fbpx

ความน่าจะอ่าน 2023 – คำขอบคุณจาก ‘เมาริตซิโอ เปเลจจี’ ผู้เขียน เจ้าชีวิต เจ้าสรรพสิ่ง


เนื่องในโอกาสที่ ‘เจ้าชีวิต เจ้าสรรพสิ่ง’ ของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ได้รับการโหวตว่าเป็นหนังสือน่าอ่านด้วยคะแนนสูงสุดจากกิจกรรม ‘ความน่าจะอ่าน 2023 – อ่าน 7 ที ดี 7 หน’ เมาริตซิโอ เปเลจจี ผู้เขียนหนังสือจึงขอส่งคำขอบคุณจากอิตาลี ถึงผู้อ่านชาวไทยทุกคน


“สวัสดีครับ ผมชื่อเมาริตซิโอ เปเลจจี เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่องนี้ – ‘เจ้าชีวิต เจ้าสรรพสิ่ง’ แปลไทยจากหนังสือของผมที่เคยตีพิมพ์ปี 2002 ‘Lord of Things: Fashioning of the Siamese Monarchy’s Modern Image’

“ผมรู้สึกขอบคุณ รวมถึงเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัล ‘ความน่าจะอ่าน 2023’ โดย The101.world และขอส่งวิดีโอนี้มาแทนตัวเองที่ไม่สามารถไปร่วมงานที่กรุงเทพฯ ได้ ก่อนอื่น ผมอยากขอบคุณสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน เพราะพวกเขาเป็นคนเสนอให้แปลภาษาไทยและผมดีใจมากที่มีพวกเขาจัดทำหนังสือให้ พูดได้เลยว่าฉบับภาษาไทยที่ได้รับรางวัลในคืนนี้พิเศษกว่าเล่มต้นฉบับในอเมริกาอีก ในเล่มมีภาพถ่ายจำนวนมากที่ผมไม่สามารถใส่ในหนังสือต้นฉบับได้ ภาษาแปลที่ใช้ก็ลื่นไหลและสละสลวย การออกแบบรูปเล่มก็สวยงามมาก ปกสวยๆ ที่อยู่ตรงนี้ คุณน่าจะได้เห็นภายในงานด้วย ทั้งหมดผมคงพูดได้แค่ว่าขอบคุณสำนักพิมพ์ที่ดูแลการแปลฉบับภาษาไทยให้ครับ

“ถ้าคุณอ่านบทนำในหนังสือ คุณจะเห็นว่าผมพยายามอธิบายบริบทของการศึกษาประวัติศาสตร์ขณะที่ผมเขียนดุษฎีนิพนธ์ ซึ่งต่อมาได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มนี้ เวลานั้นนักประวัติศาสตร์ตั้งคำถามเรื่องอัตลักษณ์ของชาติกระบวนการสร้างวัฒนธรรม มีหนังสือมากมายที่พูดถึงประเทศอย่างอิตาลี ญี่ปุ่น ทุ่มเทให้กับกระบวนการก่อร่างสร้างความเป็นชาติในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 นั่นคือจุดเริ่มต้นของหัวข้องานเขียนของผม ศึกษาวิธีที่สถาบันกษัตริย์ไทยตั้งใจเปลี่ยนภาพลักษณ์ รูปลักษณ์ ให้ทันสมัย ในขณะเดียวกันก็ปรับโครงสร้างภายในประเทศไปด้วย

“ทุกวันนี้ ถึงความสนใจของนักประวัติศาสตร์เปลี่ยนไปยังหัวข้ออื่นแล้ว — อย่างว่า นักประวัติศาสตร์ก็เหมือนเทรนด์แฟชั่น ทุกๆ สิบปีพวกเขาจะเปลี่ยนหัวข้อความสนใจไปเรื่อยๆ เพราะนั่นคือสิ่งที่ทำให้ตลาดวิชาการพัฒนา ยังไงก็ตาม ความสนใจต่อหนังสือของผมในประเทศไทย สะท้อนว่าสิ่งที่ผมเขียนเป็นเรื่องที่คนไทยวงกว้างสนใจอยู่ตอนนี้ ถึงแม้ว่าเพื่อนชาวไทยของผมหลายคนจะมีโอกาสได้อ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษบ้างแล้ว แต่การที่หนังสือเล่มนี้มีฉบับภาษาไทยคงทำให้เข้าถึงกลุ่มผู้อ่านได้กว้างขึ้น ผมจึงหวังว่าทางสำนักพิมพ์จะช่วยโฆษณาให้คนรู้จักเจ้าชีวิตฯ มากขึ้นนะครับ

“อีกหนึ่งประเด็นสุดท้ายที่ผมอยากกล่าวในคืนนี้ คือเจ้าชีวิตฯ คงแปลไทยได้เฉพาะในห้วงเวลานี้เท่านั้น ผมไม่คิดว่าเราจะมีโอกาสได้ตีพิมพ์ในช่วงรัชกาลที่แล้วเลย บางอย่างถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลง และถึงแม้จะไม่เปลี่ยนไปเสียทั้งหมด ส่วนหนึ่งก็ได้เริ่มเปลี่ยนแล้ว ในไทย เรามีพื้นที่ถกเถียงที่เปิดกว้างขึ้น คนสามารถพูดถึงหัวข้อที่เคยเป็น หรือกระทั่งล่าสุดก็อาจจะยังเป็นสิ่งต้องห้ามอยู่

“กรณีนี้ ผมคิดว่าเจ้าชีวิตฯ ไม่ใช่หนังสือต่อต้านสถาบันกษัตริย์ แต่เป็นหนังสือที่อธิบายว่าสถาบันกษัตริย์ไทยสร้างภาพลักษณ์อันเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติได้อย่างไร ขณะเดียวกันก็สามารถดำเนินการเปลี่ยนความคิดคนในชาติ สร้างความก้าวหน้าตามแบบตะวันตกได้ หลายเรื่องเป็นสิ่งที่คนไทยให้ความสนใจอยู่ในปัจจุบัน ผมดีใจมากที่คนไทย อย่างน้อยก็ส่วนหนึ่งในสังคมสามารถอ่านหนังสือของผมในฉบับภาษาไทยได้ ผมขอถือว่ารางวัลในค่ำคืนนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเปิดพื้นที่ถกเถียงใหม่ๆ เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ และการศึกษาประวัติศาสตร์ของสถาบันกษัตริย์ไทย ขอขอบคุณอีกครั้งกับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ ขอให้ทุกคนมีวันที่ดีครับ”


หมายเหตุ : เผยแพร่ครั้งแรกในงานเสวนา ‘ความน่าจะอ่าน 2023 Final Round – อ่าน 7 ที ดี 7 หน’ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566

ย้อนอ่านหนังสือ Top Highlights และกิจกรรมความน่าจะอ่าน 2023 – อ่าน 7 ที ดี 7 หน ได้ที่นี่

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Spotlights

4 Nov 2020

101 Policy Forum : ประเทศไทยในฝันของคนรุ่นใหม่

101 เปิดวงสนทนาพูดคุยกับตัวแทนวัยรุ่น 4 คน ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน , สิรินทร์ มุ่งเจริญ, ภาณุพงศ์ สุวรรณหงษ์, อัครสร โอปิลันธน์ ว่าด้วยสังคม การเมือง เศรษฐกิจไทยในฝัน ต้นตอที่รั้งประเทศไทยจากการพัฒนา ข้อเสนอเพื่อพาประเทศสู่อนาคต และแนวทางการพัฒนาและสนับสนุนคนรุ่นใหม่

กองบรรณาธิการ

4 Nov 2020

Spotlights

30 Jun 2020

“ไม่มี Theory of Everything ในโลกของ IR” จิตติภัทร พูนขำ

101 สนทนากับ จิตติภัทร พูนขำ เกี่ยวกับองค์ความรู้และโลกของ IR ไปจนถึงการเรียนการสอน และการปรับตัวของ IR ในยุคที่โลกผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

กานต์ธีรา ภูริวิกรัย

30 Jun 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save