ย้อนกลับไปเมื่อราว 2 ปีที่แล้ว ในวันที่ 15 สิงหาคม 2021 เราต่างได้เห็นเหตุการณ์ช็อกโลก เมื่อกลุ่มตาลีบันโค่นล้มรัฐบาลอัฟกานิสถานเดิม และเอาชนะกองทัพแห่งชาติอัฟกานิสถาน (Afghan National Army) ได้สำเร็จ ทำให้ประธานาธิบดีอัฟกานิสถาน Ashraf Ghani ต้องหลบหนีลี้ภัยออกนอกประเทศ คณะรัฐบาลล่มสลาย กองทัพแตกพ่าย รวมทั้งประชาชนอัฟกานิสถานก็ต่างหากันหนีออกนอกประเทศกันอลหม่าน จนเกิดเป็นภาพสะเทือนขวัญที่สนามบิน ขณะที่บ้านเมืองก็ตกอยู่ในสภาพไร้ขื่อแปรไปชั่วขณะ แต่ท้ายที่สุด กลุ่มตาลีบันก็สามารถเข้าปกครองและควบคุมความสงบเรียบร้อยของประเทศได้อีกครั้ง
การขึ้นสู่อำนาจของตาลีบันในอัฟกานิสถานครั้งนี้คือครั้งที่สองหลังจากที่ตาลีบันเคยปกครองประเทศมาก่อนหน้านี้ในช่วงปี 1996-2001 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทำให้คนทั่วโลกจดจำตาลีบันในฐานะผู้ปกครองประเทศด้วยความโหดร้ายภายใต้กฎหมายอิสลามอันสุดโต่งตามแบบฉบับวิถีของกลุ่มตาลีบัน แต่อย่างไรเสีย การกลับมาของตาลีบันครั้งนี้ไม่ได้ใช้การเมืองการปกครองในรูปแบบเดิมหมดเสียทีเดียว ทว่ากำลังเปลี่ยนโฉมประเทศแห่งนี้ให้แตกต่างไปจากที่ชาวโลกรู้จักอีกครั้ง
จากสาธารณรัฐอิสลาม สู่เผด็จการศาสนาเบ็ดเสร็จ
ทันทีที่กลุ่มตาลีบันกลับเข้าปกครองประเทศอีกครั้ง ก็เปลี่ยนชื่อประเทศใหม่ จากเดิมชื่อว่า ‘สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน’ (Islamic Republic of Afghanistan) เป็น ‘อิสลามเอมิเรตแห่งอัฟกานิสถาน’ (Islamic Emirate of Afghanistan)” และแทนที่ระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐอิสลาม (Islamic Republic) ด้วยระบอบการปกครองแบบเผด็จการศาสนาเบ็ดเสร็จ (Totalitarian Theocracy)
กลุ่มตาลีบันกุมอำนาจปกครองประเทศทั้งหมดไว้เพียงฝ่ายเดียว พร้อมหันมาใช้กฎหมายอิสลาม (Sharia) อันสุดโต่ง ขณะเดียวกัน ระบบแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers) ทั้งสาม ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ก็สูญสิ้น โดยมีเพียงแต่สภาเหล่าผู้นำ (Leadership Council) ของกลุ่มตาลีบันเรียกว่า ‘Rahbari Shura’ หรือ ‘Quetta Shura’ ซึ่งเปรียบเสมือนกับที่ประชุมคณะรัฐมนตรีที่มีอำนาจสูงสุดแห่งเดียวที่สามารถดำเนินการต่างๆ โดยชอบธรรมและเป็นไปอย่างอิสระ หรือกล่าวได้ว่าทุกฉันทามติจากที่ประชุมแห่งนี้ถือว่าเป็นที่สิ้นสุด
สภาเหล่าผู้นำนี้ประกอบด้วยสมาชิกตาลีบันระดับสูงราว 30 คนที่รับผิดชอบหน้าที่ด้านต่างๆ โดยมีตำแหน่งผู้นำสูงสุด (Supreme Leader) หรือผู้นำแห่งศรัทธา (Amir al-Mu’minin / Leader of Faithful) เป็นประธาน อันมีอำนาจเต็มสูงสุดทางการเมือง ศาสนา และ การทหาร ปัจจุบันผู้ที่ดำรงตำแหน่งนี้คือ Hibatullah Akhundzada

นอกจากนี้ สภาเหล่าผู้นำยังมีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งสมาชิกกลุ่มตาลีบันให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ รวมทั้งตำแหน่งในคณะรัฐบาลตาลีบัน ทั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (Prime Minister) รองนายกรัฐมนตรี (Deputy Prime Minister) และ รัฐมนตรี (Minister) ประจำกระทรวงต่างๆ โดยการพิจารณาแต่งตั้งจะพิจารณาจากคุณสมบัติ ความสามารถ บทบาทหน้าที่ของสมาชิกคนนั้นว่ามีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใด รวมถึงดูจากความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางเครือญาติ ยกตัวอย่างเช่น Mohammad Yaqoob ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม เนื่องจากมีความสามารถด้านการทหาร และ ยังเป็นบุตรชายของ Mullah Mohammed Omar อดีตผู้ก่อตั้งกลุ่มตาลีบันคนแรก
นอกเหนือจากในระดับชาติแล้ว สภาเหล่าผู้นำยังทำการแต่งตั้งสมาชิกกลุ่มตาลีบันในตำแหน่งอื่นๆ ที่มีความสำคัญรองลงมาในระดับหน่วยงานรัฐท้องถิ่น รวมถึงตำแหน่งงานทั่วไป เพื่อควบคุมกำกับดูแลเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐของรัฐบาลเก่าให้ปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยการแต่งตั้งใช้การพิจารณาจากความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มตาลีบันเป็นหลัก มากกว่าที่จะดูจากคุณสมบัติและความสามารถ
กลุ่มตาลีบันเคยปกครองประเทศด้วยระบอบการปกครองดังกล่าวในช่วงปี 1996-2001 ซึ่งไม่ได้ยึดโยงกับประชาชนเป็นสำคัญ แต่ยึดโยงกับบุคคลหรือกลุ่มคนที่มีอำนาจสูงสุดเพียงไม่กี่คนที่สามารถกำหนดชี้ชะตาอนาคตของประเทศได้โดยปราศจากความเห็นชอบจากประชาชนหรือสภาผู้แทนที่ได้รับการเลือกตั้ง ภายใต้การบังคับใช้กฎหมายศาสนาอันแสนเคร่งครัดและสุดโต่ง ทำให้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนชาวอัฟกานิสถานสูญหายหรือถูกลิดรอนจนแทบไม่เหลือ การมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องต่างๆและการดำเนินชีวิตถูกจำกัด โดยเฉพาะสิทธิและเสรีภาพของผู้หญิงในอัฟกานิสถาน
ตรงข้ามกับ ระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐอิสลามที่รัฐบาลอัฟกานิสถานเดิมเคยปกครองประเทศในช่วงปี 2001-2021 แม้ว่าจะมีการบังคับใช้กฎหมายศาสนาด้วยแต่ก็ไม่ได้เคร่งครัดหรือสุดโต่งเท่า ระบอบการปกครองนี้ยังมีโครงสร้างการปกครองคล้ายคลึงกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ยังยึดโยงกับประชาชนเป็นสำคัญอยู่บ้าง และ มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างหน่วยงานทั้งสามฝ่าย ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ที่คอยถ่วงดุลอำนาจตรวจสอบระหว่างกันอย่างชัดเจน (ประเทศอื่นที่ปกครองด้วยระบอบแบบสาธารณรัฐอิสลามอาจนิยามหรือมีโครงสร้างการปกครองบางอย่างแตกต่างไป) สิทธิและเสรีภาพของประชาชนชาวอัฟกานิสถานยังได้รับการรับรองและปกป้องโดยรัฐธรรมนูญของประเทศ ทำให้ประชาชนชาวอัฟกานิสถานทุกคน ทั้งชายและหญิงสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างไร้ข้อจำกัดภายใต้กฎหมายศาสนาและรัฐธรรมนูญของประเทศในช่วงเวลานั้น แต่อย่างไรเสีย ความอ่อนแอและความพ่ายแพ้ของรัฐบาลอัฟกานิสถานเดิมส่งผลให้กลุ่มตาลีบันได้นำพาประเทศแห่งนี้จากสาธารณรัฐอิสลามกลับไปสู่เผด็จการศาสนาเบ็ดเสร็จอีกครั้ง
กองทัพ-หน่วยงานความมั่นคงใหม่: เสาหลักค้ำจุนเสถียรภาพตาลีบัน
หลังจากกลุ่มตาลีบันจัดระเบียบการเมืองการปกครองประเทศมาได้ระยะเวลาหนึ่ง กลุ่มตาลีบันก็ได้ก่อตั้งกองทัพใหม่และหน่วยงานความมั่นคงใหม่หลายหน่วยเพื่อเป็นเสาหลักค้ำจุนอำนาจการปกครองของกลุ่มตาลีบัน
แม้ว่ากลุ่มตาลีบันจะสามารถปกครองประเทศด้วยอำนาจเต็มแบบเบ็ดเสร็จก็จริง แต่กลุ่มตาลีบันก็ยังคงเผชิญปัญหาเรื่องการก่อเหตุความรุนแรงและการต่อต้านจากกลุ่มก่อการร้ายอื่นภายในประเทศ เช่น กลุ่มก่อการร้าย ISIS-K (Islamic State – Khorasan) ในจังหวัดโคราซัน (Khorasan) และกลุ่มแนวร่วมต่อต้านตาลีบัน อย่างกลุ่ม NRF (National Resistance Front) ที่ก่อตั้งรวมตัวโดยอดีตคณะรัฐบาลอัฟกานิสถานเดิมกับทหารกองทัพแห่งชาติอัฟกานิสถานที่ยังเหลือรอด และนอกจากที่ต้องเผชิญหน้ากับกลุ่มเหล่านี้แล้ว ตาลีบันยังต้องเผชิญความขัดแย้งพรมแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างปากีสถาน และอิหร่าน อีกด้วย

ทั้งหมดนี้ทำให้กลุ่มตาลีบันให้ความสำคัญกับการเร่งสร้างเสถียรภาพด้านความมั่นคงของประเทศเป็นอันดับแรกเสมอ เพื่อรักษาอำนาจอิทธิพลของกลุ่มตัวเอง ทำให้ตาลีบันตัดสินใจก่อตั้งกองทัพและหน่วยงานความมั่นคงใหม่ เพื่อรับมือภัยคุกคามดังกล่าว และเป็นเสาหลักค้ำจุนอำนาจการปกครองของกลุ่มตาลีบัน โดยกองทัพและหน่วยงานความมั่นคงสำคัญๆ ที่ตาลีบันก่อตั้งขึ้นมาใหม่ ยกตัวอย่างเช่น
1. กองทัพเอมิเรตอิสลามแห่งอัฟกานิสถาน (Armed Forces of the Islamic Emirate of Afghanistan) เป็นกองกำลังทหารของประเทศและป้องกันชายแดน โดยมีโครงสร้างที่อิงจากโครงสร้างของกองทัพเดิม (กองทัพแห่งชาติอัฟกานิสถาน) ประกอบด้วย 8 กองทัพน้อย (Corp) ที่มีฐานทัพอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ ปัจจุบันกองทัพใหม่นี้มีกำลังพลราว 150,000 นาย และมีแผนจะเพิ่มกำลังอีก 50,000 นาย เป็น 200,000 นาย พร้อมด้วย อาวุธเบา อาวุธหนัก และพาหนะทางทหารอีกจำนวนมากที่ยึดได้จากกองทัพแห่งชาติอัฟกานิสถาน แต่กองทัพใหม่นี้ยังขาดแคลนเรื่องศักยภาพของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยยังไม่สามารถผลิตหรือซ่อมแซมอาวุธยุทโธปกรณ์ด้วยตัวเองได้ และยังมีปัญหาเรื่องศักยภาพป้องกันภัยทางอากาศจากการรุกล้ำของกองกำลังต่างชาติ เนื่องจากยังไม่มีระบบป้องกันภัยทางอากาศของตัวเอง
2. สำนักงานหน่วยข่าวกรอง GDI (General Directorate of Intelligence) ที่ถูกก่อตั้งขึ้นใหม่นี้ทำหน้าที่ด้านงานข่าวกรองและต่อต้านข่าวกรองทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนอำนาจจับกุม คุมขัง สืบสวนสอบสวน และทรมาน ผู้ต้องสงสัยที่เป็นฝ่ายปรปักษ์กับตาลีบัน นักข่าว นักเรียกร้องสิทธิมนุษยชน และ กลุ่มก่อการร้ายอื่นๆ อีกทั้งยังคอยควบคุมสื่อและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้วย
3. ตำรวจแห่งชาติอัฟกานิสถาน (Afghan National Police) คือหน่วยงานตำรวจที่มีอยู่ดั้งเดิม เพียงแต่มีการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ให้อยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มตาลีบัน คอยทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย และดูแลการบังคับใช้กฎหมายของประเทศภายใต้กฎหมายอิสลาม
นอกจากทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ยังมีการจัดตั้งหน่วยรบพิเศษและหน่วยปฏิบัติการพิเศษต่างๆ เพื่อตอบสนองภารกิจพิเศษของกลุ่มตาลีบัน ตัวอย่างเช่น กองพันหน่วยรบพิเศษบาดีร์ 313 (Badri 313 Battalion) ที่สร้างชื่อให้กับกองทัพใหม่หลังจากการเอาชนะกองทัพแห่งชาติอัฟกานิสถานภายใต้รัฐบาลก่อนหน้านี้ได้ กองพันหน่วยรบพิเศษยาร์มุก 60 (Yarmouk 60 Battalion) ซึ่งเป็นหน่วยรบพิเศษลึกลับที่ถูกก่อตั้งขึ้นใหม่สำหรับภารกิจพิเศษความลับขั้นสูง หน่วยปฏิบัติการพิเศษ GDI (GDI Special Unit) ที่คอยรับผิดชอบภารกิจต่อต้านการก่อการร้ายโดยเฉพาะ และหน่วยปฏิบัติการพิเศษ GCPSU (General Command of Police Special Units) ที่เชี่ยวชาญการต่อสู้ในเมืองและรับมือกับเหตุก่อความรุนแรง
กองทัพและหน่วยงานความมั่นคงใหม่ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อมีจุดประสงค์หลักเพียงอย่างเดียว คือเพื่อปกป้องอำนาจของกลุ่มตาลีบันและป้องกันการรุกรานจากกองกำลังต่างชาติ ตลอดจนรักษาเสถียรภาพความมั่นคงภายในของประเทศอัฟกานิสถาน
เศรษฐกิจประเทศยังมืดหม่น
แต่เดิมสภาพเศรษฐกิจของประเทศอัฟกานิสถานก็อ่อนแออยู่แล้ว เนื่องจากประเทศได้รับผลกระทบจากสงครามอันยาวนาน ปัญหาการก่อการร้ายที่รุนแรง แล้วยังซ้ำเติมด้วยโรคระบาดโควิด-19 รวมถึงภัยพิบัติธรรมชาติ ทำให้ประเทศอัฟกานิสถานจำเป็นต้องพึ่งพาเงินทุนและความช่วยเหลือจากต่างประเทศในด้านต่างๆ ซึ่งคิดเป็น 75% ของงบประมาณทั้งหมดในประเทศ
การกลับมาปกครองประเทศอีกครั้งของตาลีบันยิ่งตอกย้ำเศรษฐกิจของประเทศให้เลวร้ายลงไปอีก ทั้งปัญหาด้านมนุษยธรรม ปัญหาความเป็นอยู่ ความยากจน การว่างงาน และอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ขณะที่เงินทุนและความช่วยเหลือจากต่างประเทศในด้านต่างๆ ถูกถอนออกทั้งหมด หรือไม่ก็ถูกลดระดับลงจนแทบไม่มีเหลือ จากการที่นานาชาติใช้มาตรการคว่ำบาตรเพื่อกดดันกลุ่มตาลีบันให้เร่งจัดการปัญหาด้านมนุษยธรรม และปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศ โดยเฉพาะเรื่องสิทธิสตรี
ตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา กลุ่มตาลีบันพยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศด้วยหลายวิธีการ ทั้งทำให้ค่าสกุลเงินอัฟกานีแข็งค่าขึ้นเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อ โดยออกคำสั่งห้ามใช้สกุลเงินต่างประเทศ ลดการนำเข้าสินค้าจากนอกประเทศเพิ่มกำลังการส่งออกสินค้าเป็นสองเท่า รวมทั้งจัดเก็บภาษี ทั้งภาษีค่าด่านศุลกากร และภาษีสิ่งของผิดกฎหมายมากขึ้นเพื่อนำรายได้เข้าประเทศ
นอกจากนี้ กลุ่มตาลีบันยังให้ความสำคัญในการสร้างความร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจภาคเอกชนต่างๆ ในประเทศ พร้อมไปกับการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดอย่างปากีสถาน และยังให้ความสนใจร่วมลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ กับประเทศอื่น โดยเฉพาะจีน และปากีสถาน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
แม้ว่าในวันนี้ เศรษฐกิจของอัฟกานิสถานจะเริ่มกลับมามีเสถียรภาพอย่างช้าๆ แต่โดยภาพรวมแล้ว ก็ยังไม่ถือว่าดีมากนัก

เสรีภาพสื่อสูญหาย
หลังจากกลุ่มตาลีบันได้ปกครองประเทศ ก็ยังคงไม่หยุดไล่ล่าหมายหัวและประทุษร้ายนักข่าวที่เป็นปรปักษ์กับกลุ่มตาลีบัน ที่ผ่านมามีการออกคำสั่งปิดสำนักข่าวหลายแห่งที่กลุ่มตาลีบันพิจารณาว่าเป็นภัยหรือขัดต่อหลักศาสนาอิสลามอันสุดโต่ง ส่งผลให้สำนักข่าวหลายแห่งในประเทศต้องปิดตัวลงไปโดยปริยาย และทำให้นักข่าวจำนวนมากตกงานทันที บ้างต่องหนีออกนอกประเทศเพื่อความปลอดภัย
แม้สำนักข่าวบางแห่งยังดำเนินกิจการต่อไป แต่ก็ไม่อาจเดินหน้าได้ตามปกติ เนื่องจากขาดแคลนเงินทุนสนับสนุนจากต่างประเทศและไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน การนำเสนอข่าวสารต่างๆ ยังถูกควบคุมและเซนเซอร์อย่างเข้มงวดภายใต้กฎสื่อมวลชน 11 ข้อที่กลุ่มตาลีบันกำหนดขึ้นมา ซ้ำร้ายกว่านั้น บรรดานักข่าวที่ยังอยู่ในประเทศต่างก็ถูกคุกคามจากกลุ่มตาลีบัน บางคนโชคร้ายถูกจับกุมและโดนซ้อมทรมาน ดังเช่นเหตุการณ์ในวันที่ 8 กันยายน 2021 ที่นักข่าวชายอัฟกานิสถาน 2 คนถูกจับกุมและโดนซ้อมทรมานโดยกลุ่มตาลีบัน จากการที่พวกเขารายงานข่าวการเดินขบวนประท้วงของเหล่าสตรี
นักข่าวชาวต่างชาติเองก็ไม่มีข้อยกเว้นเช่นกัน เช่น นักข่าวชายอังกฤษ Andrew North ที่ถูกกลุ่มตาลีบันกักขังเป็นเวลาหลายวัน ก่อนถูกปล่อยตัวในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2022 ก่อนที่ตาลีบันจะทำการแบนนักข่าวต่างชาติที่ไม่ทำตามกฎ โดยไม่ให้เข้าประเทศอัฟกานิสถาน แม้ว่ากลุ่มตาลีบันให้คำมั่นรับรองกับสื่อนานาชาติว่าจะให้อิสระต่อนักข่าวมากขึ้นก็ตาม แต่ก็มักใช้ข้ออ้างว่าการทำข่าวนั้นต้องไม่ขัดกับหลักศาสนาอิสลาม นี่แสดงให้เห็นว่าเสรีภาพของสื่อในประเทศอัฟกานิสถานได้สูญหายไปแล้วโดยสิ้นเชิง
ให้คำมั่นสิทธิผู้หญิง แต่ความเป็นจริงสวนทาง
ปัญหาสิทธิสตรีเป็นประเด็นที่กลุ่มตาลีบันถูกโจมตีและวิพากษ์วิจารณ์จากนานาประเทศ โดยเฉพาะในหมู่ประเทศตะวันตกมาโดยตลอด นับตั้งแต่กลุ่มตาลีบันปกครองประเทศครั้งแรกเมื่อปี 1996-2001 กระทั่งกลับมาปกครองประเทศอีกครั้งในปี 2021
แม้ว่ากลุ่มตาลีบันจะให้คำมั่นรับรองกับนานาชาติว่าจะยอมให้ผู้หญิงยังมีบทบาทในสังคมมากขึ้นกว่าตอนปกครองประเทศสมัยแรก ทว่าความเป็นจริงกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น ผู้หญิงอัฟกานิสถานยังคงถูกกีดกันบทบาทให้เลือนหายออกไปจากสังคมทั้งเรื่องการใช้ชีวิต การศึกษา การว่าจ้างงาน ตลอดจนการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมต่างๆ สิทธิของพวกเธอถูกคุกคามอย่างรุนแรงภายใต้กฎหมายอิสลามอันสุดโต่งของกลุ่มตาลีบัน และทุกอย่างก็ยังเลวร้ายลงเข้าไปอีก เมื่อกลุ่มตาลีบันประกาศยุบกระทรวงกิจการสวัสดิภาพสตรี (Ministry of Women’s Affairs) ทิ้งไป แล้วแทนที่ด้วยกระทรวงเผยแผ่คุณธรรมและป้องกันอบายมุข (Ministry of Propagation of Virtue and Prevention of Vice)

ชีวิตของผู้หญิงอัฟกานิสถานที่เคยได้สัมผัสชีวิตอันปกติสุขทั่วไปในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ต้องพังทลายลงเพียงชั่วข้ามคืน ชีวิตของพวกเธอเต็มไปด้วยความมืดมน ไร้ซึ่งแสงแห่งความหวัง แต่อย่างไรเสีย กลุ่มตาลีบันก็ไม่ได้ให้น้ำหนักความสนใจแก้ไขปัญหาเรื่องนี้เท่าไหร่นัก แม้นานาประเทศจะกดดันอย่างจริงจังก็ตาม
เหล่าผู้หญิงอัฟกานิสถานต่างรู้ดีถึงการปกครองของกลุ่มตาลีบันที่ปฏิบัติต่อผู้หญิงในช่วงปี 1996-2001 ผู้หญิงอัฟกานิสถานถูกบังคับกีดกันบทบาทให้หายไปจากสังคม และ ถูกลงโทษทารุณอย่างรุนแรง หากพวกเธอไม่ปฏิบัติตามกฎอิสลามของกลุ่มตาลีบัน ชีวิตของผู้หญิงอัฟกานิสถานในช่วงเวลานั้น ไม่ต่างอะไรกกับการตกนรกทั้งเป็น เมื่อกลุ่มตาลีบันกลับมาปกครองประเทศอีกครั้งในปี 2021 เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าชีวิตของพวกเธอต้องไปกลับสู่ขุมนรกอันมืดมนอีกครั้ง แม้ผู้หญิงอัฟกานิสถานจะรวมตัวเดินประท้วงเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพของสตรีในอัฟกานิสถานในช่วงที่กลุ่มตาลีบันยึดปกครองประเทศใหม่ๆ แต่ก็ถูกปราบปรามอย่างรุนแรงโดยกลุ่มตาลีบัน ผู้หญิงอัฟกานิสถานเลือกลี้ภัยออกนอกประเทศ ขณะที่บางคนต้องใช้ชีวิตอย่างหวาดระแวงและหวาดกลัวในประเทศอัฟกานิสถานภายใต้การปกครองของกลุ่มตาลีบัน
เปิดสัมพันธ์ต่างประเทศ แต่ยังไร้การยอมรับอย่างเป็นทางการ
หลังจากกองทัพนานาชาติถอนกำลังทั้งหมดออกจากประเทศ นานาประเทศก็ตัดขาดจากอัฟกานิสถานไปโดยปริยาย และยังคว่ำบาตรกลุ่มตาลีบันอย่างหนักแทบทุกด้าน เพื่อกดดันกลุ่มตาลีบันให้ปกครองประเทศอย่างมีมนุษยธรรม แต่อย่างไรก็ดียังมีบางประเทศที่เปิดความสัมพันธ์กับกลุ่มตาลีบัน ได้แก่ กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิหร่าน อินเดีย รัสเซีย จีน และปากีสถาน
ประเทศเหล่านั้นต่างเปิดความสัมพันธ์กับกลุ่มตาลีบันเพื่อเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์และขยายอิทธิพลในอัฟกานิสถาน ขณะที่ฝั่งตาลีบันก็มองหาความร่วมมือจากต่างประเทศเช่นกัน และมอบผลประโยชน์ต่างตอบแทนให้กับประเทศเหล่านั้นเป็นการแลกเปลี่ยน เช่น การมอบสัมปทานบริหารสนามบินนานาชาติกรุงคาบูล (Kabul International Airport) ให้กับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และการจับมือขยายกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ CPEC (China-Pakistan Economic Corridor) กับจีนและปากีสถาน เป็นต้น
กลุ่มตาลีบันยอมเปิดรับความร่วมมือจากประเทศอื่นมากขึ้นกว่าแต่ก่อนเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถดำเนินต่อไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปากีสถานที่มีความสัมพันธ์ต่อกันในด้านต่างๆ มาอย่างยาวนาน เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่ก็เข้ามาสานสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การพบปะระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูง การให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม การส่งมอบสถานทูตอัฟกานิสถานให้กับกลุ่มตาลีบันโดยประเทศปากีสถาน รัสเซีย และอิหร่าน การที่รัสเซียไม่ปิดสถานทูตในประเทศอัฟกานิสถาน และการกลับมาเปิดสถานทูตใหม่ในอัฟกานิสถานของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์กับอินเดีย สิ่งเหล่านี้สะท้อนว่าแนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างตาลีบันกับประเทศเหล่านั้นเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ท่ามกลางการคว่ำบาตรกดดันอย่างหนักจากนานาชาติ
อย่างไรก็ดี แม้ความสัมพันธ์ระหว่างตาลีบันกับประเทศเหล่านั้นดูเหมือนว่าจะเป็นไปด้วยดี แต่ปัญหาความขัดแย้งที่ซ่อนอยู่ก็ค่อยๆ เผยออกมาให้เห็น เช่น เหตุการณ์การก่อการร้ายทั้งในและนอกประเทศ อย่างการโจมตีของกลุ่มก่อการร้าย TIP (Turkestan Islamic Party) ในประเทศปากีสถานที่มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มตาลีบันอัฟกานิสถาน การโจมตีของกลุ่มก่อการร้าย ISIS-K ที่โรงแรม Kabul Longan Hotel ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ ซึ่งรวมถึงชาวจีนที่พักอยู่ในโรงแรมด้วย

นอกจากปัญหาการก่อการร้ายแล้ว อัฟกานิสถานยังมีกรณีพิพาทชายแดนกับบางประเทศ อย่างปากีสถานและอิหร่าน จนเหตุการณ์การปะทะกันระหว่างกองกำลังทั้งสองฝ่าย ปัญหาเหล่านี้สร้างบรรยากาศอันตึงเครียดระหว่างตาลีบันกับคู่พิพาทยิ่งขึ้นทุกขณะ ทว่าความขัดแย้งเหล่านี้ก็ยังดูเหมือนไม่ใช่ปัญหาที่กลุ่มตาลีบันหนักใจที่สุด
ปัญหาที่น่าหนักใจที่สุดสำหรับตาลีบันคือเรื่องการได้รับยอมรับจากนานาประเทศ (recognition) ในฐานะผู้ปกครองอัฟกานิสถานโดยชอบธรรม (legitimacy) เพราะตลอดเวลาเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา ยังไม่มีประเทศไหนให้การยอมรับกลุ่มตาลีบันอย่างเป็นทางการเลย แม้กระทั่งประเทศที่ตาลีบันมีความสัมพันธ์ด้วยอยู่ แถมกลุ่มตาลีบันก็ยังไม่เป็นที่ต้อนรับจากนานาประเทศ ทำให้ไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในฐานะผู้นำประเทศบนเวทีโลก รวมทั้งไม่ได้รับความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากนานาชาติอย่างเต็มที่
ปัจจุบันสถานะของกลุ่มตาลีบันบนเวทีโลกก็ย่ำแย่ไม่ต่างจากตอนสมัยปกครองประเทศครั้งแรกในปี 1996-2001 แม้ว่าตอนนั้นกลุ่มตาลีบันได้รับยอมรับในฐานะผู้ปกครองอัฟกานิสถานโดยชอบธรรมจากประเทศอื่น เพียงไม่กี่ประเทศ ได้แก่ ปากีสถาน ซาอุดิอาระเบีย และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้สถานะบนเวทีโลกของกลุ่มตาลีบันดูดีขึ้นแต่อย่างไร
อนาคตอัฟกานิสถานภายใต้ตาลีบันจะดำเนินต่อไปเช่นไร?
อัฟกานิสถานกลับตกอยู่ภายใต้การปกครองของกลุ่มตาลีบันอีกครั้งหนึ่ง หลังจากเวลาผ่านไป 20 ปี กลุ่มตาลีบันจะยังคงประเทศตามแบบฉบับรูปแบบการปกครองของตัวเองต่อไป ตราบใดที่กลุ่มตาลีบันยังสามารถรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศหรือบริเวณชายแดนจากกลุ่มก่อการร้ายอื่น กองกำลังติดอาวุธฝ่ายตรงข้าม หรือประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงไว้ได้ ขณะเดียวกันกลุ่มตาลีบันก็พยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไปด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจอันก่อนความเสียหายให้กับประเทศ จนกว่าเศรษฐกิจของประเทศจะฟื้นตัว กลุ่มตาลีบันยังเปิดความสัมพันธ์ต่างประเทศหรือยินดีแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับประเทศอื่นที่สนใจในประเทศอัฟกานิสถาน
ทว่าชีวิตของชาวอัฟกานิสถานกลับดำเนินไปด้วยความยากลำบาก โดยเฉพาะชีวิตของผู้หญิงอัฟกานิสถาน ไม่เว้นแม้กระทั่งชาวต่างชาติที่เดินทางมายังประเทศอัฟกานิสถานในฐานะนักท่องเที่ยวหรือนักข่าวก็ดีกลายเป็นกลุ่มบุคคลที่ไม่น่าต้อนรับยิ่งกว่าเดิมจากประเทศดินแดนสนธยาแห่งนี้ เพราะอันตรายอาจเกิดกับพวกเขาได้ทุกเมื่อ ขณะที่นานาประเทศก็โดดเดี่ยวอัฟกานิสถานภายใต้การปกครองของกลุ่มตาลีบันตามยถากรรมแบบนั้นต่อไป จนกว่าจะมีเหตุการณ์ความรุนแรงหรือวิกฤตการณ์ร้ายแรงถึงที่สุดเกิดในประเทศ ที่อาจดึงความสนใจของนานาประเทศให้หันกลับมาเหลียวแลประเทศนี้อีกครั้งหนึ่ง สิ่งที่มองเห็นในขณะนี้ คือแสงแห่งอนาคตของอัฟนิสถานช่างริบหรี่เหลือเกิน
อ้างอิง
https://www.nytimes.com/2022/08/02/world/asia/afghanistan-taliban.html
https://www.bbc.com/news/world-europe-58265934
https://www.csis.org/analysis/new-century-old-taliban
https://atalayar.com/en/content/taliban-rise-power-ushers-new-era-darkness-afghanistan
https://www.cnbc.com/2021/08/16/how-afghanistan-fell-to-the-taliban-so-quickly.html
https://www.journalofdemocracy.org/articles/the-collapse-of-afghanistan/
https://www.cfr.org/global-conflict-tracker/conflict/war-afghanistan
https://www.newyorker.com/news/daily-comment/a-year-after-the-fall-of-kabul
https://www.fdd.org/analysis/2022/08/29/mapping-the-fall-of-afghanistan/
https://www.nytimes.com/2021/12/10/magazine/fall-of-kabul-afghanistan.html
https://www.cfr.org/backgrounder/taliban-afghanistan#chapter-title-0-1
https://www.britannica.com/biography/Mohammad-Omar
https://www.bbc.com/news/world-south-asia-11451718
https://www.theguardian.com/world/taliban
https://www.dni.gov/nctc/groups/afghan_taliban.html
https://www.theatlantic.com/photo/2014/08/the-soviet-war-in-afghanistan-1979-1989/100786/
https://www.cfr.org/global-conflict-tracker/conflict/war-afghanistan
https://www.journalofdemocracy.org/articles/the-collapse-of-afghanistan/
รัฐบาลอัฟกานิสถาน
https://www.pbs.org/newshour/politics/asia-jan-june11-timeline-afghanistan
https://history.state.gov/countries/afghanistan
https://www.state.gov/u-s-relations-with-afghanistan/
https://www.census.gov/foreign-trade/balance/c5310.html
https://www.usaid.gov/afghanistan
https://www.usaid.gov/afghanistan/our-work/economic-growth
https://constitutionnet.org/country/afghanistan
https://www.government.nl/topics/afghanistan
https://www.nato.int/cps/en/natohq/topics_8189.htm
https://afghanembassy.com.pl/eng/afganistan/about-afghanistan
กองทัพแห่งชาติอัฟกานิสถาน
https://www.aljazeera.com/opinions/2021/8/17/why-did-the-afghan-army-disintegrate-so-quickly
https://www.aa.com.tr/en/world/why-the-us-trained-afghan-army-failed-to-fend-off-taliban/2337959
https://www.cfr.org/in-brief/how-afghan-army-collapsed-under-talibans-pressure
https://www.nbcnews.com/news/world/us-watchdog-report-details-cause-afghan-armys-collapse-rcna29327
https://www.npr.org/2021/08/20/1029451594/the-afghan-army-collapsed-in-days-here-are-the-reasons-why
https://nymag.com/intelligencer/2021/08/why-afghanistans-security-forces-suddenly-collapsed.html
https://rusi.org/explore-our-research/publications/commentary/why-did-afghan-army-evaporate
https://www.timesofisrael.com/how-and-why-did-the-afghan-army-fall-so-quickly-to-the-taliban/
โครงสร้างรัฐบาลตาลีบัน
https://www.bbc.com/news/world-asia-58479750
https://eeradicalization.com/taliban-structure-strategy-terrorism-report-ajmal-sohail/
https://www.aa.com.tr/en/asia-pacific/whos-who-in-taliban-interim-government/2360424#
https://edition.cnn.com/2021/08/25/asia/taliban-key-leaders-explainer-intl/index.html
https://eeradicalization.com/taliban-structure-strategy-terrorism-report-ajmal-sohail/
https://eeradicalization.com/wp-content/uploads/2022/10/Taliban-Report-by-Ajmal-Souhail-final.pdf
https://www.rferl.org/a/afghanistan-taliban-government-figures/31448372.html
กองทัพกลุ่มตาลีบัน และหน่วยงานความมั่นคงของกลุ่มตาลีบัน
https://www.aljazeera.com/news/2022/2/22/taliban-create-grand-army-afghanistan-old-regime-troops
https://www.voanews.com/a/taliban-seeking-110-000-strong-army-after-6-months-in-power-/6442084.html
https://www.bbc.com/news/business-64700859
https://www.arabnews.com/node/1955266/world
https://www.laprensalatina.com/taliban-to-build-regular-army-like-rest-of-countries/
https://www.rferl.org/a/taliban-troops-central-asia-borders-stability/31706961.html
https://www.france24.com/en/live-news/20210825-taliban-shows-off-special-forces-in-propaganda-blitz
https://www.bbc.com/news/world-58393763
https://www.bbc.com/news/world-asia-58356045
https://greydynamics.com/gdi-a-12-month-outlook-on-the-taliban-intelligence-agency/
https://tribune.com.pk/story/2407267/taliban-gdi-team-quietly-visits-islamabad
https://www.latimes.com/world-nation/story/2021-09-09/how-the-taliban-governs-kabuls-new-police
https://news.cgtn.com/news/2022-07-03/VHJhbnNjcmlwdDY2Nzg5/index.html
https://www.voanews.com/a/taliban-introducing-new-uniform-for-afghan-police/6608513.html
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงหลังกลุ่มตาลีบันยึดอำนาจ
https://www.worldbank.org/en/country/afghanistan/overview
https://www.chathamhouse.org/2022/08/afghanistan-one-year-taliban-rule
https://www.cfr.org/backgrounder/taliban-afghanistan
https://theconversation.com/taliban-2-0-arent-so-different-from-the-first-regime-after-all-173394
https://www.aljazeera.com/opinions/2023/3/23/taliban-in-government-a-grim-new-reality-is-settling-in
.
https://www.economist.com/asia/2023/05/01/life-under-the-rule-of-the-taliban-20
https://www.ft.com/content/25bb6ed9-fdef-451f-a7a7-4a7b9e4ab852
https://theconversation.com/taliban-2-0-arent-so-different-from-the-first-regime-after-all-173394
https://www.orfonline.org/expert-speak/afghanistan-under-taliban-2-0/
https://www.hrw.org/news/2022/01/18/afghanistan-taliban-deprive-women-livelihoods-identity
https://press.un.org/en/2022/sc14776.doc.htm
https://www.voanews.com/a/fresh-border-clashes-between-pakistan-afghanistan-s-taliban-/6878079.html
https://www.ankasam.org/afghanistan-pakistan-border-dispute-and-recent-developments/?lang=en
https://www.usip.org/publications/2022/01/afghanistan-pakistan-border-dispute-heats
https://www.hrw.org/news/2022/08/04/economic-causes-afghanistans-humanitarian-crisis
https://news.un.org/en/story/2022/10/1129287
https://www.worldbank.org/en/country/afghanistan/overview
https://sanctionscanner.com/blog/how-does-the-taliban-make-money-497
https://www.bbc.com/news/world-asia-65307858
ความสัมพันธ์ของกลุ่มตาลีบันกับประเทศอื่นๆ
https://www.ft.com/content/d262d1eb-5ded-4202-9362-c9b04b5e4494
https://www.economist.com/leaders/2023/05/04/time-to-engage-very-carefully-with-the-taliban
https://www.dw.com/en/afghan-police-officer-who-fled-taliban-harassed-abroad/video-65512502
https://www.prio.org/publications/12644
https://www.diplomatie.gouv.fr/en/country-files/afghanistan/
https://www.international.gc.ca/country-pays/afghanistan/relations.aspx?lang=eng
https://www.state.gov/u-s-relations-with-afghanistan/
https://www.state.gov/countries-areas/afghanistan/
https://www.newarab.com/analysis/uaes-adaptive-relationship-taliban
https://www.ankasam.org/changing-perception-of-taliban-in-the-uaes-afghanistan-policy/?lang=en
https://www.middleeasteye.net/opinion/afghanistan-qatar-uae-taliban-haqqani-trumped-how
https://afghanconsulate.ae/info_hub/afghanistan_uae.html
https://carnegieendowment.org/sada/88869
https://www.dw.com/en/why-qatar-fosters-close-contact-with-the-taliban/a-59030146
https://abcnews.go.com/International/wireStory/summit-qatar-afghanistan-ends-planned-99010014
https://www.dw.com/en/saudi-arabia-and-taliban-unlikely-to-revive-old-alliances/a-59004881
https://www.middleeasteye.net/news/afghanistan-taliban-saudi-arabia-influence-new-role
https://agsiw.org/with-eye-on-stability-saudis-shift-role-in-afghanistan/
https://library.fes.de/pdf-files/bueros/kabul/18637.pdf
https://www.iranintl.com/en/202302279742
https://www.khaama.com/iran-handed-over-afghan-embassy-in-tehran-to-interim-regime-of-afghanistan/
https://www.washingtoninstitute.org/policy-analysis/iran-formalizes-ties-taliban
https://thediplomat.com/2023/03/is-iran-distancing-itself-from-the-taliban-government/
https://www.rferl.org/a/afghanistan-iran-prisoners-released/32348801.html
https://www.mei.edu/events/irans-isis-challenge-afghanistan
https://thediplomat.com/2022/06/india-makes-its-relationship-with-the-taliban-regime-more-official/
https://thediplomat.com/2022/10/india-the-taliban-and-the-country-in-between/
https://thegeopolitics.com/india-afghanistan-relations-in-search-of-new-role/
https://www.lowyinstitute.org/the-interpreter/india-s-delicate-dance-taliban
https://www.ipis.ir/en/newsview/626367/russia%E2%80%99s-multipronged-policy-in-afghanistan
https://gfsis.org.ge/publications/view/3038
https://cepa.org/article/careful-what-you-wish-for-russia-and-afghanistan/
https://www.eastasiaforum.org/2022/11/03/russia-and-afghanistans-partnership-of-convenience/
https://www.aa.com.tr/en/asia-pacific/russia-assures-afghan-taliban-of-continued-cooperation/2786082
https://tolonews.com/afghanistan-182043
https://www.fmprc.gov.cn/eng/wjbxw/202302/t20230213_11024382.html
https://www.bbc.com/news/world-asia-62764222
https://www.chathamhouse.org/2022/08/afghanistan-one-year-taliban-rule
https://www.bbc.com/news/world-europe-58265934
https://www.voanews.com/a/russia-hands-over-afghan-embassy-in-moscow-to-taliban/6530938.html
https://www.qcnews.com/news/world-news/pakistan-afghan-taliban-agree-to-boost-trade-lower-tension/
https://www.icwa.in/show_content.php?lang=1&level=3&ls_id=7256&lid=4908
https://foreignpolicy.com/2022/07/31/sinostan-china-afghanistan-relations-taliban-history/
https://www.voanews.com/a/security-concerns-bring-china-closer-to-taliban-/6697339.html
https://www.lowyinstitute.org/sites/default/files/chinas-foreign-policy-in-afghanistan_0.pdf
https://www.sipri.org/sites/default/files/2022-11/sipriinsights_2208_china_and_afghanistan_2.pdf
https://www.fmprc.gov.cn/mfa_eng/zxxx_662805/202304/t20230412_11057785.html
https://www.ft.com/content/d262d1eb-5ded-4202-9362-c9b04b5e4494
https://www.fmprc.gov.cn/mfa_eng/zxxx_662805/202305/t20230509_11073522.html
https://thediplomat.com/2023/04/pakistan-and-the-afghan-taliban-friends-becoming-foes/
https://www.dawn.com/news/1644463/dont-worry-everything-will-be-okay-isi-chief-during-kabul-visit
https://www.eastasiaforum.org/2022/11/22/pakistans-troubled-ties-with-the-taliban/
https://www.mei.edu/publications/pakistan-afghan-taliban-relations-face-mounting-challenges
https://foreignpolicy.com/2023/04/18/pakistan-taliban-islamist-extremism-balochistan-separatism/
https://www.hrw.org/reports/2001/afghan2/Afghan0701-02.htm
https://www.prio.org/publications/12644
https://www.dw.com/en/pakistani-taliban-move-into-new-territories/a-65503987
https://www.icwa.in/show_content.php?lang=1&level=3&ls_id=7256&lid=4908
https://www.icwa.in/show_content.php?lang=1&level=3&ls_id=7256&lid=4908#_edn11
https://www.fmprc.gov.cn/mfa_eng/zxxx_662805/202305/t20230509_11073522.html
https://www.chathamhouse.org/2022/08/afghanistan-one-year-taliban-rule
https://www.voanews.com/a/afghanistan-exports-to-pakistan-mark-historic-rise/6603490.html
https://www.reuters.com/article/afghanistan-conflict-coal-idUSL4N2YN2MF
https://tribune.com.pk/story/2405234/afghan-coal-exports-to-pakistan-doubled
https://tradingeconomics.com/pakistan/exports/afghanistan/cereals
https://www.state.gov/u-s-relations-with-afghanistan/
https://www.state.gov/countries-areas/afghanistan/
https://www.nytimes.com/2022/03/11/us/politics/afghan-embassy-closing.html
https://foreignpolicy.com/2022/06/06/afghanistan-biden-last-days-embassy/
https://tolonews.com/afghanistan-177150
https://www.rferl.org/a/taliban-closes-afghan-embassies-united-states/31755851.html
https://www.cbsnews.com/news/counterterrorism-fight-in-afghanistan-intelligence-matters/
https://www.hudson.org/node/45119
https://www.specialeurasia.com/2022/10/18/national-resistance-front/
https://www.aljazeera.com/news/2022/10/17/us-not-to-fund-other-armed-groups-in-afghanistan-taliban
https://www.wsj.com/articles/afghanistan-taliban-national-resistance-front-11661523527
.
คลิป YouTube
https://news.un.org/en/story/2022/10/1129287
https://thediplomat.com/2023/01/afghanistans-uncertain-economic-future-as-the-new-year-dawns/
https://www.undp.org/afghanistan/publications/afghanistan-socio-economic-outlook-2023
https://www.bbc.com/news/world-asia-65307858
https://rsf.org/en/country/afghanistan
https://www.voanews.com/a/taliban-show-no-commitment-to-press-freedom-/6698161.html
https://www.opensocietyfoundations.org/events/press-freedom-afghanistan
https://www.freiheit.org/stifled-voices-plight-afghan-journalists-world-press-day
https://www.rferl.org/a/taliban-media-clampdown-journalists/32397637.html
https://www.usip.org/events/protecting-independent-media-talibans-afghanistan
https://www.aljazeera.com/news/2021/9/9/talibans-violence-against-women-reporters-intensifies
https://www.rferl.org/a/iran-officials-conflict-afghanistan-water-rights-/32431677.html
https://www.yenisafak.com/en/world/three-questions-what-to-expect-for-taliban-iran-relations-3664775
https://www.dw.com/en/what-is-the-iran-taliban-water-conflict-all-about/a-65793871
https://www.jstor.org/stable/1569481
https://www.cs.mcgill.ca/~rwest/wikispeedia/wpcd/wp/i/Islamic_republic.htm
https://en.wikipedia.org/wiki/Islamic_republic
https://en.wikipedia.org/wiki/Islamic_Republic_of_Afghanistan
https://afghanembassy.com.pl/eng/afganistan/about-afghanistan
https://www.diplomatie.gouv.fr/IMG/pdf/The_Constitution_of_the_Islamic_Republic_of_Afghanistan.pdf
https://en.wikipedia.org/wiki/Recognition_of_the_Islamic_Emirate_of_Afghanistan#1996%E2%80%932001
https://www.brookings.edu/research/recognition-and-the-taliban-2/