fbpx

ตั้งแต่ ‘เคี้ยว’ ยัน ‘ขาย’ ในวันที่ปลดล็อกเสรี ‘พืชกระท่อม’

ภายหลังจากที่ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2564 และปลดล็อก ‘พืชกระท่อม’ ออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษ ก็ทำให้คนไทยสามารถปลูก เคี้ยว ต้ม หรือซื้อขายพืชชนิดนี้ได้อย่างเสรีและไม่ผิดกฎหมายอีกต่อไป

.
หากย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์กว่าที่จะปลดล็อกเสรีพืชกระท่อมพบว่า เป็นเวลากว่า 80 ปีที่สมุนไพรดังกล่าวถูกควบคุมโดยรัฐไทยนับตั้งแต่ปี 2486 เมื่อได้มีการตรา ‘พ.ร.บ.พืชกระท่อม พ.ศ. 2486’ ขึ้นโดยระบุว่า ห้ามปลูกและครอบครอง รวมทั้งห้ามจำหน่ายและเสพใบกระท่อม ก่อนที่ในปี 2522 กระท่อมจะถูกขึ้นบัญชีเป็นพืชเสพติดให้โทษประเภท 5 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
.
ถึงแม้จะผิดกฎหมาย แต่กระท่อมก็ไม่ได้หายหน้าหายตาไปจากวิถีชีวิตของคนไทย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้แรงงานและคนเฒ่าคนแก่ที่ยังคงเคี้ยวใบกระท่อมหรือดื่มน้ำกระท่อม เพื่อเป็นยาชูกำลังให้คึกคักซู่ซ่า สามารถทำงานได้ทนและเยอะมากขึ้น อย่างไรก็ดี กระท่อมไม่ได้ถูกนำไปใช้เป็นยาอย่างเดียว แต่ยังถูกใช้เป็นวัตถุดิบหลักสำหรับนำไปต้มสารเสพติด 4×100 อีกด้วย และจากการบริโภคที่ผิดวิธีก็ทำให้กระท่อมถูกแปะป้ายว่าเป็น ‘พืชเสพติด’ ประจำสังคมไทยและกลายเป็นภาพจำที่เด่นชัดตลอดมา
.
ในวันที่กฎหมายเปิดให้ปลูก-เคี้ยว-ขายกระท่อมได้อย่างไม่มีอะไรขวางกั้น ชนิดที่ว่าจากที่เคยเป็น ‘พืชเสพติด’ มาวันนี้กระท่อมถูกวาดฝันให้กลายเป็น ‘พืชเศรษฐกิจใหม่’ ของไทย เพื่อช่วยสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร แต่ขณะเดียวกัน อีกด้านของสังคมก็ยังคงตั้งคำถามต่อความปลอดภัยและวิธีการนำไปใช้
.
101 เดินทางไปยังตลาดดินแดงเพื่อทำความรู้จักพืชกระท่อมกับ คิว-กษาปณ์ พุ่มพวง เจ้าของธุรกิจค้าใบกระท่อม ที่หอบเอาใบกระท่อมสดๆ จากภาคใต้หลายร้อยกิโลกรัมมาเปิดขายถึงในใจกลางเมืองหลวง ตั้งแต่จุดเริ่มต้นธุรกิจค้าขายกระท่อม ภาพจำของการถูกมองว่าเป็นพืชเสพติด และชวนมองถึงอนาคตของตลาดใบกระท่อม เพราะถึงแม้วันนี้จะขายได้ แต่ก็ยังแปรรูปเป็นสินค้าอื่นไม่ได้

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save