วริตตา ศรีรัตนา ชวนอ่านและชวนดู Cosy Dens (1999) ภาพยนตร์จากสาธารณรัฐเช็ก ที่พูดถึงการเมืองเช็กผ่านครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวหนึ่งได้อย่างแสบสันต์และชวนเจ็บปวด

“ญี่ปุ่นเป็นมากกว่าซูชิ มีมากกว่าอนิเมะ” เอมะ ไรอัน ยามาซากิ คนทำหนังผู้สำรวจสังคมญี่ปุ่นผ่านสารคดีว่าด้วย ‘โรงเรียนประถม’

“คนญี่ปุ่นไม่ได้เกิดมาเป็นอย่างที่เราเห็นกันในเวลานี้ แต่พวกเราถูกการศึกษาหล่อหลอมต่างหาก”

เอมะ ไรอัน ยามาซากิ สำรวจสังคมญี่ปุ่นที่ถูกพิจารณาว่าเป็นสังคมแห่งระเบียบแบบแผน ผ่านการศึกษาชั้นประถมที่ทำให้เห็นว่า ระเบียบแบบแผนที่ว่านั้นไม่ได้เกิดขึ้นโดยตัวมันเอง หากแต่เป็น ‘ระบบ’ ของสังคมที่เชื่อมโยงกับการศึกษาอย่างแยกไม่ขาดต่างหาก

วิภาษวิธีของนายทาสกับทาส: การต่อสู้ครั้งสุดท้ายระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอล

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิเคราะห์การต่อสู้ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ผ่านวิภาษวิธีของนายทาสกับทาสของเฮเกล และชวนมองตัวอย่างการต่อสู้ของทาสผิวดำ

แด่คนเศร้า เหงา รักและร้าวราน สี่ทศวรรษในฐานะนักแสดงของ เหลียง เฉาเหว่ย

“ที่ผ่านมา ผมคาดหวังมาตลอดว่าจะเป็นนักแสดงที่เก่งขึ้น และการร่วมงานกับ หว่อง การ์ไว ก็ทำให้ผมได้บรรลุเป้าประสงค์นั้น”

101 มีโอกาสได้ฟัง Masterclass ของ เหลียง เฉาเหว่ย นักแสดงชาวฮ่องกงผู้เป็นที่รักจาก Chungking Express (1994), In the Mood for Love (2000) ฯลฯ โดยเขาย้อนไล่เรียงชีวิตการแสดงและการ ‘กลืนกลาย’ เป็นตัวละครของเขาตลอดสี่ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่ง 101 ถือโอกาสสรุปมาให้อ่านกันในบทความนี้

ดิจิทัลวอลเล็ต+ซอฟต์พาวเวอร์: สองเรือธง(ส่อ)ล่มปากอ่าว?

คอลัมน์ My Voice เดือนนี้ ประทีป คงสิบ ประเมินนโยบายรัฐบาลเพื่อไทย หลังผ่านมาแล้วสองเดือน นโยบายไหนทำได้ดี นโยบายไหนยังทำไม่ได้ และจะส่งผลต่อหน้าตาทางการเมืองในอนาคตอย่างไร

วัฒนธรรมผูกขาดกับการยึดกุมกลไกกำกับดูแลของทุนไทย – สฤณี อาชวานันทกุล

101 คุยกับ ‘สฤณี อาชวานันทกุล’ ว่าด้วยวัฒนธรรมผูกขาดและการยึดกุมกลไกกำกับดูแล เพื่อหาคำตอบว่า ทำไมการผูกขาดจึงเป็นเรื่องที่ต่อสู้ได้ยากในสังคมไทย

‘พัทยา’ ไขปริศนานวนิยายการเมืองสุดลึกลับ กับชีวประวัติที่ไม่เคยเปิดเผยของ ‘ดาวหาง’

สำหรับเดือนนี้ ‘กัลปพฤกษ์’ ชวนเปลี่ยนบรรยากาศด้วยการเล่าถึง ‘พัทยา’ นวนิยายการเมือง-สังคม ที่เขียนโดยนักเขียนลึกลับอย่าง ดาวหาง และต้องใช้เวลาร่วมแปดทศวรรษจึงจะพบเจอว่าแท้จริงแล้ว ดาวหางคือใคร

เศรษฐกิจพัฒนา แต่ชีวิตคนธรรมดาติดลบ: ทำความรู้จักระบบสวัสดิการผลิตภาพนิยมในเกาหลีใต้

โกษม โกยทอง ชวนทำความรู้จักระบบสวัสดิการในเกาหลีใต้ สำรวจว่าในประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างสวยหรู รัฐออกแบบนโยบายในการดูแลคุณภาพชีวิตประชาชนมากน้อยแค่ไหน และไทยสามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างไรบ้าง

ปฏิกิริยาของประเทศในลาตินอเมริกาต่อสงครามระหว่างกลุ่มฮามาสกับอิสราเอล

เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ ชวนมองปฏิกริยาของกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาที่มีต่อสงครามระหว่างกลุ่มฮามาสในปาเลสไตน์กับอิสราเอล

ผลงานใหม่เดือนพฤศจิกายน 2566 ของ 101PUB – 101 Public Policy Think Tank ศูนย์ความรู้นโยบายสาธารณะ

‘คนล้นคุก’: การจองจำในจารีตยุติธรรมแบบไทยๆ

101 PUB ชวนผู้อ่านร่วมสำรวจปัญหาคนล้นคุกและการใช้โทษจำคุกมากเกินความจำเป็น พร้อมวิเคราะห์ว่าทำไมการปฏิรูปที่ผ่านมาถึงไม่ประสบผลสำเร็จ

ราชการไทย ‘โปร่งใส’ ด้วยการทำเว็บไซต์ตอบเกณฑ์วัดผล?

101 PUB ดึงผลคะแนน ITA ย้อนหลัง 5 ปีมาวิเคราะห์ เจาะเบื้องหลังวิธีคิดคำนวนว่าราชการไทยโปร่งใสดั่งคะแนนที่พุ่งทะยานจริงหรือไม่

ITA อุตสาหกรรมผลิตคุณธรรมกลบเกลื่อนความจริง?

คะแนนคุณธรรมและความโปร่งใสของไทยพุ่งสูงขึ้นทุกปี ไม่ใช่เพราะคอร์รัปชันลดลงแต่เป็นเพราะหน่วยงานราชการทำเว็บไซต์ตอบเกณฑ์ประเมินกันเก่งขึ้น!

ต้นทุนการคลังไทย ในยุคดอกเบี้ยแพง

101 PUB ชวนสำรวจแนวโน้มต้นทุนการคลังในอนาคต ในยามที่เศรษฐกิจโลก/ไทยเข้าสู่ “ยุคดอกเบี้ยแพง” ภาระดอกเบี้ยของรัฐจะเพิ่มเท่าไหร่ ? จะต้องใช้งบประมาณอย่างไรในยุคดอกเบี้ยแพง ?

ปฏิรูปสถาบันทางการเมืองอย่างไรให้ตรงใจเยาวชน?

ปฏิรูปสถาบันทางการเมืองอย่างไรให้ตรงใจเยาวชน?

101 PUB ชวนสำรวจปรากฏการณ์ที่สถาบันการเมืองแทบไม่หลงเหลือความน่าเชื่อถือในสายตาเยาวชน พร้อมทั้งเข้าใจว่าเยาวชนใฝ่ฝันถึงการปฏิรูปในแนวทางอย่างไร ผ่านข้อมูลผลสำรวจเยาวชนของ คิด for คิดส์

การคลังไทยในเงามืด – สำรวจภูมิทัศน์ของเงินนอกงบประมาณ

101 PUB ชวนสำรวจภูมิทัศน์เงินนอกงบประมาณที่มีขนาดใหญ่แต่ตรวจสอบยาก พร้อมคิดหาวิธีเพิ่มความโปร่งใสและใช้เงินนอกงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น

ควบรวม AIS + 3BB ระยะสั้นมาตรการยังรับมือได้แต่ระยะยาวจะไหวหรือไม่?

หลังควบรวม AIS + 3BB กสทช. ได้ประกาศมาตรการ 22 ข้อ เพื่อกำกับดูแลตลาดเน็ตบ้าน 101 PUB จึงชวนผู้อ่านประเมินว่ามาตรการดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่?

EIA EHIA! เสือกระดาษแห่งวงการสิ่งแวดล้อมไทย

101 PUB ชวนอ่านปัญหาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยที่ยังเต็มไปด้วยช่องว่าง พร้อมทั้งแนวทางอุดรอยรั่ว เพื่อทำให้เกิดการพัฒนากระบวนการประเมินผลกระทบที่มีประสิทธิภาพ

การกำกับดูแลเนื้อหาสื่อที่ยึด ‘คน’ เป็นหัวใจ: บทเรียนจากต่างประเทศ และ กสทช.

101 PUB ชวนประเมินการกำกับดูแลเนื้อหาสื่อของ กสทช. ที่ผ่านมา และตั้งหลักการกำกับดูแลเนื้อหาสื่อในยุคใหม่ ที่มีหลักสิทธิมนุษยชนเป็นแกนกลาง

รายการและคลิปวิดีโอยอดนิยม เดือนพฤศจิกายน 2566

Video Highlight: Future | Crisis – บทเรียนสร้าง ‘อนาคต’ จาก ‘วิกฤต’ ของธุรกิจไทย

Video Highlight : “Future | Crisis” — เปิดตำราฝ่า ‘วิกฤต’ + ฝึกวิชาค้นหา ‘อนาคต’ กับ 15 นักธุรกิจแถวหน้าของสังคมไทย ในวาระครบรอบ 90 ปี หอการค้าไทย

คน-ป่า มานิ : ชีวิตไร้สิทธิในเทือกเขา

101 พาคุณสำรวจชีวิตของชาวมานิในเทือกเขาบรรทัด จังหวัดสตูล ที่ต้องเปลี่ยนไปจากอดีต แต่ยังคงไม่ได้รับสิทธิอย่างที่ควรจะเป็น

ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 : ฟังเสียงจากประชาชนผู้ถือสิทธิ์ถึงรัฐบาล

101 ชวนรับฟังเสียงจากประชาชนจากหลากหลายจังหวัด ถึงความรู้สึกต่อเงื่อนไขการใช้นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต และค่าใช้จ่ายแฝงที่ซ่อนอยู่ในพื้นที่การใช้งาน เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงสิทธิ์ได้อย่างเท่าเทียมกัน 

101 POSTSCRIPT Ep.85 : ดิจิทัลวอลเล็ต – เมื่อทุกทางออกมีปัญหา

อะไรคือจุดตายและเดิมพันใหญ่ของนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการทำนโยบายสาธารณะและการเมืองไทย คุยใน 101 Postscript คุยข่าวนอกสคริปต์

PRESSCAST EP.40 : เล่าเรื่องอินเดียเพราะ ‘ชาติที่แล้วคงเกิดเป็นแขก’

คนอินเดียเสพสื่อแบบไหน คนไทยมีภาพจำคนอินเดียผ่านสื่ออย่างไร รับฟังผ่านประสบการณ์ของ ชาติที่แล้วคงเกิดเป็นแขก ได้ใน PRESSCAST EP.40

101 One-on-one Ep.313 เพื่อไทยหล่นให้ไกลต้น กับ สรวงศ์ เทียนทอง

101 ชวน สรวงศ์ เทียนทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทยสนทนาว่าด้วย โจทย์และการปรับตัวของพรรคเพื่อไทยในภูมิทัศน์การเมืองใหม่ที่พรรคไม่ได้การันตีเบอร์ 1 อีกต่อไป

101 One-on-one Ep.314 รัฐธรรมนูญเพื่อประชาชน กับ ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล

101 ชวนมายด์ – ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล สมาชิก #conforall – กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ สนทนาว่าด้วยความคาดหวังของภาคประชาชนต่อกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญใหม่ และอะไรคือสิ่งที่เราควรต้องจับตามอง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save