fbpx

4 ผลงานสื่อ รางวัล ‘สื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน’ ประจำปี 2566

101 ชวนอ่านชุดผลงานสื่อของ The101.world ที่ได้รับ รางวัล “สื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน” ประจำปี 2566 (Media Award 2023) โดย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย (Amnesty International Thailand) พร้อมคำกล่าวจากผู้สร้างสรรค์ผลงาน


:: รางวัลข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์ ::


รางวัลชมเชย:

“‘สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผิด’ สภาวะยกเว้นอย่างถาวรของผู้ต้องหาคดีการเมือง”

โดย วจนา วรรลยางกูร เรื่อง เมธิชัย เตียวนะ ภาพ

“ผลงานชิ้นนี้พูดถึงผู้ต้องหาคดีการเมือง เมื่อมีเรื่องเล่าต่อกันมาว่าประเทศไทยใช้หลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ แต่สิ่งที่นักโทษคดีการเมืองต้องเจอคือ ‘สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผิด’ และ ‘จับก่อน พิสูจน์ทีหลัง’

ท้ายสุดเมื่อผู้ต้องหาเหล่านั้นพิสูจน์ได้ว่าบริสุทธิ์ ชีวิตในคุกที่สูญเสียไปกลายเป็นแค่เรื่องผิดพลาดที่ภาครัฐไม่จดจำ

กฎหมายความมั่นคงไทยให้อภิสิทธิ์รัฐในการละเมิดสิทธิประชาชน เพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ นี่คือ ‘สภาวะยกเว้นอย่างถาวร’ ที่พวกเราไม่ควรเผชิญ แต่เราจำต้องเผชิญ

วันนี้เรายังมีผู้ต้องขังทางการเมืองอย่างน้อย 40 คน รวมตะวันและแฟรงค์ซึ่งเป็นกรณีล่าสุด ภาวะเช่นนี้เราคงพูดไม่ได้ว่าเป็นความปกติธรรมดา ภาวะเช่นนี้เราคงพูดไม่ได้ว่าเป็นเรื่องที่สมควรเกิดขึ้นภายใต้รัฐบาลจากการเลือกตั้ง

ขอบคุณ คุณยุทธภูมิ มาตรนอก คุณวาสนา บุษดี และทนายวิญญัติ ชาติมนตรี สำหรับการร่วมส่งเสียงในเรื่องนี้ ขอบคุณ อ.ธงชัย วินิจจะกูล สำหรับหลักคิดเรื่องระบบยุติธรรมไทย” – วจนา วรรลยางกูร


:: รางวัลข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ ::



รางวัลดีเด่น:

“Digital Harassment – Silent Pain: แผลร้ายซ่อนลึกของนักกิจกรรม เมื่อถูกทำร้ายในโลกเสมือน”

โดย วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา เรื่อง, เมธิชัย เตียวนะ และกอบบุญ บูรโชควิวัฒน์ วิดีโอ ธนกร เนตรจอมไพร ครีเอทีฟ

“สำหรับเรื่องการคุกคามออนไลน์เป็นเรื่องที่เราทุกคนรู้อยู่แล้วว่ามีผลกระทบรูปแบบไหน แต่เราไม่ค่อยรู้ว่าคนที่ตกเป็นเหยื่อของการคุกคามรู้สึกอย่างไร ได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง

จากวิดีโอ เราจะเห็นว่าผลกระทบต่อคนที่ถูกคุกคามไม่ได้จบแค่รู้สึกแย่ เมื่อปิดมือถือก็จบแค่นั้น มันไกลกว่านั้นมาก หลายคนมีปัญหาเรื่องสุขภาพจิต เป็นซึมเศร้า ลามไปถึงสุขภาพร่างกาย หน้าที่การงาน และอีกหลายเรื่อง บางคนยังถูกเล่นงานทางกฎหมายจากสิ่งที่เขาโพสต์ บางคนถึงขั้นพยายามฆ่าตัวตาย และบางคนที่ทำสำเร็จก็มีเช่นกัน

เมื่อเรารับรู้ความร้ายแรงของเรื่องนี้แล้ว ผมหวังว่าทุกฝ่ายจะมาร่วมหาทางออกของเรื่องนี้ เราจะอยู่กันอย่างไรในโลกออนไลน์ที่มีความเห็นทางการเมืองหลากหลาย และจะปกป้องคนที่ออกมาแสดงความเห็นทางการเมืองโดยสุจริตได้อย่างไร

สุดท้าย ขอบคุณโครงการ MOVE (Monitoring Centre on Organised Violence Events)  ที่ทำงานร่วมกันมายาวนาน และทีมโปรดักชันของ 101 ที่ถ่ายทอดเรื่องราวออกมาได้อย่างดีเยี่ยม และขอบคุณทุกคนในคลิปที่มาแบ่งปันเรื่องราว ทำให้เรื่องนี้ปรากฏแก่สังคม” – วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา


:: รางวัลภาพถ่ายในหัวข้อ ‘สิทธิมนุษยชน’ ::



รางวัลที่ 3:

“No Man’s Land ริมแม่น้ำเมย” โดย เมธิชัย เตียวนะ

“ผมเคยไปลงพื้นที่ชายแดนมาหลายที่ แต่ที่นี่ทำให้ผมเข้าใจคำว่าเส้นสมมติอย่างชัดเจน แม่น้ำที่เราเห็นสามารถเดินข้ามมาได้ ไม่ได้ลึกจนต้องนั่งเรือมา แต่คนที่อยู่ในสภาวะสงคราม เขาต้องการความช่วยเหลือ แต่ไม่สามารถข้ามมาได้ ไม่สามารถมาขอความช่วยเหลือได้

น่าตั้งคำถามว่าทำไมเป็นเช่นนั้น และผู้มีอำนาจควรตั้งคำถามต่อตนเองว่าจะปล่อยให้เส้นสมมตินี้กีดกั้นความเป็นมนุษย์หรือเปล่า” – เมธิชัย เตียวนะ




รางวัลชมเชย:

“พื้นที่การศึกษาของเด็กข้ามชาติ” โดย กอบบุญ บูรโชควิวัฒน์

“ในประเทศไทยมีแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาหางานทำเป็นจำนวนมากและหลายคนจำเป็นต้องให้ลูกหลานติดตามมาด้วย เนื่องจากเหตุผลที่ไม่มีคนช่วยเลี้ยงดูเด็ก หรือเหตุผลอื่นๆ ทำให้เด็กหลายคนเกิดและเติบโตในประเทศไทย ส่วนใหญ่เด็กเติบโตในไซต์งานก่อสร้าง หรือในพื้นที่ที่ห่างไกลจากคำว่า ‘คุณภาพชีวิตที่ดี’

หากมองเด็กข้ามชาติในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง เขามีสิทธิที่จะได้รับการศึกษา ได้เติบโตในสภาพแวดล้อมที่ดี โดยไม่มีสัญชาติเป็นข้อจำกัด และการศึกษาคือสิ่งล้ำค่าที่สุดที่สังคมจะมอบให้เขาได้” – กอบบุญ บูรโชควิวัฒน์


MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Spotlights

4 Nov 2020

101 Policy Forum : ประเทศไทยในฝันของคนรุ่นใหม่

101 เปิดวงสนทนาพูดคุยกับตัวแทนวัยรุ่น 4 คน ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน , สิรินทร์ มุ่งเจริญ, ภาณุพงศ์ สุวรรณหงษ์, อัครสร โอปิลันธน์ ว่าด้วยสังคม การเมือง เศรษฐกิจไทยในฝัน ต้นตอที่รั้งประเทศไทยจากการพัฒนา ข้อเสนอเพื่อพาประเทศสู่อนาคต และแนวทางการพัฒนาและสนับสนุนคนรุ่นใหม่

กองบรรณาธิการ

4 Nov 2020

Spotlights

30 Jun 2020

“ไม่มี Theory of Everything ในโลกของ IR” จิตติภัทร พูนขำ

101 สนทนากับ จิตติภัทร พูนขำ เกี่ยวกับองค์ความรู้และโลกของ IR ไปจนถึงการเรียนการสอน และการปรับตัวของ IR ในยุคที่โลกผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

กานต์ธีรา ภูริวิกรัย

30 Jun 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save