fbpx

20 ผลงานใหม่ ยอดอ่านสูงสุดของ The101.world (พฤษภาคม 2560)

นี่คือ 20 ผลงานใหม่ยอดนิยมที่มีผู้อ่านสูงสุดของ The101.world ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2560

อันดับ 1

“ผ่าท้องคลอดไม่ใช่คำตอบสุดท้าย” ไขปมความไม่รู้และความเข้าใจผิดของเหล่าพ่อแม่มือใหม่ กับ ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์

 

โดย ภัทชา ด้วงกลัด

ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย อดีตคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สนทนากับภัทชา ด้วงกลัด เพื่อลบล้างมายาคติเรื่องการผ่าท้องคลอดในสังคมไทย ถ้าการคลอดไม่ใช่แค่เรื่องการเกิด แต่เป็นเรื่องของชีวิตทั้งชีวิตของแม่และลูกที่คุณรัก มีดหมออาจไม่ใช่คำตอบสุดท้าย!

อันดับ 2

ครูไทยท้อ ขอลาโลก

 

โดย ทีมงาน The101.world

คลิปทอล์กออฟเดอะทาวน์ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่องจริงของชีวิตครูไทย ผลงานร่วมของ 101 และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กำกับโดย นิ้วกลม

 

อันดับ 3

“การเติบโตเป็นเรื่องเจ็บปวด” – วีรพร นิติประภา

 

โดย พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล

“คนรุ่นฮิปสเตอร์นี่เป็นเจเนอเรชั่นที่คลุมเครือมาก ซึ่งวีรพรชอบมาก คุณไม่ต้องเป็นหญิงแท้ชายแท้ คุณไม่ต้องทำงานเป็นหลักเป็นแหล่ง คุณทำงานได้ทุกที่เพราะคุณอยู่บน cloud อยู่บนมือถือ คุณไม่ต้องแต่งงานก็ได้ เพราะคุณมี tinder (หัวเราะ)”

วีรพร นิติประภา เจ้าของงานเขียนรางวัลซีไรต์ ‘ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต’ และ ‘พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ’ จะแชร์เรื่องราวความเจ็บปวดจากการเปลี่ยนผ่านของเธอ และมีมุมมองกับการเปลี่ยนผ่านของสังคม ใน 101 minutes at Starbucks ครั้งที่ 2 : Coming of Age ไว้อย่างไร

ตามไปอ่านกันได้เลย!

อันดับ 4

Growing from the pain : บิลลี่ – วรกร ฤทัยวาณิชกุล

 

โดย พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล

“ถ้าคุณอยากทำงานกับคนรุ่นใหม่ ก็ต้องมีความเข้าใจธรรมชาติของเขาด้วย ไม่ใช่ไปฝืนธรรมชาติของเขาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์บางอย่าง นั่นจะทำให้เขาทุกข์ทรมานโดยไม่รู้ตัว…”

หลังจากคลุกคลีอยู่ในแวดวงภาพยนตร์อิสระมาหลายปี ทั้งในฐานะของผู้กำกับ เขียนบท ดูแลการผลิต ติดต่อลิขสิทธิ์หนังจากต่างประเทศ และอื่นๆ อีกมากมาย

ล่าสุด ‘บิลลี่’ วรกร ฤทัยวาณิชกุล กำลังขยับตัวเองสู่บทบาทใหม่ ในฐานะผู้บริหาร Hello Filmmaker โปรดักชันเฮ้าส์ที่กำลังมาแรงในเวลานี้

101 ชวนเขามาพูดคุยในฐานะคนทำสื่อรุ่นใหม่ ที่เต็มเปี่ยมด้วยพลังงาน ความทะเยอทะยาน และความใฝ่ฝัน — อย่างที่คนหนุ่มสาวพึงมี

ในวัย 27 ปี เขาคิด เขาฝันอะไร และเหตุใดจึงมองว่า ‘ความทุกข์’ เป็นปัจจัยที่ทำให้มนุษย์เติบโต ?

หาคำตอบได้จากบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้

 

อันดับ 5

ยุทธศาสตร์ Jing-Jin-Ji: ภาพอนาคตประเทศจีน

 

โดย อาร์ม ตั้งนิรันดร

รัฐบาลจีนกำลังคิดการใหญ่กับ “ยุทธศาสตร์ Jing-Jin-Ji” ซึ่งเป็นแนวคิดเชื่อมโยงมหานครปักกิ่ง และมหานครเทียนจิน เข้ากับเมืองใหญ่ 11 เมืองของมณฑลเหอเป่ย โดยรัฐบาลจีนจะลงทุนสร้างรถไฟความเร็วสูง เพื่อให้การเดินทางจากเมืองใหญ่แต่ละแห่งในมณฑลเหอเป่ย เข้าสู่ปักกิ่งหรือเทียนจินใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง

หากแผนการสำเร็จ จะทำให้เกิด “อภิมหานคร” ที่กินพื้นที่และประชากรมากที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ด้วยพื้นที่เขตเมืองทั้งสิ้นรวม 212,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 40% ของพื้นที่ประเทศไทย โดยมีประชากรอาศัยในเขตเมืองที่เชื่อมต่อถึงกันรวม 130 ล้านคน ซึ่งมากกว่าจำนวนประชากรของประเทศไทยหนึ่งเท่าตัว

อาร์ม ตั้งนิรันดร เขียนเล่าเบื้องหลังความคิดของยุทธศาสตร์แห่งอนาคตของรัฐบาลจีน ที่จะทำให้สำนวนเก่าในนิยายรักของจีนที่ว่า “ห่างกันหมื่นลี้ แต่เหมือนอยู่ใกล้ชิดกัน” เป็นความจริง

 

อันดับ 6

117 ปี ปรีดี พนมยงค์ รัตนบุรุษสยาม

 

โดย ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล

วันที่ 11 พฤษภาคมของทุกปี คือ วันรำลึก “ปรีดี พนมยงค์” รัฐบุรุษอาวุโส อดีตนายกรัฐมนตรี หัวหน้าขบวนการเสรีไทย ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และหัวหน้าคณะราษฎรสายพลเรือน

101 ขอร่วมรำลึกถึงนายปรีดี พนมยงค์ ผู้ยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน เศรษฐกิจที่เป็นธรรม และเสรีภาพทางการศึกษา ด้วยงานเขียน “117 ปี ปรีดี พนมยงค์ รัตนบุรุษสยาม” ของ ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล แห่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ใช้ชีวิตทางวิชาการเพื่อสืบสานเจตนารมณ์ของปรีดีและคณะราษฎร

 

อันดับ 7

เส้นทางสายไหมใหม่: ภูมิรัฐศาสตร์มหาเกมในยูเรเชีย

 

โดย จิตติภัทร พูนขำ

“เส้นทางสายไหมใหม่” ไม่ใช่แค่เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น จิตติภัทร พูนขำ สวมแว่น “ภูมิรัฐศาสตร์โลก” เพื่อวิเคราะห์เส้นทางสายไหมใหม่ในฐานะการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจระดับโลก ทั้งสหรัฐอเมริกาและจีน ในกระดาน “มหาเกม” (great game) แห่งยูเรเชีย

 

อันดับ 8

รัฐประหารในศตวรรษที่ 21: สัญญาไม่เป็นสัญญาและความด้อยพัฒนาทางการเมือง

 

โดย ประจักษ์ ก้องกีรติ

ในวาระครบรอบ 3 ปี รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 “ประจักษ์ ก้องกีรติ” สำรวจงานวิจัยว่าด้วยรัฐประหารทั่วโลกเพื่อคุยกับสังคมไทยว่า เขาเลิกทำรัฐประหารกันแล้ว – ผู้นำรัฐประหารไม่เคยรักษาสัญญา – รัฐประหารไม่สามารถฟื้นฟูประชาธิปไตยให้คุณภาพดีขึ้นได้ กลับทำให้ยิ่งถดถอยลง – รัฐประหารจึงไม่ใช่ทางออกของการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง

 

อันดับ 9

ใครคือคนดีคนนั้น … ท่านผู้หญิง พูนศุข พนมยงค์

 

โดย กษิดิศ อนันทนาธร

ในวาระครบรอบ 10 ปีแห่งการจากไปของสามัญชนสยามคนหนึ่ง  101 ชวน ‘กษิดิศ อนันทนาธร’ เขียนรำลึกถึงคนผู้นั้น

สตรีผู้อยู่เบื้องหลังชีวิตของมหาบุรุษ ‘ปรีดี พนมยงค์’ ทั้งในยามสำเร็จและล้มเหลว

สตรีผู้ไม่ขอรับเกียรติยศใดๆ ทั้งสิ้น

สตรีผู้เขียนประวัติศาสตร์ด้วยชีวิตของเธอ

“พูนศุข พนมยงค์”

อันดับ 10

โตแล้วไปไหน : จุดเปลี่ยนชีวิตของเหล่าแก๊งทหารท่านผู้นำ

 

โดย เทพพิทักษ์ มณีพงษ์

กว่าที่บรรดาผู้นำเผด็จการทหารจะเดินเรียงแถวเข้ามาถืออำนาจสูงสุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย สิ่งที่น่าสนใจมากกว่าคำถามว่ามาได้ ‘อย่างไร’ คือพวกเขาได้อำนาจนั้นมา ‘ตอนไหน’

ในแต่ละช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านของพวกเขา แต่ละคนเจอเหตุการณ์อะไร ในช่วงอายุเท่าไหร่ และในตอนนั้น คนในวัยเดียวกันกำลังทำอะไรอยู่

เช่น

“หลังสยามเปลี่ยนแปลงการปกครองได้เกือบครบปี เมื่ออายุได้ 36 เท่าๆ กับ ชมพู่ – อารยา เอ ฮาร์เก็ตต์ จอมพล ป. เข้าร่วมเป็นแกนนำรัฐประหารกับพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา รุ่นพี่โรงเรียนนายร้อยทหารบก และเป็นคนกุมกำลังปราบกบฏของพระองค์เจ้าบวรเดช”

“ตอนอายุ 25 ปี เท่าๆ กับ ณเดชน์ คูกิมิยะ สฤษดิ์เมื่อครั้งยังติดยศแค่ร้อยตรี เป็นหนึ่งในผู้บังคับบัญชาหมวดปราบปรามกบฎบวรเดช (ลูกน้องโดยตรงของ จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม) และไต่เต้าตำแหน่งขึ้นมาเรื่อยๆ จนได้ตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมตอนอายุได้ 49 ปี เท่ากับเจ้าของตำแหน่งมิสยูนิเวิร์ส ปุ๋ย – ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก”

“ในปี 2500 ถนอมในฐานะรองหัวหน้าคณะรัฐประหารถูกดันให้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของประเทศไทยในวัย 46 ปี ห่างกับ จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดาที่มาจากการเลือกตั้งแค่ปีเดียว”

ไปติดตามชีวิตของสมาชิกวงบอยแบนด์ผู้นำทั้งห้าคนนี้กันได้เลย!

 

อันดับ 11

วิธีอ่านสถานการณ์ 101

 

โดย ศุภมิตร ปิติพัฒน์

เดือนที่แล้ว “ศุภมิตร ปิติพัฒน์” เปิดเคล็ดวิชา “วิธีอ่าน 101” – อ่านตัวบท อ่านบริบท อ่านสัมพันธบท – ให้เราฝึกอ่านกัน

เดือนนี้ “ศุภมิตร” นำเสนอวิธีอ่านอีกแบบหนึ่งของวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (IR) นั่นคือ “การอ่านสถานการณ์”

สถานการณ์ของ IR จะเป็นอะไรได้ ถ้าไม่ใช่สถานการณ์ในการเมืองโลก

แต่จะไปอ่านการเมืองระดับสูงอย่างนั้นได้ คนเรียนก็ต้องรู้พื้นฐานวิธีอ่านสถานการณ์ 2 แบบเสียก่อน นั่นคือ “อ่านการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์” และ “อ่านลงไปในตัวสถานการณ์”

มาอ่าน “วิธีอ่านสถานการณ์ 101” กับ “ศุภมิตร ปิติพัฒน์” ไปพร้อมกันเลยครับ

อันดับ 12

The Rise and Fall of Nations

 

โดย สฤณี อาชวานันทกุล

สฤณี อาชวานันทกุล ชวนอ่านหนังสือ “The Rise and Fall of Nations” ของ Ruchir Sharma แห่ง Morgan Stanley Investment Management ค้นหาคำตอบกันว่า กฎจำง่าย 10 ข้อที่นักลงทุนข้ามชาติใช้เพื่อประเมินแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจแต่ละประเทศในยุค 4Ds มีอะไรบ้าง

 

อันดับ 13

พระไพศาล วิสาโล ที่ข้าพเจ้ารู้จัก

 

โดย วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

นานมาแล้ว ผมเคยพบพระป่าอาวุโสรูปหนึ่ง หน้าตาแจ่มใสอิ่มบุญยิ่งนัก ท่านสอนผมประโยคหนึ่ง ในการใช้ชีวิตให้เป็นอิสระ และผมจำไปตลอดชีวิตว่า “รู้ แต่อย่า รู้สึก” ฟังแล้วเข้าใจ แต่รู้ว่าปฏิบัติได้ยากมาก

ผมคิดว่า พระไพศาล วิสาโล คือคนประเภทที่เข้าถึงคำพูดนี้

“รู้ แต่อย่า รู้สึก”

……..

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เขียนถึง พระไพศาล วิศาโล พระนักคิด นักเขียน นักกิจกรรม ผู้ยึดมั่นแนวทางสันติวิธี เนื่องในวันเกิดครบ 60 ปี

อันดับ 14

‘Aesthetic Chills’ การขนลุกแห่งสุนทรียะ : เมื่อผิวหนังสำเร็จความใคร่

 

โดย พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล

เคยไหม?

เวลาฟังเพลงบางท่อน หรือดูหนังบางฉาก ที่สั่นสะเทือนอารมณ์มากๆ จนทำให้เกิดอาการ ‘ฟิน’ จนขนลุก..

ถ้าเคย เราขอแสดงความยินดีด้วย เพราะผลการศึกษาบอกว่ามนุษย์ 2 ใน 3 คนเท่านั้น ที่จะได้สัมผัสประสบการณ์แบบนี้

นี่คือภาวะที่เรียกว่า ‘Aesthetic Chills’ หรือการขนลุกแห่งสุนทรียะ ซึ่งสัมพันธ์กับบุคลิกลักษณะของคนบางประเภทเท่านั้น

พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล จะพาคุณไปสำรวจที่มาที่ไปของภาวะนี้ พร้อมด้วยบททดสอบเล็กๆ น้อยๆ ว่าคุณมีลักษณะที่ว่าหรือไม่–ขอให้ขนลุกด้วยทั่วกัน!

 

อันดับ 15

ศิลปะร่วมสมัย การเมืองไทย และหมุดเจ้าปัญหา กับ ธนาวิ โชติประดิษฐ

 

โดย พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล

“ศิลปะเป็นการเมืองมาโดยตลอด ไม่ว่าตัวเนื้อหาของมันจะพูดเรื่องการเมืองหรือไม่ก็ตาม” ธนาวิ โชติประดิษฐ ตอบคำถามนี้ในฐานะของคนที่คลุกคลีกับทั้งสองแวดวง

ในแวดวงวิชาการ เธอเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เชี่ยวชาญเรื่องศิลปะร่วมสมัย สนใจประวัติศาสตร์ศิลป์ทั้งไทยและเทศ โดยเฉพาะแง่มุมทางการเมือง

ในแวดวงศิลปะ เธอเป็นนักวิจารณ์อิสระ ออกตัวชัดเจนว่าอยู่ฝั่งประชาธิปไตย ไม่เอารัฐประหาร

พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล กองบรรณาธิการ 101 ชวน ธนาวิ โชติประดิษฐ มานั่งคุยเรื่องศิลปะร่วมสมัยกับการเมืองไทย พร้อมวิเคราะห์-วิพากษ์เรื่องหมุดเจ้าปัญหา

อันดับ 16

ในวันที่รวันดาพัฒนาแล้ว!

 

โดย ธีรภัทร เจริญสุข

ภาพจำของรวันดาในสายตาของผู้คนคงหนีไม่พ้นความรุนแรง การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และสงครามแย่งชิงอำนาจ ทำให้นึกเหมารวมว่าเป็นประเทศด้อยพัฒนาเหมือนหลายๆ แห่งในทวีปแอฟริกา

แต่รู้หรือไม่ว่าในปัจจุบันอัตราอาชญากรรมในรวันดาต่ำกว่าประเทศของเราหลายเท่า อัตราการเข้าถึงน้ำสะอาดอยู่ในระดับ 100% ของประชากร ก้าวเข้าสู่กลุ่มประเทศชนชั้นกลาง และกลายเป็นศูนย์กลางการพัฒนาในแอฟริกากลางเรียบร้อยแล้ว

ใคร และอะไรทำให้รวันดาเปลี่ยนไปขนาดนี้ – ธีรภัทร เจริญสุข จะมาเล่าให้ฟัง!

 

อันดับ 17

คอร์รัปชันแบบไทยๆ ไม่เหมือนที่ไหนในโลก?

 

โดย วชิรวิทย์ คงคาลัย

คงไม่ผิดนักถ้าเราจะบอกว่าหนึ่งในเอกลักษณ์อัน (ไม่) น่าภาคภูมิใจของประเทศไทยที่ฝังรากลึกกันมานานคือนิสัย ‘คอร์รัปชั่น’

ตั้งแต่เรื่องเล็กยันนโยบายระดับชาติ เรื่องคอร์รัปชั่นของเราไม่เป็นที่สองรองใคร แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นเอกลักษณ์ ย่อมต้องมีจุดที่เราแตกต่างไม่เหมือนใครในโลก แล้วปัจจัยอะไรกันที่ทำให้ ‘คอร์รัปชั่นแบบไทยๆ’ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แต่ไม่ยอมดับไปง่ายๆ สักที

วชิรวิทย์ คงคาลัย จะชวนเราตั้งคำถามและพาไปสำรวจความไทยๆ ที่ไม่มีใครอยากลอกไปใช้ในรายงานชิ้นนี้

อันดับ 18

พลเรือนควบคุมทหาร : หนทางสู่ประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพ

 

โดย พลอย ธรรมาภิรานนท์

มาเคียเวลลีกล่าวไว้ในหนังสือ The Prince ว่า “It is not reasonable for an armed man to obey an unarmed one.” (มันช่างไม่มีเหตุผลเอาเสียเลยที่คนถืออาวุธจะเชื่อฟังคนไร้อาวุธ) แต่ทำไมในประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ กองทัพถึงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลพลเรือน และการเมืองจึงปลอดพ้นจากการเข้าแทรกแซงโดยกองทัพ

พลอย ธรรมาภิรานนท์ ตั้งคำถามว่าอะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พลเรือนควบคุมทหารได้สำเร็จ และสำรวจสองคำตอบสำคัญที่ถกเถียงกันในทางวิชาการ คือ ‘ความเป็นทหารอาชีพ’ และ ‘แรงจูงใจของกองทัพ’ รวมถึงประสบการณ์การปฏิรูปกองทัพของอินโดนีเซีย

เพราะถ้าประเทศไทยต้องการเดินกลับเข้าสู่เส้นทางพัฒนาประชาธิปไตย การปฏิรูปภายในกองทัพและโครงสร้างผลประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

 

อันดับ 19

เจาะธุรกิจ ‘รับทำวิทยานิพนธ์’ : ช่องโหว่การศึกษา ปริญญาแกมโกง ?

 

โดย พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล

หลายคนคงคุ้นหูคุ้นตากับธุรกิจ ‘รับทำวิทยานิพนธ์’ กันอยู่บ้าง

แต่คุณรู้ไหมว่ามันมีที่มาที่ไปอย่างไร แล้วทำไมธุรกิจที่ว่านี้จึงยังมีคนใช้บริการกันอยู่ ทั้งที่มันดู ‘ไม่ชอบมาพากล’ เอาเสียเลย

จุดประสงค์ที่แท้จริงของธุรกิจนี้คืออะไร ขับเคลื่อนด้วยองค์ประกอบใดบ้าง และมันถือเป็นการฉ้อฉลทางวิชาการในลักษณะเดียวกับ ‘การลอกเลียนวิทยานิพนธ์’ หรือไม่

พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล ชวนคุณตั้งคำถามถึงธุรกิจที่ว่านี้ พร้อมชี้ให้เห็นถึง ‘ช่องโหว่’ ในระบบการศึกษาไทย ที่อาจยังไม่มีใครตระหนักกันเท่าไหร่นัก

 

อันดับ 20

ธุรกิจประกันเอาเปรียบผู้บริโภคจริงหรือ?

 

โดย อิสริยะ สัตกุลพิบูลย์

อิสริยะ สัตกุลพิบูลย์ พลิกตำรา “เศรษฐศาสตร์ประกันภัย 101” ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับธุรกิจประกัน ทำไมค่าเบี้ยประกันถึงมีราคาแพง และแนวทางให้เบี้ยประกันถูกลงทำได้อย่างไรบ้าง

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Spotlights

4 Nov 2020

101 Policy Forum : ประเทศไทยในฝันของคนรุ่นใหม่

101 เปิดวงสนทนาพูดคุยกับตัวแทนวัยรุ่น 4 คน ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน , สิรินทร์ มุ่งเจริญ, ภาณุพงศ์ สุวรรณหงษ์, อัครสร โอปิลันธน์ ว่าด้วยสังคม การเมือง เศรษฐกิจไทยในฝัน ต้นตอที่รั้งประเทศไทยจากการพัฒนา ข้อเสนอเพื่อพาประเทศสู่อนาคต และแนวทางการพัฒนาและสนับสนุนคนรุ่นใหม่

กองบรรณาธิการ

4 Nov 2020

Spotlights

30 Jun 2020

“ไม่มี Theory of Everything ในโลกของ IR” จิตติภัทร พูนขำ

101 สนทนากับ จิตติภัทร พูนขำ เกี่ยวกับองค์ความรู้และโลกของ IR ไปจนถึงการเรียนการสอน และการปรับตัวของ IR ในยุคที่โลกผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

กานต์ธีรา ภูริวิกรัย

30 Jun 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save