fbpx

20 อันดับผลงานยอดนิยม ประจำปี 2023

เด็กจุฬาฯ รวยกว่าคนทั้งประเทศจริงไหม?

ร่วมหาคำตอบจากคำพูดที่ว่า “เด็กจุฬาฯ เป็นเด็กบ้านรวย” ผ่านแบบสำรวจฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และความเหลื่อมล้ำ ในนิสิตจุฬาฯ ปี 1 ปีการศึกษา 2566

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ในวิกฤต (?)

ข่าวการปรับหลักสูตรของอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ชวนให้คิดถึงอนาคตของการเรียนการสอนสายมนุษยศาสตร์ เมื่อตลาดแรงงานเรียกร้องทักษะสำหรับการทำงานจริง จนมีการลดความสำคัญวิชาพื้นฐานอันเป็นการฝึกฝนการวิเคราะห์วิพากษ์เพื่อทำความเข้าใจโลกอันซับซ้อน

คู่มือ ‘ขายวิญญาณ’ เพื่อตำแหน่งวิชาการในมหาวิทยาลัย

สมชาย ปรีชาศิลปกุล เขียนถึง 4 ประเด็นที่พึงตระหนักของผู้ขอตำแหน่งวิชาการ จากประสบการณ์มากกว่าทศวรรษในกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการในสถาบันการศึกษา

แดง เหลือง ส้ม ฟ้า ชมพู: ว่าด้วยสีในงานออกแบบของพรรคการเมืองไทย  

คอลัมน์ ‘สารกันเบื่อ’ เดือนนี้ เอกศาสตร์ สรรพช่าง เขียนถึง การหยิบ ‘สี’ เข้ามาใช้สื่อสาร (หรืออาจจะไม่สื่อสาร?) ของพรรคการเมืองต่างๆ ในสนามการเมือง

จากสู้บนถนน สู่คนในสภา: 4 ปีชีวิตนักการเมืองของอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล

101 ชวนอมรัตน์สนทนาว่าด้วยข้อเรียกร้องจากนอกสภาฯ ถึงการถกเถียงในสภาฯ โจทย์การเมืองของก้าวไกลในการเลือกตั้ง บทเรียนในการทำงานการเมืองกว่า 4 ปี คอขวดของการพัฒนาสังคมไทย และบทบาทในอนาคตของเธอในการเมืองไทย

โฮมทาวน์ ช้ำ-ช้ำ-ช้ำ: ภาพฝันที่ไม่เป็นจริง เมื่อคนรุ่นใหม่กลับบ้านเกิด

101 ชวนมองภาพชีวิตคนวัยทำงาน 3 คนที่เคยใช้ชีวิตคนเมืองแล้วกลับไปปะทะกับความแตกต่างในชุมชนบ้านเกิดตัวเอง

“ฉันนี่แหละรอยัลลิสต์ตัวจริง” ความหวังดีจาก ‘ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์’ ถึงสถาบันกษัตริย์ไทย ในยุคสมัยการเมืองไร้เพดาน

101 คุยกับ ‘ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์’ ถึงภูมิทัศน์การเมืองไทย การเลือกตั้งหลังผ่านปรากฏการณ์ ‘ทะลุเพดาน’ และอนาคตของสถาบันกษัตริย์ไทยในสายตา ‘รอยัลลิสต์ตัวจริง’

เปลี่ยน ‘ผี’ ให้เป็น ‘คน’ : เหตุผลที่คนเลือกเป็น ‘ผีน้อย’ และปัญหาเชิงระบบของการส่งแรงงานไปเกาหลี

รีนา ต๊ะดี เขียนถึงปัญหาในระบบการส่งแรงงานไปทำงานที่เกาหลีใต้อย่างถูกกฎหมาย เปิดเหตุผลว่าทำไมแรงงานไทยยังเลือกไปแบบ ‘ผีน้อย’

ฉากทัศน์ต่อไปของอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่สั่นสะเทือนระเบียบโลกใหม่: ศราวุฒิ อารีย์

7 ตุลาคม กลุ่มฮามาสเปิดฉากขีปนาวุธกว่า 5,000 ลูกใส่อิสราเอล จุดชนวนความขัดแย้งซึ่งเดิมทีก็ไม่เคยดับหายไปอยู่แล้วให้ปะทุกว่าที่เคย จนอาจนับได้ว่านี่เป็นการต่อสู้ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่รุนแรงที่สุดในรอบทศวรรษ

จนถึงนาทีนี้ การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ยังดำเนินต่อไปโดยปราศจากทีท่าของความสงบหรือยุติลง 101 สนทนากับ ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงเงื่อนไขและตัวแปรของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น, ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและรัฐอาหรับ, อนาคตของปาเลสไตน์ ตลอดจนระเบียบโลกใหม่ที่ก่อตัวขึ้นมาหลังยุคสงครามเย็น

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และความโป๊

อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ เขียนถึงการฉาย ‘หนังโป๊’ ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในทศวรรษ 2490-2510 จนเกิดการร้องเรียนขึ้น และเผยอีกแง่มุมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ถูกเอ่ยถึงบ่อยครั้งในหนังสือโป๊

สิ่งที่เราไม่เคยเห็นจะได้เห็นในซูเปอร์เอลนีโญ

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เขียนถึงซูเปอร์เอลนีโญ ปรากฏการณ์ธรรมชาติผสมกับภาวะโลกร้อน ซึ่งจะทำให้เกิดความแห้งแล้ง ขาดแคลนอาหาร และภัยธรรมชาติ

ที่นี่ไม่ใช่ Little Japan: บ้าน บาร์ ศาลเจ้า และเรื่องเล่าของคนญี่ปุ่นในศรีราชา

101 ชวนสำรวจชุมชนคนญี่ปุ่นในศรีราชาผ่าน ‘บ้าน-บาร์-ศาลเจ้า’ เมื่อคนญี่ปุ่นจำนวนมากย้ายมาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม เมืองท่าแห่งนี้จึงปรับตัวพร้อมให้บริการสำหรับวิถีชีวิตแบบคนญี่ปุ่น

เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ: สังคมไทยในความเสื่อมแห่งอาญาสิทธิ์ของราชาชาตินิยม

101 ชวน ศาสตราจารย์เกษียร เตชะพีระ มองภาพสะท้อนสังคมไทยผ่านการเลือกตั้งและปัจจัยที่ทำให้สังคมไทยมองหาคำตอบใหม่ๆ มาเป็นทางออกจากปัญหาที่เรื้อรังยาวนาน

ติดคุกฟรี ชีวิตพัง ‘คดีพี่ฟ้องน้อง’ ที่ยืนยันว่า 112 มีปัญหา

101 ชวน ยุทธภูมิ มาตรนอก อดีตผู้ต้องหา ม.112 สะท้อนประสบการณ์การเผชิญความไม่เป็นธรรมที่พัดพาให้เขาต้องเข้าคุกเพียงเพราะทะเลาะกับคนในครอบครัว

จากเจ้าภาพการประชุม G20 สู่ประธานอาเซียน 2023: บทบาทของอินโดนีเซียที่น่าจับตามอง

อรอนงค์ ทิพย์พิมล เขียนถึงบทบาทอันน่าจับตาต่อไปของอินโดนีเซีย ที่เพิ่งได้รับการส่งมอบตำแหน่งประธานอาเซียนสำหรับปี 2023 อย่างเป็นทางการ หลังเพิ่งเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกลุ่มประเทศ G20 เมื่อปลายปี 2022 ที่ผ่านมา

โฉมหน้าใหม่การเมืองการปกครองอัฟกานิสถาน หลัง 2 ปี ตาลีบันรีเทิร์น

อัครพันธ์ อัครโรจน์กิจ ชวนมองการเปลี่ยนแปลงของอัฟกานิสถาน หลังผ่านระยะเวลาเกือบ 2 ปี ภายใต้การกลับมาปกครองของตาลีบัน

ไม่มี ‘วิกฤต’ ในคัมภีร์ธุรกิจของ ‘สิงห์’ : สันติ – ภูริต ภิรมย์ภักดี

หากไม่เข้าถ้ำสิงห์ ไหนเลยจะรู้จักสิงห์ 101 คุยกับ สันติ- ภูริต ภิรมย์ภักดี ถึงภูมิปัญญาการบริหารคน องค์กร และการตลาดเบื้องหลังความสำเร็จของกลุ่มธุรกิจสิงห์

นโยบายแจกเงินดิจิทัล: ทำได้ หรือขายฝัน?

วิมุต วานิชเจริญธรรม ชวนมองวิวาทะสองฝั่งของนโยบายแจกเงินดิจิทัลในการหาเสียงของพรรคเพื่อไทย พร้อมให้ข้อเสนอถึงการปรับนโยบายให้ตรงจุดขึ้น

ความ ‘ไทยๆ’ ในโลกที่มีพระเจ้าหลายองค์: อ่านชีวิตและความคิดของเรเชล แฮร์ริสัน

101 คุยกับ เรเชล แฮร์ริสัน ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาไทยศึกษาที่ SOAS ว่าด้วยมุมมองต่อสังคมไทย การเรียนการสอนวัฒนธรรมศึกษาไทยในอังกฤษ และชีวิต-ความคิดของเธอ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save