fbpx

20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.world เดือนมกราคม 2561

20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.world เดือนมกราคม 2561

ทันตกรรมอำพราง : ความลับ 5 ข้อ ที่หมอฟันไม่เคยบอก

 

โดย พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล

ทุกวันนี้มีคลินิกที่เปิดให้บริการด้านทันตกรรมอยู่มากมาย ทั้งแบบที่ถูกกฎหมาย และแบบที่ลักลอบให้บริการอย่างลับๆ สิ่งที่น่ากังวลซึ่งคนทั่วไปไม่ค่อยรับรู้ หรือรู้เมื่อสายไปแล้ว ก็คือการใช้บริการด้านทันตกรรมบางประเภท อาจนำมาซึ่งอันตรายในภายหลังได้ แม้ว่าคลินิกหรือทันตแพทย์คนนั้นๆ จะมีใบรับรอง กระทั่งเปิดบริการอย่างถูกกฎหมายก็ตาม

101 เผยด้านมืดของธุรกิจทันตกรรม และข้อควรระวังต่างๆ ที่ทุกคนควรรู้–ก่อนเข้ารับบริการ

 

นักเรียนกฎหมายจำนวนมากต่างปรารถนาหมายตาตำแหน่งผู้พิพากษา แต่สำหรับคนธรรมดา กว่าจะได้นั่งบัลลังก์ศาลคงต้องผ่านระบบสอบเข้าดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาที่ยากราว “รอดรูเข็ม”

สมชาย ปรีชาศิลปกุล วิพากษ์ระบบสอบคัดเลือกผู้พิพากษา สามัญชนมีโอกาสมากน้อยเพียงใด การสอบเป็นการแข่งขันกันด้วยความสามารถล้วนๆ จริงหรือไม่ และกระบวนการสอบมีความหมายทางการเมืองเช่นใด

 

สีจิ้นผิงอ่านหนังสืออะไร?

 

โดย อาร์ม ตั้งนิรันดร

อาร์ม ตั้งนิรันดร สำรวจชั้นหนังสือของประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ผู้นำสูงสุดของจีนกำลังอ่านอะไร และหนังสือประเภทไหนหายไปจากชั้น

 

“ล้มคนเดียว เจ็บทั้งบ้าน” ยากันล้ม : คู่มือป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ

 

โดย ทีมงาน The101.world

รู้หรือไม่ว่า ในปีหนึ่งมีผู้สูงอายุเสียชีวิตจากการหกล้มไม่ต่ำกว่า 1,000 คน!!

การหกล้มหนึ่งครั้ง คุณอาจไม่ได้แค่เจ็บตัว
แต่อาจเจ็บใจ (ที่น่าจะรู้วิธีป้องกันก่อน)
และอาจเจ็บลามไปถึงคนใกล้ตัว ที่ต้องเข้ามาช่วยดูแล

จะดีแค่ไหน ถ้าเรามี “ยากันล้ม” ที่มีสรรพคุณเป็นคู่มือป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ

—————————————————–

:: ล้มคนเดียว เจ็บทั้งบ้าน ::

ยากันล้ม : คู่มือป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ

เมื่อป่วยหรือล้มเจ็บ เรามักคาดหวังว่าจะได้รับยาจากหมอ ที่ช่วยรักษาให้หายจากโรคแบบทันทีทันใด แต่จริงๆ แล้ว ‘ยา’ ที่สำคัญกว่าคือการดูแลป้องกันตนเองไม่ให้เกิดโรคเหล่านั้นและไม่ให้โรคพัฒนาจนถึงขั้นรักษาไม่หาย

หลายโรคในผู้สูงอายุสามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนเกิดโรค รวมถึง ‘การหกล้ม’ ซึ่งหากเกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่เราสามารถป้องกันได้ด้วยการลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการหกล้ม เช่น การปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้าน และสภาพร่างกายของผู้สูงอายุเอง ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง

ยาขนานนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุหกล้ม และช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข และมีอายุยืนยาว

 

101 Round table : อนาคตการเมืองไทยและประชาธิปไตยโลก

 

โดย ปกป้อง จันวิทย์

อะไรคือโจทย์ของการเมืองไทย ณ จุดตัดแห่งการเปลี่ยนผ่านในปัจจุบัน?

อนาคตประชาธิปไตยไทยจะเป็นอย่างไร ท่ามกลางกระแสอำนาจนิยมที่พัดแรงทั้งในสังคมไทยและสังคมโลก?

101 Round table เปิดวงสนทนาเรื่อง “อนาคตการเมืองไทยและประชาธิปไตยโลก” โดย เกษียร เตชะพีระ ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ และประจักษ์ ก้องกีรติ ชวนคุยโดย ปกป้อง จันวิทย์

และนี่คือบทสนทนาแบบคำต่อคำ ที่ชวนให้มองเห็นทั้ง ‘คำตอบ’ และ ‘คำถาม’ ใหม่ๆ รอบเรื่องเดิมๆ วนๆ ซ้ำๆ จนเราคิดว่าไม่มีอะไรใหม่อีกแล้ว – อย่างเรื่องการเมืองไทย – ได้อย่างสนุกท้าทาย

 

เงินเฟ้อ vs ว่างงาน : Phillips curve หายไปไหน?

 

โดย พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย

พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ชวนตั้งข้อสงสัย ทำไมเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว อัตราการว่างงานลดลง แต่อัตราเงินเฟ้อไม่พุ่งสูงขึ้นตาม … Phillips curve หายไปไหน?

 

ชีวิตสองวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นในเชียงใหม่

 

โดย วันดี สันติวุฒิเมธี

วันดี สันติวุฒิเมธี สำรวจโลกของ “คนญี่ปุ่น” ที่เลือก “เชียงใหม่” เป็น “บ้าน”

 

อชิรวุธ สุพรรณเภสัช : โลกของหมอฟัน พิพิธภัณฑ์ช่องปาก และบทเรียนจากละครเวที

 

โดย พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล

“ทันตแพทย์เป็นอาชีพที่ประหลาด เราถูกฝึกมาให้ทำอะไรอยู่ในที่แคบๆ จดจ่ออยู่กับรายละเอียดยิบย่อย แต่อะไรก็ตามที่เป็นภาพกว้าง จะมองไม่ค่อยออก…”

พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล คุยกับ ‘หมอปอม’ ผศ.ดร.ทพ.อชิรวุธ สุพรรณเภสัช อาจารย์ทันตแพทย์หนุ่มไฟแรง ผู้มีความสามารถรอบด้าน และกำลังปลุกปั้น ‘พิพิธภัณฑ์ช่องปาก’ หมุดหมายการเรียนรู้แห่งใหม่ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

นอกจากเป็นทันตแพทย์ เป็นอาจารย์ อีกบทบาทหนึ่งที่หมอปอมหลงใหล ก็คือการแสดงละครเวที

บทสัมภาษณ์ชิ้นนี้จะพาคุณไปสำรวจชีวิตของหมอฟันที่กล้าพาตัวเองออกจากพื้นที่แคบๆ และริเริ่มสิ่งใหม่ๆ ในแบบที่ตัวเองเชื่อ

 

วิกฤตโรฮิงญากับข้อถกเถียงในเชิงประวัติศาสตร์

 

โดย ลลิตา หาญวงษ์

ที่ผ่านมาผู้คนมักเข้าใจ “โรฮิงญา” ผ่านมุมมองด้านสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก ลลิตา หาญวงษ์ คลี่ประวัติศาสตร์พม่า ชวนมองมุมใหม่ว่า แท้จริงแล้วอคติและความรุนแรงระหว่างชาวพุทธพม่ากับชาวมุสลิมโรฮิงญาเป็น “ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง” และความขัดแย้งไม่ใช่แค่เรื่องศาสนาเท่านั้น

 

หลักประกันสุขภาพที่รัก (1) : 3 ปีหรือ 33 ปีที่สูญหาย?

 

โดย นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

ประเดิมคอลัมน์ใหม่รับปี 2561 “หลักประกันสุขภาพที่รัก” โดย นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

บทบันทึกชีวิตและความคิดตลอด 33 ปีในระบบสาธารณสุขไทย บอกเล่าเหตุการณ์เล็ก-ใหญ่ ผ่านมุมมองของหมอคนหนึ่ง ที่เชื่อมั่นในหลักประชาธิปไตย การพัฒนา และงานสาธารณสุขที่เห็นชาวบ้านเป็นศูนย์กลาง

พบกับผู้อ่านวันพฤหัส สัปดาห์เว้นสัปดาห์ เริ่มตอนแรก “สามปีหรือสามสิบสามปีที่สูญหาย?”

……….

“… ผมจบแพทย์แล้วมาทำงานที่จังหวัดเชียงรายตั้งแต่ปี 1983 หากนึกไม่ออก คือปี Return of the Jedi, 007 Never Say Never Again และ 007 Octopussy

คือยุคสามล้อหน้าโรงพยาบาลขายเลือดและกระดูกซี่โครง เขตเมืองมีตู้โทรศัพท์สาธารณะแบบหยอดเหรียญ 2 ตู้ และทีวีมีช่อง 7 สี ช่องเดียว ชาวบ้านอุ้มลูกจับหืดนั่งรถจากอำเภอเชียงของมาถึงห้องฉุกเฉินตอนตีสองในฤดูหนาว ซึ่งหนาวเป็นบ้าเป็นหลัง และคนส่วนใหญ่ยังต้องอาบน้ำในตุ่ม รวมทั้งผู้เขียนด้วย

เครื่องทำน้ำร้อนไกลเกินเอื้อมสำหรับเงินเดือน 3,000 กว่าบาท

คือยุคบัตรสงเคราะห์และรุ่งอรุณของสิ่งที่เรียกว่า ‘บัตรสุขภาพ’

คือวันเวลาที่ชาวบ้านอยู่ต่ำกว่าคำว่า ‘สงเคราะห์’ และนอนกันรอบโรงพยาบาลเมื่อเราไม่สามารถหาเตียงให้ได้ …”

 

เมื่ออิสลามเป็นศาสนาที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก

 

โดย โตมร ศุขปรีชา

การอพยพของผู้ลี้ภัย และการย่างเข้าสู่ยุคของสังคมผู้สูงอายุ อาจทำให้ในอนาคต ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีผู้คนนับถือมากที่สุดในโลก?!

คอลัมน์ #TrendRider สัปดาห์นี้ Tomorn Sookprecha จะพาไปหาคำตอบว่าทำไมเทรนด์ของโลกกำลังเปลี่ยนไปในทิศทางที่ว่า อะไรทำให้การเกิดใหม่ของประชากรโลกสัมพันธ์กับจำนวนผู้นับถือศาสนา และเราจะปรับตัวอย่างไรกับเทรนด์นี้ที่กำลังเปลี่ยนไป

เทรนด์กำลังมา ไปหาคำตอบกัน!

 

สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำ : อะไรที่ไม่ปรากฏในข่าว

 

โดย พลอย ธรรมาภิรานนท์

ท่ามกลางเสียงดีใจของหน่วยงานรัฐว่า จำนวนและสัดส่วนคนจนไทยลดลงมหาศาล พลอย ธรรมาภิรานนท์ เจาะลึกสถานการณ์ที่แอบซ่อนอยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็ง จนไม่ปรากฏในข่าว

 

เพราะเรามีกันและ ‘กัญ’

 

โดย ธิติ มีแต้ม

ธิติ มีแต้ม เล่าประสบการณ์ความป่วยไข้จากโรคอันดับหนึ่งของสังคมไทยที่พรากชีวิตผู้คนไปมากกว่าหกหมื่นคนต่อปี ก่อนจะพาไปสำรวจโลกของกัญชาทางการแพทย์ ผ่านทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ พร้อมคำอธิบายจากแพทย์ว่าทำไมวินาทีนี้กัญชาควรถูกกฎหมายเพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึงการรักษาเสียที

“เวลาพูดถึงกัญชา ผมมักได้ยินอยู่ 2 แบบ ถ้าคนที่ไม่แอนตี้ไปเลย ก็จะมองมันในฐานะความบันเทิง ทั้งในทางผ่อนคลายขบขันและความเลิศรสที่มันมอบให้ผ่านการปรุงอาหาร”

“แต่ผมมองมันในฐานะ “สิทธิ” หากมีวันที่ทุกคนสามารถปลูกและสกัดเป็นยาเองได้ เช่นเดียวกับแสงอาทิตย์ที่เป็นสมบัติของทุกคน”

 

จำไว้ จะได้ไม่ลืมกัน : ‘ยากันลืม’ คู่มือเตือนความจำสำหรับทุกคน

 

โดย ทีมงาน The101.world

จาก “ยากันล้ม” คู่มือป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ไม่ให้เกิดภาวะ “ล้มคนเดียว เจ็บทั้งบ้าน”

สู่ “ยากันลืม” คู่มือป้องกันและชะลอภาวะสมองเสื่อม วิธีฝึกสมองและใช้ชีวิตให้ความจำแข็งแรง เพื่อพ่อแม่และตัวคุณเอง

อย่าลืมแชร์ ถ้าไม่ลืมคนที่คุณรัก เพื่อคนที่รักคุณจะได้ไม่ลืมกัน

……..

โชคดีที่คุณได้เห็นโพสต์นี้ ก่อนที่คุณจะเป็นภาวะสมองเสื่อม

มารู้จักกับ “ยากันลืม” : คู่มือเตือนความจำสำหรับผู้สูงอายุ

—————————————————–

คุณเป็นคนชอบถามอะไรซ้ำๆ หรือเปล่า?
คุณยังอายุไม่เยอะใช่ไหม?
คุณไม่ออกกำลังกาย?

รู้หรือเปล่าคุณมีโอกาสเป็นภาวะสมองเสื่อม!

ภาวะสมองเสื่อมมาไวกว่าที่คุณคิด ให้คู่มือ “ยากันลืม” ช่วยสังเกต ป้องกัน และชะลอ ‘ภาวะสมองเสื่อม’ ไม่ให้เกิดขึ้นกับคุณและคนที่คุณรัก

จำไว้ให้ดี แล้วเราจะได้ไม่ลืมกัน

 

“We are what they grow beyond. That is the true burden of all masters.” ปรมาจารย์โยดาสอน ลุค สกายวอร์คเกอร์ เกี่ยวกับภารกิจที่แท้จริงของ ‘ครู’ ต่อ ‘ศิษย์’ ในสตาร์วอร์สภาคล่าสุด

ภาคิน นิมมานนรวงศ์ ‘มนุษย์ขี้อ่าน’ ชวนคิดเรื่อง ‘ครู’ กับ ‘ศิษย์’ ต่อจากโยดา ผ่านหนังสือ Advice for a Young Investigator (1999) ของซานติอาโก รามอน อี กาฆาล ในคอลัมน์ Read-o-sapiens คอลัมน์ชวนคุยชวนคิดจากหนังสือสำหรับเหล่า ‘มนุษย์ขี้อ่าน’ ทั้งปวง

……….

“ในฐานะนักประสาทวิทยาศาสตร์รุ่นบุกเบิก กาฆาลพบความจริงว่าความก้าวหน้าทางองค์ความรู้ใดๆ ไม่ได้เกิดจากความเคารพศรัทธาที่มีต่อปรมาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่คนใดคนหนึ่ง มิหนำซ้ำ กาฆาลยังเห็นด้วยว่าการเคารพต่อผลงานของผู้ยิ่งใหญ่อย่างเกินพอดีเป็น ‘กับดัก’ ที่ฉุดรั้งสติปัญญาของคนวัยเยาว์ และคงไม่มีผู้ยิ่งใหญ่ไหนจะเป็นกับดักต่อการพัฒนาตัวเด็กได้เท่ากับตัวครูหรือผู้ยิ่งใหญ่ที่ครูศรัทธาเป็นการส่วนตัว …

“… บางทีการเคารพ (คารวะ) อาจเป็นคนละเรื่องกับการสักการะบูชา การเคารพแบบ respect คือการมองย้อนกลับไปข้างหลัง (re- ‘ข้างหลัง’ + specere ‘มอง’) ศิษย์ที่จะเคารพครูได้จริงๆ ก็ต้องเป็นศิษย์ที่อยู่ข้างหน้า เป็นศิษย์ที่ก้าวไปไกลแต่ไม่ลืมว่าเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร พูดในแง่นี้ การสำนึกเสมอว่าตัวเองยืนบนไหล่ยักษ์ หรือความสำเร็จของตัวเราไม่ได้เกิดขึ้นเพราะลำพังความชาญฉลาดส่วนตัวของเรา หากแต่ยังสัมพันธ์ผู้คนมากมายที่คอยประคับประคองและให้โอกาสในต่างกรรมต่างวาระ ก็อาจจะเป็นหนทางพื้นฐานที่สุดในการแสดงความเคารพต่อสิ่งอื่นด้วย”

 

ผาสุก พงษ์ไพจิตร : ปฏิรูปภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อสังคมไทยเสมอหน้า

 

โดย สมคิด พุทธศรี

สมคิด พุทธศรี ชวน ‘ผาสุก พงษ์ไพจิตร’ คุยเรื่องการปฏิรูปภาษี ความเหลื่อมล้ำ คนรวยที่สุด 1% และเศรษฐศาสตร์การเมืองของการสร้างสังคมไทยให้เสมอหน้า

 

เตียง ศิริขันธ์ สามัญชนคนมีอุดมคติ

 

โดย กษิดิศ อนันทนาธร

กษิดิศ อนันทนาธร เล่าเรื่อง เตียง ศิริขันธ์ “ขุนพลภูพาน” นักการเมืองคุณภาพแห่งภาคอีสาน อดีต ส.ส.สกลนคร อดีตรัฐมนตรี อดีตกำลังสำคัญของเสรีไทย และเหยื่อการเมืองที่ถูกสังหารโหดในยุคเผด็จการ

 

โรงพยาบาลแห่งอนาคต

 

โดย วรากรณ์ สามโกเศศ

วรากรณ์ สามโกเศศ ฉายภาพของโรงพยาบาลแห่งอนาคตที่กำลังจะเป็นกระแสในโลกสมัยใหม่

 

เจลยาคุมสำหรับท่านชาย ทางเลือกใหม่ของการคุมกำเนิด

 

โดย โสภณ ศุภมั่งมี

หากเทียบกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชายในเรื่องของ ‘การคุมกำเนิด’ (ที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องและไม่ใช่ทำเอาหน้างานเหมือนการสวมถุงยางอนามัย) ดูเหมือนว่าภาระหน้าที่จะไปตกอยู่กับผู้หญิงเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นยาที่ใช้ทานหรือฉีด

แต่ตอนนี้ ท่านชายทั้งหลายอาจได้รับเกียรติทำหน้าที่ประจำนั้นบ้าง กับ ‘เจลคุมกำเนิด’ ที่แต่ทาถูๆ ก็ทำให้จำนวนสเปิร์มลดลง แต่จะทาที่ไหน ทำงานอย่างไร โสภณ ศุภมั่งมี จะพาเราไปรู้จักกับมันกันให้มากขึ้น

 

Richard Mille บอกอะไรเรา

 

โดย วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ตั้งคำถามปรากฏการณ์ Richard Mille บนข้อมือผู้มีอำนาจ บอกอะไรกับเรา

บทความรางวัล

ผลงานเรื่อง “อันวาร์ ปาตานี แม่น้ำจระเข้” ของ “ธิติ มีแต้ม” ตีพิมพ์ใน The101.world วันที่ 20 เมษายน 2560 ได้รับรางวัลดีเด่นด้านข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์ ในงานมอบรางวัล “สื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2560” จัดโดย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

ชวนย้อนอ่านผลงานเรื่องเยี่ยมชิ้นนี้กันอีกครั้ง

 

อันวาร์ ปาตานี แม่น้ำจระเข้

 

โดย ธิติ มีแต้ม

หลังจากได้รับอิสรภาพ “อันวาร์” เล่าให้เราฟังว่าทหารมาขอจับมือด้วยรอยยิ้มและถามว่าเป็นมือยิงหรือมือวาง !

คงไม่ใช่เรื่องน่าสนุกนัก หากชีวิตคนหนุ่มคนหนึ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำหน้าที่สื่อมวลชนอิสระ และนักเคลื่อนไหวสันติภาพในบ้านเกิดตัวเอง กลับถูกคุมขังในคดีอั้งยี่ซ่องโจร เป็นแนวร่วมก่อการร้าย และได้รับการพ่วงเป็นแกนนำก่อจลาจลเผาคุกจากฝ่ายความมั่นคงในเวลาต่อมา

มีกุญแจหลายดอกที่ช่วยไขเหตุการณ์ความไม่สงบที่สามารถนำไปสู่ความเข้าใจอันเป็นพื้นฐานของสันติสุขได้ “อันวาร์” อาจเป็นกุญแจดอกหนึ่ง

“อันวาร์” คือใคร ชีวิตชายหนุ่มคนหนึ่งเป็นภาพสะท้อนของปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ความมั่นคง และกระบวนการยุติธรรมอย่างไร

“ธิติ มีแต้ม” ส่งมอบกุญแจให้อยู่ในมือคุณแล้ว เชิญไขได้ตามอัธยาศัย

รายการ 101 One-on-One

 

โดย 101-one-on-one

:: LIVE :: “ปฏิรูประบบภาษีไทย” กับ อธิภัทร มุทิตาเจริญ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ใน 101 One-on-One | ep15

ชวนคุย โดย ธร ปีติดล

 

:: LIVE :: “หนึ่งปีประธานาธิบดีทรัมป์” กับ ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ธรรมศาสตราภิชาน วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการผู้คิด-เขียน-อ่านด้านประวัติศาสตร์การเมืองสหรัฐอเมริกา

ใน 101 One-on-One | ep14

ภาคต่อของบทสัมภาษณ์ “ทรัมป์ 101 : ที่มาและที่ไปของสหรัฐอเมริกายุคประธานาธิบดีทรัมป์” เมื่อต้นปีที่แล้ว (อ่านได้ ที่นี่)

ชวนคุย โดย ปกป้อง จันวิทย์

 

:: LIVE :: “โลกคือเวที ชีวิตคือละคร ความฝันของนักทำละครในสังคมไทย” กับ นพพันธ์ บุญใหญ่ ผู้กำกับละครเวที และผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มละครชื่อ FULLFAT Theatre

ใน 101 One-on-One | ep13

ชวนคุย โดย โตมร ศุขปรีชา

 

โดย 101-one-on-one

:: LIVE :: “อนาคตการเมืองภาคประชาชนไทย” กับ สมบัติ บุญงามอนงค์ บ.ก.ลายจุด แห่งพรรคเกรียน

ว่าด้วยเรื่องการเมืองภาคประชาชน และ social movement

ใน 101 One-on-One | ep12

ชวนคุย โดย ยิ่งชีพ อัชฌานนท์

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Spotlights

4 Nov 2020

101 Policy Forum : ประเทศไทยในฝันของคนรุ่นใหม่

101 เปิดวงสนทนาพูดคุยกับตัวแทนวัยรุ่น 4 คน ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน , สิรินทร์ มุ่งเจริญ, ภาณุพงศ์ สุวรรณหงษ์, อัครสร โอปิลันธน์ ว่าด้วยสังคม การเมือง เศรษฐกิจไทยในฝัน ต้นตอที่รั้งประเทศไทยจากการพัฒนา ข้อเสนอเพื่อพาประเทศสู่อนาคต และแนวทางการพัฒนาและสนับสนุนคนรุ่นใหม่

กองบรรณาธิการ

4 Nov 2020

Spotlights

30 Jun 2020

“ไม่มี Theory of Everything ในโลกของ IR” จิตติภัทร พูนขำ

101 สนทนากับ จิตติภัทร พูนขำ เกี่ยวกับองค์ความรู้และโลกของ IR ไปจนถึงการเรียนการสอน และการปรับตัวของ IR ในยุคที่โลกผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

กานต์ธีรา ภูริวิกรัย

30 Jun 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save