fbpx
เมื่ออิสลามเป็นศาสนาที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก

เมื่ออิสลามเป็นศาสนาที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก

ศูนย์วิจัยชื่อดังอย่าง Pew Research Center เพิ่งมีรายงานน่าสนใจชิ้นหนึ่ง ว่าด้วยสถิติต่างๆ หลายเรื่องในอเมริกา โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการเมืองและประชากร

แต่เรื่องหนึ่งที่ผมคิดว่าน่าสนใจและเป็นที่พูดถึงกันมาระยะหนึ่งแล้ว ก็คือเรื่องของประชากรชาวมุสลิม

 

Pew บอกว่า ชาวมุสลิมนั้น จะกลายเป็นกลุ่มศาสนิกที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก เมื่อถึงปี 2035 จำนวนของทารกที่เป็นมุสลิมจะพุ่งแซงหน้าทารกที่เป็นชาวคริสต์

ถ้าดูตัวเลขประมาณการ (Pew Research Center Demographic Projections จากรายงานชื่อ The Changing Global Religious Landscape) จะเห็นว่าในช่วงปี 2015-2060 ประชากรมุสลิมจะเพิ่มขึ้นราว 70% จากในปัจจุบัน ในขณะที่ชาวคริสต์จะเพ่ิมขึ้น 34% ชาวฮินดูเพิ่ม 27% ชาวยิวเพิ่ม 15% แต่ชาวพุทธจะลดลงราว 7%

ในยุโรปปี 2016 ชาวมุสลิมคิดเป็น 4.9% ของประชากรทั้งหมด คือมีชาวมุสลิมมากกว่า 25 ล้านคน อยู่ในฝรั่งเศสมากที่สุด คือเกือบ 5.7 ล้านคน คิดเป็น 8.8% ของประชากรฝรั่งเศสทั้งหมด รองลงมาคือเยอรมนีและสหราชอาณาจักร ตามลำดับ

ในปัจจุบัน กระแส ‘ขวา’ ที่มาแรงในยุโรป ทำให้เกิดความกังวลเรื่องผู้อพยพ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากซีเรียและประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามอื่นๆ นั่นทำให้ Pew ลองทำแบบจำลอง (Scenario) ขึ้นมาสามแบบ โดยใช้ฐานจากชาวมุสลิมในยุโรปปัจจุบัน 30 ประเทศ คือในสหภาพยุโรป 28 ประเทศ และนอร์เวย์กับสวิตเซอร์แลนด์ โดยดูจากฐานการเพิ่มขึ้นของประชากรมุสลิมในยุโรป จาก 19.5 ล้านคน (3.8%) ในปี 2010 ที่เพิ่มมาเป็น 25.8 ล้านคน (4.9%) ในปี 2016

แบบจำลองแรกก็คือ ถ้าความขวาจัดมาแรงมากๆ จนหยุดยั้งคลื่นการอพยพลี้ภัยได้ ทำให้ไม่มีชาวมุสลิมอพยพเข้ามาในยุโรปเลย คือเป็น Zero migration พบว่าเมื่อถึงปี 2050 ชาวมุสลิมจะเพิ่มขึ้นจาก 49% ไปเป็น 7.4% ทั้งนี้ก็เพราะโดยเฉลี่ยแล้ว ชาวมุสลิมปัจจุบันมีอายุน้อยกว่าและมีลูกมากกว่าชาวยุโรปอื่นๆ โดยเฉลี่ยทั่วไป

แบบจำลองที่สอง คือมีการอพยพปานกลาง (Medium Migration) คือตั้งสมมุติฐานว่า ชาวมุสลิมยังคงอพยพเข้ามาในยุโรปต่อเนื่อง แต่ไม่ใช่อพยพเข้ามาเป็นจำนวนมากเหมือนช่วงกลางปี 2016 ถ้าใช้แบบจำลองนี้ เมื่อถึงปี 2050 ชาวมุสลิมในยุโรปจะเพิ่มเป็น 11.2%

แต่ถ้าเป็นแบบจำลองที่สาม คือมีการอพยพเข้ามาสูง (High Migration) คืออัตราการอพยพสูงพอๆ กับช่วงปี 2014 ถึง 2016 อย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ พบว่าในปี 2050 ชาวมุสลิมอาจมีจำนวนราว 14% ของประชากรยุโรปทั้งหมด ซึ่งเพิ่มจากปัจจุบันเกือบสามเท่า แต่กระนั้นก็ยังถือว่าน้อยกว่า เมื่อเทียบกับประชากรที่นับถือศาสนาคริสต์และไม่นับถือศาสนาอะไรเลยในยุโรป

อย่างไรก็ตาม Pew ยังบอกด้วยว่า ประชากรที่อพยพเข้ามาในยุโรปนั้น ไม่ได้เป็นมุสลิมทั้งหมด ราว 47% ไม่ใช่มุสลิม และในจำนวนนี้เป็นชาวคริสต์มากที่สุด นั่นทำให้ประชากรที่อพยพเข้ามา ไม่ได้เป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้ชาวมุสลิมในยุโรปเพิ่มจำนวนมากขึ้นขนาดนั้น แต่ที่สัดส่วนของประชากรมุสลิมเพิ่มขึ้น เป็นเพราะประชากรที่นับถือศาสนาอื่น (Non-Muslim) ลดจำนวนลงด้วยต่างหาก

ถ้าดูตัวเลขโดยรวมของชาวยุโรป ในแบบจำลองแรกที่ไม่มีการอพยพเข้ามาเพิ่มเติม ประชากรยุโรปจะลดลงจาก 521 ล้านคน เหลือราว 482 ล้านคน แต่ถ้ามีการอพยพปานกลาง ประชากรจะค่อนข้างคงที่ ในขณะที่ถ้ามีการอพยพเข้ามามาก ประชากรจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย นั่นทำให้สัดส่วนของประชากรมุสลิมในยุโรปเพิ่มสูงขึ้น

ที่จริง Pew ไม่ได้เพิ่งทำนายเรื่องนี้เอาไว้ แต่เคยมีรายงานนี้มาตลอด รายงานในปี 2015 บอกถึงเหตุผลที่ประชากรมุสลิมเพิ่มจำนวนมากขึ้นไว้หลายอย่าง เหตุผลสำคัญก็คือ ชาวมุสลิมเคร่งครัดต่อศาสนามาก ดังนั้นจึงมักไม่ค่อยมีการคุมกำเนิด จะควบคุมการมีบุตรได้เพียงชั่วคราวเพื่อเว้นช่วงการตั้งครรภ์หรือพักการตั้งครรภ์ชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากเป้าหมายของการแต่งงานคือการมีบุตร นั่นจึงทำให้ชาวมุสลิมมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก

มีสถิติบอกว่า ถ้าจะให้ประชากรของโลกยังคงที่อยู่อย่างนี้ไม่เพิ่มไม่ลด ผู้หญิงคนหนึ่งจะต้องมีลูกเฉลี่ย 2.1 คน แต่ในปัจจุบัน โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงหนึ่งคนจะมีลูก 2.5 คน ทำให้ประชากรโลกเพ่ิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้าไปดูเฉพาะในกลุ่มผู้หญิงมุสลิม ปรากฏว่าผู้หญิงมุสลิมหนึ่งคนจะมีบุตร 3.1 คน รองลงมาคือผู้หญิงชาวคริสต์ ที่เฉลี่ยแล้วผู้หญิงหนึ่งคนมีลูก 2.7 คน ตามมาด้วยผู้หญิงฮินดูที่มีลูกเฉลี่ย 2.4 คน ในขณะที่ผู้หญิงชาวพุทธมีลูกเฉลี่ยน้อยที่สุด คืออยู่ที่ 1.6 คน เท่านั้น

นอกจากนี้ ชาวมุสลิมยังมีประชากรที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวมาก คือไม่ได้เป็น Ageing Society

มีตัวเลขในปี 2010 บอกว่า มีประชากรโลกเพียงราว 27% เท่านั้น ที่อายุต่ำกว่า 15 ปี แต่ในชาวมุสลิมมีประชากรที่อายุต่ำกว่า 15 ปี ถึง 34% ทำให้เมื่อมองไปในอนาคตข้างหน้า ประชากรชาวมุสลิมที่เติบโตขึ้นจึงจะมีสัดส่วนมากกว่าคนกลุ่มอื่นๆ ในส่วนของผู้สูงวัยก็คล้ายกัน เพราะประชากรโลก (ในปี 2010) ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีอยู่ 11% แต่ชาวมุสลิมมีผู้สูงวัยอายุมากกว่า 60 ปี เพียง 7% เท่านั้น

อัตราการเพิ่มของประชากรเช่นนี้ ทำให้คาดกันว่า ประเทศในแถบแอฟริกาแถบ Sub-Sahara จะมีการเติบโตรวดเร็วที่สุด คือจากที่เคยมีจำนวนประชากร 12% ของประชากรโลกในปี 2010 กลายมาเป็น 20% ในปี 2050 และสหประชาชาติก็เคยทำนายไว้ว่าในอีกหนึ่งร้อยปีข้างหน้า เมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก จะคือเมืองลากอส – เมืองหลวงของไนจีเรีย ที่มีประชากรมากกว่า 70 ล้านคน

นอกจากนี้ ยังมีการทำนายด้วยว่า หลายประเทศจะมีการเปลี่ยนแปลงศาสนาหลัก (หรือศาสนาที่มีคนนับถือมากที่สุด) ของตัวเอง เช่นฝรั่งเศสที่เคยมีประชากรชาวคริสต์มากที่สุดในปี 2010 พอถึงปี 2050 จะกลายเป็นคนไม่มีศาสนามากที่สุด ส่วนมาซีโดเนีย และบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา ที่ในปี 2010 มีประชากรชาวคริสต์มากที่สุด พอถึงปี 2050 ก็จะกลายเป็นมีประชากรชาวมุสลิมมากที่สุด เป็นต้น

ที่น่าสนใจก็คือในอินเดียอันเป็นขุมกำลังทางเศรษฐกิจใหม่ของเอเชีย พบว่าศาสนาที่เติบโตเร็วที่สุดในอินเดียก็คือศาสนาอิสลาม ซึ่งเติบโตเร็วกว่าศาสนาฮินดูด้วยซ้ำไป แต่ประเทศที่มีอัตราการเติบโตของศาสนาอิสลามหรือประชากรมุสลิมน้อย ก็คือประเทศจีน พบว่าผู้หญิงมุสลิมในจีนมีลูกเฉลี่ยแค่ 1.7 คนเท่านั้น เนื่องจากจีนมีนโยบายควบคุมประชากรอย่างเข้มงวด ชนกลุ่มน้อยที่อยู่ในเขตเมืองจะมีลูกได้มากที่สุดแค่ 2 คน เท่านั้น ส่วนในชนบทจะมีลูกได้ 3-4 คน แต่กระนั้น Pew ก็บอกไว้ในรายงานอีกชิ้นหนึ่งด้วยว่า ศาสนาอิสลามคือศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ในปี 2030 คนในแถบเอเชียแปซิฟิคหนึ่งในสาม (27.3%) จะนับถือศาสนาอิสลาม เพิ่มจากหนึ่งในสี่ (24.8%) ในปี 2010 และจากราวหนึ่งในห้า (21.6%) ในปี 1990

นอกจากอัตราการเพิ่มประชากรแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ประชากรมุสลิมเพิ่มจำนวนขึ้น ก็คือมีผู้เปลี่ยนศาสนาไปนับถือศาสนาอิสลามมากขึ้น เช่น New York Times เคยประมาณการไว้ว่า ชาวมุสลิมในอเมริกา 25% คือคนที่เปลี่ยนศาสนาไปนับถือศาสนาอิสลาม ส่วนในอังกฤษ เคยมีบทความในนิตยสาร British Muslims Monthly Survey รายงานว่าในแต่ละปี มีผู้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลามถึง 6,000 คน

 

การเพิ่มขึ้นของประชากรมุสลิม พร้อมกับการเติบโตของแนวคิดอนุรักษนิยมหรือขวาจัดในยุโรปและอเมริกา จึงทำให้สมมุติฐานของแซมมวล ฮันติงตัน ในหนังสือ The Clash of Civilizations นักรัฐศาสตร์อเมริกัน หวนกลับมาหลอกหลอนประชากรโลกซ้ำแล้วซ้ำเล่าไม่รู้จบ

นี่จึงเป็นเทรนด์สำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

22 Feb 2022

คราฟต์เบียร์และความเหลื่อมล้ำ

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เขียนถึงอุตสาหกรรมเบียร์ไทย ที่ผู้ประกอบการคราฟต์เบียร์รายเล็กไม่อาจเติบโตได้ เพราะติดล็อกข้อกฎหมาย และกลุ่มทุนที่ผูกขาด ทั้งที่มีศักยภาพ

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

22 Feb 2022

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save