fbpx

Highlight ประจำเดือนกันยายน 2566

ความน่าจะอ่าน 2023 : หนังสือที่ดี อ่านกี่ที ก็ดีทุกหน

กลับมาอีกครั้งกับ ‘ความน่าจะอ่าน 2023’! จากการคัดสรรโดยเจ้าของสำนักพิมพ์ บรรณาธิการ ร้านหนังสือ และนักวาดภาพประกอบ เราได้รายชื่อหนังสือครบรสทั้งการเมือง ประวัติศาสตร์ ปรัชญา จิตวิทยา นวนิยาย และการ์ตูน จำนวนกว่า 100 เล่มมาไว้ในมือแล้ว 

ผลสรุปสุดท้าย หนังสือ Top Highlights จากคนในวงการ รวมกับหนังสือเล่มโปรดของคุณคืออะไร

นี่คงเป็นความไม่แน่นอนหนึ่งเดียวที่เราเฝ้ารอจะได้เห็น ตลอดเดือนกันยายน ปี 2023 นี้

ดูรายชื่อหนังสือ The Finalists ชุดที่ 1 ได้ ที่นี่

ดูรายชื่อหนังสือ The Finalists ชุดที่ 2 ได้ ที่นี่

ดูรายชื่อหนังสือ The Finalists ชุดที่ 3 ได้ ที่นี่

ดูรายชื่อหนังสือ Top Highlights ความน่าจะอ่าน 2022 ได้ที่นี่

ชวนทำความรู้จัก ‘ความน่าจะอ่าน’ มากขึ้น ที่นี่

20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.World เดือนกันยายน 2566

ที่นี่ไม่ใช่ Little Japan: บ้าน บาร์ ศาลเจ้า และเรื่องเล่าของคนญี่ปุ่นในศรีราชา

101 ชวนสำรวจชุมชนคนญี่ปุ่นในศรีราชาผ่าน ‘บ้าน-บาร์-ศาลเจ้า’ เมื่อคนญี่ปุ่นจำนวนมากย้ายมาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม เมืองท่าแห่งนี้จึงปรับตัวพร้อมให้บริการสำหรับวิถีชีวิตแบบคนญี่ปุ่น

คิดแบบไหน ก็ได้แบบนั้น : เอาตัวรอดด้วยหลักจิตวิทยา

นําชัย ชีววิวรรธน์ พาไปสำรวจ ‘จุดอ่อน’ ของสมองมนุษย์ ที่อยู่ในรูปแบบของ ‘อคติ’ ซึ่งส่งผลต่อการคิด ตัดสินใจ และอารมณ์ต่างๆ หากเราตระหนักถึงเรื่องพวกนี้ขึ้นมาได้ทันการณ์ ก็จะสามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบมากขึ้น

เมียสาวชาวอีสานของจอมพล ป. พิบูลสงคราม

อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ เขียนถึงอนุภรรยาสาวชาวอุดรธานีของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้มีนามว่า ‘คำนึงนิตย์ วงศ์วัฒนะ’ ชีวิตรักของท่านผู้นำวัย 60 ปีและอดีตผู้เข้าประกวดเวทีนางสาวไทยผู้นี้ ทำให้จอมพล ป. ถูกวิจารณ์ว่าเชิดชูนโยบายผัวเดียวเมียเดียวแต่กลับมีหลายเมียเสียเอง

“อุตสาหกรรมหนังไทยไม่เคยเล่นกันเป็นทีม” หนังไทยในยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงโดย อุ๋ย-นนทรีย์ นิมิบุตร

กล่าวกันว่า หนึ่งในช่วงยุคทองของหนังไทยคือปี 2540 ที่อุตสาหกรรมเต็มไปด้วยหนังหน้าตาแปลกใหม่หลากหลาย และหนึ่งในหัวเรือคนสำคัญของยุคสมัยนั้นคือ อุ๋ย-นนทรีย์ นิมิบุตร

ล่วงผ่านมาเกือบสามทศวรรษ นนทรีย์ทำหนังมาแล้วหลายต่อหลายเรื่อง เป็นหนึ่งในผู้กำกับที่ยืนระยะ ท้าทายการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย นับตั้งแต่ฟิล์มมาสู่ยุคดิจิตัล และเดินหน้าเข้าสู่โลกสตรีมมิง

นี่เป็นสังเวียนโหด เรียกร้องให้คนในแวดวงต้องปรับตัวแทบจะวันต่อวันเพื่อไม่ให้ตกขบวน และหากมองไกลออกไป เรายังต้องตั้งการ์ด รอรับมือคลื่นลมลูกใดที่กำลังจะมาถึงอีกหรือไม่

แล่ประวัติศาสตร์จากซี่โครงวัว: ขุดปริศนาการเดินทางของวัวโบราณ 800 ปี

101 ชวนสำรวจการขุดค้นโครงกระดูกวัวโบราณ 800 ปีที่ลพบุรี เพื่อสืบหาสายพันธุ์วัวจากการตรวจดีเอ็นเอ เปิดวิธีทำงานด้านโบราณคดีเพื่อทำความเข้าใจอดีตของมนุษย์

‘แมนสรวง’ ลับลวงพราง ฉบับ ‘สว่างจิต’

‘กัลปพฤกษ์’ จัดหนักๆ เน้นๆ ถึง ‘แมนสรวง’ (2023) หนังไทยที่พูดถึงศิลปะการแสดง, มิตรภาพ, การเมืองในช่วงรัชกาลที่ 3 ทั้งยังเล่าด้วยน้ำเสียงแบบหนังรหัสคดี… แต่ทำไมทั้งหมดนี้มันออกมารสขมปร่า ดูเหมือนไม่ค่อยจะถูกปาก ‘กัลปพฤกษ์’ เท่าไหร่เลย?

‘เรียนไม่ได้หรือไม่เคยปรับ’: สำรวจการศึกษาใน ‘เด็กพิเศษ’ ที่ไม่เคยพิเศษในระบบการศึกษาไทย กับ ชนิศา ตันติเฉลิม

101 สนทนากับชนิศา ตันติเฉลิม ถึงเด็กพิเศษ ปัญหาการศึกษาพิเศษ และการผลิตบุคลากรครูที่ยังคงทำให้การศึกษายังไม่ใช่ของทุกคนอย่างแท้จริง

ลบแผลอาณานิคมด้วยชาตินิยม: อินเดียและภารัตในทัศนะของ สุรัตน์ โหราชัยกุล

หลากหลายความเห็นน่าสนใจเมื่อผู้คนเห็นว่าอินเดียใช้ชื่อ ‘ภารัต’ ในการออกบัตรเชิญผู้นำกลุ่ม G20

ภารัตมีความหมายอะไร แฝงนัยยะของชาตินิยมฮินดูไหม หรือถึงที่สุด นี่อาจเป็นคำประกาศกึกก้องที่บอกโลกในการจะลบแผลอาณานิคมที่ตะวันตกทิ้งไว้

101 สนทนากับ ผศ.สุรัตน์ โหราชัยกุล ว่าด้วยประเด็นชาตินิยม, อาณานิคม และก้าวใหญ่ยักษ์ลำดับถัดไปของอินเดียในเวทีโลก

ยิ่งเปลี่ยน ยิ่งเหมือนเดิม ? : ความท้าทายและทิศทางการต่างประเทศไทยในรัฐบาลใหม่

101 ชวนย้อนมองการต่างประเทศไทยตลอด 9 ปีที่ผ่านมาภายใต้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ประเมินความท้าทายที่ไทยกำลังเผชิญ และฟังข้อเสนอจากผู้เชี่ยวชาญถึงทิศทางการต่างประเทศภายใต้รัฐบาลใหม่ที่นำโดยพรรคเพื่อไทย โจทย์อะไรบ้างที่รัฐบาลต้องนำไปขบคิด

การเมืองเรื่องสหพันธรัฐในพม่า

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี เขียนถึงหนังสือเรื่อง ‘การเมืองของสหพันธรัฐในพม่า’ ของดุลยภาค ปรีชารัชช ว่าด้วยกระบวนการมุ่งสู่ความเป็นสหพันธรัฐของพม่า

ธงชัย วินิจจะกูล: สู่หน้าถัดไปของประวัติศาสตร์สามัญชนในยุค ‘Post-นิธิ เอียวศรีวงศ์’

101 สรุปงานปาฐกถาโดยธงชัย วินิจจะกูล ถึงการจากไปของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ซึ่งนำไปสู่คำถามถึงแวดวงการศึกษาประวัติศาสตร์สังคมไทยนับจากนี้

เดินหน้าเจรจาเขตทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา: แต่ใช่ว่าจะคืบหน้าได้ง่ายๆ

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี ชวนทบทวนประเด็นปัญหาและวิเคราะห์ปัจจัยที่เอื้ออำนวยและเป็นอุปสรรคต่อการเจรจาเรื่องเขตทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา

MONSTER เพื่อนเกลอสมองหมู

‘กัลปพฤกษ์’ เขียนถึง Monster (2023) ภาพยนตร์ลำดับล่าสุดของ ฮิโรคาสุ โครีเอดะ ผู้กำกับชาวญี่ปุ่น กับเรื่องราวแสนสะท้านสะเทือนหัวใจของเด็กชายสองคน

แต่เดี๋ยวก่อน! อย่าเพิ่งคิดไปว่านี่เป็นบทวิจารณ์ธรรมดาๆ เพราะระดับ ‘กัลปพฤกษ์’ เขาเคย ‘ธรรมดา’ ที่ไหน เมื่อในงานวิจารณ์รอบนี้ เขาปล่อยแถลงการณ์ Dogmouth’23 (แน่นอนว่ามีต้นธารมาจาก Dogma’95 กระแสทำหนังเดนมาร์ก) ว่าด้วยการวิจารณ์อันแสนจะบริสุทธิ์ผุดผ่อง!

โจ ด่านช้าง, หน่อง ท่าผา, ชัยภูมิ ป่าแส ฯลฯ: ‘วิสามัญฆาตกรรม’ ที่กลายเป็นเรื่องสามัญ

สมชาย ปรีชาศิลปกุล ชวนมองการวิสามัญฆาตกรรมในฐานะการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำให้บุคคลถึงแก่ความตาย อันสมควรมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด

กลุ่มชาติพันธุ์ไม่ใช่ ‘คนอื่น’: เปิดร่าง ‘พ.ร.บ.ชาติพันธุ์’ คืนชีวิต สิทธิ และตัวตนให้พลเมืองทุกกลุ่ม กับ มานพ คีรีภูวดล

101 สนทนากับ มานพ คีรีภูวดล ผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ถึงสาระสำคัญของ พ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง มุมมองของเขาต่อความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของไทย ไปจนถึงเส้นทางการต่อสู้เพื่อพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ และการเข้าสู่เส้นทางการเมืองในนามของสมาชิกผู้แทนราษฎร สัดส่วนชาติพันธุ์

อักษรไทในเวียดนามกับกำเนิดอักษรไทยสยาม?

ยุกติ มุกดาวิจิตร เขียนถึงประวัติศาสตร์ที่มาที่ไปและพัฒนาการของภาษาไทในเวียดนามตามจากหลักฐานของอักษร-วรรณคดี-การเมือง

จะมีรัฐสวัสดิการ รัฐบาลต้องทำอะไรบ้าง ? : สำรวจการทำงานของรัฐบาลเดนมาร์ก

โกษม โกยทอง เขียนถึงเบื้องหลังการจัดการและระบบการสร้างรัฐสวัสดิการที่เข้มแข็งของรัฐบาลเดนมาร์ก เพื่อสร้างตาข่ายสังคมให้ประชาชนอย่างเท่าเทียม

หัวคะแนน ‘ไม่’ ธรรมชาติ : ตามล่าหา ‘ไอโอ’ ช่วงเลือกตั้ง 2566

101 ร่วมกับ DEAL ทำการสืบสวนหากลุ่มบัญชีที่ต้องสงสัยว่าเป็นไอโอ ทำงานปั่นกระแสให้พรรคการเมืองและชักจูงความคิดคนในช่วงเลือกตั้ง 2566

เมื่อการศึกษาเผชิญหน้า AI: แง่มุมไหนที่การศึกษาไทยต้องเตรียมตัว

101 ชวนทำความเข้าใจฉากทัศน์การใช้ AI ในการเรียนรู้ เตรียมความพร้อมสมรรถนะทั้งผู้สอนและผู้เรียนท่ามกลางการพัฒนาของปัญญาประดิษฐ์ ไปจนถึงเรียนรู้จากกรณีศึกษาในประเทศไทยที่มีการประยุกต์ใช้ AI

นับหนึ่งรัฐบาลเศรษฐา นับถอยหลังพรรคเพื่อไทย ไม่สูญพันธุ์ แต่ต่ำร้อย

คอลัมน์ My Voice เดือนนี้ ประทีป คงสิบ ประเมินหน้าตา ครม. และการทำงานของรัฐบาลเศรษฐา ว่าจะส่งผลอย่างไรต่อคะแนนเสียงพรรคเพื่อไทยในอนาคต

ผลงานใหม่เดือนกันยายน 2566 ของ 101PUB – 101 Public Policy Think Tank ศูนย์ความรู้นโยบายสาธารณะ

จับตางบ USO กสทช.: 8 พันล้านบาทกับการใช้เงินนอกเหนือภารกิจหลัก

101 PUB ชวนสำรวจปัญหาการปฏิบัติงานด้าน USO ของ กสทช. พร้อมวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและนำเสนอแนวทางการแก้ไข

ออกแบบ ‘สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)’ อย่างไรให้นำไปสู่รัฐธรรมนูญของประชาชน

101 PUB (101 Public Policy Think Tank) นำเสนอหลักการพื้นฐานในการออกแบบ สสร. ให้มีประสิทธิภาพและความชอบธรรม เพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญของประชาชน

ลดค่าไฟ นโยบายช่วยคนรวย?

101 PUB ชวนสำรวจนโยบายลดค่าไฟของนายกฯ เศรษฐา ว่าใครคือผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุดจากนโยบาย พร้อมทั้งแนวทางยกระดับการลดค่าไฟให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

กฎหมายออกกี่โมง?: ชำแหละความล่าช้าในการออกกฎหมาย และข้อเสนออัปสปีดสภาไทย

กฎหมายออกกี่โมง?: ชำแหละความล่าช้าในการออกกฎหมาย และข้อเสนออัปสปีดสภาไทย

101 PUB ชวนสำรวจกระบวนการในการออกกฎหมายของไทยว่าใช้เวลาประมาณเท่าใด เราจะสามารถปรับปรุงแก้ไขให้กระบวนการในสภาผู้แทนราษฎรรวดเร็วขึ้นได้อย่างไร

ส่อง ‘งบต้านโกง’ ไทย ใช้ทำอะไร คอร์รัปชันไม่ลด

101 PUB ชวนสำรวจความจริงจังความจริงจังแข็งขันของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาทุจริตผ่านงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้าน ‘ทุจริต’ ‘คอร์รัปชัน’ สร้าง ‘คุณธรรม’ ‘ความโปร่งใส’ ว่าถูกใช้สอยได้เกิดประโยชน์และตอบโจทย์กับปัญหาที่เรื้อรังหลายทศวรรษนี้หรือไม่

โทษอาญาเฟ้อ: ภาพสะท้อนจารีตปกครองแบบไทยๆ

101 PUB ขอชวนทุกท่านมาทำความเข้าใจสภาพปัญหาของโทษอาญาเฟ้อและค้นหาสาเหตุว่าทำไมการปฏิรูปที่ผ่านถึงไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้

ถึงเวลาเพิ่มอายุเกษียณ แก้จนยามแก่ สร้างระบบบำนาญยั่งยืน?

ถึงเวลาเพิ่มอายุเกษียณ แก้จนยามแก่ สร้างระบบบำนาญยั่งยืน?

101 PUB ชวนคิดว่า ‘ถึงเวลาหรือยังที่ไทยจะเพิ่มอายุเกษียณ?’ ขึ้นจาก 60 ปี และ 55 ปี เพื่อพัฒนาระบบบำนาญ และลดความเสี่ยงยากจนยามชราอย่างยั่งยืน

รายการและคลิปวิดีโอยอดนิยม เดือนกันยายน 2566

Upskill Reskill จะอยู่กันอย่างไร เมื่อโลกบอกให้เราต้อง ‘เก่งขึ้น’

สำหรับมนุษย์ทำงาน เรากำลังเข้าสู่ยุคสมัยที่การ Upskill และ Reskill หรือคือการเรียนรู้เพื่อเพิ่มและพัฒนาทักษะใหม่ๆ ให้ตัวเอง กลายเป็นหนึ่งในสิ่งที่ ‘จำเป็น’ เพื่อให้เรา ‘อยู่รอด’ ต่อไปได้ ในการจะเพิ่มและพัฒนาทักษะ คำถามคือเราควรเรียนอะไรใหม่บ้าง โลกกำลังเรียกร้องอะไรจากเราอีก และรัฐบาลหรือหน่วยงานต่างๆ ควรเป็นผู้ประคับประคองมนุษย์ทำงานอย่างเราๆ มากน้อยแค่ไหน

รักวัวให้ผูก รักลูกให้นึกถึงจิตใจ ครอบครัวไทยกับบาดแผลจากความหวังดี

101 ชวนทบทวนเบื้องหลังของลักษณะความสัมพันธ์ในครอบครัว จากทั้งความเชื่อ ค่านิยม โครงสร้างสังคม และนโยบายรัฐ ที่ล้วนมีส่วนในการสร้างบาดแผลจากรุ่นสู่รุ่น พร้อมตั้งภาพฝันถึงเป้าหมาย ‘ความเท่าเทียมในความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว’

101 Public Forum เรียนได้ เรียนดี ไม่มีข้อจำกัด

101 ร่วมกับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ชวนพูดคุยกะเทาะปัญหาระบบการศึกษาที่ไม่ตอบโจทย์ชีวิตจริงของผู้เรียน ร่วมระดมสมองถึงนวัตกรรมรูปแบบต่างๆ ที่จะโอบรับคนแต่ละกลุ่มให้เข้าถึงการศึกษา และมองไปถึงโจทย์ใหญ่คือการยกระดับสู่สังคมแห่งการเรียนรู้

ค.การเมือง EP.1 : เศรษฐา 1 – ดุลอำนาจการเมืองไทย – ความท้าทายของรัฐบาลใหม่

คอการเมืองห้ามพลาด โผ ครม. สะท้อนโครงสร้างการเมืองไทยอย่างไร เศรษฐาจะเป็นนายกรัฐมนตรีแบบไหน รัฐบาลเศรษฐาจะตอบโจทย์การเมืองและนโยบายได้หรือไม่ พบกับ ค.การเมือง EP.1

ค.การเมือง EP.2 : เพื่อไทย is the new ประชาธิปัตย์?

การแพ้เลือกตั้งเป็นแค่เรื่องชั่วคราว หรือเป็นขาลงระยะยาว ไทยรักไทยจะยังได้ผลแค่ไหนในการเมืองปัจจุบัน ใครเหมาะจะเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ และอนาคตพรรคจะเป็นอย่างไร

101 POSTSCRIPT Ep.81 : เปลี่ยนรัฐบาล-เปลี่ยนผ่านประชาธิปไตย

ยังไม่ทันที่รัฐบาลใหม่จะเริ่มทำงานอย่างเป็นทางการ แต่เกมสภาระหว่างรัฐบาลและฝ่ายค้านกลับเข้มข้นยิ่ง เราควรตั้งหลักมองการเมืองไทยจากนี้ไปอย่างไรดี?

101 POSTSCRIPT Ep.82 : 19 กันยา…ที่เงียบเหงา

ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่วาระครบรอบ 17 ปี ‘รัฐประหาร 19 กันยา’ จะเงียบเหงาผิดปกติ เมื่อบรรดาคู่ขัดแย้งกำลังอยู่ในโหมดการเมืองแบบ ‘ข้ามขั้ว / สลายขั้ว’ แต่รัฐประหารครั้งนั้นฝากมรดกอะไรไว้กับเราบ้าง?

101 One-on-one Ep.309 ‘แมนสรวง’ ศิลปะและการตีความประวัติศาสตร์ กับ นักรบ มูลมานัส

101 ชวน นักรบ มูลมานัส Creative Art Director และ Assistant to Executive Producer ของภาพยนตร์แมนสรวง มาคุยว่าด้วยเรื่องศิลปะในภาพยนตร์และการตีความประวัติศาสตร์

101 One-on-One Ep.310: อสังหาฯ ล้ม-ว่างงานพุ่ง: ขาลงเศรษฐกิจจีน? กับ อาร์ม ตั้งนิรันดร

101 ชวน อาร์ม ตั้งนิรันดร รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุยเรื่องปัญหาเศรษฐกิจจีนในวันนี้ใหญ่แค่ไหน มีโอกาสลุกลามเป็นวิกฤตครั้งใหม่หรือไม่ และเราจะรับมือกันอย่างไร

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save