fbpx

ประเมินการทำหน้าที่ของ กสทช.: กรณีการควบรวมธุรกิจระหว่าง TRUE และ DTAC

ประเด็นสำคัญ

  • ผลการวิเคราะห์โดย 101 PUB พบว่าการควบรวมธุรกิจระหว่าง TRUE และ DTAC ส่งผลลบต่อโครงสร้างตลาดโทรคมนาคมไทย โดยเฉพาะด้านการแข่งขัน ซึ่งในความจริงแล้ว กสทช. สามารถป้องกันผลกระทบดังกล่าวได้จากการสั่งห้ามการควบรวมธุรกิจ
  • หาก ‘จำต้อง’ อนุญาตให้ควบรวม กสทช. พึงต้องกำาหนดชุดเงื่อนไขที่มีความเข้มข้นพอที่จะบรรเทาความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจสร้างผลเสียต่อตลาดและสังคมโดยรวม
  • อย่างไรก็ดี เงี่อนไขที่ กสทช. กำหนดหลังจากมีมติ ‘รับทราบ’ การควบรวมธุรกิจกลับดูเหมือนว่าจะไม่เพียงพอที่จะช่วยลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น อีกทั้งอาจยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะบังคับให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการตามได้
  • ในอนาคตข้างหน้า ไทยต้องปรับแก้แนวทางในการกำกับดูแลเพื่อที่อย่างน้อยจะไม่ทำให้สถานการณ์เลวร้ายไปมากกว่านี้

เมื่อปลายปี 2021 เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และกลุ่มเทเลนอร์ ได้ประกาศความร่วมมือ รวมกิจการของ บมจ. ทรูคอร์ปอเรชั่น (ทรู) และ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ซึ่งการควบรวมระหว่างทรูและดีแทคในครั้งนี้ ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยเกือบ 120 ล้านหมายเลข และกระเทือนถึงอนาคตเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยในภาพรวม

แม้การควบรวมในครั้งนี้จะมีผลกระทบต่อทั้งผู้บริโภคและต่อโครงสร้างตลาดโทรคมนาคมของไทยอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจำเป็นต้องมีการกำกับดูแล ไปจนถึงห้ามมิให้เกิดการควบรวมหากผลกระทบจากการควบรวมธุรกิจในครั้งนี้ส่งผลเสียมากกว่าผลดี ทว่าผู้กำกับดูแลตลาดธุรกิจโทรคมนาคมของไทย ซึ่งก็คือ สำนักงาน กสทช. กลับรายงานว่าทางสำนักงานเป็นเพียงผู้รับจดแจ้งรายงาน ไม่มีอำนาจสั่งห้ามการควบรวม และทำได้เพียงกำหนดมาตรการเฉพาะหากพิจารณาแล้วพบว่าการควบรวมอาจมีผลกระทบต่อการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคมไทยอย่างมีนัยสำคัญ

ในความจริงนั้น อำนาจหน้าที่ของสำนักงาน กสทช. ได้ระบุไว้ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พ.ร.บ.กสทช. ตลอดจนถึงประกาศของสำนักงาน กสทช. ที่ให้อำนาจกำกับดูแลโดยมีมาตรการป้องกันไม่ให้แสวงหาผลประโยชน์จากผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม ตลอดจนป้องกันไม่ให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาด หรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน หากการควบรวมในครั้งนี้มีผลกระทบต่อการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคมตลอดจนผู้บริโภคอย่างมีนัยสำคัญ และผลกระทบนั้นอาจให้ความเสียหายมากกว่าที่มาตรการเฉพาะจะสามารถเยียวยาได้ สำนักงาน กสทช. ก็สามารถสั่งห้ามมิให้เกิดการควบรวมได้เช่นกัน

งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งเน้นศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากเกิดการควบรวมธุรกิจระหว่างทรูและดีแทค พร้อมทั้งมุ่งวิเคราะห์และตรวจสอบการดำเนินงานของสำนักงาน กสทช. ตั้งแต่การวิเคราะห์อำนาจหน้าที่ที่ กสทช. สามารถบังคับใช้ได้

งานวิจัยยังพยายามศึกษามาตรการเยียวยาที่เหมาะสม ซึ่งพยายามรักษาระดับการแข่งขันและผลประโยชน์ของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุดเมื่อเกิดการควบรวมกัน จนถึงการวิเคราะห์ปัญหาของมาตรการเฉพาะที่ กสทช. กำหนดหลังจากมีมติรับทราบการควบรวมเมื่อปลายเดือนตุลาคม 2022 นอกจากนี้ ในรายงานฉบับนี้ยังรวมข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการกำกับดูแลตลาดโทรคมนาคมไทย เพื่อให้การทำงานของผู้กำกับดูแลสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคและเศรษฐกิจดิจิทัลไทยได้อย่างแท้จริง รวมถึงโปร่งใสและตรวจสอบได้


ผลงานชิ้นนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสภาองค์กรของผู้บริโภค และ The101.world


ดาวน์โหลดงานวิจัยได้ : ที่นี่

ประเมินการทำหน้าที่ของ-กสทช-กรณีการควบรวมธุรกิจระหว่าง-TRUE-และ-DTAC

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Social Issues

9 Oct 2023

เด็กจุฬาฯ รวยกว่าคนทั้งประเทศจริงไหม?

ร่วมหาคำตอบจากคำพูดที่ว่า “เด็กจุฬาฯ เป็นเด็กบ้านรวย” ผ่านแบบสำรวจฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และความเหลื่อมล้ำ ในนิสิตจุฬาฯ ปี 1 ปีการศึกษา 2566

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

9 Oct 2023

Social Issues

5 Jan 2023

คู่มือ ‘ขายวิญญาณ’ เพื่อตำแหน่งวิชาการในมหาวิทยาลัย

สมชาย ปรีชาศิลปกุล เขียนถึง 4 ประเด็นที่พึงตระหนักของผู้ขอตำแหน่งวิชาการ จากประสบการณ์มากกว่าทศวรรษในกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการในสถาบันการศึกษา

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

5 Jan 2023

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save