fbpx

จับตางบ USO กสทช.: 8 พันล้านบาทกับการใช้เงินนอกเหนือภารกิจหลัก

ประเด็นสำคัญ

  • กสทช. มีหน้าที่จัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (Universal Service Obligation, USO) แต่กลับจัดสรรงบ USO จำนวนมากไปใช้ด้านอื่น อาทิ การฝึกทักษะ การให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่หน่วยงานรัฐ หรือแม้แต่การจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ ทั้งที่ยังไม่บรรลุเป้าหมายการเข้าถึงบริการโดยทั่วถึง
  • บางโครงการ USO มีปัญหาด้านประสิทธิภาพ อาทิ การขยายบริการอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ที่มีผู้ให้บริการและบางโครงการมีปัญหาความไม่โปร่งใสจนต้องหยุดชะงักไป
  • กสทช. ต้องปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องและแผนงาน USO ให้ภารกิจหลักยึดโยงกับการสร้างการเข้าถึง พร้อมทั้งจัดให้มีกลไกลการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบที่ดี เช่น มีการปรึกษาหารือกับภาคส่วนต่างๆในการวางแผนงาน USO และเปิดข้อมูลผลการทำงานต่อสาธารณะ

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีพันธกิจการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (Universal Service Obligation, USO) ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 เพื่อขยายบริการให้ครอบคลุมพื้นที่ที่ไม่มีผู้ประกอบการให้บริการ (Availability) ในราคาที่ผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงได้ (Affordability) รวมทั้งเอื้ออำนวยให้ผู้พิการและกลุ่มอื่นที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษเข้าถึง บริการพื้นฐานด้วย (Accessibility)

กสทช. ดำเนินงานด้าน USO โดยจัดทำแผนงาน USO และเรียกเก็บเงินจากรายได้ของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมมาเป็นงบประมาณสำหรับการปฏิบัติงาน จนถึงปัจจุบัน กสทช.จัดทำแผนงาน USO มาแล้วทั้งสามฉบับโดยมีงบประมาณเฉลี่ยปีละ 8 พันล้านบาทเทียบเท่าหรือมากกว่างบประมาณของหน่วยรัฐระดับกรมหลายแห่ง ซึ่งหากมีการบริหารจัดการที่ดี ก็น่าจะช่วยสร้างหลักประกันในการเข้าถึงบริการโทรคมนาคมพื้นฐานแก่ทุกคนในสังคมได้

แต่การปฏิบัติงาน USO ที่ผ่านมามีการจัดสรรงบจำนวนมากไปใช้กับภารกิจอื่น อาทิ การให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่หน่วยงานรัฐ การจัดฝึกอบรมทักษะ หรือแม้แต่การจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ และมีแผนที่จะสนับสนุนระบบโทรคมนาคมด้านความมั่นคงด้วย ทั้งที่คนบางกลุ่มยังเข้าไม่ถึงบริการโทรคมนาคมพื้นฐาน บางโครงการมีปัญหาการบริหารที่ไม่มีประสิทธิภาพโดยมีการลงทุนซ้ำซ้อนในพื้นที่ที่มีภาคเอกชนให้บริการและไม่สามารถขยายการเข้าถึงได้ตามเป้าหมาย บางโครงการประสบข้อครหาเรื่องความไม่โปร่งใสจนต้องหยุดชะงักไป ตลอดจนการบริหารงานในภาพรวมยังขาดกลไกการมีส่วนร่วมจากฝ่ายต่างๆที่ไม่ใช่หน่วยงานรัฐและไม่มีกลไกความรับผิดชอบต่อสาธารณะ   

เพื่อให้การดำเนินงาน USO บรรลุเป้าหมายการสร้างการเข้าถึงโดยทั่วถึง กสทช. ต้องปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องและแผนงาน USO ให้ยึดโยงกับภารกิจการสร้างการเข้าถึง จัดทำระบบฐานข้อมูลแผนที่โครงข่ายบริการและข้อมูลอื่นที่จำเป็นสำหรับการวางแผนและบริหารจัดการด้าน USO  ตลอดจนจัดให้มีกลไกลการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบที่ดี เช่น การปรึกษาหารือกับภาคส่วนต่างๆ ในการวางแผน USO และการเปิดข้อมูลผลการทำงานต่อสาธารณะ

101 PUB ชวนสำรวจปัญหาการปฏิบัติงานด้าน USO ของ กสทช. พร้อมวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและนำเสนอแนวทางการแก้ไข


ผลงานชิ้นนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสภาองค์กรของผู้บริโภค และ The101.world


ดาวน์โหลดงานวิจัยได้: ที่นี่

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Social Issues

9 Oct 2023

เด็กจุฬาฯ รวยกว่าคนทั้งประเทศจริงไหม?

ร่วมหาคำตอบจากคำพูดที่ว่า “เด็กจุฬาฯ เป็นเด็กบ้านรวย” ผ่านแบบสำรวจฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และความเหลื่อมล้ำ ในนิสิตจุฬาฯ ปี 1 ปีการศึกษา 2566

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

9 Oct 2023

Social Issues

5 Jan 2023

คู่มือ ‘ขายวิญญาณ’ เพื่อตำแหน่งวิชาการในมหาวิทยาลัย

สมชาย ปรีชาศิลปกุล เขียนถึง 4 ประเด็นที่พึงตระหนักของผู้ขอตำแหน่งวิชาการ จากประสบการณ์มากกว่าทศวรรษในกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการในสถาบันการศึกษา

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

5 Jan 2023

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save