fbpx

ปฏิกิริยาของประเทศในลาตินอเมริกาต่อสงครามระหว่างกลุ่มฮามาสกับอิสราเอล

สงครามระหว่าง ‘กลุ่มฮามาส’ กับ ‘อิสราเอล’ ที่ลากยาวมาเป็นเดือนนั้นได้สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินทั้งสองฝ่าย โดยรายงานล่าสุดมีชาวอิสราเอลเสียชีวิตกว่า 1,400 คน ขณะที่ชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในฉนวนกาซาที่เป็นบริเวณที่หลบซ่อนตัวชองกลุ่มฮามาสเสียชีวิตไปกว่า 9,500 ราย และยังมีผู้บาดเจ็บเป็นจำนวนมาก แม้จะมีเสียงเรียกร้องจากนานาชาติให้มีการหยุดยิงชั่วคราว เพื่อเปิดช่องทางให้มีการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมไม่ว่าจะเป็นอาหาร ยา เครื่องปั่นกระแสไฟฟ้า และน้ำสะอาดจากนานาชาติเข้าไปในฉนวนกาซาก็ตาม แต่นายกรัฐมนตรี เบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอลก็ยังประกาศที่จะส่งทหารเข้าไปโจมตีกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซาต่อ แม้ประเทศมหาอำนาจที่ใกล้ชิดกับอิสราเอลเป็นอย่างยิ่งอย่างสหรัฐอเมริกาจะขอร้องเองก็ตาม แต่รัฐบาลของอิสราเอลก็ยังเดินหน้าทำสงครามต่ออย่างไม่หยุดยั้ง

ประเทศต่างๆ ในลาตินอเมริกามีปฏิกิริยาต่างๆ กันต่อการโจมดีทางการทหารครั้งนี้ของรัฐบาลอิสราเอล โดยที่อาร์เจนตินาที่เป็นที่ตั้งของชุมชมขาวยิวที่ใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกา ประชาชนได้ลุกขึ้นมาต่อต้านการกระทำของรัฐบาลอิสราเอล เฉกเช่นเดียวกับในเปรูและเม็กซิโกที่ประชาชนได้เดินลงบนท้องถนนมุ่งหน้าไปยังสถานทูตอิสราเอลในแต่ละประเทศเพื่อทำการประท้วง โดยมีประชาชนและนักศึกษาเข้าร่วมชุมนุมประท้วงในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก

สำหรับบราซิล พี่เบิ้มใหญ่สุดของภูมิภาคลาตินอเมริกานั้น ประธานาธิบดีลูลามีความเห็นว่าขบวนการฮามาสเป็นผู้จุดชนวนสงครามก่อน แต่ก็วิจารณ์อิสราเอลอย่างหนักที่โจมตีกลับทำให้ชาวปาเลสไตน์ล้มตายเป็นจำนวนมาก

ในขณะที่ประเทศที่แสดงความแข็งกร้าวต่อการกระทำครั้งนี้ของรัฐบาลอิสราเอลต่อชาวปาเลสไตน์ในลำดับต้นๆ ของลาตินอเมริกา ได้แก่ โคลอมเบีย ชิลี และโบลิเวีย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นรัฐบาลที่มีแนวคิดเอียงซ้ายทั้งนั้น โดยหนึ่งในประเทศที่ใหญ่เป็นลำดับต้นๆ ของลาตินอเมริกา อย่างโคลอมเบีย เป็นประเทศกลุ่มแรกๆ ที่ออกมาคัดค้านการที่รัฐบาลอิสราเอลโจมตีฉนวนกาซา โดยต่อมารัฐบาลโคลอมเบียได้เรียกตัวเอกอัครราชทูตโคลอมเบียประจำกรุงเทลอาวีฟให้กลับประเทศ เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับการกระทำของรัฐบาลอิสราเอล นอกจากนี้ เพื่อที่จะช่วยเหลือชาวปาเลสไตน์ รัฐบาลโคลอมเบียภายใต้การนำของกุสตาโว เปโดร ได้ส่งสิ่งบรรเทาทุกข์ทางเครื่องบินเดินทางไปยังอิสราเอลเพื่อรอให้ความช่วยเหลือชาวปาเลสไตน์ที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์วิกฤตการณ์ที่เลวร้ายอย่างหนัก

นอกจากนี้ประธานาธิบดี กุสตาโว เปโดร ถึงกับเรียกการการกระทำครั้งนี้ของรัฐบาลอิสราเอลต่อชาวปาเลสไตน์ว่าเป็น “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” ผ่านทางโซเซียลมีเดียส่วนตัวของเขา ทั้งๆ ที่ก่อนหน้าที่จะเกิดสงครามดังกล่าว ความสัมพันธ์ของอิสราเอลกับโคลอมเบียนั้นอยู่ในขั้นดีมาก โดยทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่ดีกันมาอย่างยาวนาน สถานทูตอิสราเอลในโบโกตา เมืองหลวงของโคลอมเบีย ก็ได้ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศอยู่อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งความร่วมมือทางการทหารที่ทั้งสองประเทศมีต่อกันมาโดยตลอด

แต่แล้วเหตุการณ์ก็เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศเสื่อมทรามอย่างทันที เมื่อโคลอมเบียหันไปสนับสนุนปาเลสไตน์ในสงครามครั้งนี้

ภาพแสดงการประท้วงของชาวโคลอมเบียต่อรัฐบาลอิสราเอลขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนชาวปาเลสไตน์ที่จัตุรัสโบลิวาร์ ใจกลางกรุงโบโกตา เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2023 ที่ผ่านมา

ขณะที่ประเทศโบลิเวียนั้นได้ประกาศมาตรการทางการทูตขั้นเด็ดขาดกับอิสราเอล คือประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับเทลอาวีฟ ถือเป็นประเทศแรกในลาตินอเมริกาที่ดำเนินการเช่นนี้ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของโบลิเวียประกาศกร้าวว่า การกระทำการปรามปรามชาวปาเลสไตน์ของรัฐบาลอิสราเอลนั้นเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างที่ยอมรับไม่ได้ และเรียกร้องให้สงครามสิ้นสุดลงเร็วที่สุด

สำหรับในกรณีของโบลิเวีย นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับรัฐบาลอิสราเอล รัฐบาลโบลิเวียภายใต้การนำของนายอีโว โมราเรส ประธานาธิบดีที่เป็นชนพื้นเมืองเป็นคนแรกของประเทศได้เคยตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอล ในปี 2009 เมื่อรัฐบาลของอิสราเอลในขณะนั้นได้บุกเข้าไปในฉนวนกาซาเช่นเดียวกัน

ต่อมาใน ปี 2019 รัฐบาลรักษาการณ์ฝ่ายขวาของโบลิเวียภายใต้การนำของประธานาธิบดีหญิงเจนนี แอ็กเนซ ได้รื้อฟื้นและสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอีกครั้งกับรัฐบาลอิสราเอล อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างโบลิเวียกับอิสราเอลนั้นอยู่ในสถานะลุ่มๆ ดอนๆ เมื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและโคลอมเบียตามที่ได้กล่าวไปแล้วก่อนหน้านั้น

อีกหนึ่งประเทศในลาตินอเมริกาที่เรียกตัวเอกอัครราชทูตของประเทศตัวเองกลับคือชิลี ซึ่งก็ไม่พอใจในการกระทำของรัฐบาลอิสราเอลต่อชาวปาเลสไตน์เป็นอย่างมาก ทั้งโคลอมเบียและชิลีต่างก็มองว่าเป็นการกระทำที่โหดร้ายป่าเถื่อนอย่างมากของรัฐบาลอิสราเอลในสงครามครั้งนี้

ส่วนเวเนซุเอลานั้นไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลอิสราเอลนับตั้งแต่อดีตประธานาธิบดีอูโก ชาเวซ ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีในปี 1998 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันภายใต้การนำของประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโร ที่ขึ้นมามีอำนาจตั้งแต่ปี 2013 เนื่องมาจากการที่อิสราเอลมีความใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก โดยสหรัฐอเมริกานั้นเป็นคู่รักคู่แค้นของเวเนซุเอลาตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีอูโก ชาเวซ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันเวเนซุเอลาก็มีความสัมพันธ์ทางการทูตที่ดีกับหลายๆ ประเทศในตะวันออกกลาง เพราะเวเนซุเอลาเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ก่อตั้ง ‘องค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันออก’ หรือ โอเปก ที่มีสมาชิกจำนวนมากเป็นประเทศในตะวันออกกลาง นอกจากนี้เวเนซุเอลายังให้การรับรองการก่อตั้งรัฐปาเลสไตน์อีกด้วย

ในเอกสารที่เผยแพร่โดย The Elcano Royal Institute ของประเทศสเปนระบุว่า ในสงครามที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้นั้น ประเทศในลาตินอเมริกาที่เห็นอกเห็นใจชาวปาเลสไตน์มักเป็นเป็นประเทศที่มีผู้นำหัวเอียงซ้าย ขณะที่ผู้นำในประเทศอื่นในภูมิภาคที่มีหัวเอียงขวาให้การสนับสนุนอิสราเอล

การที่ผู้นำรุ่นใหม่ในลาตินอเมริกาในปัจจุบันเป็นหัวเอียงซ้าย ยังส่งผลให้เขาเหล่านั้นให้ความสนใจในประเด็นปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชน และสงครามครั้งนี้ได้สะท้อนเสียงของพวกเขาให้โลกรู้ว่ามีประเทศในลาตินอเมริกาจำนวนไม่น้อยที่ยืนเคียงข้างกับหลักการสำคัญพื้นฐานของมนุษย์คือการมีชีวิตอยู่ สอดคล้องไปกับบริบทโลกในปัจจุบันที่ให้คุณค่าและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์เป็นลำดับต้นๆ อย่างโคลอมเบียนั้นต้องเผชิญกับปัญหาความรุนแรงภายในประเทศมานานหลายทศวรรษ รัฐบาลปัจจุบันพยายามที่จะหาทางเจรจาเสรีภาพกับทุกกลุ่มเพื่อให้เกิดสันติภาพที่แท้จริงและยั่งยืนในประเทศ ส่งผลให้โคลอมเบียกลายเป็นแกนนำสำคัญของการประท้วงการใช้ความรุนแรงของรัฐบาลอิสราเอลในครั้งนี้

MOST READ

World

1 Oct 2018

แหวกม่านวัฒนธรรม ส่องสถานภาพสตรีในสังคมอินเดีย

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก สำรวจที่มาที่ไปของ ‘สังคมชายเป็นใหญ่’ ในอินเดีย ที่ได้รับอิทธิพลสำคัญมาจากมหากาพย์อันเลื่องชื่อ พร้อมฉายภาพปัจจุบันที่ภาวะดังกล่าวเริ่มสั่นคลอน โดยมีหมุดหมายสำคัญจากการที่ อินทิรา คานธี ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก

1 Oct 2018

World

16 Oct 2023

ฉากทัศน์ต่อไปของอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่สั่นสะเทือนระเบียบโลกใหม่: ศราวุฒิ อารีย์

7 ตุลาคม กลุ่มฮามาสเปิดฉากขีปนาวุธกว่า 5,000 ลูกใส่อิสราเอล จุดชนวนความขัดแย้งซึ่งเดิมทีก็ไม่เคยดับหายไปอยู่แล้วให้ปะทุกว่าที่เคย จนอาจนับได้ว่านี่เป็นการต่อสู้ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่รุนแรงที่สุดในรอบทศวรรษ

จนถึงนาทีนี้ การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ยังดำเนินต่อไปโดยปราศจากทีท่าของความสงบหรือยุติลง 101 สนทนากับ ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงเงื่อนไขและตัวแปรของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น, ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและรัฐอาหรับ, อนาคตของปาเลสไตน์ ตลอดจนระเบียบโลกใหม่ที่ก่อตัวขึ้นมาหลังยุคสงครามเย็น

พิมพ์ชนก พุกสุข

16 Oct 2023

World

9 Sep 2022

46 ปีแห่งการจากไปของเหมาเจ๋อตง: ทำไมเหมาเจ๋อตง(โหด)ร้ายแค่ไหน คนจีนก็ยังรัก

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์ เขียนถึงการสร้าง ‘เหมาเจ๋อตง’ ให้เป็นวีรบุรุษของจีนมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าเขาจะอยู่เบื้องหลังการทำร้ายผู้คนจำนวนมหาศาลในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์

9 Sep 2022

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save