fbpx

การเมืองไทย 2566 : ใจเย็นไว้ ไม่มีอะไรที่เราคาดเดาได้

‘พลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน’ ‘หักทุกปากกาเซียน’ ‘อะไรที่ไม่เคยเห็นก็จะได้เห็น’ คือสารพันคำนิยามที่หลายคนมีให้การเมืองไทยสุดอึ้ง ทึ่ง เหวอ ประจำปีนี้ เริ่มจากการเลือกตั้งระดับชาติ ที่สร้างความคึกคักแผ่ซ่านทั่วประเทศตั้งแต่ช่วงเปิดปี ต่อเนื่องและทวีความเข้มข้น จวบจนลงสนามในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ชัยชนะตกเป็นของพรรคก้าวไกล ได้รับคะแนนเสียงท่วมท้นจนกวาดเก้าอี้ในรัฐสภาไปถึง 151 ที่นั่ง แซงหน้าเพื่อไทยตัวเก็งแชมป์ไปอย่างไม่มีใครคาดฝัน

แต่เดี๋ยวก่อน! การเป็นพรรคอันดับหนึ่งไม่ได้หมายความว่าจะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลเสมอไป (เพื่อไทยรู้ซึ้งดีตั้งแต่การเลือกตั้งปี 2562!) เมื่อต้องฝ่าแรงต้านจาก ‘ปีกอนุรักษ์+จารีต’ และคดีหุ้นไอทีวีที่คืนชีพมาเล่นงานพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ท้ายที่สุด แกนนำรัฐบาลใหม่จึงตกเป็นของเพื่อไทย ผู้ปรุงคณะรัฐมนตรีด้วยสูตรผสมพรรคร่วม อันมีหน้าตาคลับคล้ายขั้วอำนาจเดิมอยู่บ้าง แต่แตกต่างด้วยนายกฯ เป็น ‘เศรษฐา ทวีสิน’ ไม่ใช่ ‘ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ อีกต่อไป (ก็ลุงเขาไปเป็นองคมนตรีแล้ว!)

หลังได้เป็นรัฐบาล เพื่อไทยก็เดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายเรือธงใหญ่ อาทิ แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท และการสร้างซอฟต์พาวเวอร์ แต่เดี๋ยวก่อน! นอกจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจไทย (ที่ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ไม่จบไม่สิ้น) ยังมีโจทย์อีกมากมายรอท้าทายรัฐบาล ทั้งปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งคำถามต่อการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไหนจะการดำเนินคดี 112 การคุกคามนักเคลื่อนไหวในโลกออนไลน์

ไหนจะมีเรื่องของทักษิณ ชินวัตร และที่ทางของอำนาจสถาบันกษัตริย์ไทย

101 ชวนย้อนอ่านชุดผลงานว่าด้วยเรื่องสำคัญของการเมืองไทยในปี 2566 ที่ถึงแม้เราจะต้องประสบพบเจอกับเรื่องเหนือความคาดหมายแค่ไหน ขอให้ประชาชนคนไทยใจเย็นไว้ เราจะได้มีสติรับมือสิ่งที่ไม่อาจคาดเดาในปีถัดไปกันต่อ!


เลือกตั้งระดับชาติ มหากาพย์พลิกล็อกถล่มทลาย


ก่อนถึงวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ไม่มีเซียนการเมืองสำนักไหนเก็งว่าก้าวไกลจะเฉือนชนะเพื่อไทยก้าวขึ้นเป็นพรรคอันดับหนึ่งในสนามเลือกตั้งระดับชาติครั้งนี้ แม้ผลลัพธ์สุดท้าย ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยเดิมที่ก้าวไกลไม่อาจจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จและลงเอยในตำแหน่งฝ่ายค้าน แต่นี่อาจเป็นจุดพลิกผันหนึ่งซึ่งสะท้อนว่าคนไทยไม่ต้องการเห็นการเมืองแบบเดิมๆ อีกต่อไป  


ฟังหลากเสียงจากประชาชนในช่วงก่อนเลือกตั้ง

เลือกตั้ง หวังอะไร? ฟังเสียงผู้คนหลังสิ้นสุดยุคประยุทธ์ 2

‘คนจนเมือง’ คาดหวังอะไรในวันที่นโยบายไม่ตอบโจทย์

“ในวันที่เราพึ่งตัวเองไม่ไหว ก็อยากให้รัฐเป็นที่พึ่ง” เสียงจากแรงงานนอกระบบผู้ถูกมองข้ามถึงว่าที่รัฐบาล

ปากท้องสำคัญ แต่อุดมการณ์ต้องคงมั่นด้วย: การเลือกตั้งในสายตาคนอีสาน

‘เด็กคืออนาคตของชาติ?’: คุยกับนักขับเคลื่อนสังคมเจน Z ในวันที่เสียงเด็กไทยไม่อยู่ในสมการเลือกตั้ง

เด็กแว้น การเมือง และเลือกตั้ง: ฟังเสียงสะท้อนจากปลายท่อของวัยรุ่นท่อดัง


เกาะติดโค้งสุดท้ายกับ ‘Prime Time – นาทีชี้ชะตาว่าที่นายกฯ’

รับชมรายการทุกตอนได้ ที่ https://www.the101.world/category/media/talk-program/prime-time/


วิเคราะห์ชัยชนะของก้าวไกลที่ไม่มีใครคาดคิด

ปรากฏการณ์ก้าวไกล ทอร์นาโดการเปลี่ยนแปลง

อนาคตใหม่-ม็อบคนรุ่นใหม่-ปรากฏการณ์ก้าวไกล: พลังส่งต่อจาก 2562 ถึง 2566

ผีคณะราษฎร-ผีคอมมิวนิสต์-ผีทักษิณ: ไตรภาคชัยชนะปีกอนุรักษนิยม สู่บทใหม่ ‘ผีก้าวไกล’

ติดตามเนื้อหาเพิ่มเติมครบทุกมุมการเลือกตั้งได้ในซีรีส์ Thailand Next chapter



รอดหรือล่ม? รวมพลนโยบายและโจทย์ท้าทายรัฐบาลใหม่


หลังประเทศอยู่ใต้เงาระบอบประยุทธ์มาเนิ่นนาน รัฐบาลใหม่ย่อมถูกจับตามองว่านับจากนี้ ผลงานการบริหารจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พรรคเพื่อไทยจะหันหัวรัฐนาวานี้ไปทางไหน จะฝ่าบรรดาคลื่นลมไปอย่างสง่างามผ่านไปอย่างเหน็ดเหนื่อยเปียกปอน หรือจะล่มปากอ่าวเสียก่อนจะได้ออกเรือ?


เรือธงเพื่อไทย ดิจิทัลวอลเล็ตและซอฟต์พาวเวอร์

ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 : ฟังเสียงจากประชาชนผู้ถือสิทธิ์ถึงรัฐบาล

ดิจิทัลวอลเล็ต+ซอฟต์พาวเวอร์: สองเรือธง(ส่อ)ล่มปากอ่าว?

นโยบายแจกเงินสร้างพายุหมุนทางเศรษฐกิจได้จริงไหม? ย้อนมองกรณีศึกษาญี่ปุ่นและจีน


แก้ทุนผูกขาด ปรับโครงสร้างสังคมเศรษฐกิจ

แก่ก่อนรวย : โจทย์ใหญ่รัฐบาลใหม่ ในวันที่โครงสร้างรัฐไทยไม่อำนวย

สู้ทุนใหญ่-ทลายทุนผูกขาด: ‘เศรษฐกิจเพื่อคนไทย’ ก้าวย่างสำคัญของว่าที่รัฐบาลใหม่

ขันน็อตกฎหมายแข่งขันทางการค้า: เงื่อนไขจำเป็นสู่เศรษฐกิจใหม่ที่โตอย่างทั่วถึง


รัฐธรรมนูญใหม่

ออกแบบ ‘สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)’ อย่างไรให้นำไปสู่รัฐธรรมนูญของประชาชน

ถึงเวลาฟังเสียงคนรุ่นใหม่ ร่วมสร้างรัฐธรรมนูญไทยที่มีประชาธิปไตยเต็มใบอย่างแท้จริง

ปฏิรูปสถาบันทางการเมืองอย่างไรให้ตรงใจเยาวชน?



ภัยคุกคามนักเคลื่อนไหวและไอโอในโลกออนไลน์


การเมืองภาคประชาชนปีนี้อาจไม่มีอะไรหวือหวานัก แต่สำหรับโลกออนไลน์ การฟาดฟันทำร้ายผ่านคีย์บอร์ดยังคงดำเนินต่อไป นักเคลื่อนไหวหลายคนกำลังเจ็บปวดบอบช้ำอย่างเงียบงัน ขณะเดียวกัน ปฏิบัติการไอโอในโซเชียลมีเดียก็ยังคงมีเห็นให้เป็นระลอก


ฟังความเจ็บปวดของนักเคลื่อนไหว

สำรวจการคุกคามดิจิทัลต่อนักกิจกรรมไทย ผ่านงานวิจัย Unmasking Digital Harassment in Thailand: A Study of Online Smear Campaigns and the Impact on Civil Society

เมื่อวาจาคืออาวุธ : สำรวจสมรภูมิโจมตีนักเคลื่อนไหวการเมืองบนสังคมออนไลน์ ที่สะเทือนไกลถึงพื้นที่ชีวิตจริง

“อาการนี้จะติดตัวเราไปจนตาย” ไอโอ-การคุกคามออนไลน์ ผลทำลายล้างสุขภาพใจของนักเคลื่อนไหวการเมือง

ทำร้ายในโลกเสมือน สะเทือนชีวิตจริง: นักกิจกรรมการเมืองเจ็บแค่ไหนเมื่อโดนคุกคามออนไลน์?


เปิดปฏิบัติการไอโอ

หัวคะแนน ‘ไม่’ ธรรมชาติ : ตามล่าหา ‘ไอโอ’ ช่วงเลือกตั้ง 2566

ลอกคราบ ‘ไอโอ’ ชายแดนใต้ EP.1 : #แบ่งแยกดินแดน วาทกรรมผลิตซ้ำ..โดยกองกำลังคีย์บอร์ด?

ลอกคราบ ‘ไอโอ’ ชายแดนใต้ EP.2 : ยิ่งค้น ยิ่งเจอ! การขยายผลสู่ 27 แฟนเพจ-38 บัญชีต้องสงสัย

ลอกคราบ ‘ไอโอ’ ชายแดนใต้ EP.3: เมื่อรัฐคือผู้สร้างความแตกแยกในสังคม?



MOST READ

Thai Politics

3 May 2023

แดง เหลือง ส้ม ฟ้า ชมพู: ว่าด้วยสีในงานออกแบบของพรรคการเมืองไทย  

คอลัมน์ ‘สารกันเบื่อ’ เดือนนี้ เอกศาสตร์ สรรพช่าง เขียนถึง การหยิบ ‘สี’ เข้ามาใช้สื่อสาร (หรืออาจจะไม่สื่อสาร?) ของพรรคการเมืองต่างๆ ในสนามการเมือง

เอกศาสตร์ สรรพช่าง

3 May 2023

Politics

23 Feb 2023

จากสู้บนถนน สู่คนในสภา: 4 ปีชีวิตนักการเมืองของอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล

101 ชวนอมรัตน์สนทนาว่าด้วยข้อเรียกร้องจากนอกสภาฯ ถึงการถกเถียงในสภาฯ โจทย์การเมืองของก้าวไกลในการเลือกตั้ง บทเรียนในการทำงานการเมืองกว่า 4 ปี คอขวดของการพัฒนาสังคมไทย และบทบาทในอนาคตของเธอในการเมืองไทย

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์

23 Feb 2023

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save