fbpx

สิทธิมนุษยชน 2566 : คนยังไม่เท่ากันและความยุติธรรมยังไม่เท่าเทียม

ปี 2566 อาจเป็นปีที่ประเด็นปัญหาเรื่องสิทธิด้านต่างๆ ถูกกลบด้วยกระแสการเมืองและเหตุการณ์ในสังคมที่ชัดเจนและน่าสนใจยิ่งกว่า ทว่า ตราบใดที่สังคมยังมีคนตกหล่นและถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง เรายังต้องกลับมาพูดถึง ‘สิทธิมนุษยชน’ อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิทธิที่จะได้รับความยุติธรรม

เด่นชัดที่สุดของปี คือกรณีคดีมาตรา 112 ที่ผู้ถูกกล่าวหาจำนวนมากไม่สามารถขอประกันตัว ถูกคุมขังก่อนมีคำตัดสิน และถูกปฏิบัติโดยไม่เป็นไปตามหลักการของกระบวนการยุติธรรม การอดอาหารประท้วงจึงเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ที่เลวร้ายไปกว่านั้น คือแม้เราจะมีรัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้ง สถานการณ์การจับกุมและลงโทษยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปราศจากการผ่อนปรนหรือบรรเทาลงแต่อย่างใด

ความสนใจเรื่องคดีมาตรา 112 กำลังจะหายไปจากหน้าสื่อ เช่นเดียวกับ ‘คดีตากใบ’ ซึ่งกำลังจะหมดอายุความในปี 2567 หากไม่มีทีท่าของการค้นหาผู้กระทำผิดมาลงโทษ หรือรับผิดชอบต่อความสูญเสียเมื่อ 25 ตุลาคม 2547 – จริงอยู่ที่ว่าปีนี้ เรามีการประกาศใช้ ‘พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565’ แล้ว แต่ถ้ารัฐยังเมินเฉยต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนครั้งใหญ่กรณีตากใบ คงสะท้อนความเข้มแข็งของการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวได้ไม่มากก็น้อย

ขณะเดียวกัน ความยุติธรรมต่อคนตัวเล็กตัวน้อยบนผืนแผ่นดินไทย อย่างกลุ่มผู้ลี้ภัย เด็กไร้สัญชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ ในการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่รัฐไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง

101 ขอพาคุณไปฟังสุ้มเสียงและพินิจมองปัญหาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมที่ผ่านมาในปีนี้ – ปีที่ดูเหมือนว่าสถานะของคนยังไม่เท่ากันและความยุติธรรมยังเกิดกับประชาชนอย่างไม่เท่าเทียม



112 ฝันร้ายดำเนินต่อไปไม่คลี่คลาย


ไร้คำพูดถึงคนถูกคุมขัง ไร้ร่องรอยของการแก้ไขกฎหมาย คือสภาพก่อนและหลังเลือกตั้งรัฐบาลใหม่ การจับกุมดำเนินคดียังเกิดขึ้นอย่างเงียบเชียบและต่อเนื่อง เปรียบเสมือนฝันร้ายที่หลอกหลอนคนไทย ชวนให้ตั้งคำถามว่าความยุติธรรมต่อคนเห็นต่างอาจไม่มีอยู่จริง?


เมื่อกระบวนการยุติธรรมไม่ตรงไปตรงมา การอดอาหารจึงเกิดขึ้น : ว่าด้วยเงื่อนไขและการถอนประกัน 112

“เลือดต้องแลกด้วยเลือด”: การต่อสู้ในระบบอันวิปริตผิดเพี้ยนของ ‘ตะวัน-แบม’ ที่เดิมพันด้วยชีวิตและลมหายใจ

ติดคุกฟรี ชีวิตพัง ‘คดีพี่ฟ้องน้อง’ ที่ยืนยันว่า 112 มีปัญหา

“พ่อกูชื่อมานะ”: ความเห็นของพยานคนหนึ่งต่อความผิดตามมาตรา 112

บันทึกของพยานคดี 112 ต่อระบบความรู้ของนิติศาสตร์ไทย

‘สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผิด’ สภาวะยกเว้นอย่างถาวรของผู้ต้องหาคดีการเมือง




หนึ่งปีที่เหลือของตากใบ บาดแผลที่ไม่มีวันลืม


“เรื่องตากใบไม่จำเป็นต้องอยู่ที่ตากใบเท่านั้นอีกแล้ว เรื่องนี้อนุญาตให้คนอื่นๆ ในสังคมมารู้สึกร่วมทุกข์ด้วย” – รศ.เอกรินทร์ ต่วนศิริ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

19 ปีผันผ่าน ความโหดร้ายยังไม่หายไปจากความทรงจำ เมื่อคนตากใบขอความยุติธรรมให้ผู้สูญเสีย กับคดีที่กำลังจะหมดอายุความในปี 2567 ขอสังคมโปรดรับฟังและเรียกร้องไปร่วมกันกับคนตากใบ


หนึ่งปีที่เหลือจากนี้ ขอสังคมไทยมีความทุกข์ร่วมกันกับคนตากใบ

สดับเสียงเงียบ จดจำ ‘ตากใบ’ ในรอยแผล หยดน้ำตา และเสียงร่ำร้องของผู้หญิงชายแดนใต้

ตากใบ (ยัง) ไม่ให้อภัย จนกว่าเสียงร่ำไห้ใต้ฮิญาบจะสิ้นสุด

ล้อมวงร้อยเรียงเหตุการณ์ตากใบ ใช้พื้นที่ปักผ้าเยียวยาใจกันและกัน




สุ้มเสียงที่ยิ่งใหญ่ จากคนตัวเล็กบนแผ่นดินไทย


สิทธิในที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัยอันมั่นคง สิทธิด้านการศึกษา เข้าถึงบริการสาธารณสุข ไปจนถึงสิทธิในการมีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัย เหล่านี้คือประเด็นปัญหาที่ยังเกิดขึ้นในกลุ่มคนตัวเล็กตัวน้อย เช่น ชาวบ้านบางกลอย เด็กไร้สัญชาติ ผู้ลี้ภัยรัฐประหารพม่า กลุ่มชาติพันธุ์ ฯลฯ

ในฐานะประชาชนที่ควรได้รับสิทธิเท่าเทียมไม่น้อยไปกว่าใคร เสียงพวกเขาย่อมมีความหมาย และควรค่าแก่การรับฟังเพื่อช่วยเหลือกัน


3 ปีบางกลอย ทำไมยังไม่ได้กลับบ้าน

2 ปีรัฐประหารพม่ากับความสิ้นหวังของเด็กผู้ลี้ภัยในไทย

‘ไร้สัญชาติ จึงไร้ความมั่นคง’ ชีวิตเปราะบางของเด็ก-ครอบครัวข้ามชาติในแม่สอด กลางวิกฤตโควิดและรัฐประหารพม่า

มานิ : วิถีพรานในวารวันที่ป่าเปลี่ยน และชีวิตไร้สิทธิเสียงในเทือกเขา

คน-ป่า มานิ : ชีวิตไร้สิทธิในเทือกเขา

ภาษาญัฮกุร: ‘เสียง’ ของทวารวดีที่ยังหลงเหลือ

กลุ่มชาติพันธุ์ไม่ใช่ ‘คนอื่น’: เปิดร่าง ‘พ.ร.บ.ชาติพันธุ์’ คืนชีวิต สิทธิ และตัวตนให้พลเมืองทุกกลุ่ม กับ มานพ คีรีภูวดล



MOST READ

Social Issues

9 Oct 2023

เด็กจุฬาฯ รวยกว่าคนทั้งประเทศจริงไหม?

ร่วมหาคำตอบจากคำพูดที่ว่า “เด็กจุฬาฯ เป็นเด็กบ้านรวย” ผ่านแบบสำรวจฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และความเหลื่อมล้ำ ในนิสิตจุฬาฯ ปี 1 ปีการศึกษา 2566

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

9 Oct 2023

Social Issues

5 Jan 2023

คู่มือ ‘ขายวิญญาณ’ เพื่อตำแหน่งวิชาการในมหาวิทยาลัย

สมชาย ปรีชาศิลปกุล เขียนถึง 4 ประเด็นที่พึงตระหนักของผู้ขอตำแหน่งวิชาการ จากประสบการณ์มากกว่าทศวรรษในกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการในสถาบันการศึกษา

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

5 Jan 2023

Social Issues

27 Aug 2018

เส้นทางที่เลือกไม่ได้ ของ ‘ผู้ชายขายตัว’

วรุตม์ พงศ์พิพัฒน์ พาไปสำรวจโลกของ ‘ผู้ชายขายบริการ’ ในย่านสีลมและพื้นที่ใกล้เคียง เปิดปูมหลังชีวิตของพนักงานบริการในร้านนวด ร้านคาราโอเกะ ไปจนถึงบาร์อะโกโก้ พร้อมตีแผ่แง่มุมลับๆ ที่ยากจะเข้าถึง

กองบรรณาธิการ

27 Aug 2018

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save