fbpx
Workshops : เคล็ดลับวิธีรักลูก สไตล์ 'พ่อแม่รังแกฉัน'

Workshops : เคล็ดลับวิธีรักลูก สไตล์ ‘พ่อแม่รังแกฉัน’

กองบรรณาธิการ เรื่อง

กฤตพร โทจันทร์ ภาพประกอบ

 

Workshops : เคล็ดลับวิธีรักลูก สไตล์ ‘พ่อแม่รังแกฉัน’
สำหรับพ่อแม่ที่กำลังส่งลูกสอบเข้า ป.1

 

พบกับ 2 เคล็ดลับ สุดพิเศษ
เฉพาะสำหรับพ่อแม่ที่กำลังส่งลูกเข้าสอบ ป.1 !!!

การันตีผลงาน ปัจจุบันเด็กปฐมวัยมีภาวะเครียดจากการต้องเร่งสอบเข้า ป.1 ซึ่งอัตราการแข่งขันเข้าสอบในโรงเรียนดังของประเทศไทย อยู่ที่ 1 ต่อ 20

(เด็กปฐมวัยมีภาวะเครียดจากการต้องเร่งเรียนเพื่อสอบ ป.1 ซึ่งอัตราการแข่งขันเข้าสอบในโรงเรียนดังของปะเทศไทยอยู่ที่ 1 ต่อ 20)

มากไปกว่านั้น จากการศึกษาพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ยังชี้ให้เห็นว่า เด็กเล็กของไทยยังมีพัฒนาการไม่สมวัยกว่า 32.5% ซึ่งเป็นการวัดผลจากจากพัฒนาการ 4 ด้าน ทั้งด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านภาษา และด้านสังคมและการช่วยเหลือตัวเอง

 

เคล็ดลับที่ 1 : เร่งเรียน

 

 

พ่อแม่ทุกคนจงจำไว้ “อยากเรียนเก่ง ต้องเร่งเรียน” เร่งลูกเรียนตั้งแต่ยังเล็กๆ เพื่อลูกจะได้มีการศึกษาที่ดี ป้อนทุกอย่างให้พวกเขา เพื่อเข้าสู่สนามสอบของโรงเรียนดัง และประสบความสำเร็จในชีวิต!!!

 

เคล็ดลับที่ 2 : ลืมเล่น

 

 

“ปัญญามาก่อน กล้ามเนื้ออ่อนมาทีหลัง” พ่อแม่ทุกคนจงให้ความสำคัญด้านสติปัญญา ก่อนการส่งเสริมด้านร่างกายเสมอ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบเข้า ป.1

 

จบหลักสูตรส่งลูกเข้า ป.1 รับรองลูกคุณจะมีพัฒนาการที่ไม่สมวัย!!!

 

 

• มีภาวะเครียดจากการเร่งเรียนเพื่อสอบเข้า ป.1

วัยนี้สมองอยู่ในช่วง sensitive period หมายความว่าสมองของเด็กเมื่ออยู่กับความเครียดระยะยาว ความสามารถของกระบวนการการทำงานของสมองจะถูกทำลาย

’การเร่งเรียนเขียนอ่าน’ ส่งผลด้านลบต่อพัฒนาการของเด็กเล็ก เพราะพัฒนาการเด็กต้องพัฒนาทั้งตัว เด็กปฐมวัยอยู่ในช่วงของการพัฒนาสมอง หากไปมุ่งเน้นที่การเร่งรัดการเรียนเขียนอ่านแล้ว เมื่อเด็กต้องไปสอบ ติวสอบ อยู่ภาวะที่กดดัน เมื่อเด็กเครียดความสามารถจะลดลง เราจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าความสามารถขณะนั้นเป็นความสามารถที่แท้จริงของเด็กคนนี้หรือไม่

• มีพัฒนาการที่ไม่สมวัยทั้ง 4 ด้าน

การที่ลูกลืมเล่น หรือไม่ได้มีการปล่อยให้เด็กเล็กออกไปเล่น ทำกิจกรรม หรือสัมผัสโลกภายนอก เก็บตัวเด็กเล็กให้อยู่เพียงในห้องอูดอู้ จะส่งผลกระทบให้การพัฒนาของเด็กบางด้านเริ่มถดถอย เช่น การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน การใช้ภาษา รวมไปถึงพัฒนาการด้านร่างกายทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็ก

การเล่นคือการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างสมวัย เด็กควรไปรับการส่งเสริมด้านร่างกายให้แข็งแรงก่อนการเสริมสร้างสติปัญญา เพราะร่างกายแกนกลางต้องพัฒนาให้พร้อมใช้ก่อน

“ก่อนจะไปสอบเข้า แน่นอนว่าทุกบ้านจะต้องเตรียมความพร้อมให้ลูก เราขโมยเวลาที่แสนสำคัญในวัยเยาว์เขาไปไหม แทนที่ร่างกายเขาจะได้ไปออกกำลังกาย กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่เขาจะได้พร้อมที่จะใช้งานเมื่อเขาเข้าสู่ ป.1 คุณพ่อคุณแม่เราไปให้ความสำคัญกับ cognitive หรือสติปัญญาก่อนที่ร่างกายจะพัฒนา ดังนั้นเมื่อร่างกายเขายังไม่เต็มวัยเลย เขายังวิ่งไม่ได้เต็มที่ ยังเดินตุปัดตุเป๋เซไปเซมา หรือว่ากล้ามเนื้อมือเขายังจับดินสอไม่เหมาะสมเลย แต่เราบังคับให้เขาต้องฝนดินสอแล้ว” ครูเม เมริษา ยอดมณฑป เจ้าของเพจ ตามใจนักจิตวิทยา กล่าว

 

แล้วมีทางเลือกอื่นไหมที่ไม่ใช่การสอบ?

 

 

 

ข้อเสนอแนะที่ไม่ใช่การสอบแข่งขัน

 

 

‘การคัดเลือก’ นั้น มีข้อเสนอหลากหลายทั้งการให้พ่อแม่จับฉลากแทน การสัมภาษณ์พ่อแม่ และมีผลการวิจัยเรื่อง ‘ผลจากระบบการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับประถมศึกษาปีที่ 1’ ในโครงการการพัฒนาองค์ความรู้และขับเคลื่อนการส่งเสริมทักษะสมอง เพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชนในประเทศไทย ที่สรุปข้อเสนอแนะแนวทางการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับ ป.1 ไว้ว่า

• การประเมินพัฒนาการและสมรรถนะของเด็กตามวัย
• การรับเด็กในเขตพื้นที่บริการ/ใกล้บ้าน
• การจับฉลาก
• การสัมภาษณ์เด็ก
• การทดสอบ
• การสัมภาษณ์พ่อแม่ และผู้ปกครอง
• ใช้หลายวิธีประกอบกัน

นอกจากนั้นยังมีข้อเสนอจากครูเม เมริษา ยอดมณฑป เจ้าของเพจตามใจนักจิตวิทยา กล่าวถึงการอบรมพ่อแม่ซึ่งอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ไม่ใช่การสอบ

“บางโรงเรียนให้พ่อแม่มาอบรม แล้วก็ให้ลูกมาเข้ากรุ๊ปเล่นกับเพื่อนดูว่าเขาเข้ากับสภาพแวดล้อมโรงเรียนได้เป็นยังไง แล้วก็ใช้หลักการประเมินทางการสังเกตว่าเด็กคนนี้สามารถมีความสุขที่จะเข้ามาเรียนโรงเรียนแห่งนี้ไหม? คุณพ่อคุณแม่ตอบรับแนวทางของโรงเรียนจากการอบรมหรือเปล่า? แม้สุดท้ายลูกจะไม่ได้เข้าโรงเรียนนี้ แต่พวกเขาก็สามารถเอาความรู้จากการอบรมนำไปใช้ต่อ แล้วก็หาโรงเรียนที่เหมาะสมต่อไป”

 

ความไม่เท่าเทียม = การพัฒนาเด็กที่ไม่สมบูรณ์

 

 

สิ่งสำคัญก่อนการพูดถึงเรื่องเปลี่ยนแปลงการสอบเข้า ป.1 คือเรื่องระบบ เราสามารถทำให้ทุกโรงเรียนมีคุณภาพใกล้เคียงกันแล้วหรือยัง ในท้ายที่สุดหากยกเลิกการสอบไปก็ยังต้องมีวิธีการที่จะรับเด็กเข้า แต่บางโรงเรียนไม่สามารถรับเด็กได้ทุกคนเพราะมีจำนวนที่กำหนดไว้ ดังนั้นระบบต้องช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างโรงเรียนให้น้อยที่สุด ด้วยการทำให้โรงเรียนมีคุณภาพใกล้เคียงกัน โดยการกระจายคุณครูหรือแม้กระทั่งเรื่องของการให้ความรู้กับโรงเรียน

เมื่อคุณภาพโรงเรียนยังไม่เท่าเทียมกัน การเร่งให้เด็กอ่านออกเขียนได้ เพื่อสอบเข้าโรงเรียนดัง จะได้ไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า แต่การส่งเด็กปฐมวัยเข้าสู่สนามสอบโดยไม่เข้าใจพัฒนาการเด็กจะทำให้เด็กมีทักษะที่จำเป็นไม่เพียงพอในการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์

 

พ.ร.บ. การพัฒนาเด็กปฐมวัย

 

 

ด้วยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้พูดถึงเรื่องของการพัฒนาเด็กเล็กไว้ว่าต้องพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา สิ่งเหล่านี้เด็กควรได้รับการพัฒนาตั้งแต่ปฐมวัย ซึ่งนำไปสู่การออก พ.ร.บ. การพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่ตั้งใจว่าจะเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเรียนรู้และเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสม

อย่างไรก็ตามประเด็นที่ถูกพูดถึงมากใน พ.ร.บ. ฉบับนี้คือ จะจัดการอย่างไรกับประเด็นเรื่องการสอบเข้าป. 1

แม้ใน พ.ร.บ. การพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการพูดถึงเรื่องการสอบเข้าป. 1 ตามมาตรา 8 แต่ พ.ร.บ. ก็ไม่ได้ชี้ชัดไปว่าห้ามการสอบเข้า ป.1 ในขณะที่ค่านิยมในสังคม มีผู้ปกครองกว่าร้อยละ 52 ก็ยังคงเห็นด้วยกับการสอบเข้าป. 1 อยู่

นี่จึงเป็นโจทย์สำคัญของงคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยซึ่งจะเข้ามากำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับเด็กปฐมวัยเข้าศึกษาในระดับอนุบาลและระดับประถมศึกษาว่าจะจัดการกับประเด็นการสอบเข้าป. 1 อย่างไร

การดูแลเด็กเล็กไม่ใช่เพียงเลี้ยงดู มอบอาหารให้เขาเติบโตด้านร่างกายเท่านั้น การดูแลคนหนึ่งคนให้เติบโตต้องอาศัยความเข้าอกเข้าใจ ต้องดูแลเขาให้เติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อย่างสมวัย ปล่อยให้เด็กได้เป็นเด็ก ดูแลหัวใจของวัยเยาว์ให้เขาได้เติบโตมั่นคงเพื่อเป็นคนรุ่นต่อไปที่เติบใหญ่อย่างสมบูรณ์

 


ผลงานชิ้นนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ The101.world

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Social Issues

9 Oct 2023

เด็กจุฬาฯ รวยกว่าคนทั้งประเทศจริงไหม?

ร่วมหาคำตอบจากคำพูดที่ว่า “เด็กจุฬาฯ เป็นเด็กบ้านรวย” ผ่านแบบสำรวจฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และความเหลื่อมล้ำ ในนิสิตจุฬาฯ ปี 1 ปีการศึกษา 2566

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

9 Oct 2023

Education

20 Jul 2023

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ในวิกฤต (?)

ข่าวการปรับหลักสูตรของอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ชวนให้คิดถึงอนาคตของการเรียนการสอนสายมนุษยศาสตร์ เมื่อตลาดแรงงานเรียกร้องทักษะสำหรับการทำงานจริง จนมีการลดความสำคัญวิชาพื้นฐานอันเป็นการฝึกฝนการวิเคราะห์วิพากษ์เพื่อทำความเข้าใจโลกอันซับซ้อน

เสียงเล็กๆ จากประชาคมอักษร

20 Jul 2023

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save