fbpx

20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.world เดือนกุมภาพันธ์ 2561

20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.world เดือนกุมภาพันธ์ 2561

กลับตัวก็ไม่ได้ ไปต่อก็เหมือนจะซอยตัน

 

โดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

 

#GenWhy คอลัมน์ใหม่ จากกองบรรณาธิการคนใหม่ของ 101 ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย จะมาส่งเสียงจากคน Gen Y บอกเล่าปัญหาแห่งช่วงวัย ปัญหาสังคมการเมืองที่ประสบมาตลอดช่วงชีวิต แลกเปลี่ยนประสบการณ์การเดินทาง เล่าความสัมพันธ์ที่บอบบางเหมือนใยส้ม หนทางการฝึกวิทยายุทธ์เพื่อเป็นคนเก่ง และยังตั้งคำถามกับสังคมที่เราต้องอยู่อีกนาน

ในวัยแห่งความเปลี่ยนแปลงและอยู่ในภาวะ ‘กลับตัวก็ไม่ได้ ให้เดินต่อไปก็ไปไม่ถึง’

“เราตั้งคำถามกับโลก ว่าโลกเป็นของเราหรือเปล่า ส่วนโลกก็ตั้งคำถามกลับว่า ทำไมคน Gen Y ยังติดอยู่กับความฝันและทำอะไรไม่ได้เรื่องได้ราวเสียที”

 

 

“ป้า” คือคำที่หลายคนเรียกสตรีมีอายุเหล่านี้ ป้าแทรกซึมอยู่ตามงานเสวนาวิชาการ ป้าปรากฏตัวตามม็อบต่างๆ ไม่ว่าใครจะไปจะมา แต่ป้ายังอยู่ทุกแนวหน้าของกิจกรรมเรียกร้องประชาธิปไตยเสมอ

ล่าสุด ป้าได้เข้าไปอยู่ในสังกัด “MBK 39” หลังจากเข้าร่วมแสดงจุดยืนเรียกร้องการเลือกตั้งที่หน้าห้างมาบุญครองเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2561 และตำรวจได้ ‘ออดิชั่น’ ผู้ชุมนุม 39 คนจากภาพถ่าย เพื่อมารับข้อหาผิด พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558

หาก “MBK 39” คือ วงไอดอล ป้าคือ ‘เซ็นเตอร์’ ของวง ที่ถูกบังคับให้ไปงาน “ปั๊มลายนิ้วมือ”

ชลธร วงศ์รัศมี เปิดใจ ป้านก-นภัสสร บุญรีย์, ป้าอึ่ง-ประนอม พูลทวี, ป้ามาศ-จุฑามาศ ทรงเสี่ยงไชย และป้านัต-นัตยา ภาณุทัต แห่ง “MBK 39”

 

 

คู่รักจำนวนไม่น้อยต้องเลิกกันเพราะสินสอด เจ้าบ่าวบางรายถึงกับต้องกู้หนี้ยืมสินเพื่อมาเป็นค่าสินสอด

สินสอดมีไว้เพื่ออะไร?

ใกล้วันวาเลนไทน์ พลอย ธรรมาภิรานนท์ สำรวจความหมายและหน้าที่ของค่าตอบแทนการสมรสอย่าง “สินสอด” ในมิติทางเศรษฐกิจและสังคม ผ่านแว่นตาของ “เศรษฐศาสตร์”

 

ในวันที่เธอไม่ถูก ‘ล่า’ : ทราย เจริญปุระ ย้อนมอง #ล่า2017 ในอีก 23 ปีต่อมา

 

โดย รุ่งรวิน แสงสิงห์

 

ในวันที่ละครเรื่อง ‘ล่า’ ถูกประกาศว่าจะมีการรีเมคเป็นครั้งที่สาม ชื่อของ ทราย เจริญปุระ คือหนึ่งในตัวเลือกที่แฟนละครอยากให้มารับบท ‘มธุสร’ มากที่สุดคนหนึ่ง

ไม่ใช่แค่ฝีไม้ลายมือการแสดง แต่เพราะเมื่อ 23 ปีที่แล้ว ล่า คือละครเรื่องแรกของเธอ กับการรับบทเป็น ‘ผึ้ง’ เด็กหญิงผู้ต้องพบกับฝันร้ายในคืนฝนตกพร้อมกับแม่ของเธอ

ถึงวันนี้ทรายจะไม่ได้สลับบทบาทการแสดงจากลูกสาวมาเป็นแม่คน แต่คำถามที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ในฐานะผู้เคยเข้าถึงบทประพันธ์เรื่องนี้ เวลาที่ผ่านไปทำให้เธอมองผลงานเรื่องแรกของตัวเองเปลี่ยนไปอย่างไร

แล้วสังคมของเราล่ะ ยังจำเป็นจะต้องใช้บทประพันธ์เรื่องนี้คอยเตือนใจอยู่หรือเปล่า?

 

ราคา bitcoin ที่พุ่งจาก 1,000 เหรียญสหรัฐต่อหน่วย เป็น 20,000 เหรียญสหรัฐในช่วงเวลาแค่ปีเดียว ก่อนจะผันผวนเหวี่ยงขึ้นลงราวกับรถไฟเหาะ สร้างความสนใจให้ผู้คนทั่วโลก ซึ่งเต็มไปด้วยคำถามในใจมากมาย
cryptocurrency คืออะไรกันแน่ ใช้ทดแทนเงินได้จริงหรือไม่ และควรมีการกำกับควบคุมอย่างไร

พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย พยายามตอบคำถามแห่งอนาคตในบทความชิ้นนี้

 

ใครฆ่าเสือดำแห่งป่าทุ่งใหญ่นเรศวร

 

โดย วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

 

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ตั้งคำถามถึงกระบวนการยุติธรรมไทยในกรณีล่าสัตว์ป่าทุ่งใหญ่ 2561

……….

“ผู้เขียนมีความเชื่อว่า สุดท้ายแล้วคดีนี้ผู้ต้องหาน่าจะหลุด

บรรดาทีมทนายคงอาศัยเทคนิคทางกฎหมายถ่วงเวลาไปนานๆ จนผู้คนเริ่มลืมเลือน เหมือนหลายคดีที่เริ่มหมดอายุความ

และที่สำคัญคือ การทำให้สำนวนอ่อน หลักฐานสำคัญที่จะไปกล่าวหาว่าเป็นคนล่าสัตว์ หรือครอบครองซากสัตว์ป่า ไม่ว่าเขม่าดินปืน พยานบุคคล ก็ไม่ง่าย และน่าจะค่อยๆ จางหายไปตามกาลเวลา

เมื่อขึ้นสู่การพิจารณาของศาล หากหลักฐานอ่อนก็รอด หรือเผลอๆ สำนวนฟ้องไปถึงแค่ขั้นอัยการ ก็อาจหลุดก่อน

คดีนี้ผู้ต้องหาจะหลุดหรือไม่ อยู่ที่ว่าเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะกล้าหาญทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา โดยไม่เกรงกลัวอิทธิพลใดๆ เหมือนกับเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าที่กล้าจับกุมหรือไม่”

 

สูญพันธุ์แล้วไง

 

โดย เพชร มโนปวิตร

 

“สูญพันธุ์แล้วไง”

เพชร มโนปวิตร หยิบเอาคำถามที่สังคมกำลังพูดถึงจากกรณียิงเสือดำในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร

ทำไมการล่าสัตว์ในเขตอนุรักษ์จึงเป็นเรื่องใหญ่ และการสูญพันธุ์ของสัตว์ส่งผลกระทบใหญ่หลวงแค่ไหนต่อมวลมนุษยชาติ จำเป็นแค่ไหนที่ต้องวิตกกังวลกับการหายไปของสัตว์หนึ่งชนิด

“อัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติในอดีตนั้นน่าจะอยู่ที่ 2-3 ชนิดในรอบหนึ่งล้านปี…นั่นหมายความว่า กว่านกสักชนิดสองชนิด หรือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสักตัวสองตัว หรือปลาสักสองสามสายพันธุ์จะถึงคราวต้องสูญพันธุ์นั้น ใช้เวลาประมาณหนึ่ง – ล้าน – ปี”

อ่านเรื่องราวสายใยแห่งวิวัฒนาการ การเริ่มต้นและสิ้นสูญ ความยิ่งใหญ่และเล็กจ้อยของสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้

 

เปลื้อง วรรณศรี ผู้มีภาษาเป็นอาวุธ

 

โดย กษิดิศ อนันทนาธร

 

“เปลื้อง วรรณศรี” อีกหนึ่งนักสู้ผู้กล้า นักเขียน นักพูด และนักการเมืองคุณภาพของสังคมไทย ที่ต้องลี้ภัยจากเผด็จการไปอยู่ต่างประเทศ จวบจนเสียชีวิต

แทบทุกคนต้องเคยได้ยินบทกวีฝีมือของ “เปลื้อง” แม้จะไม่รู้ว่าเขาคือใคร และเคยสร้างสรรค์อะไรให้ประเทศนี้

“สิ่งเหล่านี้ที่โดมโหมจิตข้า
ให้แกร่งกล้าเดือนปีไม่มีหวั่น
ถ้าขาดโดมเจ้าพระยาท่าพระจันทร์
ก็เหมือนขาดสัญลักษณ์พิทักษ์ธรรม”

กษิดิศ อนันทนาธร รับอาสาบันทึกประวัติศาสตร์สามัญชนนาม “เปลื้อง วรรณศรี” อีกหนึ่งคนดีที่ประเทศไทยไม่ต้องการ

 

Darkest Hour สุนทรพจน์เปลี่ยนโลก

 

โดย วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

 

ในโมงยามที่มืดมิดที่สุดของสงครามโลกครั้งที่สอง สุนทรพจน์ของวินสตัน เชอร์ชิล กลายเป็นอาวุธอันทรงประสิทธิภาพที่สุดในการต่อสู้กับฮิตเลอร์

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เล่าเรื่องหนัง Darkest Hour เรื่องสงครามโลกครั้งที่สอง และพลังเปลี่ยนโลกจากคำพูดของอดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษในตำนาน

 

อย่าคิดว่าแน่ เลยไม่แคร์เบาหวาน – ศ.เกียรติคุณ พญ.วรรณี นิธิยานันท์

 

โดย ณัฐกานต์ อมาตยกุล

 

สำหรับคนอายุน้อย “เบาหวาน” อาจเป็นเรื่องไกลตัว หรือไม่ได้อยู่ในเรดาร์ความสนใจเลยด้วยซ้ำ

แต่ที่จริงแล้ว เรื่องที่ฟังดู เบาๆ หวานๆ นี้เป็นภัยร้ายที่ปฏิบัติการอย่างลับๆ แต่อำมหิต เพราะรู้ตัวอีกที มันก็กวักมือนำพาโรคร้ายแรงหลายโรคมารุมสกรัมเราจนบอบช้ำ โดยเริ่มต้นภารกิจจากการเดินทางตามหลอดเลือดอย่างเงียบๆ ไปทักทายทุกส่วนของร่างกาย

ใช่ … ร่างกายที่ดูแข็งแรงสมบูรณ์ของเรา ร่างกายที่อาจจะดูยังไงก็ไม่แก่ แต่หารู้ไม่ว่าความผิดปกติในร่างกายเริ่มต้นนับถอยหลังอย่างไม่รู้ตัว

101 ชวนคุณพูดคุยกับ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง วรรณี นิธิยานันท์ นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เพื่อหาคำตอบว่า สาเหตุอะไรที่ทำให้เบาหวานยังไม่ไปไหน จริงหรือไม่ที่เชื่อกันว่า เบาหวานเกิดจากกินหวาน และโรคนี้มาจากพันธุกรรมหรือพฤติกรรมเป็นส่วนใหญ่กันแน่

 

Podcasts 2018

 

โดย โตมร ศุขปรีชา

 

ดูเหมือนว่าช่วงนี้กระแสของการฟังและจัดรายการ Podcast กำลังกลับมา ทั้งที่จริงแล้วถ้าลองสืบย้อนกลับไป เทคโนโลยีการฟังวิทยุแบบแห้งที่ดาวน์โหลดเลือกฟังได้ตามใจผ่านอินเทอร์เน็ตนั้นมีมานานตั้งแต่สมัย iPod ยังฮ็อตฮิต

#TrendRider สัปดาห์นี้ โตมร ศุขปรีชา จะพาไปดูกันว่าอะไรเป็นสาเหตุให้พ็อดคาสต์กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง แล้วในโลกของการฟังด้วยหู มีเหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้เราติดอกติดใจการฟังเรื่องเล่า พอๆ กับเสียงเพลงบรรเลงทั่วไป

 

กับข้าวกับแขก

 

โดย คำ ผกา

 

เพราะ ‘อาหาร’ ทุกจาน ล้วนมี ‘เรื่องราว’

คำ ผกา ชวนมาอ่านเรื่องราวของอาหารผ่านคอลัมน์ #กับข้าวกับแขก ประเดิมตอนแรกกันด้วยความสำคัญของอาหารที่มากไปกว่าการกินเพื่อเพิ่มพลังงาน แต่ยังเป็นเครื่องมือในการบอกเล่า ‘ตัวตน’ ของผู้คน ที่เปลี่ยนแปลงไปมาตามยุคสมัย เพื่อจุดประสงค์บางอย่าง

“แทนการไปกินอาหารฝรั่งเศสในโรงแรมหกดาวที่เปิดกิจการมาร้อยยี่สิบปี ฉันเลือกดั้นด้นไปกินอาหารโซมาเลียในตรอกลึกลับแห่งหนึ่งกรุงเทพฯ (สมมติว่ามี) หรืออาจจะไปลองกินไข่เป็ดที่ฟักเป็นตัวอ่อนแล้วในร้านอาหารฟิลิปปินส์ ทั้งนี้เพื่อจะบอกว่า – ชั้นนี่แหละ นักกินผู้โอบกอดความหลากหลายทางวัฒนธรรม นักการผจญภัยในอาหาร เปิดกว้าง ใจกล้า ไม่ดูถูกคนโลกที่สาม วัฒนธรรมโลกที่สาม โอ้ ศิวิไลซ์เลย

“ส่วนคนบางจำพวก (ที่เป็นเพื่อนฉันก็เยอะ) ก็ขี้หมั่นไส้ รู้สึกว่าอีพวกสรรกิน ทั้งกินดี กินแพง กินแปลก กินพิสดาร กินต้องมีรสนิยม ต้องรู้ที่มาที่ไป ไม่ใช่สักแต่ว่า เมื่อเกิดความหมั่นไส้มากเข้า คนเหล่านี้ก็จะป่าวประกาศบอกใครๆ ว่า ชั้นชอบกินจังก์ฟู้ด ยิ่งจังก์ยิ่งชอบ”

การเลือกกินอาหาร สะท้อนอัตลักษณ์ตัวตนของแต่ละคนอย่างไร เข้าครัวชวนคิดไปกับ คำ ผกา พร้อมกันได้ ในบทความชิ้นนี้!

 

แค้นนี้ต้องคลี่คลาย : เปิดเบื้องหลังงานเขียนสารคดี ของ ธิติ มีแต้ม

 

โดย พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล

 

“โจทย์ที่เราตั้งไว้คือ ถ้าฝ่ายความมั่นคงพยายามบอกว่าอันวาร์โดนคดีฆ่าตัดคอนะ อันวาร์เกี่ยวข้องกับการก่อเหตุความไม่สงบนะ เป็นฝ่ายขบวนการบีอาร์เอ็นนะ เดี๋ยวกูจะลงไปตรวจสอบให้ว่ามันจริงไหม”

ประโยคข้างต้นคือเหตุผลที่ทำให้ ‘ธิติ มีแต้ม’ ตัดสินใจลงพื้นที่จังหวัดปัตตานี เพื่อคุยกับ ‘อันวาร์’ หรือ มูฮาหมัดอัณวัร หะยีเต๊ะ หนึ่งในผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายในสามจังหวัดชายแดนใต้ อันเป็นที่มาของงานเขียนสารคดี ‘อันวาร์ ปาตานี และแม่น้ำจระเข้’ ที่เพิ่งได้รับรางวัลดีเด่น จาก Amnesty International Thailand

ท่ามกลางกระแสธารของข้อมูลข่าวสารบนโลกออนไลน์ ธิติเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่มุ่งทำงานเขียนประเภทสารคดี มีผลงานออกมาอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา มุ่งเน้นประเด็นที่อยู่นอกสายตาของสื่อกระแสหลัก ตั้งแต่สามจังหวัดชายแดนใต้ ชีวิตของคนขับแท็กซี่ที่ผูกคอตายเพราะรัฐประหาร ไปจนถึงเรื่องการสกัดน้ำมันกัญชาเพื่อนำมาใช้รักษาโรค

อะไรคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาสนใจงานประเภทนี้ และอะไรคือวิธีคิด-แรงบันดาลใจ ที่อยู่เบื้องหลังงานแต่ละชิ้น

พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล นั่งคุยกับ ธิติ มีแต้ม แบบยาวๆ ถึงเรื่องราวเบื้องลึกเบื้องหลังงานเขียนสารคดี ที่เผยให้เห็นพลังของคนทำสื่อตัวเล็กๆ—ที่เริ่มต้นบนถนนสื่อมวลชนด้วยความแค้น

 

ย้อนมอง “วิกฤตนิวเคลียร์เกาหลี” ผ่านบทเรียนประวัติศาสตร์ “วิกฤตขีปนาวุธคิวบา”

 

โดย จิตติภัทร พูนขำ

 

ใครอยากรู้เบื้องลึก-เบื้องหลัง และ ทางเลือก-ทางออกของสถานการณ์วิกฤตการณ์ขีปนาวุธเกาหลี ห้ามพลาด!

จิตติภัทร พูนขำ มองสถานการณ์วิกฤตขีปนาวุธเกาหลี ผ่านบทเรียนทางประวัติศาสตร์จากวิกฤตขีปนาวุธคิวบาในปี 1962

สถานการณ์ที่เกาหลีในวันนี้ต่างจากสถานการณ์ที่คิวบาในวันนั้นอย่างไร และอะไรคือทางเลือกเชิงนโยบายต่างประเทศที่จะนำไปสู่ทางออกของวิกฤตระทึกโลกในมือสองผู้นำที่คาดการณ์ไม่ได้ในครั้งนี้

 

กลยุทธ์รากหญ้า : เคล็ดลับของ Video App ที่มาแรงที่สุดในจีน

 

โดย อาร์ม ตั้งนิรันดร

 

โซเชียลมีเดียมักเป็นที่นิยมในกลุ่มคนเมือง แต่โซเชียลมีเดียที่กำลังมาแรงที่สุดในจีนตอนนี้กลับเป็น Video App ที่มีผู้ใช้งานส่วนใหญ่เป็นคนชนบท!

อาร์ม ตั้งนิรันดร เล่าความสำเร็จของ “Kwai” ซึ่งช่วยฉายภาพโมเดลธุรกิจใหม่ และเป็นภาพสะท้อนสังคมและอนาคตของจีน

 

Economics for the Common Good คิดแบบ ‘เศรษฐศาสตร์เพื่อส่วนรวม’

 

โดย สฤณี อาชวานันทกุล

 

สฤณี อาชวานันทกุล ชวนอ่าน Economics for the Common Good โดย Jean Tirole หนังสือว่าด้วยข้อถกเถียงและทางออกในประเด็นร่วมสมัย ตั้งแต่โลกร้อนจนถึงเศรษฐกิจดิจิทัล

 

กรุงเทพฯ เมืองที่ทำฟุตปาธใหม่ทุกปี แต่เราเป็น walking society ได้จริงๆ ไหม

 

โดย เอกศาสตร์ สรรพช่าง

 

ในทุกย่างที่ก้าวเดินบนทางเท้าของกรุงเทพมหานคร คุณสังเกตเห็นอะไร

ตั้งแต่การซ่อมฟุตปาธที่รื้อแล้วรื้ออีก จนถึงนโยบายคืนทางเท้าให้ประชาชน เอกศาสตร์ สรรพช่าง ตั้งคำถามกับวิธีการแก้ไขปัญหาทางเท้าของผู้มีอำนาจ ที่อาจไม่ได้ศึกษาบริบททางวัฒนธรรมและไม่ได้วางแนวทางการสร้างสังคมแห่งการเดินอย่างเพียงพอ

คนยุคก่อนเดินกันอย่างไร การพัฒนาเมืองมีส่วนกับการเดินของคนอย่างไร ตัวอย่างของการวางแผนการเดินอย่างได้ผลเป็นอย่างไร และเมื่อเทียบกันแล้ว เราเข้าใจการสร้างสังคมแห่งการเดินเหมือนเมืองต่างๆ ในสังคมโลกมากแค่ไหน

 

อาหารกับศาสนา  : กินเพื่อบรรลุธรรม?

 

โดย คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง

 

เคยสังเกตกันไหมว่า ทุกวันนี้พฤติกรรม ‘การกิน’ ของเรานั้น ล้วนเกี่ยวพันกับชุดความคิดความเชื่อทางศาสนา ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

นอกจากการกินเพื่อความอยู่รอดทางกาย หลายครั้งเรายังกินเพื่อตอบสนองความสุขทางใจ และบางครั้งเราก็เลือกที่จะ ‘ไม่กิน’ บางอย่าง ด้วยเหตุผลทางศีลธรรม

‘เชฟหมี’ คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง จะพาไปสำรวจความเชื่อมโยงระหว่าง ‘อาหาร’ และ ‘ศาสนา’ ที่ดูเหมือนว่าไกลกัน แต่แนบสนิทกันอย่างที่เราคาดไม่ถึง

“ศาสนากลุ่มอับราฮัม (ยูดาย คริสต์ และอิสลาม) มีข้อห้ามเรื่องอาหารมากมาย ชาวยิวเป็นพวกแรกที่พยายามกำหนดกฏเกณฑ์ทางอาหาร เช่น ไม่กินหมู ไม่กินเลือดสัตว์ ไม่กินหอย ฯลฯ กฎเกณฑ์เหล่านี้ถูกสืบทอดมาในศาสนาอิสลาม แต่ค่อยๆ ถูกยกเว้นโดยชาวคริสต์ จากการเข้าไปเผยแพร่ในอาณาจักรโรมัน”

“ในคริสต์ศาสนา ศาสนิกแนบชิดสนิทกับพระเจ้าผ่านการกินเลี้ยงของ ‘ศีลมหาสนิท’ แผ่นปังอบแผ่นเล็กสื่อถึงพระวรกายของพระเยซู และเหล้าองุ่นคือโลหิตที่หลั่งออกเพื่อไถ่โลก การกินดื่มพระวรกายและพระโลหิต เท่ากับรับพระเป็นเจ้าเข้ามาทางกาย แต่เกิดผลทางใจ…

“ในพุทธศาสนาสายเถรวาท มีพระสูตรหนึ่งที่สอนให้เรามีท่าทีต่อการกินอาหาร ‘ดุจกินเนื้อบุตรของตน’ พระสูตรนี้เล่าว่า พุทธะสอนให้สาวกกินอาหาร ประดุจชายหญิงคู่หนึ่งที่ต้องข้ามทะเลทรายอันกันดาร จำต้องฆ่าบุตรของตนแล้วนำเนื้อมากินเพื่อไม่ให้อดตาย — ฉันใดก็ฉันนั้น ให้สาวกกินอาหารทั้งหลายดุจกินเนื้อบุตร คือไม่ได้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลิน แต่เพื่อยังชีพให้รอด”

 

หลักประกันสุขภาพที่รัก (3) : อำนาจของบัตรสงเคราะห์

 

โดย นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

 

คอลัมน์ “หลักประกันสุขภาพที่รัก” ตอนที่ 3 นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เล่าชีวิตหลังเรียนจบไปเป็นแพทย์ฝึกหัดที่จังหวัดเชียงราย ในยุคระบบบัตรสงเคราะห์ที่หมอมีอำนาจมหาศาลที่จะทำอะไรก็ได้ แม้กระทั่งสถาปนาตัวเองเป็นนักบุญ

……….

“… (ตอนนั้น) โลกยังไม่มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เรายังอยู่ห่างไกลสิ่งที่เรียกว่า “30 บาท รักษาทุกโรค” อีกประมาณ 20 ปี ผู้ป่วยยากจน ผู้ป่วยชาวเขา (ยังไม่มีคำศัพท์ว่า “ชาติพันธุ์”) หรือผู้ป่วยไม่มีเงินจ่าย มีระบบบัตรสงเคราะห์รองรับแล้ว แต่หมอมีอำนาจที่จะเขียนคำว่า “ฟรี” ให้ใครก็ได้ด้วยตามที่เราเห็นสมควร

จากนักศึกษาแพทย์ที่ถูกกดดันอย่างหนักจากโรงเรียนแพทย์ขนาดยักษ์ มาสู่วิมานกลางสายหมอก แพทย์รุ่นพี่ 11 คนใจกว้างเหมือนสายน้ำ แพทย์ใช้ทุน 4 คนใจดีเหมือนไอติม มีบ้านพักที่มีตุ่มอาบน้ำเป็นของตัวเองเสียที และเสื่อที่แม่ให้มา 1 ผืน (ผู้เขียนชอบนอนเสื่อ) สภาพเหมือนปล่อยเสือเข้าป่ายังไงยังงั้น

จากที่เคยไปไหนมาไหนในกรุงเทพฯ ด้วยรถเมล์นานครั้งละ 1 ชั่วโมง เปลี่ยนเป็นชีวิตที่ไปไหนมาไหนด้วยจักรยานสองล้อในเวลาไม่เกิน 10 นาที มีชาวบ้านตาดำๆ เสื้อขาดๆ มาเรียกว่า “คุณหมอ” มิหนำซ้ำมีอำนาจมหาศาลที่จะทำอะไรก็ได้ แม้กระทั่งสถาปนาตัวเองเป็นนักบุญที่มีแต่ “ให้” คือเซ็นฟรีให้ใครก็ได้

ขอให้มีอำนาจเถอะ รับประกันเรื่องไม่เข้าใครออกใคร …”

 

อุษาคเนย์ในฐานะพลเมืองโลก

 

โดย ยุกติ มุกดาวิจิตร

 

คอลัมน์ใหม่ 101 “โลก-อุษาคเนย์” ชวนสำรวจโลกข้างในอุษาคเนย์ อุษาคเนย์ในโลก โดย ยุกติ มุกดาวิจิตร

ประเดิมตอนแรกด้วยการชวนมองสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านแว่นตา “พลเมืองโลก” (cosmopolitanism) โดยเริ่มที่ “เวียดนาม”

……….

“แนวคิดพลเมืองโลกช่วยให้เรามองพ้นไปจากขอบเขตแคบๆ พ้นไปจากพรมแดนตายตัวของตัวเรา สังคมเรา ประเทศเรา และภูมิภาคเรา ข้ามไปสู่สังคมที่ปกติแล้วเราติดต่อสัมพันธ์ด้วยมายาวนาน แต่กลับไม่ค่อยยอมรับมัน …

… ความเป็นพลเมืองโลกมีลักษณะสำคัญคือการเปิดตนเองสู่โลกกว้าง การเป็นส่วนหนึ่งของโลกกว้าง การยอมรับความเป็นอื่นเข้ามาสัมพันธ์กับตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องละเลิกความเป็นตัวของตัวเอง พลเมืองอันหลากหลายเหล่านี้ล้วนอาศัยและอยู่ร่วมพื้นที่เดียวกัน …

… ที่ว่าเวียดนามเป็นสังคมพลเมืองโลก ก็เพราะเวียดนามเป็นแหล่งพบปะกันของสังคมที่มีที่มาอันหลากหลายนับตั้งแต่ยุคโบราณ ที่อยากเริ่มที่เวียดนาม ก็เพราะเวียดนามมีหลายอย่างที่ทั้งต่างจากไทยและมีลักษณะร่วมกับไทยในฐานะสังคมพลเมืองโลก ที่เลือกเล่าจากเวียดนาม ก็เพราะการเล่าถึงที่อื่นจะช่วยให้เราส่องสะท้อนกลับมายังตนเองพร้อมๆ กับเข้าใจผู้อื่นตามหลักการของแนวคิดพลเมืองโลกไปด้วยในตัว ในแง่นี้ สำหรับผมเองแล้ว แนวคิดพลเมืองโลกจึงมีอีกฐานะหนึ่งที่คนไม่ค่อยกล่าวถึงกันนักคือ พลเมืองโลกเป็น “ญาณวิทยา” (epistemology) ของการเข้าใจโลกและตัวเรา”

 

รายการ 101 One-on-One

101 One-on-One ep19 “Rethinking Political Campaign“ กับ “ปราบ เลาหะโรจนพันธ์”

 

โดย 101 One-on-One

 

:: LIVE :: “Rethinking Political Campaign” สนทนาสดเรื่อง วิทยาศาสตร์ข้อมูล บิ๊กดาต้า และการสื่อสารทางการเมืองในยุคสื่อใหม่

กับ “ปราบ เลาหะโรจนพันธ์” ผู้ก่อตั้งโครงการ Rethink Thailand และ Communication specialist ด้านการสื่อสารการเมือง ใน 101 One-on-One | ep19

วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 สองทุ่มตรง ทาง The101.world ธร ปีติดล ดำเนินรายการ

 

101 One-on-One ep18 “เปลี่ยนโลกด้วย Lifestyle“ กับ “กรณิศ ตันอังสนากุล”

 

โดย 101 One-on-One

 

:: LIVE :: “เปลี่ยนโลกด้วย Lifestyle” กับ “กรณิศ ตันอังสนากุล” นักวิจัยด้านธุรกิจยั่งยืน งานวิจัยหลายชิ้นนำไปสู่การถกเถียงในวงกว้างเพื่อยกระดับความยั่งยืนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน กรณิศเป็นนักวิจัยอิสระและทำงานเกี่ยวกับกิจการที่มีเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม วันจันทร์ที่ 19 ก.พ. สองทุ่มตรง

ใน 101 One-on-One | ep18 โตมร ศุขปรีชา ดำเนินรายการ

 

101 One-on-One ep17 “เกมประมูลคลื่นความถี่ : ทฤษฎีเกมในโลกจริง” กับ พรเทพ เบญญาอภิกุล

 

โดย 101 One-on-One

 

:: LIVE :: “เกมประมูลคลื่นความถี่ : ทฤษฎีเกมในโลกจริง” กับ “พรเทพ เบญญาอภิกุล” คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ผู้แปลหนังสือ “ทฤษฎีเกม: ความรู้ฉบับพกพา” และนักวิจัยโครงการติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม (NBTC Policy Watch) วันจันทร์ที่ 12 ก.พ. สองทุ่มตรง

ใน 101 One-on-One | ep17 ปกป้อง จันวิทย์ ดำเนินรายการ

 

101 One-on-One ep16 “การเมือง(ไม่ใช่)เรื่องชาวบ้าน : คุณภาพชีวิตคนไทยในยุค คสช.” กับ เดชรัต สุขกำเนิด

 

โดย 101 One-on-One

 

:: LIVE :: “การเมือง(ไม่ใช่)เรื่องชาวบ้าน : คุณภาพชีวิตคนไทยในยุค คสช.” มองอนาคตการเมืองเรื่องฐานทรัพยากรและสิทธิชุมชนของสังคมไทย กับ เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คืนวันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561 สองทุ่มตรง

ใน 101 One-on-One | ep16 ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ดำเนินรายการ

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Spotlights

4 Nov 2020

101 Policy Forum : ประเทศไทยในฝันของคนรุ่นใหม่

101 เปิดวงสนทนาพูดคุยกับตัวแทนวัยรุ่น 4 คน ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน , สิรินทร์ มุ่งเจริญ, ภาณุพงศ์ สุวรรณหงษ์, อัครสร โอปิลันธน์ ว่าด้วยสังคม การเมือง เศรษฐกิจไทยในฝัน ต้นตอที่รั้งประเทศไทยจากการพัฒนา ข้อเสนอเพื่อพาประเทศสู่อนาคต และแนวทางการพัฒนาและสนับสนุนคนรุ่นใหม่

กองบรรณาธิการ

4 Nov 2020

Spotlights

30 Jun 2020

“ไม่มี Theory of Everything ในโลกของ IR” จิตติภัทร พูนขำ

101 สนทนากับ จิตติภัทร พูนขำ เกี่ยวกับองค์ความรู้และโลกของ IR ไปจนถึงการเรียนการสอน และการปรับตัวของ IR ในยุคที่โลกผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

กานต์ธีรา ภูริวิกรัย

30 Jun 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save