fbpx

สำรวจการคุกคามดิจิทัลต่อนักกิจกรรมไทย ผ่านงานวิจัย Unmasking Digital Harassment in Thailand: A Study of Online Smear Campaigns and the Impact on Civil Society

ในยุคที่เทคโนโลยีการสื่อสารก้าวหน้าขึ้น ‘โลกออนไลน์’ รวมถึงพื้นที่โซเชียลมีเดีย ได้กลายเป็นพื้นที่หลักในการแสดงออกทางการเมืองของใครหลายคน รวมถึงบรรดานักกิจกรรมทางการเมืองต่างๆ แต่แม้การเคลื่อนไหวทางการเมืองจะขยับจากท้องถนนเข้ามาสู่พื้นที่บนโลกเสมือนก็ตาม การข่มขู่คุกคามต่อผู้ที่แสดงออกทางการเมืองในเชิงเห็นต่าง ก็ยังคงมีอยู่สืบมา โดยพัฒนารูปแบบขึ้นเป็นการคุกคามในพื้นที่ดิจิทัล ไม่ว่าจะในรูปแบบพื้นฐานอย่างการใช้ข้อความสร้างความเกลียดชัง-ใส่ร้ายป้ายสี-ข่มขู่คุกคาม รวมไปถึงการใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่ซับซ้อนขึ้น เช่น การทำปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร (ไอโอ), การแฮ็กข้อมูล และการติดตั้งโปรแกรมสอดแนมทางออนไลน์ เป็นต้น โดยในบริบทประเทศไทยนั้น ไม่ใช้เพียงประชาชนผู้มีความคิดต่างทางการเมืองที่โจมตีกันและกัน แต่พบว่ารัฐก็มีส่วนในการดำเนินปฏิบัติการคุกคามประชาชนฝั่งตรงข้ามทางโลกดิจิทัลเช่นกัน

ในหลายกรณี การคุกคามต่อประชาชนและนักเคลื่อนไหวทางการเมืองในไทยไม่ได้สิ้นสุดอยู่แค่ในโลกเสมือนเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวพันเชื่อมโยงกับการดำเนินการคุกคามในชีวิตจริง เช่น เกิดกรณีการทำร้ายร่างกาย การฟ้องร้องด้วยข้อกฎหมายที่ร้ายแรง รวมไปถึงการจับกุมควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ โดยมีฐานมาจากการกระทำบนโลกออนไลน์

ที่ผ่านมา นักกิจกรรมในไทยที่ถูกคุกคามด้วยรูปแบบต่างๆ เหล่านี้ต้องเผชิญผลกระทบต่อตัวเองไม่น้อย หลายกรณีได้รับผลกระเทือนต่อจิตใจจนถึงขั้นต้องเข้ารับการบำบัดเยียวยา นอกจากนี้ หลายคนยังได้รับผลกระทบไปถึงการใช้ชีวิตหลายด้าน ทั้งในเรื่องหน้าที่การงาน โอกาสทางการศึกษา และความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง แม้ที่ผ่านมาอาจมีการศึกษาถึงรูปแบบของการคุกคามทางดิจิทัลต่อนักกิจกรรมทางการเมืองอยู่บ้าง แต่ยังขาดงานที่ศึกษาในแง่ผลกระทบต่อนักกิจกรรมอย่างจริงจัง

101 ชวนอ่านรายงานวิจัยฉบับเต็มหัวข้อ ‘Unmasking Digital Harassment in Thailand: A Study of Online Smear Campaigns and the Impact on Civil Society’ โดย จันจิรา สมบัติพูนศิริ, S. Tyler Williams. วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา และ ศุภฤกษ์ เพ็ชรพล ภายใต้โครงการ Monitoring Centre on Organised Violence Events (MOVE) ที่ตีแผ่ให้เห็นถึงรูปแบบการคุกคามทางออนไลน์ต่อนักกิจกรรมทางการเมือง ความเชื่อมโยงกับการคุกคามทางโลกออฟไลน์ สำรวจผลกระทบต่อนักกิจกรรมผู้ตกเป็นเหยื่อของการคุกคาม พร้อมมองหาแนวทางและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่จะช่วยปกป้องประชาชนที่ใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองให้ปลอดภัยจากการถูกคุกคามบนโลกดิจิทัล

อ่านหรือดาวน์โหลดงานวิจัยได้ที่นี่

Powered By EmbedPress

MOST READ

Social Issues

9 Oct 2023

เด็กจุฬาฯ รวยกว่าคนทั้งประเทศจริงไหม?

ร่วมหาคำตอบจากคำพูดที่ว่า “เด็กจุฬาฯ เป็นเด็กบ้านรวย” ผ่านแบบสำรวจฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และความเหลื่อมล้ำ ในนิสิตจุฬาฯ ปี 1 ปีการศึกษา 2566

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

9 Oct 2023

Social Issues

5 Jan 2023

คู่มือ ‘ขายวิญญาณ’ เพื่อตำแหน่งวิชาการในมหาวิทยาลัย

สมชาย ปรีชาศิลปกุล เขียนถึง 4 ประเด็นที่พึงตระหนักของผู้ขอตำแหน่งวิชาการ จากประสบการณ์มากกว่าทศวรรษในกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการในสถาบันการศึกษา

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

5 Jan 2023

Social Issues

27 Aug 2018

เส้นทางที่เลือกไม่ได้ ของ ‘ผู้ชายขายตัว’

วรุตม์ พงศ์พิพัฒน์ พาไปสำรวจโลกของ ‘ผู้ชายขายบริการ’ ในย่านสีลมและพื้นที่ใกล้เคียง เปิดปูมหลังชีวิตของพนักงานบริการในร้านนวด ร้านคาราโอเกะ ไปจนถึงบาร์อะโกโก้ พร้อมตีแผ่แง่มุมลับๆ ที่ยากจะเข้าถึง

กองบรรณาธิการ

27 Aug 2018

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save