fbpx

อาหารแช่แข็ง: อุตสาหกรรมมาแรงในชิลี และแนวทางพัฒนาเพื่อสู้ความท้าทาย

ปัจจุบันนี้ ธุรกิจอาหารแช่แข็งของชิลีกำลังเป็นที่สนใจของนักลงทุนทั้งชาวชิลีเองและนักลงทุนในต่างประเทศ ขณะที่นักลงทุนไทยก็ให้ความสนใจมากเช่นกัน โดยเฉพาะหลังจากมีการจัดทำ FTA (ข้อตกลงการค้าเสรี) ระหว่างไทยกับชิลี โดยชิลีเป็นผู้ส่งออกปลาทูน่าแช่แข็งมาสู่ไทย ขณะเดียวกันเราเป็นผู้ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องกลับไปยังชิลี (แต่คำถามที่ค้างในใจผมตลอดเวลาคือ ทำไมไทยไม่ไปตั้งโรงงานแปรรูปปลาทูน่ากระป๋องในชิลีเลย มีท่านผู้อ่านท่านใดมีคำตอบให้ผมไหมครับ?)

ความแข็งแกร่งของธุรกิจอาหารแช่แข็งในชิลีสะท้อนได้จากช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ที่หลายธุรกิจล้วนได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ธุรกิจอาหารแช่แข็งกลับยังคงสามารถเติบโตได้ดี โดยดูจากมูลค่าตลาดเฉลี่ย 3 ปี ที่มีตัวเลขสูงกว่า 3 แสนล้านบาท โดยในปี 2562 มูลค่าตลาดอยู่ที่ 307,088.48 ล้านบาท ตามด้วยปี 2563 มูลค่าอยู่ที่ 283,864.95 ล้านบาท และปี 2564 อยู่ที่ 303,556.17 ล้านบาท ขณะที่ผลประกอบการก็ยังคงเป็นบวกอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ปี 2564 ที่มีผลกำไรถึง 10,568.88 ล้านบาท ส่วนปี 2562 และ 2563 นั้นมีกำไรที่ 7,363.03 ล้านบาท และ 7,001.00 ล้านบาท ตามลำดับ

ธุรกิจอาหารแช่แข็งของชิลีกำลังเติบโตทั้งในแง่การจำหน่ายเพื่อการบริโภคในประเทศและส่งออกไปต่างประเทศ โดยในส่วนการส่งออกนั้น พบว่าช่วงเวลา 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.) ของปี 2565 มีมูลค่าสูงถึง 87,896 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่ามูลค่าการส่งออกอาหารแช่แข็งของทั้งปี 2563 อยู่ถึง 2,682 ล้านบาท ขณะที่มูลค่าการส่งออกในปี 2564 ทั้งปีอยู่ที่ 94,847 ล้านบาท

ด้วยแนวโน้มที่เติบโตอย่างต่อเนื่องแม้จะอยู่ท่ามกลางปัญหาทางเศรษฐกิจเช่นนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ธุรกิจอาหารแช่แข็งจะอยู่ในความสนใจของนักลงทุนชิลี

คุณสมบัติสำคัญที่ทำให้อาหารแช่แข็งได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนว่าคือการที่อาหารแช่แข็งสามารถเก็บรักษาได้นาน มีความได้เปรียบในการรักษาความสด และช่วยลดความถี่ในการออกไปซื้อของที่ตลาดหรือซูเปอร์มาร์เก็ต นอกจากนี้ อาหารแช่แข็งยังมีกลุ่มลูกค้าที่เป็นทั้งผู้บริโภคทั่วไปที่ซื้อเพื่อประกอบอาหารทานเองที่บ้านหรืออาจซื้อแบบพร้อมรับประทานเพื่อความสะดวกในการบริโภค และผู้ประกอบการร้านอาหารที่ซื้อไปประกอบอาหารขายแก่ลูกค้า

ธุรกิจอาหารแช่แข็งประกอบด้วย การผลิตวัตถุดิบแช่แข็ง และการผลิตอาหารแช่แข็งพร้อมทาน โดยในส่วนวัตถุดิบแช่แข็ง ส่วนหนึ่งถูกผลิตเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของชิลี ส่วนทางด้านอาหารแช่แข็งพร้อมทานส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ โดยมีราคาไม่แตกจากอาหารปรุงสดใหม่มากนัก และมีแนวโน้มเติบโตตามการขยายตัวของร้านสะดวกซื้อ เนื่องจากเป็นช่องทางจำหน่ายหลักที่หาซื้อได้ง่าย มีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ

หากถามว่าทำไมธุรกิจอาหารแช่แข็งชิลีถึงสามารถเติบโตต่อเนื่องได้ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ก็เป็นเพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป การทำงานที่บ้าน (Work from Home) ส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาเลือกซื้ออาหารแช่แข็งเพื่อนำไปปรุงอาหารรับประทานที่บ้านมากขึ้น เนื่องจากมีความสะดวก สามารถเก็บรักษาได้นาน และลดความเสี่ยงจากการไปซื้อของสดในพื้นที่แออัด ความนิยมที่เพิ่มขึ้นนี้เห็นได้จากตัวเลขกำไรในปีที่ผ่านมาที่สูงเกิน 1 หมื่นล้านบาท ขณะที่มูลค่าตลาดเฉลี่ย 3 ปีก็สูงถึง 3 แสนล้านบาท และมีนักลงทุนในธุรกิจนี้เพิ่มขึ้นจากปี 2564 กว่า 84% สะท้อนความแข็งแกร่งของกลุ่มธุรกิจดังกล่าวเป็นอย่างดี อีกทั้งอุตสาหกรรมนี้ยังใช้เงินทุนไม่มาก เทคโนโลยีการผลิตไม่ซับซ้อน ทำให้การเข้า-ออกของผู้ผลิตรายใหม่ทำได้ไม่ยากเช่นกัน จึงเป็นโอกาสและความท้าทายของนักลงทุนที่สนใจในธุรกิจอาหารแช่แข็ง ทั้งรายเก่าและรายใหม่

ประเภทของสินค้าอาหารแช่แข็งหนึ่งที่โดดเด่นที่สุดของชิลี หนีไม่พ้นอาหารทะเลแช่แข็ง ซึ่งชิลีนับว่าเป็นผู้ผลิตรายสำคัญของโลก และมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ หรือกล่าวได้ว่าชิลีเป็นทั้งประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตและส่งออกสินค้าดังกล่าว

ในปี 2557 ประเทศชิลีเป็นผู้ส่งออกสินค้าประเภทประมงรายใหญ่เป็นลำดับ 5 ของโลก โดยมีการส่งออกสินค้าประเภทประมงหลายประเภท ได้แก่ ปลา กุ้ง ปลาหมึก และอาหารทะเลแปรรูปไปยังสหภาพยุโรป (European Union: EU) ในมูลค่าที่สูงถึงประมาณ 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี คิดเป็นร้อยละ 12 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทประมงในภาพรวมของชิลี

แต่ในช่วงที่ผ่านมา จำนวนสินค้าที่ได้จากการทำประมงนั้นลดลง เนื่องจากปัญหาการจับปลาเกินจำนวน ต้นทุนการทำประมงสูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งต้นทุนต่างๆ ที่สูงขึ้นจากการปรับปรุงระบบในด้านแรงงานและสภาพการทำงาน ประกอบกับตลาดมีการกำหนดกฎระเบียบที่มีมาตรฐานสูงและเข้มงวดทั้งด้านความปลอดภัย ด้านแรงงาน และด้านสิ่งแวดล้อม

ในเดือนมกราคม 2564 มูลค่าการส่งออกอาหารทะเลสด แช่เย็น แช่แข็ง รวมคิดเป็น 9,480.46 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และหากพิจารณาในแง่ปริมาณการส่งออกอาหารทะเล พบว่ามีปริมาณการส่งออกรวม 78,056 ตัน แบ่งเป็นอาหารทะเลสดแช่เย็น แช่แข็ง 18,217 ตัน ซึ่งลดลงร้อยละ 16.48 และอาหารทะเลแปรรูป 9,453 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ภาคอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็งชิลีต้องเร่งหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์การให้สูงขึ้นและสามารถสร้างการแข่งขันได้ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศอย่างยั่งยืน

จากการศึกษาวิจัยพบว่า ในการจะสร้างให้ภาคธุรกิจมีผลการดำเนินงานที่เพิ่มสูงขึ้นได้นั้น ภาคธุรกิจมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญด้านการตลาด เพื่อให้สามารถกำหนดทิศทางของด้านการตลาดและสามารถตอบสนองลูกค้า และให้เกิดการรับรู้ต่อการจัดการความสำคัญของการออกแบบที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การที่ทำให้เกิดเป็นความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนและมีความต่อเนื่อง การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้ยั่งยืนขององค์การนั้น จำเป็นจะต้องมีการอาศัยแนวคิดในการใช้กลยุทธที่มุ่งเน้นให้เกิดการสร้างความแตกต่าง การสร้างความเป็นผู้นำด้านต้นทุน และการเสาะแสวงหาโอกาสทางการตลาดโดยเน้นการตอบสนองให้เร็วกว่าคู่แข่ง ซึ่งจะช่วยให้โครงสร้างของผลการดำเนินงานขององค์การเพิ่มสูงขึ้นในระยะยาวต่อไป

นอกจากนี้ ในภาวะที่ธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งเจอความท้าทายรอบด้านและต้องเผชิญความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับจากการระบาดของโควิด-19 เมื่อปี 2563 องค์การธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งมีความจำเป็นที่จะต้องเป็น ‘องค์การที่มีสมรรถนะสูง’ กล่าวคือเป็นองค์การที่ประสบความสำเร็จทางการเงินในระยะยาว มีความสามารถในการปรับตัว และมีความสามารถในการสนองตอบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างรวดเร็ว ให้ความสำคัญในการดำเนินงานในลักษณะบูรณาการโครงสร้างในการจัดการ รวมถึงพัฒนาขีดความสามารถหลักขององค์การอย่างต่อเนื่อง โดยมีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและการสื่อสารเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการพัฒนาแบบก้าวกระโดด ผลักดันให้ภาคธุรกิจต้องปรับตัว

องค์การธุรกิจยุคใหม่ต้องสร้างกลยุทธ์การจัดการอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมขององค์การ ทั้งนโยบายรัฐบาล การเมือง กฎหมาย สังคม และเทคโนโลยี ล้วนส่งผลต่อการบริหารองค์การทั้งสิ้น องค์การทุกประเภทต้องค้นหากลยุทธ์ใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ตลอดเวลา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และก้าวสู่ความเป็นเลิศ การจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะนำมาพัฒนาทั้งในองค์กรภาครัฐและเอกชน ส่งผลให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูง นำไปสู่องค์การที่ประสบความสำเร็จ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น จากข้อมูลของสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งชิลี พบว่าอุตสาหกรรมประมงชิลีอาจสูญเสียมูลค่าการส่งออกสูงถึง 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หากชิลีไม่สามารถแก้ไขปัญหาการทำการประมงที่ฝ่าฝืนกฎหมาย กฎระเบียบ หรือมาตรการในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ (Illegal Unreported and Unregulated Fishing: IUU Fishing) ได้

ธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งของชิลีจะปรับตัวได้สำเร็จหรือไม่นั้น ไม่เพียงแต่มีผลต่ออนาคตของภาคธุรกิจดังกล่าวเองเท่านั้น แต่ยังส่งผลอย่างมากถึงการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจชิลีในภาพรวม ในฐานะที่ธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งคือธุรกิจสำคัญยิ่งของประเทศ

MOST READ

World

1 Oct 2018

แหวกม่านวัฒนธรรม ส่องสถานภาพสตรีในสังคมอินเดีย

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก สำรวจที่มาที่ไปของ ‘สังคมชายเป็นใหญ่’ ในอินเดีย ที่ได้รับอิทธิพลสำคัญมาจากมหากาพย์อันเลื่องชื่อ พร้อมฉายภาพปัจจุบันที่ภาวะดังกล่าวเริ่มสั่นคลอน โดยมีหมุดหมายสำคัญจากการที่ อินทิรา คานธี ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก

1 Oct 2018

World

16 Oct 2023

ฉากทัศน์ต่อไปของอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่สั่นสะเทือนระเบียบโลกใหม่: ศราวุฒิ อารีย์

7 ตุลาคม กลุ่มฮามาสเปิดฉากขีปนาวุธกว่า 5,000 ลูกใส่อิสราเอล จุดชนวนความขัดแย้งซึ่งเดิมทีก็ไม่เคยดับหายไปอยู่แล้วให้ปะทุกว่าที่เคย จนอาจนับได้ว่านี่เป็นการต่อสู้ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่รุนแรงที่สุดในรอบทศวรรษ

จนถึงนาทีนี้ การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ยังดำเนินต่อไปโดยปราศจากทีท่าของความสงบหรือยุติลง 101 สนทนากับ ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงเงื่อนไขและตัวแปรของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น, ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและรัฐอาหรับ, อนาคตของปาเลสไตน์ ตลอดจนระเบียบโลกใหม่ที่ก่อตัวขึ้นมาหลังยุคสงครามเย็น

พิมพ์ชนก พุกสุข

16 Oct 2023

World

9 Sep 2022

46 ปีแห่งการจากไปของเหมาเจ๋อตง: ทำไมเหมาเจ๋อตง(โหด)ร้ายแค่ไหน คนจีนก็ยังรัก

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์ เขียนถึงการสร้าง ‘เหมาเจ๋อตง’ ให้เป็นวีรบุรุษของจีนมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าเขาจะอยู่เบื้องหลังการทำร้ายผู้คนจำนวนมหาศาลในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์

9 Sep 2022

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save