fbpx

20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.world (ธันวาคม 2560)

20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.world (ธันวาคม 2560)

 

โดย ภัทชา ด้วงกลัด

101 คุยกับ ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (Health Intervention and Technology Assessment Program หรือ HITAP) เกี่ยวกับสารพัดมายาคติในระบบสุขภาพของไทย จากการรู้ไม่เท่าทัน “ธรรมชาติของความรู้” ทางการแพทย์

“ยาใหม่ดีกว่ายาเก่า” “ทำมากดีกว่าทำน้อย” “ทำก่อนดีกว่าทำหลัง” เป็นความเข้าใจผิดสำคัญเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในสังคมไทยอย่างไร

หมอจะฝ่า “อคติ” หลายเรื่อง เช่น อคติจากการศึกษาและเลือกใช้งานวิจัย อคติจากการตลาด อคติจากความเชื่อมั่นในตัวเอง ได้อย่างไร

และทางออกของหมอและคนไข้ในการรับมือกับมายาคติและอคติคืออะไร

หาคำตอบได้ในบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้

 

 

โดย วันดี สันติวุฒิเมธี

นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตอบคำถาม วันดี สันติวุฒิเมธี เพื่อแก้สารพัดข้อสงสัยและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ “โรคหัวใจ” ในสังคมไทย

……….

ถาม: โรคหัวใจที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด คือโรคหัวใจประเภทไหน

ตอบ: ในอดีตเมื่อประมาณหนึ่งร้อยปีที่แล้ว คนไทยป่วยเป็นโรคลิ้นหัวใจรูมาติกมากที่สุด แต่ปัจจุบันป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบหรือตันจากการสะสมพอกพูนของไขมันที่ผนังหลอดเลือด มีผลให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจแคบลง ทำให้เลือดที่ขนส่งออกซิเจนและสารอาหารไปสู่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจถูกขนส่งผ่านไปได้น้อยลงหรืออาจผ่านไม่ได้เลย

ถาม : ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้หลอดเลือดเสื่อมเร็วกว่าปกติ

ตอบ : มี 5 ปัจจัย คือโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง และภาวะอ้วนลงพุง ซึ่งเกิดมาจากวิถีชีวิตในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับวิวัฒนาการทางร่างกายมนุษย์ซึ่งยังเป็นร่างกายเดิมเมื่อสองแสนปีที่แล้ว

นับตั้งแต่มีการปฏิวัติเกษตรกรรมและปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา เราพบว่ามีโรคใหม่ๆ ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ เพราะการปฏิวัติดังกล่าวนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวิถีชีวิตของมนุษย์จนต่างไปจากเดิมมาก

ถาม : โอกาสป่วยเป็นโรคหัวใจระหว่างคนในเมืองกับคนชนบทแตกต่างกันไหม

ตอบ : คนมักเข้าใจว่าโรคหัวใจเป็นโรคของคนรวยมีอันจะกิน แต่ความจริงไม่ใช่ เพราะโรคนี้ไม่จำเป็นต้องกินอาหารปริมาณเยอะ แต่เป็นโรคที่เกิดจากการกินอาหารมีแคลอรี่สูงแต่ไม่มีประโยชน์

ทุกวันนี้คนยากจนสามารถหาซื้อแคลอรี่ราคาถูกมากินได้ง่ายเหมือนกัน อย่างเช่นแป้งหรือน้ำตาล โดยเฉพาะขนมเด็ก นอกจากนี้ปัญหาการสูบบุหรี่ในกลุ่มคนชนบทที่สูงมากก็ส่งผลต่อการป่วยเป็นโรคหัวใจเช่นกัน

ถาม : เราควรตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อหาหลอดเลือดหัวใจตีบที่ยังไม่แสดงอาการไหม

ตอบ : นี่เป็นปัญหาที่คนเข้าใจผิดเรื่องการตรวจสุขภาพประจำปีกันมาก เราจะเห็นโฆษณาโรงพยาบาลเอกชนเชิญชวนให้ทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อตรวจหลอดเลือดหัวใจ หรือฉีดสีเพื่อรู้ให้แน่ว่าหัวใจตีบหรือเปล่าทั้งๆ ที่ยังไม่มีอาการใดๆ ผมไม่แนะนำให้ไปตรวจเช็คอัพในลักษณะนี้ เพราะคุณจะได้รับความเสี่ยงต่อการรับกัมมันตภาพรังสี และสารเคมีที่ไม่จำเป็นเข้าสู่ร่างกาย รวมทั้งสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก

 

 

โดย วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร

วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร เขียนจดหมายถึงอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เพื่อเล่าถึง “คุณภาพแห่งชีวิต ปฏิทินแห่งความจริง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” ในยุคสมัยของเขา

 

 

โดย วันดี สันติวุฒิเมธี

:: บทสัมภาษณ์เรื่อง “เด็กอัจฉริยะ” ที่อยากชวนให้พ่อแม่ทุกคนอ่านเพื่อลูก ::

วันดี สันติวุฒิเมธี ชวน ผศ.ดร.สุธาวัลย์ หาญขจรสุข ศูนย์พัฒนาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มศว ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับ “เด็กอัจฉริยะ” (gifted child)

– “เด็กอัจฉริยะ” คือใคร แสดงออกในโรงเรียนอย่างไร

– พ่อแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็น “เด็กอัจฉริยะ”

– “เด็กอัจฉริยะ” มีปัญหาในการปรับตัวเข้าสังคมกับเพื่อนวัยเดียวกันบ้างไหม

– พ่อแม่ควรทำโฮมสคูลให้ลูกดีหรือไม่

– ถ้าเด็กไม่อยากไปโรงเรียนเพราะไม่ชอบเรียนวิชาอื่นต้องแก้ปัญหาอย่างไร

– โรงเรียนมองเด็กกลุ่มนี้อย่างไร

– พ่อแม่จะดูแล “เด็กอัจฉริยะ” ให้ประสบความสำเร็จในชีวิตได้อย่างไร

– เด็กที่มีความสามารถโดดเด่นสุดๆ บางด้านก็มักจะมีความสามารถบางด้านที่ถดถอยกว่าเด็กวัยเดียวกันด้วยจริงหรือไม่

– พ่อแม่มีแนวทางในการค้นหาศักยภาพในตัวลูกได้อย่างไรบ้าง

ค้นหาคำตอบสำหรับทุกคำถามได้ในบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้

 

 

โดย อันโตนิโอ โฉมชา

ตุลย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดห้องเรียน “นาซีศึกษา” สนทนากับ อันโตนีโอ โฉมชา เรื่อง “โฮโลคอสต์” (holocaust) หรือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว และบทเรียนสำหรับสังคมไทย

 

 

โดย วรากรณ์ สามโกเศศ

วรากรณ์ สามโกเศศ เปิดข้อมูลงานวิจัยไทยและโลก เพื่อสะกิดเตือนว่า “น้ำตาล” ไม่ต่างจาก “ยาพิษ” กิน “น้ำตาล” มากๆ บ่อยๆ จะเสีย “น้ำตา” กระทั่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตด้วยสารพัดโรคภัย

 

“The dead should not govern the living.”

โทมัส เจฟเฟอร์สัน เคยเขียนจดหมายคุยกับ เจมส์ เมดิสัน ในยุคสมัยแห่งการก่อร่างสร้างประเทศด้วยรัฐธรรมนูญในปี 1789 ว่า รัฐธรรมนูญควรถูกเขียนขึ้นใหม่ในแต่ละยุคสมัย หากปล่อยให้รัฐธรรมนูญของคนรุ่นก่อนหน้ายังคงมีผลใช้บังคับต่อไปโดยเฉพาะกับคนต่างยุคสมัย ก็ย่อมหมายถึงการปล่อยให้ “ซากศพปกครองคนเป็น”

สมชาย ปรีชาศิลปกุล ชวนตั้งคำถามเดียวกันต่อการเมืองไทย และมองอนาคตรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้มีอำนาจที่กำลังจะจากไปอยู่ปกครองคนที่กำลังมีชีวิตอยู่ต่อไปตราบเท่ากัลปาวสาน

 

 

โดย โตมร ศุขปรีชา

อะไรทำให้นาฬิกาแฮนด์เมดจากสวิตเซอร์แลนด์ราคาสูงและยังขายได้แม้เทคโนโลยีสมาร์ทวอตช์ทั้งหลายจะเข้ามาตีทัพ?

แอบบอกเสียหน่อยว่า ไม่ใช่แค่เรื่องความคราฟต์เท่านั้น แต่ยังไปไกลถึงเรื่องการ ‘ออกแบบเมือง’ ด้วย!

ส่วนนาฬิกาบนข้อมือใครบางคนแถวนี้ จะมีที่มาอย่างไร เรายังต้องหาคำตอบกันต่อไป (อุ้ย)…

 

 

โดย ประจักษ์ ก้องกีรติ

พรรคทหารไม่ใช่เรื่องใหม่ในการเมืองไทย

ประจักษ์ ก้องกีรติ เล่าประวัติศาสตร์ของพรรคทหารในอดีตว่าสำเร็จและล้มเหลวอย่างไร เพื่อเป็นบทเรียนชั้นดีสำหรับประชาชน นักการเมือง และ คสช.

 

โดย วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ รำลึก 10 ปีแห่งการจากไปของ “พี่มด” วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ คนเล็กๆ ผู้ไม่ยอมจำนนต่อความอยุติธรรมทั้งปวง

 

 

โดย สมคิด พุทธศรี

101 ชวน พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเล่า “ความรู้ที่ยังไม่ถูกเล่า” เกี่ยวกับงานวิจัยชิ้นใหม่ล่าสุดของเธอ ว่าด้วยบทบาทของกองทัพในกิจการพลเรือนและผลกระทบต่อการเมืองไทย

อะไรเป็นกลไกสำคัญของทหารในการจัดตั้งมวลชน มวลชนของกองทัพเป็นใคร มีความคิดและอุดมการณ์แบบไหน กองทัพจัดการและควบคุมมวลชนอย่างไร และถึงที่สุดแล้ว การจัดตั้งมวลชนของกองทัพจะได้ผลหรือไม่ภายใต้ภูมิทัศน์การเมืองที่เปลี่ยนไป

หาคำตอบได้จากบทสนทนาระหว่าง พวงทอง ภวัครพันธุ์ และ สมคิด พุทธศรี

 

 

โดย พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล

ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา “อุดรธานี” เติบโตและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อะไรคือพลังเบื้องหลังการเติบโตของอุดรธานี ยุทธศาสตร์ “หันหน้าสู่เวียงจันทน์” จะสร้างอนาคตใหม่ให้อุดรธานีอย่างไร และการเมืองท้องถิ่นมีส่วนสำคัญในการสร้างเมืองอย่างไร

พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล ชวนค้นหาคำตอบผ่านการสนทนากับ “อิทธิพนธ์ ตรีวัฒนสุวรรณ” นายกเทศมนตรีนครอุดรธานี และ “ธีรภัทร เจริญสุข” นักเขียนผู้เกิดและเติบโตในอุดรธานี

 

 

โดย จันจิรา สมบัติพูนศิริ

จันจิรา สมบัติพูนศิริ รายงานสถานการณ์กระบวนการพูดคุยสันติภาพในสามจังหวัดภาคใต้ อะไรคือสัญญาณบวก สัญญาณลบ บทเรียน และพลวัตล่าสุด

ทำไมกระบวนการสันติภาพจึงมิใช่เพียงธุระของคนในพื้นที่ แต่เป็นภารกิจของคนไทยทั้งสังคม

 

 

โดย อาร์ม ตั้งนิรันดร

เพราะเหตุใดคนเราจึงแตกแยกอย่างรุนแรงในเรื่องความเชื่อทางการเมืองและศาสนา? และเพราะเหตุใดจึงยากมากที่เราจะมองคนที่คิดต่างจากเราว่าเป็นคนดีเหมือนกับพวกพ้องน้องพี่ของเรา?

อาร์ม ตั้งนิรันดร ชวนมาทำความเข้าใจปรากฏการณ์ “ความแตกแยกในชาติ” ผ่านมุมมอง “สัตว์สังคม” ว่าเอาเข้าจริงแล้ว ความแตกแยกไม่ได้มีฐานมาจากเรื่องหลักการหรือศีลธรรม แต่เป็นเพราะธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคม ทำให้เราหลงเล่นพรรคเล่นพวกโดยไม่รู้ตัว ปิดกั้นความเห็นต่าง และแสดงออกเพื่อให้ตนเป็นที่รักของพวกพ้องต่างหาก

แล้วถ้าเป็นเช่นนี้ ทางออกจากปัญหาความแตกแยกในชาติคืออะไร?

 

 

โดย โตมร ศุขปรีชา

โตมร ศุขปรีชา พาคุณไปสำรวจเทรนด์ของ ‘รูปแบบงานเขียน’ บนสื่อยุคออฟไลน์กับออนไลน์ ภายใต้คำถามก้อนโตที่ว่า – เหตุใดงานเขียนบนโลกออนไลน์ทุกวันนี้ จึงมีแต่งานที่เต็มไปด้วยข้อมูล, ข้อมูล และข้อมูล

 

 

โดย อิสร์กุล อุณหเกตุ

อิสร์กุล อุณหเกตุ สำรวจการเมืองเรื่องการแสดงบัญชีทรัพย์สิน จากแนวปฏิบัติรอบโลก สู่นาฬิกาและสมบัติของ พล.อ.ประวิตร จนถึงคำถามของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

โดย ธีรภัทร เจริญสุข

‘สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี’

ข้อที่ห้าของเบญจศีลที่ชาวพุทธในไทยปฏิบัติตามข้อนี้ น่าจะเป็นข้อปฏิบัติตามศาสนาที่ส่งผลมาถึงการใช้ชีวิตประจำวันมากที่สุด ด้วยคำกล่าวที่ว่า ‘ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ’

ข้ามฝั่งไปที่ญี่ปุ่น ที่ศาสนาพุทธเป็นแค่หนึ่งในตัวเลือกที่ไม่ถูกบังคับ ยังมีบาร์ขายสุราชื่อ Vowz Bar ที่คุณจะได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ข้างใน พระสงฆ์ทำหน้าที่บาร์เทนเดอร์ และสวดทำวัตรก่อนดื่ม ตามด้วยการเทศน์หนึ่งกัณฑ์ระหว่างลูกค้าเริ่มกรึ่มด้วยฤทธิ์สุรา

ธีรภัทร เจริญสุข จะพาไปสัมผัสประสบการณ์ของศาสนาพุทธในนิกายสัจสุขาวดี ที่อาจทำให้ชาวพุทธเถรวาทอย่างเราเปิดกว้าง และเรียนรู้ความต่างของศาสนามากขึ้นอีกสักนิด

(คำเตือน: โปรดอ่านด้วยใจเปิดกว้างทางความแตกต่างด้านวัฒนธรรม)

 

การแต่งงานเพศเดียวกัน : คำสารภาพของนักนิติเศรษฐศาสตร์

 

โดย อิสร์กุล อุณหเกตุ

นานวันเข้า การแต่งงานเพศเดียวกันได้รับการยอมรับจากสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นเรื่องถูกกฎหมายในหลายประเทศทั่วโลก ผู้คนจำนวนไม่น้อยเปลี่ยนความคิดไปจากเดิม และหนึ่งในนั้นคือ ริชาร์ด พอสเนอร์ เจ้าพ่อวิชา “นิติเศรษฐศาสตร์”

อิสร์กุล อุณหเกตุ สำรวจทัศนะของพอสเนอร์ว่าด้วยการแต่งงานเพศเดียวกัน ที่วิวัฒน์ข้ามกาลเวลา

 

 

ใครเบื่อข้อถกเถียงว่าด้วย “ประชานิยม” แบบไทยๆ สฤณี อาชวานันทกุล ชวนอ่าน What is Populism? ของ Jan-Werner Müller นักรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน

หนังสือเล่มเล็กที่เปิดพรมแดนการถกเถียงเรื่องประชานิยมให้กว้างไกลขึ้น ตั้งแต่ประชานิยมคืออะไร ประชานิยมฝ่ายขวาและประชานิยมฝ่ายซ้ายต่างกันอย่างไร วิถีการเมืองของนักการเมืองประชานิยมมีรูปแบบอย่างไร จนถึงประชานิยมสร้างสรรค์หรือทำลายประชาธิปไตยกันแน่

 

หลังจากนายกรัฐมนตรีส่งคำถามมาให้พวกเราตอบเป็นจำนวน 4 + 6 ข้อ (ซึ่งแต่ละข้ออ่านแล้วชวนงงเหลือเกิน) หลายคนอาจจะอยากออกความเห็นส่งไปให้นายกฯ ได้อ่าน ติดอยู่ที่ว่า จะตอบยังไงให้ได้ชื่อว่า ‘อยู่เป็น’

ในช่วงเวลาแบบนี้ เราเลยขอยืมมือ Daniel Hellman ศิลปินชาวสวิตเซอร์แลนด์ที่เพิ่งมาเล่นในงาน Bangkok Theatre Festival กับการแสดงชื่อว่า #FULLSERVICE ที่ให้เรา ‘เปย์’ เพื่อให้เขาทำอะไรก็ได้ที่เราต้องการ

…เพื่อมาตอบคำถาม 10 ข้อ จากนายกฯ ในแบบที่จะทำให้คุณอยู่รอดเป็นยอดดี

เขาจะตอบว่าอะไร ไปดูกัน!

 

รายการ 101 One-on-One

คำต่อคำ 101 One-on-One Ep.08 | “อ่านเลือกตั้ง 2561” กับ สิริพรรณ นกสวน สวัสดี

 

โดย 101-one-on-one

“การเลือกตั้ง” คล้ายจะเป็นประวัติศาสตร์อันห่างไกลสำหรับประเทศไทยไปเสียแล้ว

การเลือกตั้งแบบสมบูรณ์ครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 เรียกว่าต้องย้อนอดีตกลับไปนานกว่า 6 ปีเต็ม

เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกมาประกาศว่าประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งในปี 2561 แม้จะไม่มีใครรู้ว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ แต่เสียงปี่กลองทางการเมืองก็เริ่มดังขึ้นอีกครั้ง ทั้งจากนักการเมืองพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคขนาดกลาง รวมถึงพรรคทหาร!

การเลือกตั้งที่(อาจ)กำลังจะเกิดขึ้นเป็นการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้งใหม่ทั้งหมด

คำถามที่ทุกคนให้ความสนใจคือ การเมืองไทยหลังการเลือกตั้งใหญ่จะเป็นอย่างไร ระบบเลือกตั้งแบบใหม่จะก่อร่างสร้างภูมิทัศน์การเมืองใหม่แบบใดกัน

101 ชวน รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี หัวหน้าภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิชาการผู้ศึกษาเรื่องระบบเลือกตั้งและสถาบันทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่องจริงจัง มาร่วม “อ่านอนาคตสังคมไทย” ผ่าน “การเลือกตั้ง 2561”

และนี่คือบทสนทนาระหว่าง สิริพรรณ นกสวน สวัสดี กับ ปกป้อง จันวิทย์ บรรณาธิการ 101 และอีกสารพัดคำถามจากผู้ชมรายการ 101 One-on-One

 

101 One-on-One ep10 “อ่านไทยแลนด์ 4.0” กับ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์

 

โดย 101-one-on-one

:: LIVE :: “อ่านไทยแลนด์ 4.0” กับ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ว่าด้วย digital transformation นวัตกรรม และสังคมเศรษฐกิจแห่งอนาคต ใน 101 One-on-One | ep10

วันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม 2560 สองทุ่มตรง ทาง The101.world ชวนคุย โดย ปกป้อง จันวิทย์ บรรณาธิการ 101

 

101 One-on-One ep11 “อ่านรัฐธรรมนูญ 2560” กับ เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง

 

โดย 101-one-on-one

:: LIVE :: “อ่านรัฐธรรมนูญ 2560” กับ เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วยระบบการเมืองและกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 ใน 101 One-on-One | ep11

จันทร์ที่ 11 ธันวาคม 2560 สองทุ่มตรง ทาง The101.world ชวนคุยโดย ยิ่งชีพ อัชฌานนท์

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Spotlights

4 Nov 2020

101 Policy Forum : ประเทศไทยในฝันของคนรุ่นใหม่

101 เปิดวงสนทนาพูดคุยกับตัวแทนวัยรุ่น 4 คน ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน , สิรินทร์ มุ่งเจริญ, ภาณุพงศ์ สุวรรณหงษ์, อัครสร โอปิลันธน์ ว่าด้วยสังคม การเมือง เศรษฐกิจไทยในฝัน ต้นตอที่รั้งประเทศไทยจากการพัฒนา ข้อเสนอเพื่อพาประเทศสู่อนาคต และแนวทางการพัฒนาและสนับสนุนคนรุ่นใหม่

กองบรรณาธิการ

4 Nov 2020

Spotlights

30 Jun 2020

“ไม่มี Theory of Everything ในโลกของ IR” จิตติภัทร พูนขำ

101 สนทนากับ จิตติภัทร พูนขำ เกี่ยวกับองค์ความรู้และโลกของ IR ไปจนถึงการเรียนการสอน และการปรับตัวของ IR ในยุคที่โลกผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

กานต์ธีรา ภูริวิกรัย

30 Jun 2020