20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.world เดือนเมษายน 2561
David Streckfuss : การเมืองผิดเพี้ยน ในประเทศผุพัง
“ตอนนี้ประเทศไทยไม่มี politics ด้วยซ้ำ หรือถ้ามี มันก็เป็น absurd politics ไม่ใช่ popular politics” – คือข้อสังเกตของ ‘เดวิด สเตร็คฟัส’ นักวิชาการอิสระชาวอเมริกัน ผู้มาปักหลักอยู่ภาคอีสานกว่ายี่สิบปี
ประเด็นที่เขาศึกษาวิจัยและได้รับการยอมรับในวงวิชาการระดับโลก คือการเฝ้าติดตามสถานการณ์การใช้กฎหมายที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ รวมถึงกฎหมายหมิ่นฯ ในประเทศไทยอย่างใกล้ชิด โดยมีผลงานวิจัยที่ชื่อว่า ‘Truth on Trial in Thailand : Defamation, treason, and lese-majeste’ (2011) เป็นหมุดหมายสำคัญ
ในวันเวลาที่ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ เรานัดหมายกับเดวิดเพื่อชวนคุยถึงอนาคตของสังคมไทย ภายใต้เงื่อนไขที่เขาบอกว่าเต็มไปด้วยความ ‘absurd’
“สิ่งที่คสช.ทำตอนนี้ เปรียบเหมือนการแสดงละครเรื่องประชาธิปไตยที่มีคณะละครตลกอันธพาลขึ้นมายึดเวที แล้วทำการแสดงเอง ปัญหาคือการแสดงละครของคณะนี้ไม่มีคุณภาพเลย ไม่ให้ความบันเทิงกับผู้ชมเลย ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขายังล็อคประตูโรงละคร แล้วบังคับให้ผู้ชมนั่งดูการแสดงอันน่าเบื่ออย่างทรมานต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ว่าเรื่องจะจบตอนไหน…”
“วันนี้หมดเวลาของพวกเราแล้ว” – คุยกับ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เรื่องอดีตของไทยรักไทย ปัจจุบันของหมอเลี้ยบ และอนาคตของการเมืองไทย
“วันนี้หมดเวลาของพวกเราแล้ว ได้เวลาที่คนรุ่นต่อไปจะเข้ามาทำการเมืองที่สร้างสรรค์ การเมืองแบบที่เราเคยอยากทำแต่ทำไม่ได้ วันนี้เราไม่มีพลังแล้ว ให้คนรุ่นใหม่ที่มีพลังได้เข้าไปออกแบบและกำหนดอนาคตของพวกเขาเองเถอะ”
หลังพ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช เมื่อปี 2551 นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี หรือ ‘หมอเลี้ยบ’ หนึ่งในแกนนำพรรคไทยรักไทยยุคก่อตั้ง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และอดีตเลขาธิการพรรคพลังประชาชน ก็ถอยห่างจากเวทีการเมืองไปอย่างเงียบๆ ร่วม 10 ปี
จนกลับเป็นข่าวใหญ่อีกครั้งเมื่อถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสั่งจำคุก 1 ปี จนกระทั่งได้รับการพักโทษออกมาเมื่อเดือนกรกฎาคม 2560
ชีวิตทางการเมืองของ ‘หมอเลี้ยบ’ ผ่านประสบการณ์ทั้งแบบขึ้นสูงและลงสุดมาแล้ว แต่นั่นไม่ใช่สาระสำคัญที่เจ้าตัวถือเอามาบั่นทอนชีวิตตัวเอง เขาบอกกับกองบรรณาธิการ 101 ว่า
“ตอนที่ถูกให้เข้าไปอยู่ในเรือนจำ ผมไม่โกรธใครเลย คืนเดียวเท่านั้นที่ผมถามตัวเองว่าทำไมเข้ามาอยู่ที่นี่ ตื่นขึ้นมากลางดึกสองรอบ เหมือนฝัน แต่หลังจากนั้นไม่ได้คิดอะไรอีก ไม่มีแค้น ไม่มีไม่พอใจใคร ผมยังแปลกใจตัวเอง”
ในช่วงเวลาที่บรรยากาศทางการเมืองกำลังถูกปลุกเร้าให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง พรรคการเมืองทั้งหน้าใหม่และเก่าต่างทยอยเปิดตัวและเตรียมประกาศนโยบาย ทั้งหมดทั้งปวง ‘หมอเลี้ยบ’ เห็นอะไร
จากคนเดือนตุลา หมอนักวิชาการ สู่นักการเมืองดาวรุ่งที่มีส่วนสร้างพรรคไทยรักไทย และร่วมผลักดันนโยบายที่กลายเป็นขวัญใจมหาชนอย่าง ’30 บาทรักษาทุกโรค’
จากรัฐมนตรีที่ถูกรัฐประหาร ถูกยุบพรรคที่ร่วมสร้างมากับมือ ถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี และถูกตัดสินให้เป็นนักโทษ จนถึงวันที่ได้รับอิสรภาพกลับมาเป็นพลเมืองธรรมดาคนหนึ่ง แม้จะพร่องสิทธิทางการเมือง
101 ชวน ‘หมอเลี้ยบ’ สนทนาเรื่อง ‘อดีต’ ของพรรคไทยรักไทย ‘ปัจจุบัน’ ของ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี และ ‘อนาคต’ ของการเมืองไทย
ในวันที่เขาบอกว่า “หมดเวลาของพวกเราแล้ว”
จากทหารถึงทหาร คำเตือนจาก พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร “ยิ่งลงช้าเท่าไหร่ ยิ่งมีวิบากกรรมมากเท่านั้น”
โดย ธิติ มีแต้ม
“คณะรัฐประหารยิ่งลงช้าเท่าไหร่ ยิ่งมีวิบากกรรมมากเท่านั้น ความชอบธรรมเริ่มต้นก็ไม่มีอยู่แล้ว เหมือนเราเดินขึ้นบันไดสูงขึ้นเรื่อยๆ ความคาดหวังก็สูงขึ้น มันเลยเส้นที่เหมาะสมของการลงแล้ว ถ้าเกิดตกลงมาจะเจ็บมาก”
พลโท ภราดร พัฒนถาบุตร อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวกับ ธิติ มีแต้ม กองบรรณาธิการ 101
เขาเป็นบุคคลที่มีบทบาทในวาระสำคัญอย่างน้อยสองเรื่องในช่วงปี 2556-57 คือ หนึ่ง การเป็นหัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติภาพ นำทีมข้าราชการระดับสูงบินไปมาเลเซียเพื่อหาทางสงบศึกกับขบวนการบีอาร์เอ็นที่มีอิทธิพลสร้างความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ และ สอง การต้องเผชิญหน้าและรับมือกับมวลมหาประชาชนที่ออกมาโค่นรัฐบาลพลเรือนที่ตัวเขารับหน้าที่ช่วยดูแลนโยบายด้านความมั่นคงอยู่
แน่นอนว่าโดยข้อเท็จจริง เรื่องแรกเขายังทำไม่สำเร็จ เรื่องที่สองก็อาจต้องยอมรับว่าพ่ายแพ้ ไม่อาจต้านทาน
หลังพ้นจากตำแหน่งด้วยเงื่อนไขพิเศษและอิทธิฤทธิ์ทางการเมือง เหมือนเขาไม่เคยละสายตาหรือนิ่งเฉยใส่สังคมไทย ยังเฝ้าดูการเปลี่ยนผ่านจากสังคมประชาธิปไตยมาสู่รัฐประหาร และกำลังจะเปลี่ยนผ่านจากรัฐประหารไปสู่อนาคตที่ยังไม่รู้จะออกหัวหรือก้อย
นี่เป็นหนังตัวอย่างความคิดความอ่านของเขาเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงที่ชายแดนใต้ การเมืองไทย และหัวจิตหัวใจของทหาร
“กองทัพพัฒนาการช้า สิ่งสำคัญคือเรื่องศรัทธาในประชาธิปไตย ต้องไปทำให้ทหารเข้าใจ รู้บทบาทหน้าที่ตัวเอง ต้องเป็นทหารอาชีพ ไม่ใช่ทหารการเมือง พอคุณเข้ามา คนตั้งข้อสงสัยเรื่องความเสียสละว่าใช่หรือเปล่า พอยึดอำนาจเสร็จ คุณเพิ่มอัตรา เงินทองก็เพิ่ม แล้วไปรบกับอริราชศัตรูที่ไหน”
“ถึงเวลาที่พรรคเพื่อไทยหรือพรรคฝ่ายประชาธิปไตยจะเข้าใจความจริงว่าประชาชนเขาให้โอกาสคุณครั้งนี้ครั้งสุดท้าย โอกาสครั้งสุดท้ายที่คุณจะชนะ ถ้าคุณไม่เดินให้เป็นประชาธิปไตย เท่ากับคุณหมดโอกาส ทักษิณก็จบ ปิดเกม”
พูดแบบรวบรัด ถ้าสังคมไทยไม่เคยปราศจากทหาร เมื่อทหารนั่งลงทำความเข้าใจทหารทั้งองคาพยพด้วยตัวเอง ก็น่ารับฟังอย่างยิ่ง
และบทสัมภาษณ์นี้คือ มุมมองของคนที่เคยเรียนจบโรงเรียนนายร้อยฯ ในยุคประชาธิปไตยเฟื่องฟู 14 ตุลาฯ และเกษียณอายุราชการในยุครัฐประหาร 2557
การเมืองในสมัยพระนารายณ์: ความขัดแย้ง ฝรั่งเศส และผังล้มเจ้า
จาก ‘บุพเพสันนิวาส’ ถึง ‘การเมืองในสมัยพระนารายณ์’ พลอย ธรรมาภิรานนท์ วิเคราะห์ให้เห็นธรรมชาติและอนิจลักษณะของการเมืองไทย
อนาคต ความขาดแคลน เทคโนโลยี และทุนนิยมยุคดิจิทัล ในทัศนะของอรชุน อัปปาดูรัย
โดย มัธวรรณศ์ สุจริตธนารักษ์
เราอยู่ในสังคมที่โลกอนาคตดูเหมือนว่าจะขยายไปได้อย่างไม่สิ้นสุด มีเครื่องมือใหม่ๆ ออกมาใช้ในการคาดการณ์ทำนาย มีอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ คอยอำนวยความสะดวกให้กับชีวิตมนุษย์ในอนาคตมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ความเป็นไปได้ที่ดูเหมือนว่าจะล้นเหลือนั้นกลับซ่อนเร้นสภาพอนาคตที่ ‘ขาดแคลน’ อยู่ด้วย
แล้วสภาพอนาคตที่ขาดแคลนเป็นอย่างไร?
มัธวรรณศ์ สุจริตธนารักษ์ ชวนสำรวจ ‘อนาคตอันขาดแคลน’ ของทุนนิยมดิจิทัล ผ่านทัศนะของอรชุน อัปพาดูไร นักมานุษยวิทยาและนักวิชาการด้านโลกภิวัตน์ระดับโลก
เรื่องที่คุณอาจไม่เคยรู้เกี่ยวกับวงการสตาร์ทอัพจีน
เรามักคิดกันว่าประเทศสหรัฐฯ เป็นผู้นำในเรื่องสตาร์ทอัพ แต่ที่หลายคนอาจไม่ค่อยรู้ก็คือ ประเทศจีนเองก็มีวงการสตาร์ทอัพที่โดดเด่นและรุ่งเรืองมากเช่นกัน
อาร์ม ตั้งนิรันดร อ่านกลยุทธ์ ‘บุกนอกเพื่อชนะใน’ ของจีน ที่ทำให้สตาร์ทอัพพุ่งแรง และกลายเป็นค่านิยมของคนรุ่นใหม่
โดย ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์
1 เมษายน 2476 รัฐประหารในเมืองไทยได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อพระยามโนปกรณ์นิติธาดารัฐประหารรัฐบาลตัวเองด้วยกลวิธีทางกฎหมาย และสถาปนาระบอบ ‘มโนเครซี่’ ขึ้นมา
แม้จะมีอายุเพียง 81 วัน แต่ ‘มโนเครซี่’ กลับทิ้งมรดกทางการเมืองก้อนใหญ่ไว้จนถึงปัจจุบัน
85 ปี ผ่านไป ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ เขียนถึงการรัฐประหารครั้งนี้ เพื่อทบทวนมรดกของมันอีกครั้ง
EU Disintegration : เมื่อ(สหภาพ)ยุโรปแตกแยก
โดย จิตติภัทร พูนขำ
หลักประกันสุขภาพที่รัก (7) : หลักประกันมีค่ารถไปโรงพยาบาล
โดย นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
“น่าจะมี 30 บาทขึ้นรถทุกคันด้วยนะ” นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เล่าเรื่อง “หลักประกันสุขภาพที่รัก” ผ่านการเดินทางไกลของผู้ป่วยคนหนึ่ง และการมองการณ์ไกลของหมอรุ่นพี่คนหนึ่ง
อ่านแล้วเปลี่ยน
ศุภมิตร ปิติพัฒน์ แนะวิธี ‘อ่านการอ่านของตัวเอง’ เพื่อพาสมองและสองตาออกไปจากลูกกรงทางความคิด
เมื่อสามนักการเมืองรุ่นใหม่วิพากษ์วาทกรรมคุ้นหูของสังคมไทย
โดย ธิติ มีแต้ม
101 ชวน นลัทพร ไกรฤกษ์ พริษฐ์ วัชรสินธุ และณัฐพงษ์ ภูแก้ว สามนักการเมืองหน้าใหม่จากพรรคอนาคตใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคสามัญชน มาขบคิดกับสารพัดวาทกรรมคุ้นหูในสังคมไทย ตั้งแต่เรื่องเกณฑ์ทหารเพื่อรับใช้ชาติ, กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่, ระบอบทักษิณ, ข่มขืนต้องประหาร ฯลฯ
ชุมชนป้อมมหากาฬ ใครจะเป็นเหยื่อรายต่อไป
วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เขียนถึงการไล่รื้อชุมชนป้อมมหากาฬ พร้อมเปรียบเทียบวิธีคิดการจัดการเมือง Chania ประเทศกรีซ แหล่งกำเนิดอารยธรรมกรีกเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ปัญหาผู้อพยพกับผลประโยชน์ของชาติ : บทเรียนจากอินโดนีเซียถึงไทย
โดย พวงทอง ภวัครพันธุ์
พวงทอง ภวัครพันธุ์ ชวนคิดเรื่องปัญหาผู้อพยพ สิทธิมนุษยชน มนุษยธรรม และผลประโยชน์ของชาติ ผ่านบทเรียนของอินโดนีเซียยุคหลังซูฮาร์โต
ศัตรูอันดับหนึ่งของโดนัลด์ ทรัมป์ ในเวลานี้ กลับไม่ใช่พรรคเดโมแครต แต่คือ “โรเบิร์ต มูลเลอร์” อดีตผู้อำนวยการเอฟบีไอ
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ เล่าเรื่องวิกฤตประชาธิปไตยในสหรัฐอเมริกา เมื่อเอฟบีไอเปลี่ยนบทบาทจากการรับใช้ประธานาธิบดี มาตรวจสอบประธานาธิบดีและรักษาประชาธิปไตย?
อุดมการณ์ของทุน อุดมการณ์ของคุณ สัจนิยมของทุน
คอลัมน์ READ-O-SAPIENS สัปดาห์นี้ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ พาเข้าไปดูถึงโครงสร้างของทุนนิยม และไปถึงคำถามที่ว่าเราจะทำอย่างไรเมื่อทุนนิยมเรียกร้องให้ ‘ปัจเจกชน’ ต้องทำทุกอย่างเพื่อให้อยู่รอด
เมื่ออุดมการณ์ของทุนนิยมไม่ได้ถูกมองว่าเป็นอุดมการณ์อย่างหนึ่งเหมือนในช่วงสงครามเย็นอีกต่อไป ทว่ามันค่อยๆ ถูกพูดถึงราวกับเป็นข้อเท็จจริงทางสังคม และเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์มากที่สุด
“ลองจินตนาการถึงโลกในอนาคตที่เราใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบอื่นที่ไม่ใช่ ‘ทุนนิยม’ ดูสิครับ นึกออกกันบ้างไหม?
ผมเดาว่าส่วนใหญ่คงนึกไม่ค่อยออก เห็นภาพไม่ค่อยชัด หรือถ้านึกได้ก็คงต้องใช้เวลานานกว่าการจินตนาการถึงวันสิ้นโลกแน่ๆ
เหตุผลอาจเป็นเพราะหลายคนไม่เคยต้องนึกถึงเรื่องนี้อย่างจริงจังมาก่อน หรือไม่ก็เพราะเราดันอยู่ในโลกที่บอกกันปากต่อปากว่า อดีตผู้ท้าชิงอย่างคอมมิวนิสม์พ่ายแพ้ไปแล้วภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ขณะที่ทุนนิยมในฐานะระบบเศรษฐกิจที่มุ่งการแข่งขันและการแสวงหากำไร คือทางออกที่ดีที่สุดต่อสังคมโดยรวม
ภาวะที่เราจินตนาการได้เต็มไปหมดว่าโลกจะแตกด้วยวิธีใดบ้าง แต่กลับนึกไม่ออกเลยว่าอนาคตที่ดีกว่าในระบบการเมืองและเศรษฐกิจรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่ทุนนิยมเป็นอย่างไรนี่แหละครับ คืออาการของสิ่งที่มาร์ค ฟิชเชอร์ นักเขียนผู้ล่วงลับเรียกว่า ‘สัจนิยมของทุน’ (capitalist realism) ในหนังสือ Capitalist Realism: Is There No Alternative?”
“ภายใต้ตรรกะของทุน การแข่งขันอย่างเอาเป็นเอาตายตั้งแต่เด็กถูกมองว่าเป็นสิ่งจำเป็นกว่าการสร้างระบบสวัสดิการพื้นฐาน ด้วยข้ออ้างว่ามันสอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์มากกว่า ขณะที่ความร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูล ซึ่งเป็น ‘ธรรมชาติ’ ของมนุษย์ไม่น้อยไปกว่ากัน กลับถูกมองข้ามไปอย่างน่าประหลาดใจ”
อยู่ก็เป็นปัญหา ตายยิ่งเป็นภาระ
โดย วรากรณ์ สามโกเศศ
ทุกนาทีจะมีคนตายในโลก 200 คน ตกวันละเกือบ 300,000 คน โลกจึงมีภาระหนักในการจัดการร่างคนตาย โจทย์สำคัญคือทำอย่างไรไม่ให้ร่างคนตายส่งผลเสียต่อความยั่งยืนของโลก จนเป็นภาระต่อคนรุ่นลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่
วรากรณ์ สามโกเศศ เล่าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับกำจัดร่างผู้ตายที่สร้างความยั่งยืนให้แก่โลกยิ่งกว่าการเผาและการฝัง
ตามไปดูวิธีการของ Susanne Wiigh-Masak นักชีววิทยาผู้เชี่ยวชาญเรื่องดินชาวสวีเดนกัน!
สายธารการค้าแห่งหังโจว ต้าหยุนเหอถึงอาลีบาบา
โดย ธีรภัทร เจริญสุข
ธุรกิจของแจ็คหม่าไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเลื่อนลอย
ประวัติศาสตร์ ความรู้ การศึกษา และวัฒนธรรมการค้าอันแข็งแกร่งของหังโจว ล้วนมีส่วนหล่อหลอมขึ้นมา
ธีรภัทร เจริญสุข ชวนสำรวจการเติบโตของนครหังโจว เมืองบ้านเกิดของแจ็คหม่า
และฐานทัพใหญ่ของธุรกิจของอาลีบาบากรุ๊ป
โดย กษิดิศ อนันทนาธร
กษิดิศ อนันทนาธร ชวนรำลึกร้อยปีชาตกาลของ ศาสตราจารย์ ดร.พร้อม วัชระคุปต์ บุคคลผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวงการอุตสาหกรรมเหล็กไทย
‘พร้อม’ เป็นเพื่อนสนิทของป๋วย อึ๊งภากรณ์ ป๋วยนิยามเพื่อนรักของเขาว่าเป็น “ผู้ใฝ่ในเสรีภาพของประชาชนชาวไทย”
และนักวิทยาศาสตร์อย่าง ‘พร้อม’ นี่เอง ที่ป๋วยเคยเล่าว่าเป็นคนแรกที่ให้สติทางการเมืองแก่เขาในวัยหนุ่ม
“วรรณกรรมทำให้เราเปิดกะลา” สำรวจการเดินทางของ ‘บทจร’ กับ วรงค์ หลูไพบูลย์
“ถ้าเปรียบกับกะลา วันนี้เราอยู่ในกะลาเราก็มองเห็นแค่นี้ แต่ถ้าเราเปิดกะลาออกมา ถามว่าเจออะไร ก็เจอกะลาอันใหม่ การอ่านวรรณกรรมคือการเปิดกะลาไปเรื่อยๆ…”
ในช่วงหลายปีนี้ หากมองไปยังตลาดหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คที่ยังคง ‘ไปได้ดี’ สวนทางกับสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทอื่นๆ ที่เริ่มโรยรา หนังสือประเภทหนึ่งที่ดูคึกคักและมีความเคลื่อนไหวที่น่าจับตา คือหมวดหมู่ของ ‘วรรณกรรมคลาสสิก’ จากบรรดาสำนักพิมพ์ขนาดเล็กหลายแห่ง
หนึ่งในนั้นคือสำนักพิมพ์ บทจร สำนักพิมพ์น้องใหม่ที่มุ่งผลิตวรรณกรรมคลาสสิกร่วมสมัย โดยมีหมุดหมายตั้งต้นจากผลงานเล่มสำคัญอย่าง ‘รักเมื่อคราวห่าลง’ และ ‘ความรักและปีศาจตัวอื่นๆ’ ของ กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ ที่เปลี่ยนโฉมวรรณกรรมคลาสสิกจากแนวขรึมขลัง ขึ้นหิ้ง สู่รูปลักษณ์และรูปเล่มที่ร่วมสมัย ไปจนถึงการเผยแพร่งานของนักเขียนระดับโลกคนอื่นๆ ให้นักอ่านชาวไทยได้รู้จัก อาทิ อิตาโล คัลวิโน, อลิซ มันโร, มาริโอ บากัส โยซ่า
เราถือโอกาสชวน จ๋ง-วรงค์ หลูไพบูลย์ ผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์ มานั่งคุยแบบยาวๆ ตั้งแต่เรื่องราวของสำนักพิมพ์บทจร แรงบันดาลใจและความใฝ่ฝันส่วนตัว ไปจนถึงเสียงสะท้อนในฐานะคนนอก ที่กำลังก้าวเข้ามาเป็นคนวงในแบบเต็มขั้น
บทเรียนจากข่าวฉาวเฟซบุ๊กถึงไทย : การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วยกฎหมายแข่งขันทางการค้า
โดย กนกนัย ถาวรพานิช
ข่าวการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ Facebook ไปยังบริษัท Cambridge Analytica ทำให้ประเด็นการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกลายเรื่องร้อนแรงและแหลมคม
กนกนัย ถาวรพานิช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชวนมองปัญหานี้ผ่าน “การแข่งขันในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” พร้อมตั้งคำถามว่า การเป็นเจ้าตลาดของ Facebook ในตลาด Social Media ส่งผลต่อการคุ้มครองข้อมูลผู้บริโภคอย่างไร และกฎหมายแข่งขันทางการค้าของไทยพร้อมหรือไม่ในการกำกับดูแลในเรื่องนี้
101 Spotlights
ในวันท้องฟ้าสดใส
101 ชวนคุณมาอ่านเรื่อง “ฝุ่น” ที่ผ่านการเดินทางมายาวไกล
ตั้งแต่ยุครุ่งอรุณของฝุ่นอุตสาหกรรมไทย
ฝุ่นตลบหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
และฝุ่นยุคปัจจุบันที่คร่าชีวิตผู้คนและส่งผลเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างเงียบเชียบทว่ารุนแรง
โลกและเราควรรับมือกับฝุ่น PM 2.5 อย่างไร
พบผู้คนหลากหลายวงการที่จะมาเจาะลึกเรื่องฝุ่น
ทั้งนักอุตุนิยมวิทยา แพทย์ นักสิ่งแวดล้อม นักเศรษฐศาสตร์ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง นักผังเมือง ฯลฯ
เมื่อฝุ่นไม่เคยหายไป แต่สัญจรเพื่อย้อนกลับมาใหม่
เราจึงชวนคุณติดตามการเดินทางครั้งนี้ไปด้วยกัน
ในสารคดีเชิงข่าว101 Spotlight ชุด “Dust Atlas : ทางของฝุ่น PM 2.5”
โดย ชลธร วงศ์รัศมี
Dust Atlas (1) : ฝุ่นและราคาชีวิตของคนไทย
หลังฝุ่น PM 2.5 อยู่กับสังคมไทยมาร่วมสองเดือน เราเรียนรู้อะไรจากความขมุกขมัวนี้บ้าง
101 Spotlight ชวนคุณแหวกม่านฝุ่นเพื่อค้นหาว่า วิกฤตฝุ่นมีที่มาอย่างไร ส่งผลต่อสุขภาพเรามากแค่ไหน สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจเพียงใด และมีใครถูกทิ้งไว้ให้จมฝุ่น
ร่วมสะกดรอยการเดินทางของฝุ่น PM 2.5 ได้ใน Dust Atlas ตอนที่ 1 : ฝุ่นและราคาชีวิตของคนไทย
Dust Atlas (2) : เมื่อฝุ่นสัญจร
สารคดี Dust Atlas – ทางของฝุ่น PM 2.5 กลับมาพร้อมจุดแรกเริ่มของฝุ่น และเรื่องราวของฝุ่นแบบคลาสสิก
ทั้งฝุ่นในลอนดอนที่คร่าชีวิตคนนับหมื่น
ฝุ่นยุคอุตสาหกรรมรถยนต์ของอเมริกา
ฝุ่นในสมัยรัชกาลที่ 4
ฝุ่นอุตสาหกรรมยุคแรกของไทย
ฝุ่นจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน
และฝุ่นจากหมอกควันภาคเหนือ
ร่วมเดินทางไปกับฝุ่นที่จุดตั้งต้นแสนเรียบง่าย ทว่าค่อยๆ พัฒนาจนเป็นฝุ่นแสนซับซ้อน และยากจะกำจัดจากชีวิตมนุษย์อีกต่อไป
Dust Atlas (3) ฝุ่นในดินแดนคอมมิวนิสต์และโลกเสรี
สารคดี Dust Atlas – ทางของฝุ่น PM 2.5 ชวนทบทวนหนทางการจัดการปัญหา ฝุ่น PM 2.5 ในจีนและอเมริกา สองประเทศผู้ก่อมลพิษมากที่สุดในโลก
เมื่อก่อปัญหาได้มโหฬาร
วิธีแก้ย่อมไม่ธรรมดาเช่นกัน
ร่วมสะกดรอยการเดินทางของฝุ่นที่ทำให้ประเทศคอมมิวนิสต์ต้องกระจายอำนาจ
และทำให้ประเทศเสรีนิยมประชาธิปไตยต้องสร้างกรอบหนาแน่นแข็งแรง
ใน 101 Spotlight ตอน ‘ฝุ่นในดินแดนคอมมิวนิสต์และโลกเสรี
รายการ 101 One-on-One
101 One-on-One ep26 “มองเศรษฐกิจไทยมุมใหม่ ผ่าน Big Data” กับ โสมรัศมิ์ จันทรัตน์
โดย 101 One-on-One
:: LIVE :: “มองเศรษฐกิจไทยมุมใหม่ ผ่าน Big Data” โดย ดร.โสมรัศมิ์ จันทรัตน์ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัย สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ใน 101 One-on-One EP26
Big Data ช่วยให้เราเข้าใจปัญหาหนี้ครัวเรือน ปัญหาการเข้าถึงบริการทางการเงิน และปัญหาภาคการเกษตรของประเทศไทยอย่างไร
แล้วเราใช้ Big Data ช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมเศรษฐกิจไทยได้อย่างไรบ้าง
วันจันทร์ที่ 30 เมษายน 2561 เวลาสองทุ่มตรง ทาง The101.world
ดำเนินรายการโดย ธร ปีติดล
101 One-on-One ep25 “Good Life, Good Run : วิ่งให้ดีต่อชีวิต” กับ รามิล วจะโนภาส
โดย 101 One-on-One
:: LIVE :: “Good Life, Good Run : วิ่งให้ดีต่อชีวิต” คุยกับ Running Coach โค้ชฮอว์ก – รามิล วจะโนภาส
โค้ชฮอว์กเป็นโค้ชหนุ่มที่เทรนนักวิ่งทั้งในลู่และด้วยการเปิดเทรนนิ่งคอร์สในยิมที่ออกแบบมาสำหรับการวิ่งโดยเฉพาะ
ในโอกาสที่ผู้คนตื่นตัวลุกขึ้นวิ่งและออกกำลังกายกันขนานใหญ่ 101 จึงอยากชวนโค้ชฮอว์กมาสนทนาว่าด้วยเรื่องวิ่งหลากมุม
-อะไรคือวิธีวิ่งที่เหมาะสมกับร่างกายของเรา
-อยากวิ่งให้ยาวขึ้น เร็วขึ้น ไกลขึ้น ต้องทำอย่างไร
-วิ่งช่วยให้ลดน้ำหนักได้จริงหรือ
-จะไปวิ่งมาราธอนควรเตรียมตัวอย่างไร
-พร้อมประสบการณ์จริงสนุกๆ ในการแข่งขันของโค้ช
ใน 101 one-on-one EP25
วันอังคารที่ 24 เมษายน 2561 เวลาสองทุ่มตรง ทาง The101.world
โตมร ศุขปรีชา ดำเนินรายการ
101 One-on-One ep24 “การศึกษาแห่งอนาคต : บทเรียนจากโลกสู่ไทย” กับ อรรถพล อนันตวรสกุล
โดย 101 One-on-One
:: LIVE :: “การศึกษาแห่งอนาคต : บทเรียนจากโลกสู่ไทย” กับ อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คุยกันว่าด้วยเรื่อง
-การเรียนรู้แนวปฏิบัติในการจัดการศึกษาที่น่าสนใจของโลก
-สำรวจนวัตกรรมทางการศึกษาใหม่ๆ
-มองหาความเป็นไปได้ใหม่ในการจัดการศึกษาในบริบทไทย
ใน 101 one-on-one EP24
วันจันทร์ที่ 9 เมษายน 2561 เวลาสองทุ่มตรง ทาง The101.world
ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ดำเนินรายการ