fbpx

101 Gaze Ep.7 “Animals are city people too” สร้างเมืองน่าอยู่ (ให้) สัตว์

101 Gaze

กาลครั้งหนึ่ง ที่ราบลุ่มกรุงเทพฯ เคยเป็นดินแดนสรวงสวรรค์ของสรรพชีวิตน้อยใหญ่ ในน้ำมีปลา ในป่ามีสัตว์ ตั้งแต่นกกระจิบนกกระจอก กระรอกตัวเล็ก ไปจนถึงแรด จระเข้ ช้าง และสัตว์หายากเช่นสมัน

มาวันนี้ภาพเหล่านั้นล้วนกลายเป็นอดีตอันเลือนราง เมื่อบางกอกขยับขยายเติบโตกลายเป็นเมืองใหญ่ รถราวิ่งกันขวักไขว่ และจำนวนตึกสูงมีมากเสียยิ่งกว่าต้นไม้ สัตว์ไม่ใช่ประชากรหลักในพื้นที่กรุงเทพฯ อีกต่อไป มนุษย์ต่างหากคือเจ้าของพื้นที่กลุ่มใหม่ ท่ามกลางความเจริญที่รุดหน้าแผ่ขยาย พวกมันทำได้แค่ล้มตาย ไม่ก็ปรับตัวให้ได้เพื่อความอยู่รอด   

หลบซ่อนตามซอกหลืบ พักผ่อนบนสายไฟ นอนหลับในสวนสาธารณะ กระทั่งกินอาหารจากเศษขยะ

แม้จริงอยู่ที่พฤติกรรมหลายอย่างของสัตว์อาจสร้างความเดือดร้อนและไม่เป็นที่น่าต้อนรับสำหรับมนุษย์สักเท่าไหร่ แต่ในวันที่เมืองยังคงแผ่ขยายรุกล้ำบ้านตามธรรมชาติของสิงสาราสัตว์ การกำจัดพวกมันให้หมดไปจากอาณาจักรของคนคงไม่ใช่ทางออก

ถ้าเราเชื่อว่าการดำรงอยู่ของสรรพสัตว์มีความสำคัญ และถ้าเราเชื่อว่าสัตว์เองก็ถือเป็นประชากรของเมืองเช่นเดียวกัน โจทย์คือเราจะสร้างเมืองให้กลายเป็น ‘บ้าน’ ที่อยู่ได้-อยู่ดีของทุกเผ่าพันธุ์ได้อย่างไร

101 Gaze ชวนคุณไปส่องสัตว์ในเมืองกรุง ไขข้อข้องใจว่าทำไมเราต้องมีความหลากหลายภายในเมือง และวิธีออกแบบเมืองให้น่าอยู่ (สำหรับ) สัตว์ กับ ดร.สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ อดีตประธานมูลนิธิโลกสีเขียว, รุจิระ มหาพรหม นักวิจัยสัตว์ป่าและกรรมการสมาคม Save Wildlife Thailand (SWT) และ ดร.กนกวลี สุธีธร อาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save