จากความไม่แน่นอนของการเมืองต่างประเทศมากมายที่เกิดขึ้นในปี 2566 เพียงพริบตาเดียว โลกก็กำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ปี 2567 โดยที่หลายสถานการณ์จากปีเก่ายังไม่คลี่คลาย ตั้งแต่สงครามรัสเซียบุกยูเครน วิกฤตเศรษฐกิจโลก มาจนถึงในปีนี้ที่ปมขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ปะทุขึ้นอย่างรุนแรงมากเท่าพันทวี ซึ่งแม้ปัญหาใหญ่ร่วมกันของทุกประเทศในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอย่างสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 จะดีขึ้นบ้างแล้ว แต่หลายคนมองว่ายังมีปัญหาอีกมากให้ต้องสะสาง ซ้ำยังอาจหนักหนารุนแรงยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา
ในช่วงสถานการณ์ที่การเมืองและระเบียบโลกมีเรื่องให้อกสั่นขวัญแขวนอยู่ตลอดเวลา ท่ามกลางวิกฤตที่หลากหลายเช่นนี้ โลกจะเดินต่อไปอย่างไร ประเทศไทยจะอยู่ตรงไหนในวงโคจรของปัญหา และมีโอกาสหรือแม้แต่ความท้าทายแบบไหนรอเราอยู่บ้าง
101 ชวนมองย้อนชุดผลงานว่าด้วยเรื่องสำคัญของการเมืองทั่วโลกในปี 2566 ว่าด้วยโจทย์วิกฤตโลกที่เรายังต้องเผชิญต่อไปในอนาคต ทิศทางของระเบียบโลกท่ามกลางสงครามและความรุนแรงที่ปะทุขึ้นในศตวรรษที่ 21 และที่ทางของการเมืองไทย-การต่างประเทศไทยในกระแสลมแห่งความเปลี่ยนแปลง
อิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่ไม่มีวันจบ
ร่วมทำความเข้าใจเงื่อนไขและตัวแปรในหลากหลายมิติของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและรัฐอาหรับ อนาคตของทั้งสองฟากฝั่ง ตลอดจนระเบียบโลกใหม่ที่ก่อตัวขึ้นมาหลังยุคสงครามเย็น
วิภาษวิธีของนายทาสกับทาส: การต่อสู้ครั้งสุดท้ายระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอล
ฉากทัศน์ต่อไปของอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่สั่นสะเทือนระเบียบโลกใหม่: ศราวุฒิ อารีย์
“หนุนปาเลสไตน์” จุดยืนที่ไม่เปลี่ยนแปลงของมาเลเซีย
ปฏิกิริยาของประเทศในลาตินอเมริกาต่อสงครามระหว่างกลุ่มฮามาสกับอิสราเอล
เฮบบรอนกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ความเหมือนที่แตกต่าง
ชีวิตแรงงานไทยเปราะบางอย่างยิ่งต่อสงคราม: คุยกับ Yahel Kurlander ผู้ศึกษาชีวิตแรงงานไทยในอิสราเอล
รัสเซีย-ยูเครน บนความปกติใหม่ของสงคราม
24 กุมภาพันธ์ 2022 กองทัพรัสเซียเปิดฉากปฏิบัติการทางการทหารบุกเข้าสู่ประเทศยูเครน แม้จะมีการคาดหมายในช่วงแรกว่ารัสเซียอาจปิดฉากปฏิบัติการได้ในเวลาไม่กี่วัน ทว่าการสู้รบที่แท้จริงกลับยืดเยื้อจนเวลาล่วงผ่านมาครบ 1 ปี ระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมาไม่เพียงแต่มีความหมายต่อรัสเซียและยูเครนเองเท่านั้น แต่ยังส่งผลสะเทือนในระดับโลก และเรียกได้ว่าเป็นจุดหักเหสำคัญที่อาจทำให้ระเบียบโลกไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป
1 ปีที่ยังไม่สิ้นสุดของสงครามรัสเซีย-ยูเครน กับ จิตติภัทร พูนขำ
‘สงครามรัสเซีย-ยูเครน’ ในมุมทูตยุโรป: 1 ปีที่สันติภาพยังคงเลือนราง
1 ปี สงครามรัสเซีย-ยูเครน: หนทางสู่สันติภาพที่ไม่ลงรอย
สหรัฐฯ ญาติดีกับศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC): แนวโน้มของสงครามรัสเซียต่อยูเครน
สันติภาพของยูเครนบนทางเลือกแห่งอาวุธนิวเคลียร์: ‘คงครอบครองไว้’ หรือ ‘สละละทิ้งไป’
อาเซียนภูมิภาคแห่ง (การไร้) ความหวัง
สำรวจอิมแพ็กผลการเลือกตั้งไทยที่อาจสะเทือนถึงการเมืองในอาเซียน และวิกฤติทางการเมืองที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วอาเซียน ไปจนถึงบทวิเคราะห์โจทย์ใหญ่ที่อาเซียนอาจต้องเผชิญในทางการต่างประเทศผ่านเลนส์ระดับภูมิภาค
กระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงระหว่างไทยและเพื่อนบ้านอาเซียน
“เราพ่ายแพ้ต่อโฆษณาชวนเชื่อ” บทเรียนจากเลือกตั้งฟิลิปปินส์สู่เลือกตั้งไทย ในยุคข้อมูลเท็จระบาด
เลือกตั้งไทยสะเทือนถึงอาเซียน?: กระแสลมประชาธิปไตยและความท้าทายของรัฐบาลใหม่กับ สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี
สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงข้ามลำน้ำโขง: เอฟเฟ็กต์เลือกตั้งไทย พัดความหวังประชาธิปไตยไปลาว
เหตุบ้านการเมืองในภูมิภาคอาเซียน
Quiet Diplomacy: การทูตของไทยเงียบแค่ไหนในวิกฤตพม่า
การเลือกตั้งเพื่อสืบทอดอำนาจในกัมพูชาและพม่า
เขตทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา, ชาตินิยมเป็นพิษอักเสบ
จากเจ้าภาพการประชุม G20 สู่ประธานอาเซียน 2023: บทบาทของอินโดนีเซียที่น่าจับตามอง
ทำไมอินโดนีเซียจึงเป็นประเทศที่เหล่ามหาอำนาจจับตามอง?
ก้าวที่ยังไม่ไกล ของพรรคคนรุ่นใหม่มาเลเซีย-อินโดนีเซีย