fbpx
หลักประกันสุขภาพที่รัก (1) : 3 ปีหรือ 33 ปีที่สูญหาย?

หลักประกันสุขภาพที่รัก (1) : 3 ปีหรือ 33 ปีที่สูญหาย?

[et_pb_section transparent_background=”off” allow_player_pause=”off” inner_shadow=”off” parallax=”off” parallax_method=”on” make_fullwidth=”off” use_custom_width=”off” width_unit=”off” custom_width_px=”1080px” custom_width_percent=”80%” make_equal=”off” use_custom_gutter=”off” fullwidth=”off” specialty=”off” admin_label=”section” disabled=”off”][et_pb_row make_fullwidth=”off” use_custom_width=”off” width_unit=”off” custom_width_px=”1080px” custom_width_percent=”80%” use_custom_gutter=”off” gutter_width=”3″ allow_player_pause=”off” parallax=”off” parallax_method=”on” make_equal=”off” parallax_1=”off” parallax_method_1=”on” parallax_2=”off” parallax_method_2=”on” parallax_3=”off” parallax_method_3=”on” parallax_4=”off” parallax_method_4=”on” admin_label=”row” disabled=”off”][et_pb_column type=”4_4″ disabled=”off” parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text background_layout=”light” text_orientation=”left” admin_label=”Text” use_border_color=”off” border_style=”solid” disabled=”off”]

นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เรื่อง

 

หลังปฏิวัติ 2014 ผมเติมคำว่า “ไม่เอาปฏิวัติ” หลังบทความการ์ตูนที่รักที่จะส่งตีพิมพ์สัปดาห์นั้น พร้อมทั้งแก้ไขย่อหน้าสุดท้าย

แทนที่บทความจะจบลงด้วยเรื่องพัฒนาการเด็กตามที่ควรจะเป็น ก็เปลี่ยนเป็นเรื่อง “เราโตเองได้” แล้วกดเอนเทอร์ส่งไป

บรรณาธิการมติชนสุดสัปดาห์เวลานั้นเขียนบทบรรณาธิการให้

ก่อนการปฏิวัติไม่นาน  เพื่อนๆ รอบตัวหลายคนขึ้นเวทีขับไล่รัฐบาล  เพื่อความยุติธรรมเราก็ไม่อาจล่วงรู้ว่าใครคิดอะไร แต่ที่เห็นคือขึ้นเวที ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนที่โรงพยาบาล ที่กระทรวงสาธารณสุข เอ็นจีโอสายสุขภาพ มูลนิธิที่ตนเองทำงานอยู่ และผู้บริหารโรงพยาบาลในนามชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป รวมถึงสมาคมแพทย์ทั้งที่เป็นทางการ และโรงพยาบาลเอกชน

โดยส่วนตัว เชื่อว่าประชาธิปไตยไม่มีทางสมบูรณ์ มีแต่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตัวประชาธิปไตยที่ไม่นิ่งนั่นเองคือเรื่องที่ดี ตราบเท่าที่ไม่มีใครผูกขาดมากเกินไป ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในชนบทก็จะยังพอมีทางได้อะไรบ้าง

เหมือนการไปหาหมอ เราควรมีทางเลือกหรือต่อรองได้บ้าง

ผมจบแพทย์แล้วมาทำงานที่จังหวัดเชียงรายตั้งแต่ปี 1983 หากนึกไม่ออก คือปี Return of the Jedi, 007 Never Say Never Again และ 007 Octopussy

 

 

คือยุคสามล้อหน้าโรงพยาบาลขายเลือดและกระดูกซี่โครง เขตเมืองมีตู้โทรศัพท์สาธารณะแบบหยอดเหรียญ 2 ตู้ และทีวีมีช่อง 7 สี ช่องเดียว ชาวบ้านอุ้มลูกจับหืดนั่งรถจากอำเภอเชียงของมาถึงห้องฉุกเฉินตอนตีสองในฤดูหนาว ซึ่งหนาวเป็นบ้าเป็นหลัง และคนส่วนใหญ่ยังต้องอาบน้ำในตุ่ม รวมทั้งผู้เขียนด้วย

เครื่องทำน้ำร้อนไกลเกินเอื้อมสำหรับเงินเดือน 3,000 กว่าบาท

คือยุคบัตรสงเคราะห์และรุ่งอรุณของสิ่งที่เรียกว่า ‘บัตรสุขภาพ’

คือวันเวลาที่ชาวบ้านอยู่ต่ำกว่าคำว่า ‘สงเคราะห์’ และนอนกันรอบโรงพยาบาลเมื่อเราไม่สามารถหาเตียงให้ได้

นโยบายเวลานั้นของผู้อำนวยการชัดเจนคือต้องหาเตียงให้ได้ มองมุมหนึ่งเพื่อให้ชาวบ้านได้นอน อีกมุมหนึ่งคือเพื่อทำยอดผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลให้ผู้ใหญ่กระทรวงสาธารณสุขเห็น จำนวนเตียงที่ล้นตามทางเดินในโรงพยาบาล ตากฝนในฤดูฝนและตากหมอกในฤดูหนาว อัตราการครองเตียงที่เกิน 100% จะเป็นตัวชี้วัดให้โรงพยาบาลได้ยกระดับ นั่นหมายถึงระดับของผู้บริหารโรงพยาบาลและงบประมาณด้วย

ผมเป็นแพทย์จบใหม่ สมองว่างเปล่าทำแต่งาน แต่ได้ยินการถกเถียงเรื่องนี้ในที่ประชุม เวลานั้นคิดว่าการถกเถียงควรยุติ มีพระเอกและผู้ร้าย ก่อนที่จะค่อยๆ รู้ในเวลาต่อมาอีก 33 ปี จนกระทั่งออกจากราชการแล้ววันนี้ว่า การถกเถียงและวิวาทะที่ไม่จบมักเป็นเรื่องดี มันทำให้ตัวระบบเป็นพลวัต ไม่นิ่ง ไม่แข็งกระด้างจนเกินไป มีความยืดหยุ่น และไม่ถูกผูกขาดมากจนเกินไป

จากยุคบัตรสงเคราะห์ บัตรสุขภาพ พฤษภาทมิฬ ประกันสังคม วิกฤตต้มยำกุ้ง พัฒนาคุณภาพ HA สงครามยาเสพติด 30 บาทรักษาทุกโรค โครงการผลิตแพทย์เพิ่มฯ และ สสส. มาจนถึงยุคถดถอยทางปัญญาอย่างต่อเนื่องเวลานี้ ผมอยู่ในเหตุการณ์เหล่านั้นเสมอมา มากบ้างน้อยบ้าง แต่ไม่มีครั้งใดเลยที่จะรู้สึกถึงวิกฤตศรัทธาเท่าครั้งนี้

บรรณาธิการ 101 ชวนให้เขียนบันทึกอะไรบางอย่างในฐานะคนที่เห็นความเปลี่ยนแปลงในส่วนภูมิภาค และพบว่าการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งนั้น นอกเหนือจากเรื่อง 30 บาทรักษาทุกโรคแล้ว ชาวบ้านไม่ได้อะไรจากนโยบายพัฒนามากนัก บางครั้งเราเป็นฝ่ายเสีย

ส่วนกลางมักไม่เชื่อว่าส่วนท้องถิ่นเติบโตเองได้ มีคำเยาะเย้ย เหยียดหยามหรือถากถางเสมอ ว่าเราใช้งบประมาณไม่เป็น ว่าทำเป็นแค่สร้างถนนกับตึก ว่าเล่นพรรคเล่นพวก ว่าไม่มีการศึกษา ซึ่งเราก็รู้อยู่ว่าคำถากถางเหล่านี้-ไม่จริง

ผู้เขียนยืนยันตามคำโปรยของบทความการ์ตูนที่รักชิ้นนี้ นั่นคือ “เราโตเองได้” และปิดท้ายข้อเขียนตอนแรกนี้ด้วยบทวิจารณ์การ์ตูนที่รักเรื่องนี้

“ไมไม ไม่เอาปฏิวัติ เราโตเองได้”

[/et_pb_text][et_pb_text background_layout=”light” text_orientation=”left” admin_label=”box” background_color=”#eaeaea” use_border_color=”off” border_color=”#969696″ border_style=”solid” custom_margin=”|10px||10px” custom_padding=”10px|10px|10px|10px” disabled=”off”]

Mai Mai Miracle เราโตเองได้  ไม่เอาปฏิวัติ

นี่คือการ์ตูนญี่ปุ่นดีมากที่เล่าเรื่องสะเปะสะปะ

‘มหัศจรรย์ไมไม’ หรือ ‘ไมไม ชินโกะ กับมนตราพันปี’ ในชื่อภาษาญี่ปุ่นเป็นหนังการ์ตูนปี 2009 สร้างจากงานเขียนกึ่งอัตชีวประวัติของโนบุโกะ ทาคากิ (1946-) กำกับโดยซูนาโอะ คะตะบูชิ เจ้าของผลงาน Princess Arete

เป็นฤดูใบไม้ผลิปี 1955 ที่เขตชนบทรอบเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งในเขตจังหวัดยามากูจิ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น

เล่าเรื่องเด็กหญิงอายุ 9 ขวบชื่อ ชินโกะ อะโอกิ ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ตามทุ่งนา คันดิน หนองน้ำ ใต้ต้นไม้

ในตอนต้นเรื่องดูเหมือนเธอจะมีแต่แม่ ไม่ทราบว่าคุณพ่อหายไปไหน เธอมีน้องสาวจอมกวนเป็นคู่ปรับอยู่คนหนึ่ง

ชินโกะมักเห็นอะไรบางอย่างวิ่งไปมาตามยอดข้าว เธอพยายามวิ่งไล่อะไรบางอย่างนั้นด้วยความสนุกสนาน แต่ก็ไม่เคยทันเสียที เธอเชื่อว่าที่ตนเองเห็นได้เพราะสัมผัสพิเศษที่มากับ ‘ไมไม’ คือขวัญกลางหน้าผากของเธอ

วันหนึ่งมีนักเรียนหญิงชาวกรุงย้ายเข้ามาใหม่ เธอชื่อ คิอิโกะ ชิมาสุ  คิอิโกะเป็นเด็กเรียบร้อย น่ารัก แต่งกายดี คุณพ่อเป็นหมอที่ย้ายมาทำงาน เธอเพิ่งเสียคุณแม่ไปจึงทำให้ดูเศร้าๆ ไม่ร่าเริง มิหนำซ้ำยังขี้อาย แต่ชินโกะและพรรคพวกก็ให้การต้อนรับสมาชิกใหม่อย่างดี เพียงไม่นานแก๊งเด็กๆ ก็เที่ยวเล่นไปตามท้องนาด้วยกันอย่างรื่นรมย์

ชินโกะและเพื่อนๆ ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวชาวนา เสื้อผ้าจึงเก่าๆ ไม่ใส่รองเท้า บ้านไม้ชั้นเดียว ไม่มีโทรทัศน์หรือตู้เย็น ในขณะที่คิอิโกะมีบ้านสวยงาม โทรทัศน์ และตู้เย็นเพียบพร้อม แต่นั่นมิใช่ปัญหาสำหรับเด็กๆ วัยแปดเก้าขวบ

ในหมู่เด็กประถมนี้ยังมีเด็กมัธยมคนหนึ่งชื่อทัตสึชิโร ทัตสึชิโรสวมหมวกและถือดาบไม้อยู่ตลอดเวลา เขาชอบนั่งเงียบๆ อย่างโดดเดี่ยวตามหนองน้ำหรือคันนา ทัตสึชิโรมีพ่อเป็นตำรวจซึ่งมีฝีมือทางเคนโด้ด้วย อย่างไรก็ตาม เราไม่เห็นแม่ แต่เห็นความมึนตึงระหว่างพ่อลูกคู่นี้

ชินโกะ คิอิโกะ และเพื่อนๆ ชวนกันสร้างเขื่อนกั้นสายน้ำเล็กๆ ทัตสึชิโรช่วยขยายเขื่อนเล็กเป็นเขื่อนใหญ่ เขื่อนใหญ่ช่วยกักน้ำเหนือเขื่อนกลายเป็นแอ่งน้ำขนาดเล็กกลางท้องนา แอ่งน้ำนี้กลายเป็นศูนย์รวมของเด็กๆ ไปโดยปริยาย บ้างมานั่งเล่น บ้างมานั่งกินขนม หลายต่อหลายคนมาเล่นกันเป็นหมู่คณะ

ชินโกะฝันกลางวันถึงเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นรอบบริเวณนี้เมื่อหนึ่งพันปีก่อน คุณปู่ของเธอชี้ให้ดูทางน้ำที่ยังคงอยู่ในสภาพเดิม บอกว่าที่แห่งนี้เคยเป็นเมืองหลวงของจังหวัดซูโอะ นักโบราณคดีที่มาขุดค้นบริเวณนั้นบอกเธอว่า ขุนนางคนหนึ่งที่รับราชการอยู่ที่นครแห่งนี้ มีลูกสาวอายุรุ่นราวคราวเดียวกับเธออยู่คนหนึ่งจริงๆ ด้วย ชินโกะถามหาตุ๊กตาโบราณ นักขุดค้นตอบว่าของแบบนั้นไม่มีหรอก

ชินโกะรับรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นกับเด็กสาวเมื่อพันปีก่อนผ่านทางไมไม เด็กสาวเมื่อพันปีก่อนคนนั้นชื่อนากิโกะ คิโยะฮาระ

นากิโกะเป็นเด็กหญิงแสนเหงา เธอมีตุ๊กตามากมายแต่ไม่มีคนเล่นด้วย เธอชอบออกมาเที่ยวนอกกำแพงใหญ่กับเด็กรับใช้ ได้เห็นวิถีชาวบ้านและเด็กๆ รุ่นราวคราวเดียวกันเล่นด้วยกันอย่างสนุกสนาน เธอสังเกตเห็นเด็กสาวชาวบ้านคนหนึ่งทำงานหนักทุกวัน ใบหน้าไม่เคยยิ้ม แต่ก็ดึงความสนใจจากเธอได้ทุกๆ ครั้ง

นากิโกะเล่นคนเดียวและใช้ชีวิตแสนเหงาเช่นนี้ทุกๆ วัน ในขณะที่ชินโกะสนุกสนานร่าเริงกับคิอิโกะและเพื่อนๆ ได้ทุกวันเช่นกัน

พวกเด็กๆ ได้ปลาทองมาตัวหนึ่งจึงนำมาปล่อยไว้ในแอ่งน้ำที่พวกเขาสร้างขึ้น พวกเขาช่วยกันนำดอกไม้และก้อนหินสวยๆ มาตกแต่งหนองน้ำเล็กๆ นั้นจนสวยสดงดงามเหมือนสระน้ำขุนนาง คิอิโกะไม่ทันระวัง ทำขวดน้ำหอมเก่าของคุณแม่ที่ล่วงลับไปแล้วตกลงไปในหนองน้ำ น้ำหอมที่เหลือจากขวดมีมากพอที่จะทำให้ปลาทองตายในวันต่อมา

ชินโกะชวนเพื่อนๆ จัดพิธีศพให้แก่ปลาทองอย่างยิ่งใหญ่ตามประสาเด็กๆ จากนั้นชวนกันค้นหาปลาทองตัวใหม่ตามร่องน้ำ แต่คิอิโกะพูดขึ้นอย่างโกรธขึ้งว่าไม่มีใหม่หรอก (คน)ที่ตายแล้วจะไม่มีวันหาใหม่มาชดเชยได้อีก

เท่านี้ยังไม่พอ พ่อของทัตสึชิโรซึ่งเป็นตำรวจแขวนคอตายในวันเดียวกัน นั่นทำให้ทัตสึชิโรหมกตัวอยู่แต่ในบ้านและหัวฟัดหัวเหวี่ยงกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น เสียงเล่าลือว่าพ่อพัวพันกับสาวบาร์ ยากูซ่า และการพนัน ถึงตอนนี้เรายังไม่รู้ว่าแม่ของเขาหายไปไหน

จุดไคลแม็กซ์ ชินโกะชวนทัตสึชิโรเข้าเมืองบุกบาร์แคลิฟอร์เนียด้วยกัน เด็กสองคนกับดาบไม้หนึ่งด้ามเดินขึ้นบันไดในตรอกแคบๆ สกปรกเพื่อเผชิญยากูซ่า

เมื่อหนึ่งพันปีก่อน นากิโกะชวนเด็กรับใช้สองคนหนีออกจากกำแพง เพื่อตามหาบ้านของเด็กสาวชาวบ้านหน้าตาเคร่งขรึมคนนั้น หลังจากที่สังเกตว่าเธอหายหน้าไปหลายวัน นากิโกะเดินทางมาถึงเขตเสื่อมโทรมอย่างที่สุด ที่ซึ่งมารดาของเด็กสาวยากจนล้มป่วยอยู่ เธอเอาตุ๊กตามามอบให้เด็กสาวด้วย

โปรดหาตอนจบมาดู

หนังของซูนาโอะ คะตะบูชิเรื่องนี้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับผลงานอมตะ My Neighbor Totoro ของฮายาโอะ มิยาซากิอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยความที่เป็นหนังเล่าเรื่องราวในชีวิตธรรมดาๆ ของเด็กนักเรียนชั้นประถมช่วงก่อนวัยรุ่นที่กำลังจะเป็นวัยรุ่นกันในไม่ช้า หนังเล่าเรื่องราวด้านที่สดใสของชีวิตแต่ก็ค่อยๆ เติมเหตุการณ์ที่ไม่สดใสเข้ามาเป็นระยะๆ นี่คือช่วงเวลาที่วัยเด็กอันบริสุทธิ์กำลังจะผ่านพ้นไป เด็กๆ เริ่มต้นเผชิญด้านทุกข์ยากของชีวิตที่ไม่มีใครหลีกพ้น ความไม่มั่นใจ ความกลัว ความไม่สมหวัง และที่สำคัญที่สุดคือความตายของคนที่รัก ไม่ว่าจะเป็นปลาทอง แม่ หรือพ่อ

การเจริญเติบโตของเด็กๆ เป็นเช่นนี้มานับพันปี รวมทั้งก่อนหน้านั้น ดังที่บุตรีของขุนนางจะต้องเผชิญ

หนังเล่าเรื่องราวสะเปะสะปะ ตัดสลับไปมาหลายเรื่องราวทั้งอดีตและปัจจุบัน เรื่องของคนนั้นคนนี้ ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และคนแก่

เรื่องราวเกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองปิดฉากไปสิบปีโดยที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้อย่างย่อยยับ นี่คือหนังที่แสดงให้เห็นการปะทะกันของแนวรบหลายๆ ด้านพร้อมกัน เด็กโตกำลังปะทะการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของชีวิต อดีตอันขมขื่นกำลังปะทะอนาคตที่กำลังพุ่งเข้ามา ชนบทญี่ปุ่นเผชิญหน้าการรุกรานของตะวันตก หนังมีโจทย์ต้องแก้มากมายเต็มไปหมดจึงเต็มไปด้วยสัญลักษณ์

ผีที่วิ่งไปมาในท้องนา ปลาทอง และตุ๊กตา รวมทั้งไมไม

พ่อของชินโกะโผล่มาในตอนท้าย ไม่นานหลังจากนั้นครอบครัวของเธอก็ย้ายไป ติดตามทัตสึชิโรที่คุณแม่มารับตัวไปหลังจากเกิดโศกนาฏกรรมครั้งนั้นแล้ว กลับกลายเป็นเด็กสาวผู้ดีคิอิโกะที่ยังคงอยู่ในหมู่บ้านชนบทแห่งนี้คอยเฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึง

คิอิโกะไม่รู้ว่าท่ามกลางความหลากหลายของเรื่องราวที่มีสุขทุกข์ระคนกัน พวกเธอจะไม่เป็นอะไร ประเทศของเธอจะพลิกฟื้นเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว และมีความเป็นอยู่ของประชาชนดีที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง

ขอเพียงแค่ยินยอมปล่อยให้เด็กๆ เติบโตเท่านั้น

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

MOST READ

Social Issues

9 Oct 2023

เด็กจุฬาฯ รวยกว่าคนทั้งประเทศจริงไหม?

ร่วมหาคำตอบจากคำพูดที่ว่า “เด็กจุฬาฯ เป็นเด็กบ้านรวย” ผ่านแบบสำรวจฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และความเหลื่อมล้ำ ในนิสิตจุฬาฯ ปี 1 ปีการศึกษา 2566

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

9 Oct 2023

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save