fbpx

20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.World เดือนมกราคม 2566

คู่มือ ‘ขายวิญญาณ’ เพื่อตำแหน่งวิชาการในมหาวิทยาลัย

สมชาย ปรีชาศิลปกุล เขียนถึง 4 ประเด็นที่พึงตระหนักของผู้ขอตำแหน่งวิชาการ จากประสบการณ์มากกว่าทศวรรษในกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการในสถาบันการศึกษา

เปลี่ยนการเรียนการสอบนิติศาสตร์ ด้วยกระดาษ A4 หนึ่งใบ

สมชาย ปรีชาศิลปกุล ชวนคิดถึงการเปลี่ยนรูปแบบการประเมินความรู้ความสามารถของนักเรียนกฎหมาย โดยแนวทางที่เขาทดลองเริ่มต้นด้วยกระดาษ A4 หนึ่งใบ

“ฉันนี่แหละรอยัลลิสต์ตัวจริง” ความหวังดีจาก ‘ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์’ ถึงสถาบันกษัตริย์ไทย ในยุคสมัยการเมืองไร้เพดาน

101 คุยกับ ‘ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์’ ถึงภูมิทัศน์การเมืองไทย การเลือกตั้งหลังผ่านปรากฏการณ์ ‘ทะลุเพดาน’ และอนาคตของสถาบันกษัตริย์ไทยในสายตา ‘รอยัลลิสต์ตัวจริง’

“จุดไฟแล้วส่งต่อ อย่าให้ดับ” วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ในวันที่ต้องยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงใช้เวลามากกว่าที่คิด

101 ชวน วรเจตน์ ภาคีรัตน์ มองภาพกว้างสังคมไทยว่าเราควรทำความเข้าใจอย่างไรต่อระบอบการปกครองที่เป็นอยู่นี้ คุณค่าหลักที่อยู่ในรัฐธรรมนูญคืออะไรและจะส่งผลอย่างไรต่อการต่อสู้ทางการเมือง จนถึงประเด็นที่ชวนคิดต่อการเลือกตั้ง 2566

เราจะทำอย่างไรให้อาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ต้องขายวิญญาณ

เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง ชวนสนทนาต่อจากบทความ ‘คู่มือขายวิญญาณ’ ของสมชาย ปรีชาศิลปกุล ที่ชี้ให้เห็นปัญหาของระบบการขอตำแหน่งวิชาการ

ในคลื่นลมแห่งความสงบ ความรุนแรงก็ปรากฏตัว สังคมไทยในสายตาของ ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น

ปี 2565 เคลื่อนผ่านอย่างนิ่งสงบ คำถามคือนั่นเป็นความสงบที่หลอกตาเราอยู่หรือไม่ หรือยังมีพายุก่อตัวเงียบเชียบอยู่ 101 สนทนากับ ศาสตราจารย์ ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น ในโมงยามที่รัฐเลือกใช้ความรุนแรงผ่านกฎหมายมากกว่าโล่และกระบอง

วรรณกรรมไทยร่วมสมัยเท่าที่เข้าใจ: บทรำพึงรำพันและทบทวนความเข้าใจวรรณกรรมไทยของข้าพเจ้า

ความคิดเห็นของ อาทิตย์ ศรีจันทร์ ที่มีต่อแวดวงวรรณกรรมไทยในรอบปี 2022 ที่ผ่านมา ทั้งในแง่การความหมายของวรรณกรรมสร้างสรรค์แบบร่วมสมัย และอิทธิพลต่อเสรีนิยมใหม่ที่ทำปฏิกิริยาต่อนักเขียนไทยด้วย

อาเซียนในเค้าลางพหุภาคีใหม่ กับไทยในระบอบการเมืองที่ไร้ซึ่งความแน่นอน: มองเศรษฐกิจ กับ แก้วกมล พิทักษ์ดำรงกิจ

101 ชวน แก้วกมล พิทักษ์ดำรงกิจ มองทิศทางเศรษฐกิจไทย-อาเซียน ในกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก และการเลือกตั้งไทย 2023

สปีลเบิร์ก 101 Spielberg

‘นรา’ ชวนชม ‘Spielberg’ สารคดีชีวิตผู้กำกับหนังชื่อดังแห่งยุค สตีเวน สปีลเบิร์ก ซึ่งร้อยเรียงเรื่องราวโดยนักทำหนังสารคดีมือฉมัง ซูซาน เลซี

THE BANSHEES OF INISHERIN เพื่อนกินต้องแหนงหน่าย เมื่อเพื่อนตายคอยหน่วงเหนี่ยว

The Banshees of Inisherin (2022) คือภาพยนตร์ดราม่าที่ว่าด้วยเรื่องแสนเรียบง่าย เมื่อวันหนึ่งเพื่อนรักไม่อยากคบเราอีกต่อไป! งานลำดับล่าสุดของ มาร์ติน แมกโดนาห์ ที่ ‘กัลปพฤกษ์’ ชวนสำรวจไวยากรณ์และการเล่าเรื่องแสนเรียบง่ายให้ได้ละเมียดกินใจจนยากจะต้านทาน

ช่องโหว่ของกฎหมายอาญาไทย กรณีการซื้อผลงานทางวิชาการ

ดิศรณ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ วิเคราะห์กรณีการซื้อผลงานทางวิชาการว่าอาจไม่สามารถเอาผิดตามกฎหมายอาญาได้ เนื่องจากช่องโหว่ของกฎหมายไทย

ทำไมคนรวยถึงแล้งน้ำใจ?

รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ ชวนดูงานทดลองเชิงพฤติกรรมที่บ่งชี้ว่ากลุ่มคนร่ำรวยมักแล้งน้ำใจยิ่งกว่ากลุ่มคนยากจน พร้อมวิเคราะห์ว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

มีผู้แปล Romeo and Juliet มาเป็นภาษาไทยก่อนในหลวงรัชกาลที่ 6

อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ เขียนถึงประวัติศาสตร์การแปลผลงานของเชกสเปียร์ Romeo and Juliet มาเป็นภาษาไทย ที่ใครหลายคนอาจไม่เคยรู้

Blue Again: สีครามหมายความเหมือนใจมนุษย์

วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา เขียนถึง Blue Again หนังไทยที่ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวางในช่วงที่ผ่านมา ว่าด้วยชีวิตของหญิงสาวที่กลับบ้านมาเพื่อสานต่อธุรกิจย้อมคราม ตัดสลับกับห้วงชีวิตในมหาวิทยาลัยที่เธอ ‘เป็นอื่น’ กับสังคม

การมอดไหม้ที่พ้นผ่านไปนานแล้ว… เหลือไว้เพียงความชำรุดและบอบช้ำ

อาทิตย์ ศรีจันทร์ เขียนถึงหนังสือรวมเรื่องสั้นของ ทานเกวียน ชูสง่า ‘การมอดไหม้ที่พ้นผ่านไปนานแล้ว’ สำรวจภาพความแตกสลายของคนแต่ละรุ่นในครอบครัวใหญ่ของสังคมไทย

ลูกทุ่งหันขวา: ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมในเพลงลูกทุ่ง อุดมการณ์อนุรักษนิยมช่วงทศวรรษ 2510

อ่านพลวัตและเนื้อหาในเพลงลูกทุ่งช่วงปี 2510-2519 เมื่อ ‘ลูกทุ่งหันขวา’ มีบทบาทต่อการสร้างอุดมการณ์ทางการเมืองของคนในสังคม

Cyberspace: ภูมิรัฐศาสตร์-เศรษฐกิจใหม่ และความขัดแย้งในอนาคต

ปิติ ศรีแสงนาม เขียนถึง cyberspace พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ใหม่ที่อาจลุกลามเป็นสนามแห่งความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์-เศรษฐกิจของโลก

ASEAN Foundation กับการออกนอก Comfort Zone

ปิติ ศรีแสงนาม เขียนถึงการก้าวออกจาก comfort zone ของตนสู่บทบาทใหม่ในฐานะประธาน ASEAN Foundation กับภารกิจพามูลนิธิออกจาก comfort zone

‘โรคยังระบาด สงครามยังรบต่อ อากาศยังผันผวน’ โลก 2023 ในวันที่ยังไม่เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ กับ สุรชาติ บำรุงสุข

ในเมื่อโลกยังไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ 101 สนทนากับ สุรชาติ บำรุงสุข ศาสตราจารย์กิตติคุณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วยโจทย์วิกฤตโลกที่เรายังต้องเผชิญต่อไปในอนาคต ทิศทางของระเบียบโลกกลางสงครามเย็นครั้งใหม่ในศตวรรษที่ 21 และที่ทางของการเมืองไทย-การต่างประเทศไทยในกระแสลมแห่งการเลือกตั้ง

เมื่อกระบวนการยุติธรรมไม่ตรงไปตรงมา การอดอาหารจึงเกิดขึ้น : ว่าด้วยเงื่อนไขและการถอนประกัน 112

101 คุยกับกุณฑิกา นุตจรัส ทนายความคดี 112 ถึงสถานการณ์การถอนประกัน และปัญหาของเงื่อนไขประกันที่เกิดคำถามในเชิงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม

ผลงานใหม่เดือนมกราคม 2566 ของ 101PUB – 101 Public Policy Think Tank ศูนย์ความรู้นโยบายสาธารณะ

สุขภาพใจที่อยู่ไกลเกินเอื้อมของเด็กและวัยรุ่นไทย

สำหรับเด็กและวัยรุ่นในหลายจังหวัด การเข้าถึงบริการทางจิตเวชโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ยังคงเป็นเรื่องที่อยู่ไกลเกินเอื้อม คิด for คิดส์ ชวนสำรวจสถานการณ์สุขภาพใจเด็กและเยาวชนไทยผ่านมิติเชิงพื้นที่ของการให้บริการด้านจิตเวชในหนึ่งแผนที่

หยุดขุดหลุมฝังประเทศด้วย 'เงินอุดหนุนเกษตรกร' แบบเดิมๆ

หยุดขุดหลุมฝังประเทศด้วย ‘เงินอุดหนุนเกษตรกร’ แบบเดิมๆ

101 PUB ชวนสำรวจปัญหาความยากจนของเกษตรกรไทย เข้าใจช่องโหว่ของนโยบายเงินอุดหนุนเกษตรกรในปัจจุบันที่ยิ่งทำก็เหมือนยิ่ง ‘ขุดหลุมฝังประเทศ’ พร้อมทั้งเสนอแนวทางเปลี่ยนสวัสดิการเติมรายได้ให้สามารถยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

เปิดสถิติเรียนพิเศษนักเรียนไทย: เมื่อโรงเรียนไม่อาจพาเด็กไปถึงฝั่ง

คิด for คิดส์สำรวจสถิติการเรียนพิเศษของนักเรียนไทย จำนวน 12,999 คน จากข้อมูลการสำรวจเยาวชนไทย 2022 ที่มุ่งสำรวจความรับรู้ คุณค่า และทัศนคติของเยาวชนไทย ซึ่งรวมไปถึงประเด็นด้านการศึกษาและการเรียนพิเศษ

เห็นตัวเลข ไม่เห็นหัวใจ: สถิติสุขภาพจิตไทยที่ต้องทบทวน

คิด for คิดส์ ชวนทบทวนตัวเลข เครื่องมือ และสถิติด้านจิตเวชที่ยังต้องปรับปรุงให้ ‘มองเห็น’ ปัญหาสุขภาพใจของคนไทยอย่างครบถ้วนยิ่งขึ้น

ทำไมพยาบาลจิตเวชถึงไม่มีเวลาทำงานจิตเวช?

คิด for คิดส์ ชวนฟังเสียงของคนทำงานจิตเวชด่านหน้าที่ต้องแบกรับภาระงานรอบด้าน ภายใต้แรงกดดันของ ‘ตัวชี้วัด’ ในบริบทพื้นที่ห่างไกล ซึ่งย้อนกลับมาสร้างปัญหาให้กับการกระจายบุคลากรด้านจิตเวชที่ขาดแคลนอยู่แล้ว

รายการและคลิปวิดีโอยอดนิยม เดือนมกราคม 2566

‘ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์’ การเลือกตั้งไม่เปลี่ยนอะไร ถ้าพรรคการเมืองไม่(กล้า)พูดเรื่องสถาบันกษัตริย์

101 คุยกับ ‘ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์’ ถึงประเด็นการเลือกตั้งปี 2566 หลังผ่านปรากฏการณ์ ‘ทะลุเพดาน’ ว่าจะออกมามีหน้าตาเป็นอย่างไร? จะเป็นความหวังในการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยได้หรือไม่? หรือสุดท้าย สังคมไทยยังคงตกอยู่ในวังวนปัญหาเดิมๆ ต่อไป ถ้าพรรคการเมืองไม่(กล้า)พูดถึงการเปลี่ยนแปลงระดับโครงสร้างอำนาจจริงๆ

ฤดูกาลผักแพง ต้นทุนที่(ต้อง)ยอมจ่าย

เมื่ออุปสงค์และอุปทานไม่สมดุลกัน ราคาผักบางชนิดจึงแพงขึ้น ผลลัพธ์จึงตกอยู่กับพ่อค้าแม่ค้าที่เปิดร้านอาหารที่ต้องแบกรับต้นทุนวัตถุดิบ โดยที่ก็ไม่อาจขึ้นราคาสินค้า บางรายอย่างมากก็เพียงแค่ปรับลดปริมาณลดลง พูดอย่างถึงที่สุด ไม่ว่าจะอย่างไร ประชาชนย่อมเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงนี้

101 POSTSCRIPT คุยข่าวนอกสคริปต์ กับ วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ EP.61 : ปีใหม่ ‘คนใหม่’ ไหวไหม บอกมา

เมื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเปิดตัวกับพรรครวมไทยสร้างชาติอย่างเป็นทางการ นับหนึ่ง ‘นักการเมืองอาชีพ’ เป็นครั้งแรก แม้ผู้มาร่วมงานจะเต็มพื้นที่ความจุ และภาพที่ออกมาจะดู ‘ไม่ธรรมดา’ แต่คำถามมีอยู่ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นภาพจริง หรือภาพลวงที่ถูกสร้างขึ้น

101 POSTSCRIPT คุยข่าวนอกสคริปต์ กับ วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ EP.62 ‘ตกปลาบ่อพี่’ – พลังประชารัฐแตก?

การเปิดตัวอย่างเป็นทางการของพลเอกประยุทธ์กับพรรครวมไทยสร้างชาติทำให้ ‘ตลาดนักการเมือง’ กลับมาคึกคักร้อนแรงอีกครั้ง การหานักการเมืองมาสังกัดพรรคให้ได้มากที่สุด แต่สถานการณ์นี้กลับทำให้เกิดข้อวิจารณ์ว่า ‘ตกปลาบ่อพี่’ เมื่อนักการเมืองส่วนใหญ่ที่มีแนวโน้มถูกดูดคือ นักการเมืองจากค่ายพลังประชารัฐของพลเอกประวิตร

101 POSTSCRIPT คุยข่าวนอกสคริปต์ กับ วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ EP.63 : ‘ไม่ฆ่าน้อง … ไม่ฟ้องนาย?’

พลเอกประยุทธ์และพลเอกประวิตร ต่างชิงลงพื้นที่ตัดหน้ากันชนิดลืมพี่ลืมน้อง ในขณะที่การออกมาวิจารณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ของจตุพร ก็ขึ้นหน้าหนึ่งเขย่าความสัมพันธ์

101 Round Table ‘จับตาอนาคตไทยและโลก ปี 2023’

101 เปิดวงสนทนา Round Table ชวนพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย, อาร์ม ตั้งนิรันดร และประจักษ์ ก้องกีรติ คุยถึงปัญหาและโอกาสที่รออยู่ในปี 2023

101 One-on-One Ep.286: กทม. 2566 ข้อจำกัด ความเป็นไปได้ และอนาคต กับ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

101 ชวน ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ มาชวนคุยลึกและทบทวนช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาคุยถึงกรุงเทพฯ ผ่านประสบการณ์บริหารโดยตรง

101 One-on-One Ep.287 อดอาหารกี่ครั้ง ตุลาการจึงจะเป็นธรรม? : สมชาย ปรีชาศิลปกุล

101 ชวน รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คุยถึงความผิดปกติในกระบวนการถอนประกันตัว สิทธิที่ขาดหายของผู้ต้องหาคดีการเมือง และปัญหาที่เกิดขึ้นในแวดวงตุลาการ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save