fbpx
กลับตัวก็ไม่ได้ ไปต่อก็เหมือนจะซอยตัน

กลับตัวก็ไม่ได้ ไปต่อก็เหมือนจะซอยตัน

[et_pb_section admin_label=”section”][et_pb_row admin_label=”row”][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text admin_label=”box” background_layout=”light” text_orientation=”left” background_color=”#eaeaea” use_border_color=”off” border_color=”#969696″ border_style=”solid” custom_margin=”|10px||10px” custom_padding=”10px|10px|10px|10px” disabled=”off”]

Gen Why คือคอลัมน์ใหม่ใน The101.world นี่คือเสียงของสมาชิก Gen Y คนหนึ่ง ที่เคยฝันอยากเป็นนักบินอวกาศ แต่ตอนนี้มาทำงานเขียน จากบ้านมาไกล เป็นคนเหงา 2018 พร้อมจะเป็นเพื่อนเหงากับทุกคน ผู้เขียนอยากบอกเล่าปัญหาแห่งช่วงวัย เขียนถึงปัญหาสังคมการเมืองที่เราประสบมาเกือบตลอดช่วงชีวิต แลกเปลี่ยนประสบการณ์การเดินทาง เขียนถึงความสัมพันธ์ที่บอบบางเหมือนใยส้ม ความเหน็ดเหนื่อยจากการฝึกวิทยายุทธ์เพื่อเป็นคนเก่ง และยังตั้งคำถามกับสังคมที่เราต้องอยู่อีกนาน จนกว่าจะอยู่ในสังคมผู้สูงอายุไปพร้อมๆ กัน

[/et_pb_text][et_pb_text admin_label=”Text” background_layout=”light” text_orientation=”left” use_border_color=”off” border_color=”#ffffff” border_style=”solid”]

1

 

เคยมองมือพ่อกับแม่ครั้งสุดท้ายกันเมื่อไหร่

 

ไม่อยากพูดให้เศร้าเกินไปนัก แต่ริ้วรอยแห่งกาลเวลามาเยือนเร็วกว่าที่คาดและเที่ยงตรงไม่มีข้อแม้

เราอาจไม่รู้สึกว่าตัวเองแก่ จนกว่าจะเห็นพ่อแม่แก่ และนั่นเป็นสัญญาณบอกว่ามือที่เคยโอบอุ้มเรากำลังโรยรา และมือของเราก็กำลังเดินหน้าเข้าสู่เส้นทางเดียวกัน ต่างแค่ช่วงเวลาที่เหลือมากกว่าและยังต้องทำงานต่อไป

ในอีกประมาณ 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ เราจะพบเห็นคุณตาคุณยาย 1 คน จากประชากร 4 คน จะมีคนกว่า 17 ล้านคนที่เข้าสู่วัยเกษียณ อยู่บ้าน และอยู่ในภาวะพึ่งพิง ซึ่งคือพ่อแม่ของคน Gen Y ดังนั้นกลุ่มคนที่อยู่ในวัยทำงาน (ซึ่งยังไม่แก่) จะต้องผจญกับภาวะ กังวลกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง และ พะวงกับข้างหลังที่ดูแลพวกเขามา

กลุ่มคน Gen Y หรือคนที่เกิดในช่วงปลาย 1980s ถึงช่วง 2000s (อายุประมาณ 21-38 ปี) ควบรวมตั้งแต่วัยเริ่มทำงาน (First Jobber) ไปจนถึงวัยที่กำลังสร้างครอบครัว เป็นกลุ่มคนที่กำลังต่อสู้กับสภาพเศรษฐกิจและสังคมการเมือง เป็นรุ่นถัดมาจาก Generation X รุ่นที่อยู่บนพื้นฐานความมั่นคง ถัดจากคนรุ่น Baby Boomer คนช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สังคมแห่งการบูรณะและมีหญ้าให้แผ้วถางไกลสุดลูกหูลูกตา

จากอาชีพเกษตรกรรม-เถ้าแก่ในรุ่นปู่ย่า ส่งผ่านมาเป็นข้าราชการ-พนักงานบริษัทในรุ่นพ่อแม่ สู่ความอ้างว้างอันไกลโพ้นของรุ่นลูก

ในสภาวะที่ผู้คนต้องแข่งขันเพื่อขึ้นไปเหยียบบนยอดภูเขา หันมองไปด้านข้างเห็นคนกำลังปีนป่ายไปพร้อมกัน มองไปข้างบนมีคนขึ้นไปสูงลิบตา ข้างล่างมีคนจี้มาไม่หยุด (แถมยังมีเครื่องช่วยทุนแรงทันสมัย ใช้งานได้คล่องตัวเสมือนเกิดมาพร้อมกันเนียนตากว่าคนรุ่นเราที่เพิ่งรู้จักเทคโนโลยีตอนเป็นวัยรุ่น) และในใจได้แต่คิดถึงคนรุ่นก่อนที่เคยเหยียบบนยอดเขามาแล้ว ปักธงแน่นหนา ทิ้งรอยเท้าไว้ให้เดินตาม ซึ่งตอนนั้นภูเขาอาจจะไม่ได้ปีนยากขนาดนี้

“จะทำอะไรก็มีคนทำมาหมดแล้ว” หลายเสียงเคยบ่นทำนองนี้ หรือแม้แต่การพยายามปั้นธุรกิจขึ้นมา กลายเป็นกระแส ‘สตาร์ตอัป’ กราฟพุ่งสูงจนดูเหมือนใครๆ ก็เป็นสตาร์ตอัป แต่แล้วจู่ๆ กราฟก็พลิกกลับ ดิ่งลงสุดกู่และเหลือผู้รอดชีวิตไม่กี่ราย แล้วเหล่าคน Gen Y ก็ต้องหาทางอื่นๆ เพื่อเดินไป

ค่านิยมในสังคมบีบรัดจนหายใจไม่ออก พ่อแม่เชื่อในงานมั่นคงอย่างข้าราชการที่ให้รัฐดูแลเราจวบจนวันเกษียณ แต่คนรุ่นลูกกลับไม่รู้สึกว่ารัฐดูแลอะไรเขา และทำไมเขาต้องเหลือทางเลือกไม่กี่อย่างเพียงเพื่อต้องตามหาความมั่นคงที่สังคมนิยามให้

ในวัยเด็กเราอาจรู้จักอาชีพไม่กี่อย่าง ดูได้จากอาชีพในฝัน ที่หนีไม่พ้น ครู หมอ พยาบาล ทหาร ตำรวจ ไปไกลหน่อยก็นางงามจักรวาลหรือแอร์โฮสเตส ซึ่งต้องถูกเย้ยหยันไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง เราถูกจำกัดด้วยคำว่า ‘เป็นไปได้’ และ ‘เป็นไปไม่ได้’ ก่อนจะดำเนินชีวิตตามขนบที่สังคมขีดให้ แล้วค่อยมาเจอโลกกว้างในมหาวิทยาลัยเพื่อพบว่า โลกไม่ได้มีอาชีพแค่นั้น แต่ยังมีอาชีพอีกมหาศาล เช่น นักพิสูจน์อักษร คนขายไอศกรีม โปรแกรมเมอร์ ครีเอทีฟ ช่างทำเซรามิก คนทำซาลาเปา คนปลูกผัก ฯลฯ ซึ่งกว่าจะเข้าใจ เราก็ต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมดเพื่อเรียนรู้สิ่งเหล่านี้

ไม่นับบทความที่ขยันบอกว่าเราต้องเดินทางก่อนอายุ 30 หรือควรมีเงินเก็บเท่าไหร่ก่อนวัยเกษียณ กระแสฮาวทูรุกล้ำรุนแรงเพื่อบอกว่าควรทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จ เราตั้งคำถามกับโลก ว่าโลกเป็นของเรารึเปล่า ส่วนโลกก็ตั้งคำถามกลับว่า ทำไมคน Gen Y ยังติดอยู่กับความฝันและทำอะไรไม่ได้เรื่องได้ราวเสียที

ยังไม่นับปัญหาความสัมพันธ์ ความเปลี่ยวเหงาของคนเมือง เป็นยุคที่โรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในสังคม หลายคนจากบ้านมาไกลเพื่อมาทำงานที่ตัวเองอยากทำ (หรือไม่อยากทำ) เพลง ‘ทางกลับบ้าน’ ของบอดี้แสลมยังว่าไว้ เมื่อไหร่ที่ล้มยังคิดถึงพ่อ เมื่อไหร่ที่ท้อยังคิดถึงแม่ และยังคงทำตามคำสัญญา ชีวิตเมื่อทำได้ตามความฝัน วันนั้นฉันคงได้กลับเอาฝันนั้นไปฝาก หรือเพลง ‘พลังงานจน’ ของลาบานูน Feat.เปาวลี ที่ยอดวิวทะลุ 193 ล้าน กับเนื้อเพลงที่ว่า ก็ไม่เป็นไร เมื่อเกิดมาอย่างนี้ เมื่อมีเท่าที่มี ก็ทำมันให้ดี เท่าที่หนทางยังมีอยู่ สู้เพื่อคนที่รัก พิสูจน์ให้ได้ดูถึงหนักหนาเท่าไรยังไงหัวใจยังมีแรง

 

2

 

“ทำไมพวกคุณดูไร้พลังกันในวัยที่ควรหลงเหลือความสนุกอยู่” เสียงอาจารย์ถามกลุ่มหนุ่มสาวที่นั่งตาละห้อยไร้เรี่ยวแรง

“อาจเพราะสังคมมันเหี้ยเกินไปมั้งคะ” บางเสียงตอบ และนี่อาจเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่แข็งแรงของคน Gen Y คือโทษนั่นโทษที่ไว้ก่อน

ฉันเพิ่งมีพลังมานั่งคิด เราเห็นคนทั้งโลกผ่านโซเชียล แต่กลับเห็นตัวเองน้อยลงทุกที ใช้เวลาจมอยู่กับปัญหาและความคาดหวัง จนลืมไปว่ามนุษย์อ่อนแอได้ และควรอ่อนแอ

น้องชายหลายคน (ในที่นี้มากกว่าสองคน) กำลังตกอยู่ในช่วงอกหัก

“จะคุยกับคนใหม่ แต่คนใหม่ก็ไม่เหมือนคนนี้”

“เค้าเหมือนบุหรี่ตัวสุดท้ายในซองอะพี่ จะซื้อซองใหม่ก็ไม่เหมือนเดิมแล้ว”

สองคนพูดต่างประโยค แต่เนื้อความเหมือนกันอย่างแยกไม่ออก

“งั้นมึงก็สูบบุรุษแทน” ฉันพูดตลกไปอย่างนั้นเอง แต่ในใจก็เจ็บปวดไม่แพ้กัน

 

ในนามของคนรุ่นใหม่ยุค 2018 กับโลกที่หมุนควงเหมือนสว่าน เราไม่ถูกอนุญาตให้หยุด ปัญหาถาโถมไม่หยุด ตั้งแต่เรื่องอกหัก แบกความหวังของหมู่บ้าน พุ่งสู่ความฝันที่ไม่รู้จะมีทางเป็นจริงได้ไหม หาเงินหาทองเลือดตาแทบกระเด็นเพื่อมองดูคนใหญ่คนโตเล่นเกมกันสนุกสนาน มีอภิสิทธิ์ลอยอยู่เหนือกฎเกณฑ์ทั้งมวล

ฉันไม่เคยมีทั้งเงินและอำนาจ เลยไม่เข้าใจว่าสองสิ่งนี้ทำให้คนเปลี่ยนไปได้ขนาดไหน แต่ที่แน่ๆ ฉันมั่นใจว่า คนเราควรมีความเป็นมนุษย์ และควรละอายใจกับการเอาเปรียบคนอื่น

ขณะเดียวกัน คนหนุ่มสาวถูกบีบให้ตัวเล็กลงเพื่อรับใช้ความเชื่อของสังคม คุณต้องเป็นแบบนั้นสิ คุณต้องสุดยอดอย่างนี้สิ คุณห้ามเป็นคนธรรมดา หรือถ้าจะธรรมดา คุณก็ต้องเข้าไปสู่ระบบที่แข็งแรง ที่ครอบคุณไว้ รักษาดูแลคุณจวบจนวันเกษียณ

เรามองหาความมั่นคง บนโลกที่ไม่มีความมั่นคงอะไรทั้งนั้น

แล้วเราก็พบว่าตัวเองลอยเคว้งอยู่บนอวกาศ ไร้ที่ยึดเหนี่ยว ได้ยินเสียงสัญญาณช่วยเหลือจากที่ไกลๆ แต่คุณไขว่คว้ามันไว้ไม่ได้ เพราะคุณอ่อนแอเกินกว่าจะขยับกล้ามเนื้อ

มีเพียงกล้ามเนื้อหัวใจที่เต้นเบาบาง และบอกคุณว่า จงมีชีวิตอยู่

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save