fbpx
20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.World เดือนกุมภาพันธ์ 2563

20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.World เดือนกุมภาพันธ์ 2563

20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.World เดือนกุมภาพันธ์ 2563

 

20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.World เดือนกุมภาพันธ์ 2563

 

 

‘สื่อเกิดขึ้นมาทำไม’ เมื่อคำถามเก่าๆ คือทางออกของสื่อยุคใหม่ กับ พรรษาสิริ กุหลาบ

 

โดย ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์, ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์

:: #ต้องรอด ผลงานใหม่ของ The101.world ที่จะมาตอบคำถามว่าด้วยอนาคตการเปลี่ยนแปลงของวิชาชีพ และการเรียนในคณะต่างๆ พาสำรวจสถานการณ์ที่น่าสนใจของแต่ละวงการ พร้อมแนวคิดการปรับตัวสู่ทางรอด ::

ประเดิมตอนแรกด้วย #วารสารศาสตร์ต้องรอด ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์ คุยกับ อาจารย์ ดร.พรรษาสิริ กุหลาบ จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วยปรากฏการณ์-ความท้าทายของสื่อยุคปัจจุบัน และคุณสมบัติการเป็นนักวารสารศาสตร์ที่ต้องมีทั้งทักษะ ทัศนคติ และความเข้าใจในบทบาทของสื่อ

“การที่ ‘เสรีภาพของสื่อคือเสรีภาพของประชาชน’ ก็เพราะประชาชนต้องมีเสรีภาพในการที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร คิดเห็นอะไรก็สามารถใช้พื้นที่ต่างๆ ในการสื่อสารไปยังรัฐ หรือภาคส่วนอื่นๆ ในสังคมได้ สื่อจึงเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดประชาธิปไตยในการสื่อสาร และส่งเสริมสิทธิในการสื่อสาร”

“หากประชาชนบอกว่าอยากได้สื่อบันเทิง เอาสนุก ก็ได้ ไม่มีปัญหา แต่สื่อและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ต้องกลับมาคิดว่า สนุกอย่างเดียว ดราม่าอย่างเดียวได้หรือ เนื้อหาของเราจะทำให้เขาใช้ชีวิตได้ดีขึ้นหรือ สังคมเราจะพัฒนาได้หรือหากคนต้องการแค่นี้”

“ยิ่งในยุคที่มีข้อมูลเท็จ ข้อมูลที่ถูกปล่อยมาเพื่อหวังผลประโยชน์บางอย่างเยอะมากๆ นักวารสารศาสตร์ยิ่งต้องทำงานหนักเพื่อกลั่นกรองว่า เป้าประสงค์ของการสื่อสารข้อมูลเหล่านั้นคืออะไร การบอกว่าข้อมูลนี้จริงไม่จริง ถูกไม่ถูก อาจไม่เพียงพอ แต่ต้องสามารถอธิบายได้ว่าทำไมเขาต้องปล่อยข้อมูลเท็จแบบนี้ออกมา”

“การเรียนการสอนวารสารศาสตร์ควรจะส่งเสริมการไหวรู้ (sensitise) ต่อสรรพสิ่งรอบตัวทั้งความอยุติธรรมและความรื่นรมย์ในสังคม สร้างพื้นที่ให้กับคนที่ไม่มีสิทธิมีเสียง ให้ความเป็นธรรมและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ทุกฝ่าย มุ่งแสวงหาทางออกเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างสร้างสรรค์ และไม่ใช้ความรุนแรง”

“การที่นักวารสารศาสตร์และองค์กรสื่อปฏิบัติอย่างไม่ชอบธรรม ทั้งในกระบวนการได้มาซึ่งข้อมูล ข้อมูลที่นำมาเสนอ และวิธีการนำเสนอ ก็ถือเป็นการมองไม่เห็นความเป็นมนุษย์หรือไม่เห็นว่าคนนั้นเป็นมนุษย์เหมือนคนอื่นๆ ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยที่เห็นคนเท่าเทียมกัน”

“สื่อยังพอมีความหวัง เพราะฉะนั้นเราอย่าไปมองภาพใหญ่แล้วคิดว่าจะเปลี่ยนมันได้ในวันนี้ เราค่อยๆ เคลื่อนไป เหมือนต้นไม้ที่โตแทรกคอนกรีตขึ้นมา มันยากและนาน แต่ใครจะมาแก้มัน ถ้าไม่ใช่เรา”

 

Crash Landing On You: ตาม “สหายผู้กอง” ไปซื้อของที่ “จังมาดัง”

Crash Landing On You: ตาม “สหายผู้กอง” ไปซื้อของที่ “จังมาดัง”

 

โดย จักรกริช สังขมณี

คอลัมน์ #ชาติพันธุ์ฮันกุก ตอนใหม่ จักรกริช สังขมณี เขียนถึง Crash Landing on You ซีรีส์ชื่อดัง กับภาพสังคมเกาหลีเหนือ ผ่าน ‘จังมาดัง’ พื้นที่สีเทาทางเศรษฐกิจ สถานที่ที่สหายผู้กองพยายามไปเสาะแสวงหาข้าวของเครื่องใช้มาให้ให้กับ ยุนเซรี

“ความปกติของตัวละครและความสัมพันธ์ทางสังคมในเนื้อเรื่อง ก่อให้เกิดความขุ่นเคืองใจต่อกลุ่มชาตินิยมในเกาหลีใต้อยู่ไม่น้อย ดังที่มีข่าวว่า พรรคคริสเตียนเสรี (Christian Liberal Party) แจ้งความฟ้องร้องสถานีโทรทัศน์ ในฐานที่นำเสนอภาพเกาหลีเหนือที่มีความ “ปกติสุข” และ “มีเสน่ห์” มากเกินไป”

“ในเกาหลีใต้ เป็นที่รับรู้กันว่า ‘ตลาด’ เกี่ยวข้องอย่างมากกับการสร้างชาติและการพัฒนาอุตสาหกรรม ตลอดจนมีส่วนสำคัญในการจัดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ธุรกิจ และประชาชน

“ในทางตรงกันข้าม ภายใต้ระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ของเกาหลีเหนือ ในเชิงทฤษฎีแล้ว ตลาดเป็นสิ่งซึ่งไม่สมควรมีอยู่ นั่นก็เพราะในระบบดังกล่าวรัฐเป็นเจ้าของที่ดินและทรัพยากรการผลิต ผลผลิตที่ได้ทั้งหมดถูกระดมเข้าเป็นของรัฐ”

“จังมาดัง (장마당) มาจากการการผสมระหว่างคำว่า ซิจัง (시장) ซึ่งแปลว่า ตลาด เข้ากับคำว่า มาดัง (마당) ซึ่งหมายถึง ลาน หรือพื้นที่ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก จังมาดัง หมายถึงตลาดที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย มีลักษณะคลุมเครือ ไม่เป็นสถาบันที่ถูกควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จ และเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีความเป็นท้องถิ่นสูง”

“ปัจจุบันมีจังมาดังกระจายตัวอยู่ในเกาหลีเหนือประมาณ 400-500 แห่ง นอกจากสินค้าและอาหารที่ผลิตได้ในท้องถิ่นแล้ว มีการลักลอบแลกเปลี่ยนสินค้าต้องห้ามนานาชนิดโดยเฉพาะจากเกาหลีใต้ ตั้งแต่อาหารนำเข้า อุปกรณ์การดำรงชีพ เครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์ เสื้อผ้า เครื่องสำอางค์ ไปจนถึงสินค้าแฟชั่นต่างๆ”

 

เอาศูนย์การค้าคืนไป เอาสวนสาธารณะคืนมา

เอาศูนย์การค้าคืนไป เอาสวนสาธารณะคืนมา

 

โดย วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

“ขอแสดงความเสียใจกับชาวกรุงเทพมหานครในสภาวะที่ต้องเจออากาศเป็นพิษทุกปี”

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เขียนถึงความน่าเสียดายของการตัดสินใจแบ่งพื้นที่สวนมักกะสันที่ควรจะเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่สุดใจกลางเมืองไปให้เอกชนสร้างศูนย์การค้าและโรงแรม

“หากสวนสาธารณะแห่งนี้เกิดขึ้นได้ ต้นไม้ในสวนนี้จะสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 604 ตันต่อปี เพิ่มก๊าซออกซิเจนบริสุทธิ์ให้ผู้คนได้หายใจ 441 ตันต่อปี

“งานวิจัยล่าสุดพบว่าต้นไม้ใหญ่ในเมืองโดยทั่วไป สามารถดักจับฝุ่นละอองที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอนได้ประมาณ 100 กรัม”

“ที่ผ่านมา รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยมีวิธีคิดมุมเดียวว่าที่ดินกลางเมืองคือขุมทองมหาศาล ให้ความสนใจด้านเศรษฐกิจมากกว่าด้านสิ่งแวดล้อม พึงพอใจกับมูลค่าผลตอบแทนที่จะได้รับจากเอกชนมากกว่าคุณภาพชีวิตของผู้คน

“เม็ดเงินนับแสนล้านบาทจากการให้เอกชนเช่า 50 ปี เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนมากกว่าต้นไม้ในสวนสาธารณะที่สามารถฟอกปอดให้กับคนในเมืองใหญ่ได้”

 

โลกที่ไม่เหมือนเดิมหลัง COVID-19

 

โดย ปิติ ศรีแสงนาม

เข้าสู่ปี 2020 มาได้ไม่กี่เดือน โลกก็ต้องเผชิญกับวิกฤตครั้งใหญ่ที่เรียกว่า ‘เชื้อไวรัส COVID-19’ หรือที่เรารู้จักในนาม ‘ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่’ ที่ทั้งคร่าชีวิตและแพร่ระบาดออกไปเป็นวงกว้าง เศรษฐกิจได้รับผลกระทบรุนแรง การท่องเที่ยวซบเซา หลายเมืองที่เคยคึกคักกลับแปรเปลี่ยนเป็นเมืองร้าง

เมื่อเชื้อไวรัส COVID-19 กระทบกับโลกเราอย่างรุนแรงเช่นนี้ คำถามสำคัญคือ โลกหลัง COVID-19 จะเป็นอย่างไร แล้วไทยจะรับมืออย่างไรกับสิ่งที่เกิดขึ้น

ปิติ ศรีแสงนาม เขียน 5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับโลกที่จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปหลัง COVID-19 พร้อมทั้งแนะนำยุทธศาสตร์การวางตำแหน่งทางการค้าและการลงทุนใหม่ของไทยภายหลังวิกฤต

“ล่าสุด ธนาคารโลกได้ประมาณการผลกระทบทางเศรษฐกิจ โดยใช้ข้อมูลการระบาด ณ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2020 ว่า GDP ของทั้งโลกน่าจะถดถอยลงราว 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 หรือถ้าเทียบให้เห็นภาพ ผลกระทบของ COVID-19 รุนแรงกว่า SARS ในราว 70 เท่า”

“ปัจจุบัน เศรษฐกิจไทยพึ่งพาจีนเพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาล โดยไทยนำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นเป็น 45.62 พันล้านดอลลาร์ หรือขยายตัวเพิ่มขึ้นเกือบ 12 เท่า ขณะที่มูลค่าการส่งออกของไทยไปจีนในช่วงเวลาเดียวกันก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่า 5.1 เท่า คือจาก 5.69 เป็น 20.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตัวเลขเหล่านี้แสดงให้เราเห็นว่า เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจจีนพึ่งพาอาศัยและสอดประสานสัมพันธ์กันอย่างยิ่ง”

“ในเมื่อเรายังต้องพึ่งพายึดโยงกับห่วงโซ่มูลค่าในทวีปเอเชียต่อไป เราสมควรอย่างยิ่งที่จะมองแหล่งทรัพยากรทั้งทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งตลาดที่มีขนาดใหญ่และมีอัตราการเจริญเติบโตสูงของอินเดียและเอเชียใต้เป็นเสมือน Balancer หรือเป็นหนึ่งในเครื่องมือกระจายความเสี่ยง”

“เมื่อวางตำแหน่งทางด้านการค้าและการลงทุนในลักษณะนี้ ไทยก็ยังสามารถเป็นผู้เล่นหลักในห่วงโซ่มูลค่าของเอเชียได้เช่นเดิม พร้อมกับที่สามารถกระจายความเสี่ยงและลดการพึ่งพิงตลาดบางตลาดลงได้ หรือกล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ ยังคงเป็นเพื่อนสนิทกับจีน แต่ในขณะเดียวกัน ก็ไปทำความรู้จักเพื่อนใหม่ในเอเชียใต้ให้มากขึ้น”

 

เรียนรู้พิเคราะห์ – Learning Analytics

 

โดย นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

‘รื้อถอนแล้วสร้างใหม่’ คอลัมน์ใหม่ของ นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ที่จะมาชวนคิดในประเด็นปฏิรูปการศึกษาจากทุกแง่มุมและนำไปถึงการพูดคุยเรื่องข้อเสนอที่เป็นจริง

ตอนที่ 1 นี้ ชวนไปมองก้าวที่ 3 ของการปฏิวัติการศึกษาคือแนวคิด Learning Analytics (LA) หรือ ‘เรียนรู้พิเคราะห์’ ที่เริ่มปรากฏตัวในปีเริ่มต้นของเด็กรุ่นอัลฟ่า (Generation Alpha) ด้วยข้อเท็จจริงและความจำเป็นที่ว่าการศึกษาแบบเดิมไม่ตอบโจทย์การเรียนรู้ที่เพียงพอสำหรับคนรุ่นใหม่

“คนรุ่น X มีแนวโน้มไม่เอาปริญญาเอก คนรุ่น Y มีแนวโน้มไม่เอาปริญญาโท และคนรุ่น Z มีแนวโน้มไม่เอาปริญญาตรี เชื่อว่าคนรุ่นอัลฟ่าจะไม่เอามหาวิทยาลัย”

“นอกเหนือจากคอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์ระดับสูงแล้ว มีความเป็นไปได้ที่จะใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เข้ามาช่วยงานด้วย เพื่อให้เด็กรุ่นใหม่มีการศึกษาที่ดีที่สุดสำหรับตัวเขาเอง”

“นักการศึกษามีหน้าที่บอกว่าจะเอาอะไร นักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูลจะจัดการข้อมูลที่ต้องใช้ให้ และผู้เชี่ยวชาญไอทีระดับสูงจะทำส่วนที่เหลือต่อไป นั่นคือออกแบบ LA ที่จะตอบคำถามได้ว่าเด็กคนหนึ่งควรเรียนรู้ด้วยวิธีไหน และอย่างไร”

 

จบโรงเรียนแบบไหนจึงจะได้ดี

 

โดย นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

คอลัมน์รื้อถอนแล้วสร้างใหม่ ตอนที่ 2 นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ หยิบหลักการ Learning Analytics มามองเรื่องปฏิรูปการศึกษา และเห็นถึงปัญหาการขาดข้อมูลที่ประชาชนต้องการ

“ในขณะที่เรายังงมอยู่กับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ แก้ปัญหาหนี้สินครู ขจัดคอร์รัปชันอาหารกลางวันนักเรียน ไปจนถึงวิ่งทำโครงการใหม่ๆ ตามที่รัฐมนตรีแต่ละท่านจะนำเสนอ เรื่องที่เราไม่มีคือข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ประชาชนต้องการ

“คุณพ่อคุณแม่จำนวนมากอยากรู้ว่าควรส่งลูกเข้าโรงเรียนแบบไหน ระหว่างโรงเรียนของ สพฐ. ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ทางเลือก นานาชาติ หรือทำโฮมสคูล ผลลัพธ์ที่ปลายทางของนักเรียนที่เรียนจบโรงเรียนเหล่านี้เป็นอย่างไร ไม่เคยเห็นงานวิจัยระยะยาวที่ตอบคำถามนี้ให้แก่เรา”

“งานปฏิรูปการศึกษาวันนี้อยู่ในมือของคนสูงอายุเสียมาก…ปัญหาของวัฒนธรรมบ้านเราคือเพียงผู้อาวุโสพูด คนอื่นก็จะเงียบ หากปลัดกระทรวงพูดทุกคนจะเป็นลูกขุนพลอยพยัก แล้วทุกอย่างจะอยู่ที่เดิม รวมทั้งวิสัยทัศน์และกระบวนทัศน์

“ในวันรุ่งขึ้น ปีต่อปี สิบปีผ่านไป แล้วยี่สิบปีก็ผ่านไป เราอยู่ที่เดิม ผู้สูงอายุนั่งเก้าอี้ตัวเดิม และเด็กๆ กับพ่อแม่ผู้ปกครองยังทนทุกข์ทรมานกับการศึกษาเช่นเดิม”

 

ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ : ผ่าตัดคุณภาพโรงเรียนเล็กต้องคิดให้ครบ

 

โดย สมคิด พุทธศรี

อะไรคือต้นเหตุของการศึกษาคุณภาพแย่ แต่ความเหลื่อมล้ำสูง

คำตอบที่มักได้ยินบ่อยที่สุดคือ “งบประมาณและทรัพยากรไม่เพียงพอ” แม้คำตอบอาจฟังดูเข้าที แต่เอาเข้าจริงแล้วนี่คือความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

ประเทศไทยลงทุนด้านการศึกษาคิดเป็นประมาณร้อยละ 4.8 ของจีดีพี (ข้อมูลในปี 2559) ซึ่งเป็นอัตราใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยกลุ่มประเทศ OECD ซึ่งอยู่ที่ ร้อย 5.2 ในขณะที่อัตราส่วนนักเรียนต่อครูอยู่ที่ 17:1 ซึ่งใกล้เคียงกับประเทศพัฒนาแล้วอย่างออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลี หรืออังกฤษ ตัวเลขเหล่านี้ชี้ว่า ประเทศไทยไม่ได้ลงทุนด้านการศึกษาน้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้ว ในขณะที่ ‘ครู’ ซึ่งเป็นทรัพยากรหลักของระบบการศึกษาก็ไม่ได้ขาดแคลนเช่นกัน

คำถามใหญ่มีอยู่ว่า แล้วทำไมเราจึงยังคงเห็นโรงเรียนยากจน ขาดแคลนอุปกรณ์การเรียน และมีครูไม่พอ

สมคิด พุทธศรี ชวน ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารโลก สนทนาแบบเข้มข้นว่าด้วยความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การจัดสรรทรัพยากรที่ไร้ประสิทธิภาพ แนวทางการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก และผลกระทบของความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่มีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ

 

 

ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทางอุดมการณ์: ความตายระลอกสองของคณะราษฎร

 

โดย วจนา วรรลยางกูร

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทางวัฒนธรรม (cultural genocide) เป็นข้อเสนอของนักกฎหมายชาวโปแลนด์ที่ต้องการให้เป็นคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเอาผิดการทำลายสิ่งก่อสร้างและศิลปวัตถุที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมระหว่างสงคราม

สิ่งก่อสร้างที่ถูกทำลายไม่ใช่อิฐปูน แต่ยังเป็น ‘อัตลักษณ์’ ของกลุ่มคน ทำให้ตกเป็นเป้าหมายการโจมตีเพื่อทำลายหลักฐานทางกายภาพ ลบประวัติศาสตร์ ทำลายความเป็นมาของกลุ่มชน

วจนา วรรลยางกูร พาไปสำรวจประเด็นการทำลายอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมผ่านสารคดี The Destruction of Memory และสะท้อนสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับมรดกคณะราษฎรในมุมมองของ ชาตรี ประกิตนนทการ ซึ่งในกรณีของไทยควรเรียกว่า ‘การทำลายล้างทางอุดมการณ์’ (ideological cleansing)

“การรณรงค์เก็บรักษาสิ่งก่อสร้างยุคคณะราษฎรไม่ได้หมายความว่าเราจะวิจารณ์คณะราษฎรไม่ได้ หรือจะต้องกราบไหว้บูชา แต่การรักษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์จะบอกว่าเราเดินทางจากอดีตมาถึงปัจจุบันอย่างไร สิ่งก่อสร้างสมัยคณะราษฎรหลายแห่งแสดงให้เห็นถึงการต่อสู้ของประชาชนที่ทำให้ประเทศก้าวหน้ามาถึงปัจจุบัน”

“ประวัติศาสตร์เหล่านี้ฝังอยู่ในตึก อาคาร และอนุสาวรีย์รุ่นต่อรุ่น การเก็บสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เพื่อเชิดชูคณะราษฎร แต่เพื่อเชิดชูอุดมการณ์ที่ฝังซ้อนทับในสิ่งก่อสร้างเหล่านี้

“การรื้อถอนสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ ไม่ใช่การหายไปของอิฐหินปูนทราย แต่เป็นการทำลายอัตลักษณ์ของกลุ่มบุคคล เป็นการทำลายสิ่งก่อสร้างเชิงอุดมการณ์เพื่อทำลายอุดมการณ์”

 

จาก ‘ตุลาการภิวัตน์’ ถึง ‘นิติสงคราม’ : สงครามไม่มีวันแล้วเสร็จของปีกขวาไทย

 

โดย เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง

เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง ชวนคิดเรื่อง ‘ตุลาการภิวัตน์’ และ ‘นิติสงคราม’ ที่ดำรงอยู่ตลอดทศวรรษครึ่งในการเมืองไทย จนทำให้ประชาธิปไตยวิบัติเพราะนิติธรรมวิบัติ

………..

“นิติสงครามเป็นขั้นกว่าของตุลาการภิวัตน์ … ตุลาการเป็นแค่องคาพยพหนึ่งของเครื่องจักรสงครามขนาดใหญ่ที่กำลังเข้าปะทะกับประชาธิปไตย และไม่ใช่แค่สื่อที่ร่วมมือ แต่ยังมีมวลชนปีกขวา และกลไกตามรัฐธรรมนูญอีกไม่น้อยทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ มีเป้าหมายที่ต้องกำจัดอย่างชัดเจน …”

“… ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ความเหลื่อมล้ำในการใช้บังคับกฎหมายสูงยิ่ง ไม่ปฏิเสธเลยว่าคนไทยสามารถทำนายผลของคดีได้โดยรู้แค่สังกัดการเมืองของจำเลย ถ้าเลือกถูกฝั่งจะได้รับความคุ้มครอง ถึงผิดก็ถูกจับ ถึงจับก็ทำคดีล่าช้าไม่ฟ้อง ถ้าฟ้องก็ได้ประกัน ต่อให้ต้องคำพิพากษาก็รอการลงโทษ นี่ย่อมก่อเกิดอารมณ์ฮึกเหิมในหมู่มวลชน ในขณะที่อีกฝ่าย คดีความดำเนินไปอย่างรวดเร็ว รุนแรง และเด็ดขาดเสมอ การประกันตัว ปลดตรวน หรือรอการลงโทษก็อาจจะไม่ได้รับความเมตตา …”

“… วิกฤตการเมืองที่นำไปสู่จุดจบของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 นั้นเกิดมาจากองค์กรอิสระและศาลขาดกลไกความรับผิด ผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ละเลยที่จะขบคิดปัญหานี้อย่างจริงจัง กลายเป็นว่าเมื่ออำนาจการเมืองอยู่ในมือของพวกตนแล้ว จึงกลับมอบหมายให้องค์กรเหล่านี้มีอำนาจเพิ่มขึ้น โดยออกแบบระบบสรรหาให้ตกอยู่ในเงื้อมมือของพวกตนต่อไป …”

“… เมื่อผลของอำนาจตุลาการภิวัตน์ไม่ใช่การพิทักษ์รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย แต่เป็นความวิบัติ อำนาจตุลาการแทรกแซงเสียงข้างมาก กระบวนการทางการเมือง และการเลือกตั้ง จนเกิดผลไม่ปกติ ระบบพรรคการเมืองอ่อนแอเนื่องจากถูกยุบได้ง่าย การขึ้นเป็นรัฐบาลอยู่ที่ศาลส่วนหนึ่ง ไม่ใช่เสียงประชาชน เมื่อเป็นแล้วก็ไม่สามารถนำสัญญาเมื่อตอนหาเสียงมาดำเนินการเป็นนโยบายได้เพราะไม่ผ่านการเห็นชอบจากศาล

“ประชาธิปไตยวิบัติเพราะหลักนิติธรรมวิบัติด้วย หลักการแบ่งแยกอำนาจสั่นคลอนอย่างหนักเมื่อตุลาการขยายอำนาจ กฎหมายลายลักษณ์อักษรไม่มีความหมายเพราะตุลาการสามารถตีความเกินเลยตัวอักษรไปไกลไม่มีหลักเกณฑ์ สำคัญที่สุดคือหลักความเป็นอิสระของตุลาการซึ่งมีไว้เพื่อธำรงความน่าเชื่อถือของสถาบัน ตุลาการอาจจะยังเป็นอิสระในทางกฎหมาย แต่ในทางการเมือง ตุลาการไทยดูเหมือนจะเลือกข้างไปแล้ว และไม่ได้ยืนอยู่ข้างประชาชนหรือความยุติธรรม

“ผู้แพ้คดีเชื่อว่าตุลาการอคติ แต่ใช่ว่าผู้ชนะคดีจะเชื่อว่าตุลาการนั้นยุติธรรม อาจจะชอบใจเพียงว่าตุลาการนั้นมีประโยชน์กับยุทธศาสตร์การเมืองของตนเพียงเท่านั้นเอง

“สุดท้ายแล้ว ‘นิติสงคราม’ จะสิ้นสุดลงที่ไหนไม่มีใครบอกได้ จากภารกิจล้มระบอบทักษิณขยายใหญ่ขึ้นเป็นการล้มประชาธิปไตย แช่แข็งพัฒนาการของการเมืองและสังคมไทย สวนกระแสความต้องการมวลชน ทำให้ฐานสนับสนุนปีกขวาไทยหดเล็กลง สภาพเช่นนี้ยิ่งยึดกุมอำนาจตุลาการไว้ให้แน่นหนาขึ้นไปอีก

“แต่ฝันดังกล่าวของปีกขวาไทยจะเป็นจริงได้หรือไม่ เมื่อฝันขัดแย้งกับกระแสมหาชน การยุทธ์ที่ดำเนินอยู่จึงไม่อาจมีวันสิ้นสุด อาจกลายสภาพเป็นการชนะศึก แต่แพ้สงคราม”

 

 

ฉันไม่อาจรักมหาวิทยาลัย ถ้ามหาวิทยาลัยไม่หวงแหนและปกป้องเสรีภาพ

 

โดย สมชาย ปรีชาศิลปกุล

“น่าแปลกใจที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งต่างพากันสยบยอมต่ออำนาจอย่างไม่รู้สึกรู้สา แต่กลับกล้าที่จะประกาศว่าต้องการเป็นเลิศในทางปัญญา ราวกับว่าการกระทำทั้งสองด้านนี้ไม่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน”

สมชาย ปรีชาศิลปกุล มองบทบาทที่ควรจะเป็นของมหาวิทยาลัย ซึ่งไม่ใช่การรักษา ‘ความเป็นกลาง’ แต่ต้องรักษาการเป็นพื้นที่แห่งเสรีภาพทางปัญญา

“ช่วงก่อนการรัฐประหาร มีบุคลากรจำนวนไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นของมหาวิทยาลัยที่อ้างว่าเป็นเสาหลักของแผ่นดิน, ปัญญาของแผ่นดิน, มหาวิทยาลัยที่สอนให้รักประชาชน, สอนให้เป็นคนดี ต่างแสดงออกอย่างชัดเจนทั้งภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย หรือในการเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนที่ต้องการล้มรัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตยด้วยการแสดงตนมาจากสถาบันแห่งใดอย่างชัดเจน”

“การเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการรัฐประหาร ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติของผู้บริหารมหาวิทยาลัย ‘ใหญ่ๆ’ หรือการเป็นส่วนหนึ่งของการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งก็ถูกแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร กรณีเช่นนี้จะสามารถนับว่าเป็นการวางตัวเป็น ‘กลาง’ ทางการเมืองใช่หรือไม่”

“สิ่งที่เรียกว่าความเป็นกลางของมหาวิทยาลัยอาจจะไม่ได้มีความหมายสำคัญเท่ากับการเป็นพื้นที่แห่งเสรีภาพในการแสดงออกของผู้คนกลุ่มต่างๆ”

 

สถาปัตยกรรมที่นับรวม : เมื่อมนุษย์ทุกคนต้องการที่กินข้าว

 

โดย  รชพร ชูช่วย

คอลัมน์ Shaped by Architecture ที่ว่าด้วยอำนาจของสถาปัตยกรรมที่มีต่อ ‘คน’ และ ‘เมือง’ ตอนแรก รชพร ชูช่วย เขียนถึง ‘สถาปัตยกรรมที่นับรวม’ ตั้งคำถามกับอาคารที่ไม่มีพื้นที่ให้แม่บ้านทานข้าว หรือที่นั่งพักให้พนักงาน สถาปัตยกรรมจะเข้ามาช่วยตรงนี้ได้อย่างไร

“มีการนำแนวคิดของการออกแบบที่นับรวมมาใช้ในการออกแบบสถาปัตยกรรม โดยคำนึงถึงกลุ่มบุคคลผู้ใช้อาคารที่มีวิธีการใช้พื้นที่ต่างกันไป ตัวอย่างเช่นห้องน้ำในอาคารสาธารณะ นอกจากห้องสำหรับผู้นั่งรถเข็นตามมาตฐานการออกแบบเพื่อคนทั้งมวลแล้ว ยังสามารถแยกย่อยไปได้ถึงห้องน้ำสำหรับแม่และเด็กที่มีพื้นที่สำหรับวางเด็กเล็กอย่างปลอดภัยเพื่อให้แม่เข้าห้องน้ำได้สะดวก

“ห้องน้ำสำหรับครอบครัวที่มีพื้นที่กว้างขวาง มีโถส้วมขนาดเล็กสำหรับเด็ก มีที่อาบน้ำสำหรับเด็ก ห้องน้ำหญิงที่มีพื้นที่แต่งหน้าขนาดใหญ่ หรือห้องน้ำไม่ระบุเพศสำหรับคนที่ไม่สะดวกใจในการเข้าห้องน้ำหญิงหรือห้องน้ำชาย”

“แต่ประเด็นของการออกแบบที่นับรวมในสถาปัตยกรรมที่พยายามครอบคลุมไปถึงผู้คนที่หลากหลายนี้ เป็นการออกแบบที่มีพื้นฐานอยู่บนผู้ใช้งานที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจในระดับเดียวกันเท่านั้น มักจะรวมไปไม่ถึงผู้มีรายได้น้อยกว่าซึ่งมีข้อจำกัดทางการเงินมากมาย แต่จำเป็นต้องใช้ชีวิตในพื้นที่เดียวกันกับคนที่มีรายได้ที่สูงกว่า

“การทำกิจกรรมปกติในชีวิตประจำวันอย่างการกินน้ำ กินข้าว พักผ่อน ในพื้นที่ที่มีค่าใช้จ่ายเท่าๆ กันกับคนที่มีรายได้มากกว่า สร้างความลำบากให้กับพวกเขามากกว่าการต้องเข้าห้องน้ำที่ไม่เหมาะกับสภาพทางกายภาพและพฤติกรรมมากนัก เจ้าของอาคารและผู้ออกแบบอาคารที่เป็นผู้มีรายได้สูงกว่าอาจจะคิดไปไม่ถึงความลำบากในการใช้ชีวิตของคนเหล่านี้”

“ลองนึกไปว่าในตึกใหญ่โตโอ่อ่ากลางเมืองเหล่านี้ สามารถจัดสรรพื้นที่ไม่ใหญ่นัก ใหัพนักงานตัวเล็กๆ ได้นั่งพักผ่อน สูบบุหรี่ ดื่มกาแฟราคาถูกได้ มีห้องหับเป็นสัดส่วนที่สามารถใช้นั่งกินข้าวเที่ยงอย่างสง่าผ่าเผย โดยพกเอาข้าวและน้ำมาจากบ้านได้ ไม่ต้องไปซื้อหาจากร้านค้าราคาสูงในละแวก ไม่ต้องไปเที่ยวหาซอกมุมตึกบุกรุกมุมเมืองในแต่ละวัน คุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานของคนทำงานเหล่านี้คงดีขึ้นแน่ๆ และในวันหนึ่งๆ คงประหยัดเงินได้ไม่น้อย”

 

เมื่อนโยบายการคลังกำลังฉุดรั้งเศรษฐกิจ

 

โดย พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย

พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย วิเคราะห์สถานการณ์ล่าสุดของเศรษฐกิจไทยที่นโยบายการคลังกำลังฉุดรั้งเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2563

………….

ก่อนหน้านี้ เราเข้าใจว่าผลกระทบเรื่องความล่าช้าของงบประมาณต่อเศรษฐกิจน่าจะมีน้อยมาก เพราะงบที่เบิกไม่ได้คงมีไม่มากเท่าไร คงจะมีเฉพาะงบลงทุนในโครงการที่เริ่มปีแรก ซึ่งน่าจะเป็นส่วนน้อย ส่วนงบรายจ่ายประจำเกือบทั้งหมดน่าจะเบิกจ่ายได้ไม่มีปัญหา

แต่พอเราไปดูข้อมูลจากกรมบัญชีกลาง ในช่วงเวลา 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2563 (ตุลาคม 2562 – มกราคม 2563) กลับพบว่า ยอดเงินที่รัฐบาลเบิกจ่ายลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งๆ ที่ยอดรวมของงบประมาณรายจ่ายปีนี้สูงกว่าปีที่แล้วเสียอีก

เฉพาะส่วนของหน่วยราชการส่วนกลาง (ไม่รวมรัฐวิสาหกิจ และกองทุนในงบประมาณต่างๆ เช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) การเบิกจ่ายงบประจำลดลงไปถึงร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนการเบิกจ่ายงบลงทุนลดลงไปถึงร้อยละ 67 เรียกว่าเหลือไม่ถึงครึ่งของปีก่อน และในภาพรวม การเบิกจ่ายงบประมาณรวมทั้งหมดลดลงไปถึงร้อยละ 26

นั่นคือ เงินที่รัฐควรจะใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ หากงบประมาณรายจ่ายสามารถใช้ได้ทันตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ หายไปถึงประมาณ 1 ใน 4 หรือถ้านับเป็นเม็ดเงินก็มากกว่า 2 แสนล้านบาท หรือติดลบมากกว่าร้อยละ 1 ของ GDP ในช่วงแค่สี่เดือนแรกของปีงบประมาณ

แต่หากรวมรัฐวิสาหกิจ กองทุน และเงินที่จัดสรรให้จังหวัด การเบิกจ่ายปีนี้ลดไปถึงร้อยละ 28 หรือนับเป็นเม็ดเงินกว่า 3 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือหายไปเกือบร้อยละ 2 ของ GDP ในเวลาแค่สี่เดือน

นี่คือแรงฉุดที่นับว่ารุนแรงมากต่อเศรษฐกิจไทย และเป็นต้นทุนต่อระบบเศรษฐกิจอย่างแท้จริง โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ระบบเศรษฐกิจต้องการแรงกระตุ้นจากนโยบายภาครัฐดังเช่นทุกวันนี้

 

บทบาทมหาวิทยาลัยในโลกที่อาจไม่ต้องมีมหาวิทยาลัย

 

โดย สันติธาร เสถียรไทย 

สันติธาร เสถียรไทย เขียนถึง คุณสมบัติ 5 ข้อที่มหาวิทยาลัยควรมี ในโลกอนาคตที่การเรียนรู้เกิดขึ้นทุกที่นอกรั้วมหาวิทยาลัย

ข้อหนึ่ง การเรียนรู้จากความแตกต่าง (Accepting Diversity)
“การทลายกำแพงระหว่างคณะ สาขาวิชา อายุ เชื้อชาติ นอกจากจะช่วยให้เราอยู่กับความแตกต่างเป็นแล้ว ยังช่วยสร้างสังคมการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย”

ข้อสอง เรียนรู้จากความล้มเหลว (Failure)
“ล้มได้ ลุกได้ โดยไม่เจ็บตัวเกินไป สามารถสร้างทัศนคติแบบ growth mindset ที่รู้ตัวว่าความล้มเหลวในวันนี้สามารถเป็น ‘ครู’ ที่ทำให้เราเป็นคนที่ดีกว่าเดิมในวันหน้า”

ข้อสาม เรียนรู้ที่จะเข้าใจผู้อื่น (Empathy)
“ครูที่มี empathy จะไม่เป็นแค่ผู้เลกเชอร์ แต่สามารถเป็นได้ทั้งโค้ชที่รู้จักจุดแข็ง-อ่อนของนักเรียนคนนั้นๆ เป็นพี่เลี้ยง-ที่ปรึกษา (mentor) ที่เข้าใจนักเรียน และสามารถแนะแนวทางชีวิตให้ได้”

ข้อสี่ เรียนรู้ที่จะค้นพบตัวเอง (Soul)
“น้อยบริษัทนักจะสามารถเปิดพื้นที่และให้เวลาคนในการค้นหาตนเองได้อย่างเต็มที่ ทั้งยังขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการเป็นพี่เลี้ยง ที่ปรึกษา คอยแนะแนวช่วยเหลือคนที่สับสนหลงทาง จึงทำให้เกิดสภาวะ ‘หมดไฟ’ หรือ burn out ได้บ่อยๆ”

ข้อ 5 พื้นที่ปลอดภัย
“พื้นที่ปลอดภัยไม่ได้แปลว่า “พื้นที่อยู่สบาย” หรือ comfort zone ในทางตรงข้ามเมื่อเราอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยเราจะกล้าที่จะออกนอก comfort zone ของตนเอง กล้าเปิดรับความอ่อนไหว (vulnerability) เพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่”

 

“เราถูกเอาเปรียบมาตลอด” ศิวัช พงษ์เพียจันทร์: สิทธิอากาศบริสุทธิ์เป็นของประชาชน

 

โดย ณัฐชลภัณ หอมแก้ว

“คนจะเริ่มไม่ทนถ้ารู้สึกว่ามันไม่ยุติธรรม ที่ผ่านมาเราเงียบมาตลอด เราถูกเอาเปรียบมาตลอดในเรื่องต้นทุนสุขภาพ ต้นทุนสิ่งแวดล้อม”

ณัฐชลภัณ หอมแก้ว พูดคุยกับ ศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาป้องกันและจัดการภัยพิบัติ นิด้า ที่ศึกษาด้านมลพิษทางอากาศมาเป็นเวลานาน และเป็นหนึ่งในเครือข่ายอากาศสะอาดที่พยายามผลักดัน ‘กฎหมายอากาศสะอาด’ เพื่อยืนยันถึงสิทธิที่จะมีอากาศสะอาดหายใจของประชาชน

“เรายังไม่รู้เลยว่าในฝุ่นมีค่าสารก่อมะเร็งสูงหรือต่ำ PM 2.5 ยังเป็นที่พักพิงให้กับเชื้อโรคร้าย ไม่ว่าจะเป็นแอนแทรกซ์ ซาลโมเนลลา อีโคไล ไดออกซิน ซึ่งเป็นสารก่อการกลายพันธุ์ ถ้ารับในปริมาณมากก็จะส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ หรือมีโอกาสส่งผลให้ลูกเราเกิดความผิดปกติต่อร่างกาย เช่น เป็นเด็กดักแด้ หรือมีร่างกายที่ผิดปกติ นี่คือความน่ากลัวและอันตรายของไดออกซิน

“ตอนนี้ก็มีโคโรนาเป็นเชื้อตัวใหม่เข้ามาอีก เชื้อพวกนี้ก็จะกระจายไปเกาะกับฝุ่น ดังนั้นตอบเลยว่าสิ่งที่น่ากลัวคือเราไม่รู้”

“เราถูกทำให้เชื่อว่า เมื่อไหร่เรารวยแล้วเราจะมีความสุข เราจึงต้องพัฒนาทั้งอุตสาหกรรมและการเกษตร เพื่อให้สามารถทำธุรกิจได้มากขึ้น หาเงินได้เยอะขึ้น นั่นคือที่มาของสิ่งที่เรียกว่าความสุข โดยละเลยสิ่งที่สำคัญไป คือ สุขภาพและสิ่งแวดล้อมของเรา”

“ถ้าไม่ทำทั้งอาเซียนก็แก้ปัญหานี้ไม่ได้ ต่อให้ประเทศไทยไม่ปล่อย PM2.5 แม้แต่โมเลกุลเดียว แต่ถ้าเพื่อนบ้านยังปล่อยอยู่เราก็ยังเจอปัญหานี้อยู่”

“นักวิชาการมีหน้าที่วิจัยตอบโจทย์สิ่งที่คนยังไม่รู้ และให้คำแนะนำกับรัฐบาล แต่นักวิจัยไม่ได้มีหน้าที่ไปบริหารจัดการเพราะนั่นคือหน้าที่ของรัฐบาล”

 

เศรษฐกิจดื้อยา : เมื่อมาตรการรัฐไม่อาจกระตุ้นเศรษฐกิจได้

 

โดย วิมุต วานิชเจริญธรรม 

วิมุต วานิชเจริญธรรม นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์มหภาค ตั้งคำถามถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลว่ามีประสิทธิผลในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจได้จริงหรือ
……………..

“การประเมินผลของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐไม่อาจมองเพียงผลที่เกิดในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เฉพาะหน้า แต่ต้องมองต่อไปให้ไกลถึงช่วงเวลาข้างหน้าด้วย เพราะผลที่ดูดีในวันนี้ อาจถูกหักล้างจากผลเสียที่ตามมาในอนาคต จนในที่สุดผลสุทธิของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นติดลบได้

สิ่งที่รัฐบาลต้องตระหนักเสมอคือ ตัวคูณทวีของรายจ่ายภาครัฐนั้นมีค่าต่ำกว่า 1 ดังนั้นจึงไม่สามารถคาดหวังได้ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตตามเม็ดเงินที่รัฐใช้จ่ายไป ตรงกันข้าม รายจ่ายของภาครัฐนั้นมาจากเงินภาษีของประชาชน และเป็นเงินที่มีต้นทุนค่าเสียโอกาส หากรัฐบาลเอามาใช้จ่ายเพียงเพื่อหวังผลระยะสั้น ประเทศชาติย่อมเสียโอกาสที่จะใช้เงินจำนวนนั้นเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน”

 

The King Or The Clown เพราะรักดอก จึงหยอกเล่น

 

โดย อดิศร เด่นสุธรรม

เย็นนี้กินอะไรดี?
ถ้าต้องเลือกระหว่าง
McDonald’s กับ Burger King

อย่าเพิ่งเลือกจนกว่าคุณจะอ่านอภิมหาสงครามฟาสต์ฟูดครั้งนี้จบ
และไม่ว่าคุณจะอยู่ฝั่งไหน
คุณจะพบว่า ‘เรื่องกิน’ มันใหญ่กว่าที่เราคิดไว้เยอะ

คอลัมน์ Under the Radar โดย อดิศร เด่นสุธรรม จะขอพาคุณไปสำรวจพื้นที่ต่างๆ ที่ตกสำรวจ หรือคุณเคยมองข้าม
แล้วคุณจะพบว่ามีเรื่องราว อิหยังวะ! อีกมากมายที่อยู่ใกล้เพียงแค่ขนตา

……………………………..

จุดเริ่มต้นของศึกมหาสงครามโฆษณาระหว่าง McDonald’s กับ Burger King ของทั้งคู่ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 1983 ผู้เปิดศึกก่อนคือเบอร์เกอร์คิงที่ต้องการช่วงชิงฐานลูกค้าแมคโดนัลด์ที่มีมากกว่า

เบอร์เกอร์คิงเปิดฉากซัดคู่แข่งผ่านโฆษณาทางโทรทัศน์แบบโต้งๆ ว่า “เนื้อทุกชิ้นของเบอร์เกอร์คิงผ่านการย่างบนเปลวไฟจริงๆ ไม่ใช่เนื้อที่ให้สัมผัสแห้งดาด จากเตาแบนๆ เหมือนใครบางคนแถวนี้นะจ๊ะแม่จ๋า”

อาวุธชุดแรกที่โฆษณาออกไปได้ผลทันที เบอร์เกอร์คิงไม่ได้เรียกแค่ลูกค้าธรรมดา แต่ยังสามารถเรียกทนายเข้าร้านได้อีกด้วย เพราะโฆษณาชิ้นนี้สร้างความเดือดดาลให้แมคโดนัลด์จนเป็นคดีฟ้องร้องกัน

และแม้ท้ายที่สุด คดีนี้จะถูกยกฟ้อง สมรภูมิเดือดครั้งนี้ถือเป็นการประกาศศึกฟาสต์ฟูดระหว่างสองแบรนด์นี้อย่างเป็นทางการ นับจากวันนั้นเป็นต้นไป

 

อาณาจักรคาสิโน เบียร์หนึ่งดอลลาร์ และราคาชีวิตของสีหนุวิลล์

 

โดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

เมื่อรัฐบาลกัมพูชาอนุญาตให้เรือสำราญ Westerdam เทียบท่าที่สีหนุวิลล์ เมืองท่าสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในกัมพูชา หลังจากผู้โดยสารกว่า 2,000 คนไม่ได้ขึ้นฝั่งมานานกว่า 2 สัปดาห์ เมื่อถูกปฏิเสธจากรัฐบาล 5 ประเทศ เพราะกังวลเรื่องไวรัสโคโรนา

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย ชวนทำความรู้จักสีหนุวิลล์ พื้นที่ลงทุนแห่งใหม่ของจีน ที่กลายเป็นเมืองบันเทิงครบวงจร ขณะที่ชาวบ้านมีปัญหาเรื่องโดนไล่ที่และต้องเปลี่ยนอาชีพทำกิน

ทำไมสีหนุวิลล์จึงอ้าแขนรับนักท่องเที่ยว ชีวิตผู้คนในนั้นเปลี่ยนไปแค่ไหนเมื่อรัฐบาลกัมพูชาอนุญาตให้ทุนจีนเข้ามาสร้างคาสิโนและทำธุรกิจ

“เสียดาย ถ้าเอ่ยคำว่าสีหนุวิลล์ในกัมพูชา นี่คือเป้าหมายที่ทุกคนจะมาเที่ยวให้ได้สักครั้งในชีวิต” ชายวัยสามสิบต้นๆ ที่อยู่สีหนุวิลล์มาตั้งแต่เด็กเล่าถึงบรรยากาศที่นี่เมื่อหลายปีก่อนให้ฟัง

คำว่า “เสียดาย” ในที่นี้ ย่อมไม่ใช่ใดอื่น นอกจากการเปลี่ยนแปลงของสีหนุวิลล์หลังจากทุนจีนรุกเข้ามาเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว

“ก่อนหน้านี้เป็นเมืองเงียบๆ สองข้างทางมีต้นไม้ใหญ่ร่มเย็น แต่ตอนนี้เปลี่ยนแปลงไปเยอะ ผมไม่คิดเลยว่าจะเกิดขึ้นจริง” เขาว่า

คำว่าเงียบและต้นไม้ใหญ่ ไม่ใกล้เคียงกับภาพที่เห็นตอนนี้แม้แต่น้อย มีเพียงตึกสูงที่ผุดขึ้นมาเหมือนไม่มีวันหมดสิ้น บางอาคารสร้างเสร็จใหญ่โตโอ่โถง ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นคาสิโนและโรงแรม ถนนเดิมโดนเลาะออก กลายเป็นทางดินที่กำลังจะกลายเป็นถนนใหม่ในไม่ช้า มองไปรอบๆ ถ้าจะเห็นตัวอักษรเขมรอยู่บ้างก็ตรงทะเบียนรถที่วิ่งอยู่ทั่วเมืองเท่านั้น นอกนั้นเมืองนี้ถูกรุกคืบด้วยตัวอักษรจีนใหญ่ยักษ์คล้ายการประกาศศักดา

“ไชน่า ไชน่าเยอะมาก” คนขับตุ๊กตุ๊กคนหนึ่งบอก เขาพูดไทยได้นิดหน่อยจากการมาทำงานในไทยหลายปี นี่คือความเปลี่ยนแปลงของเมืองในสายตาเขา “จีนอย่างเดียว ไม่พูดอังกฤษเลย กัมพูชาก็ไม่” เขาบ่นไม่ขาดปากถึงปัญหาการไม่พูดภาษาอื่นของคนจีน และตอนนี้คนจีนแทบจะกลายเป็นประชากรหลักในเมืองไปแล้ว หลังจากชาวสีหนุวิลล์กว่าหมื่นคนถูกย้ายออกไปจากเมือง

ใน 2-3 ปีหลัง มีนักท่องเที่ยวจีนเข้ามาในสีหนุวิลล์กว่า 120,000 คน และยังมีกว่าอีก 70,000 คนอาศัยอยู่ที่นี่ในฐานะเจ้าของกิจการคาสิโน ร้านอาหาร และโรงแรม

“ตั้งแต่จีนเข้ามา หนึ่ง ของทุกอย่างแพงขึ้น สอง มีปัญหาความขัดแย้งทางที่ดิน และสาม คนรวยก็ยิ่งรวยขึ้นไปอีก” คือเสียงจากพนักงานรักษาความปลอดภัยในคาสิโน

เขาตั้งคำถามกับรัฐบาลที่ครองอำนาจมานานกว่า 26 ปี เมื่อมีพรรคฝ่ายค้านปรากฏตัวขึ้นและได้คะแนนเสียงใกล้เคียงพรรครัฐบาล ข้อหาสารพัดก็จะเกิดขึ้นมาเพื่อยุบพรรคฝ่ายค้าน ด้วยวงจรอำนาจแบบนี้ ชาวบ้านเองก็แทบจะไม่มีสิทธิทำอะไรได้เลย

 

ความรักของ “สาวน่าน” : หม่อมศรีพรหมา กฤดากร

 

โดย กษิดิศ อนันทนาธร

กษิดิศ อนันทนาธร เล่าเรื่องราวความรักและชีวิตหลากสีสันของ หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ธิดาพระเจ้าน่านผู้กลายมาเป็นบุตรบุญธรรมของขุนนางสยาม หญิงผู้ปฏิเสธไมตรีจากพระปิยมหาราช และเสกสมรสกับหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ในรัชกาลถัดมา ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกัน จนขึ้นชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งคู่รักในอุดมคติ

“เมื่อกลับจากต่างประเทศแล้ว เจ้าศรีพรหมาเข้ารับราชการในพระราชสำนักของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถตามเดิม ครั้นถึงปลายรัชกาลที่ 5 เธอก็เป็นสาวเต็มตัว งดงามยิ่งนัก มีวิชาความรู้ดี ทั้งที่ไม่ได้เรียนสำเร็จจากสถานศึกษาใด มีความเป็นตัวของตัวเองผิดกับชาววังโดยทั่วไป และมีน้ำใจโอบอ้อมอารี จึงเป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถึงกับโปรดจะให้รับราชการเป็นเจ้าจอม”

“แต่เจ้าศรีก็กราบบังคมทูลปฏิเสธเป็นภาษาอังกฤษไปโดยซื่อว่า เธอเคารพพระองค์ท่านในฐานะพระมหากษัตริย์ มิได้รักใคร่พระองค์ท่านในทางชู้สาว ในหลวงจึงทรงพระเมตตาโปรดให้เป็นไปตามอัธยาศัย”

“ถึงรัชสมัยต่อมา พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาตรัสขอเจ้าศรีพรหมาจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อเสกสมรสกับ ม.จ.สิทธิพร”

“(หม่อมเจ้า) ท่านเห็นว่าระบบราชการเริ่มอิ่มตัวแล้ว อนาคตของประเทศไม่ได้อยู่ที่ขุนนาง แต่อยู่ที่กสิกรรม เพราะคนไทยเป็นชาวไร่ชาวนามาช้านาน และมีผลผลิตเลี้ยงชีพได้ ทั้งในสมัยนั้นการเกษตรแนววิชาการสมัยใหม่เริ่มปรากฏขึ้นแล้วในต่างประเทศ แต่คนไทยยังไม่ตื่นตัวกัน ท่านทั้งสองจึงเห็นว่า ถ้าชนชั้นสูงออกไปประกอบอาชีพเป็นกสิกร ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อวงกว้างมากขึ้น”

“หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ปีเศษ พระองค์เจ้าบวรเดชได้ก่อกบฏขึ้นในสมัยรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา จนถูกปราบปรามราบคาบลงในที่สุด ม.จ.สิทธิพร ร่วมในขบวนการนี้ด้วย จึงถูกศาลพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต ติดอยู่ที่คุกบางขวาง”

“11 ปีที่ถูกจองจำ หม่อมศรีต้องประคับประคองกิจการของฟาร์มตามลำพัง สืบสาน รักษา และต่อยอดงานฟาร์มบางเบิดแต่เพียงผู้เดียว”

 

ของกำนัลกับการเดินทางของความสัมพันธ์ทางสังคม

 

โดย พรรณราย โอสถาภิรัตน์ และ วิภาส ปรัชญาภรณ์

 

เปิดคอลัมน์ใหม่ “สัมพัทธ์สัมพันธ์: โยงใยชีวิตของผู้คน ข้าวของ และสิ่งต่างๆ” โดย พรรณราย โอสถาภิรัตน์ และ วิภาส ปรัชญาภรณ์

เราอาจคุ้นเคยกับการครุ่นคิดถกเถียงว่าสิ่งต่างๆ รอบตัว “มีความหมาย” อย่างไรสำหรับมนุษย์ หรือในทางกลับกันผู้คน “ให้ความหมาย” กับสิ่งเหล่านั้นอย่างไร แต่ทุกวันนี้ หลายคนคงรู้สึกมากขึ้นว่าข้าวของและสิ่งต่างๆ ไม่ใช่แค่มีความหมาย แต่พัวพันเป็นส่วนหนึ่งของตัวเรา เท่าๆ กับที่มีตัวเราและคนอื่นๆ หลอมรวมอยู่ในสิ่งเหล่านั้น นี่เป็นประเด็นที่นักมานุษยวิทยาได้เรียนรู้จากสังคม “ดั้งเดิม” ในดินแดนห่างไกลอย่างเมลานีเซียเกี่ยวกับมิติเชิงสัมพัทธ์ของความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนและสิ่งต่างๆ

ในคอลัมน์นี้ นักมานุษยวิทยาสองคนจะมาชวนคุยว่า ประเด็นดังกล่าว จะช่วยให้เรามองเห็นผู้คนและสิ่งต่างๆ ในโลกที่เราคุ้นเคย ในมิติที่ต่างออกไปได้อย่างไร

“ในความเรียงชิ้นแรกนี้ ผู้เขียนชวนคุยเกี่ยวกับงานชาติพันธุ์วรรณนาสองชิ้น ที่มักถูกหยิบยกมาเป็นตัวอย่างในการอธิบายแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับข้าวของในการแลกเปลี่ยน “ของกำนัล” (gift) ในฐานะที่เป็นพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจในสังคม “ดั้งเดิม” และเป็นด้านตรงข้ามของ “สินค้า” (commodity) ในระบบเศรษฐกิจแบบตลาด

“โดยในตอนแรกนี้จะกล่าวถึงประเด็นอภิปรายว่าด้วยการแลกเปลี่ยนในวงแหวน “คูลา” (Kula) จากหนังสือ Argonauts of the Western Pacific (Malinowski 1922) ซึ่งเป็นหนึ่งในกรณีศึกษาที่มาร์แซล โมสส์ (Marcel Mauss) นำมาอ้างอิงในการศึกษาเชิงเปรียบเทียบว่าด้วยมิติทางสังคมของการแลกเปลี่ยนของกำนัลใน The Gift: Forms and Functions of Exchange in Archaic Societies (Mauss 1925) ซึ่งจะได้กล่าวถึงในตอนที่สอง”

“ตัวอย่างการอธิบายปรากฏการณ์ที่มาลินอฟสกีแสดงให้เห็นรายละเอียดของการกระทำดังกล่าว ได้แก่ การพัฒนาประเด็นอภิปรายเกี่ยวกับเครือข่ายการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้คนตามหมู่เกาะต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับชายฝั่งตะวันออกของนิวกินี เพื่อตอบคำถามว่าเหตุใด ผู้คนจึงให้ความสำคัญกับกิจกรรมแลกเปลี่ยนสิ่งของ ที่ดูเหมือนเป็นเพียงเครื่องประดับกระจุกกระจิก ไม่มีประโยชน์ใช้สอย ได้แก่ สร้อยคอที่ทำจากแผ่นเปลือกหอยสีแดง เจาะรูร้อยด้วยเชือกที่ประดับด้วยเปลือกหอยชิ้นเล็กๆ (soulava) และกำไลต้นแขนที่ทำจากเปลือกหอยขนาดใหญ่สีขาว (mwali) ซึ่งในหลายกรณีหมายรวมถึงการเสี่ยงชีวิตเดินทางด้วยเรือขนาดเล็กเป็นระยะทางหลายร้อยไมล์ในมหาสมุทรเพื่อทำการแลกเปลี่ยนกับชุมชนบนเกาะต่างๆ”

“มาลินอฟสกีแสดงให้เห็นว่าการแลกเปลี่ยนในวงแหวนคูลานั้นมีแบบแผนที่ซับซ้อน ถักร้อยเป็นเครือข่ายความสัมพันธ์อันกว้างไกล เชื่อมโยงสมาชิกจากหลากหลายชนเผ่ารวมกันแล้วหลายพันคน ซึ่งในหลายกรณีตั้งถิ่นฐานอยู่ห่างกันหลายร้อยไมล์ และประกอบด้วยทั้งคู่แลกเปลี่ยนที่สัมพันธ์กันโดยตรงและผ่านคู่แลกเปลี่ยนของอีกฝ่าย การแลกเปลี่ยนไม่เพียงแต่นำมาสู่การไหลเวียนของวัตถุคูลาอย่างสร้อยคอและกำไลต้นแขน แต่ยังก่อให้เกิดพันธะความสัมพันธ์ระหว่างคู่แลกเปลี่ยนแบบที่มาลินอฟสกีอธิบายว่า “เมื่อเข้าสู่คูลา ย่อมเป็นส่วนหนึ่งของคูลาเสมอ” (“Once in the Kula, always in the Kula)”

 

Neglect Syndrome : เมื่อจู่ๆ โลกซีกหนึ่งหายไป

 

โดย ชัยภัทร ชุณหรัศมิ์ 

เปิดคอลัมน์ Brainbug ว่าด้วยเรื่องสมอง ที่อ่านแล้วไม่ปวดหมอง พาเราท่องเข้าไปในจักรวาลก้อนเต้าหู้อัศจรรย์ เลาะสำรวจแบบเอ็กคลูซีฟ จนมองเห็นสมองทั้งในมุมที่ผิดพลาดไม่สมบูรณ์แบบ และในมุมชาญฉลาดจนคาดไม่ถึง

ในตอนแรกนี้ ชัยภัทร ชุณหรัศมิ์ พาเราไปรู้จัก neglect syndrome อาการที่เกิดจากสมองบกพร่องจนมองเห็นโลกแค่ข้างเดียว

“ให้วาดรูปดอกไม้ กลีบใบไม้ก็จะมีอยู่เพียงข้างขวา
หวีผมก็จะหวีแต่เพียงข้างขวา โกนหนวดข้างเดียว
กินข้าวก็จะกินแต่เพียงข้างขวาของจาน”

“มีอยู่วันหนึ่งผมยืนดู คุณลุงกำลังทานข้าวเฉพาะฝั่งขวาของถาด พอข้าวฝั่งขวาหมด คุณลุงก็หยุดทาน

คุณพยาบาลเดินมาแล้วเอามือหมุนถาดบนโต๊ะครึ่งรอบ เปลี่ยนของที่เคยอยู่ข้างซ้ายมาอยู่ข้างขวา

คุณลุงก้มดูแล้วหยิบช้อนตักข้าวที่เหลือเข้าปาก”

“neglect syndrome เกิดจากปัญหาในสมองตรงตำแหน่งเล็กๆ ใกล้กลางกระหม่อมเยื้องไปทางด้านขวาหลังส่วน parietal cortex ซึ่งตามปกติมีหน้าที่คอยสนใจข้อมูลที่มาจากสิ่งแวดล้อมหรือร่างกายซีกตรงข้าม แต่ในช่วงที่สมองบริเวณเล็กๆ ด้านขวาไม่ทำงานนั้นเอง ทำให้สมองมีแนวโน้มที่จะเพิกเฉยสิ่งแวดล้อมและร่างกายซีกซ้าย ทั้งการมองเห็น การสัมผัส การได้ยิน ราวกับว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่โลกซีกซ้ายหลุดหายไปเสียเฉยๆ”

 

ผลงาน ‘อ่านใหม่’ ยอดนิยม เดือนกุมภาพันธ์ 2563

 

คืนถิ่นซัวเถา บ้านเก่าบรรพบุรุษ

 

โดย ธีรภัทร เจริญสุข

ธีรภัทร เจริญสุข เขียนถึงประวัติศาสตร์ของ ‘ซัวเถา’ ต้นกำเนิดของบรรพบุรุษชาวจีนโพ้นทะเลที่ย้ายมาตั้งรกรากในไทย สืบลูกสืบหลานที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนมาจนถึงปัจจุบัน

วันเวลาผ่านไป รากเหง้าเดิมถูกลบเลือนไปพร้อมๆ กับคนรุ่นเก่า ร่องรอยแห่งความแร้นแค้นถูกแทนที่ด้วยสิ่งปลูกสร้างและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทว่า ‘เชื้อ’ บางอย่างยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ลางๆ

บทความนี้จะพาเราไปตามรอยบรรพบุรุษ พร้อมชุดข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ที่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์แบบ ‘จีน-ไทย’ ในแง่มุมที่คนทั่วไปไม่ค่อยรับรู้

 

ศาลรัฐธรรมนูญ ที่ไร้ผู้เชี่ยวชาญรัฐธรรมนูญ

 

โดย สมชาย ปรีชาศิลปกุล

สมชาย ปรีชาศิลปกุล สำรวจองค์ประกอบและที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ปี 2540 ถึงปัจจุบัน และชี้ให้เห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญไทยกลับไร้ผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังไร้ซึ่งประชาชนด้วย

 

“ประเทศนี้ไม่มีความเมตตา” เสียงจากภรรยา ‘สุรชัย’ ปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์

 

โดย  ธิติ มีแต้ม

“เราถามว่าสบายดีไหม รักษาสุขภาพด้วย เพราะแกสุขภาพไม่ดี โรคหัวใจกำเริบบ่อย แล้วปกติจะไม่ค่อยคุยอะไรกันมาก เพราะแกไม่ค่อยชอบคุยนาน แกจะชอบวิเคราะห์การเมืองแล้วอัดลงคลิปส่งให้…”

วันที่ 9 ธันวาคม 2561 เป็นวันสุดท้ายที่ ‘ป้าน้อย’ ปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ได้คุยกับสุรชัย เป็นครั้งสุดท้าย

ปี 2562 นี้ ป้าน้อยจะมีอายุครบ 60 ปี ในเดือนตุลาคม เธอกำลังจะได้สิทธิผู้สูงวัย และเบี้ยคนชรา 600 บาท เพื่อใช้ชีวิตต่อไปในสังคมไทยที่ไม่มีคำตอบให้เธอว่าใครทำให้สามีเธอหายไป

ธิติ มีแต้ม คุยกับ ‘ป้าน้อย’ ในโมงยามความทรงจำที่หลั่งไหลและถาโถมเข้ามายามชีวิตหน่วงหนัก เป็นความทรงจำร่วมระหว่างเธอกับสามีอันเป็นที่รักที่ไม่อาจลบเลือน

“แกเป็นคนต่อต้านรัฐประหารมาตลอด ตั้งแต่หนุ่มจนแก่ พอปี 2549 แกทนไม่ไหว จิตใต้สำนึกแกบอกว่าต้องออกมาประท้วง ตอนนั้นยังอยู่ที่นครฯ แกขับรถไปยืนปราศรัยที่หน้าสถานีรถไฟคนเดียว”

“เราเจอกับคุณสุรชัย ปี 2530 ตอนนั้นเขายังอยู่ในเรือนจำ ไม่ได้เจอกันเหมือนคนทั่วไป ตอนนั้นเราฟังข่าวตามสื่อ สื่อรายงานว่าคุณสุรชัยเป็นคนน่ากลัว เป็นคอมมิวนิสต์ที่ทำอะไรหลายอย่างที่น่ากลัว”

“แกขอแต่งงานกับเราปี 2539 ตอนนั้นแกยังไม่ได้ออกจากคุกเลย เราก็บอกว่าไม่ต้องแต่งก็ได้ ชอบกันเฉยๆ ก็พอ เพราะเราคิดว่าแกยังไม่มีโอกาสจะได้ออกมาใช้ชีวิตในโลกภายนอกเลย ไม่ได้มีโอกาสไปศึกษาผู้หญิงคนอื่น เหมือนกับว่ารู้จักแต่เราคนเดียว มันเหมือนเห็นแก่ตัว”

“เราไม่เคยคิดว่าจะเกิดความรุนแรงขนาดนี้ เพราะไม่มีอะไรจะแค้นเคืองกัน แค่ความเห็นต่าง ไม่ใช่ฆาตกร เป็นความคิดต่างที่ประเทศเจริญแล้วหรือพัฒนาแล้วถือว่าเป็นเรื่องปกติ”

“ตอนนี้เราแค่วิงวอนขอให้ได้ศพคืนมา เพื่อจะได้มาทำบุญให้ตามศาสนา แล้วก็จะได้ทำนิติกรรมต่างๆ ได้ ตอนนี้เราทำอะไรไม่ได้ ไม่มีใบมรณบัตร จัดการเรื่องทรัพย์สมบัติที่จะแบ่งให้ครอบครัว ให้ลูกๆ ที่เดือดร้อนอยู่ไม่ได้ ลูกของแกก็ใช่ว่าจะสบาย ทุกคนลำบากหมด”

 

การ “ปฏิวัติ” ผ่านคูหาเลือกตั้งที่มาเลเซีย

 

โดย ประจักษ์ ก้องกีรติ

ประจักษ์ ก้องกีรติ วิเคราะห์ผลการเลือกตั้งมาเลเซีย ในปรากฏการณ์ “มาเลย์สึนามิ” ว่าขึ้นกับปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ฝ่ายรัฐบาลนำโดยพรรคอัมโน ที่ครองอำนาจมานานถึง 61 ปีต้องพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งครั้งนี้

“รัฐบาลของนาจิบยังคงหาเสียงด้วยแนวทางแบบเดิม โดยบอกให้ประชาชนเลือกรัฐบาลเพื่อความต่อเนื่องในการบริหาร เน้นการลดแลกแจกแถม และยังใช้แนวทางการหาเสียงแบบเดิมๆ ที่ไม่ค่อยสร้างสรรค์ คือ ปลุกกระแสการแบ่งแยกทางเชื้อชาติระหว่างคนมาเลเซียเชื้อสายจีนกับคนมาเลเซียเชื้อสายมาเลย์ โดยไม่มีนโยบายที่เป็นรูปธรรม”

“รัฐบาลยังหลบเลี่ยงการตอบคำถามชี้แจงประชาชนถึงกรณีคอร์รัปชันอื้อฉาวที่โด่งดังไปทั่วโลกของนายกฯนาจิบ ที่พัวพันกับการถูกกล่าวหาว่ายักยอกเงินจากองทุน 1MDB ของรัฐบาลเข้ากระเป๋าตัวเองสูงถึง 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 22,400 ล้านบาท ไม่เพียงแต่ยืนกรานปฏิเสธ รัฐบาลยังขัดขวางการสอบสวนในเรื่องนี้ด้วย”

 

รายการและคลิปวิดีโอยอดนิยม เดือนกุมภาพันธ์ 2563

 

101 one-on-one ep.103 อ่าน “โรคระบาด” ผ่านแว่นตามานุษยวิทยา

 

โดย 101 One-On-One 

::LIVE:: 101 one-on-one ep.103 อ่าน “โรคระบาด” ผ่านแว่นตามานุษยวิทยา กับ นิติ ภวัครพันธุ์

หลังจากข่าวการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน สร้างความหวั่นวิตกไปทั่วโลก โดยเฉพาะทางเอเชียที่มีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางไปจำนวนมาก การตั้งคำถามเรื่องการจัดการของรัฐ การหาความรู้ทางการแพทย์ และข่าวลือต่างๆ ที่ว่ากันว่าโลกอาจเดินทางมาถึงจุดจบเร็วกว่าที่คิดก็แพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว

โรคระบาดกับมนุษย์เป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมายาวนาน และประวัติศาสตร์สอนให้เรารู้ว่าการรับมือกับโรคระบาด ไม่ใช่แค่เรื่องการแพทย์ แต่ยังสัมพันธ์กับเงื่อนไขอื่นๆ อีกมากมาย

101 ชวน นิติ ภวัครพันธุ์ มาพูดคุยถึงโรคระบาดผ่านแว่นตามานุษยวิทยา นักมานุษยวิทยาให้ความหมายของโรคระบาดว่าอย่างไร โรคระบาดเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเงื่อนไขทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองอย่างไร การบริโภคสัตว์ป่าของมนุษย์เป็นสาเหตุของโรคระบาดหรือไม่ และนักมานุษยวิทยาการแพทย์มีบทบาทและความรับผิดชอบอย่างไรในการแก้ปัญหานี้

ดำเนินรายการโดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

 

101 One-on-One ep.104 “โมเดลเศรษฐกิจในโลกยุคใหม่” กับ วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร

 

โดย 101 One-On-One 

::LIVE:: 101 One-on-One ep.104 “โมเดลเศรษฐกิจในโลกยุคใหม่” กับ วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร
หัวใจของการพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่งคั่งคือ การเลือกนโยบายเศรษฐกิจที่ ‘ใช่’ กับเงื่อนไขของประเทศและทิศทางของโลก จากโมเดลฝูงห่านบินที่มีญี่ปุ่นเป็นผู้นำ สู่เครือข่ายการผลิตข้ามชาติ การสร้างรัฐสวัสดิการ และการปรับตัวรับวิกฤตภูมิอากาศและสังคมสูงวัย แต่ละประเทศขยับตัวกันอย่างไร
ประเมินทิศทางโลกและมองหาโมเดลเศรษฐกิจแห่งอนาคตกับ ดร.วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร นักเศรษฐศาสตร์การเมืองแห่ง National Graduate Institute for Policy Studies (GRIPS) ประเทศญี่ปุ่น
 
ดำเนินรายการโดย กรรณิการ์ กิจติเวชกุล

 

101 One-On-One Ep.105 “จับตาเกมอำนาจการเมืองไทย” กับ สรกล อดุลยานนท์

 

โดย 101 One-On-One 

::LIVE:: 101 One-on-One ep.105 “จับตาเกมอำนาจการเมืองไทย” กับ สรกล อดุลยานนท์

จากคดียุบพรรคอนาคตใหม่ ถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ + 5 รัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดุลอำนาจในเกมการเมืองไทยขยับปรับเปลี่ยนไปอย่างไร

จับตาการเมืองไทยในภาวะแหลมคม กับ “สรกล อดุลยานนท์” หรือ “หนุ่มเมืองจันท์” เจ้าของพอดแคสต์การเมือง “The Power Game” ใน The Standard อดีตนักข่าวประชาชาติธุรกิจ และบรรณาธิการบริหารมติชนรายวัน

ดำเนินรายการโดย ยิ่งชีพ อัชฌานนท์

 

101 Side-Seeing Ep.3 : LIT Fest 2 เทศกาลหนังสือสนุกไฟลุกพรึ่บ!

 

โดย 101world

:: Live 101 Side-Seeing Ep.3 ::

รายการ 101 Side-Seeing พาตะลุยงาน LIT Fest 2 เทศกาลหนังสือสนุกไฟลุกพรึ่บ!

ชมบรรยากาศและแสงสีกลางแจ้งกันแบบสดๆ พร้อมพบปะกับผู้คนมากมายในแวดวง หนังสือ ดนตรี ศิลปะ กับธีมงาน ‘เดบิวต์’

จะมีอะไรมาแจ้งเกิดในงานนี้บ้าง ห้ามพลาด !

 

SIDE B อีกเสียงจากที่เขาบอกว่า… กวี “สูงส่ง”

 

โดย  ธิติ มีแต้ม, เมธิชัย เตียวนะ 

ที่ผ่านมา ‘บทกวี’ มักถูกมองว่า “สูงส่ง” กระทั่งว่า “ฟังไม่รู้เรื่อง” แต่เทศกาลบทกวี ‘Nan Poesie’ อาจให้ความหมายที่ต่างออกไป

เทศกาลบทกวี ‘Nan Poesie’ มีขึ้นครั้งแรกเมื่อปลายปี 2018 ที่ ‘บ้านๆ น่านๆ library and guest home’ ในตัวเมือง จ.น่าน พื้นที่เล็กๆ ห่างไกลกรุงเทพฯ เป็นที่รวมตัวของคนหนุ่มสาวและคนทำงานศิลปะหลากแขนง ทั้งในไทยและต่างประเทศ

วรพจน์ พันธุ์พงศ์ นักเขียน กวี อิสระ ผู้ร่วมก่อตั้งเทศกาล ‘Nan Poesie’ เคยให้สัมภาษณ์ 101 ว่า “เราเป็นนักเขียน เป็นกวี ถ้าไม่มีสนามให้เล่น ความสร้างสรรค์ก็ไม่เกิด แต่เราเห็นอยู่ว่ามันไม่มีสนาม หมู่บ้านที่เราอยู่มีแต่ป่ารกร้าง

“แต่มันมีวัยรุ่นอยู่จำนวนหนึ่งที่มีแรง ชอบเล่นบอล แต่มันไม่มีที่ให้เล่น ปัญหาของแผ่นดินนี้คือ นอกจากไม่มีสนามบอลแล้ว ผู้มีอำนาจในประเทศนี้ ยังไล่เอาโซ่มาล่ามขานักบอลไว้ด้วย”

รับชมมวลสาร “บทกวี” ในรายการ Side B อีกเสียงจากที่เขาบอกว่า… กวี “สูงส่ง”

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Spotlights

4 Nov 2020

101 Policy Forum : ประเทศไทยในฝันของคนรุ่นใหม่

101 เปิดวงสนทนาพูดคุยกับตัวแทนวัยรุ่น 4 คน ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน , สิรินทร์ มุ่งเจริญ, ภาณุพงศ์ สุวรรณหงษ์, อัครสร โอปิลันธน์ ว่าด้วยสังคม การเมือง เศรษฐกิจไทยในฝัน ต้นตอที่รั้งประเทศไทยจากการพัฒนา ข้อเสนอเพื่อพาประเทศสู่อนาคต และแนวทางการพัฒนาและสนับสนุนคนรุ่นใหม่

กองบรรณาธิการ

4 Nov 2020

Spotlights

30 Jun 2020

“ไม่มี Theory of Everything ในโลกของ IR” จิตติภัทร พูนขำ

101 สนทนากับ จิตติภัทร พูนขำ เกี่ยวกับองค์ความรู้และโลกของ IR ไปจนถึงการเรียนการสอน และการปรับตัวของ IR ในยุคที่โลกผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

กานต์ธีรา ภูริวิกรัย

30 Jun 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save