Illustration and Infographics
Illustration and Infographics
เข้าใจข้อมูลยากๆ อย่างเพลินตาเพลินใจ ผ่านอัลบัมภาพประกอบและอินโฟกราฟิก
Filter
Sort
โทษอาญาเฟ้อ: ภาพสะท้อนจารีตปกครองแบบไทยๆ
หลายท่านคงเคยได้ยินการดำเนินคดีอาญาหลายคดีที่มีความผิดไม่ร้ายแรง ทั้งคดีเช็คเด้งเนื่องจากผู้ผิดประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินกะทันหัน คดีหมิ่นประมาทที่ผู้ผิดอาจทำไปด้วยโทสะชั่วคราว คดีบุกรุกป่าไม้ที่ชาวบ้านต้องโทษจำคุกเพียงเพราะยืนยันสิทธิว่าตนเองอยู่มาก่อนการประกาศพื้นที่ป่า รวมทั้งอาจเคยได้ยินกฎระเบียบบางข้อที่คนทั่วไปอาจทำผิดได้เพราะไม่คิดว่ามีกฎหมายแบบนี้ เช่น การแต่งกายชุดนักศึกษาโดยไม่มีสถานะนักศึกษา พวกเขาไม่ได้มีลักษณะเป็นอาชญากร แต่อาจต้องรับโทษจำคุกและมีประวัติอาชญากรติดตัว ความผิดอาญาเหล่านี้เป็นตัวอย่างของการใช้โทษทางอาญามากและรุนแรงเกินไป ไม่ได้สัดส่วนกับความหนักเบาของความผิด หรือที่เรียกว่า ‘โทษอาญาเฟ้อ’ ซึ่งเป็นปัญหาที่ตระหนักกันดีในหมู่ผู้ทำงานและผู้กำหนดนโยบายในระบบยุติธรรมอาญาไทย และที่ผ่านมาได้มีการเสนอมาตรการต่างๆ ที่ช่วยลดการใช้โทษอาญาเฟ้อ แต่ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จ บางมาตรการมีการเสนอและถกเถียงกันมายาวนานกว่า 40 ปี แต่ยังไม่นำไปสู่การปฏิบัติจริง บางมาตรการเริ่มมีการใช้จริงแล้วแต่ก็มีข้อจำกัดพอสมควร ทำให้ไม่สามารถลดปัญหาอาญาเฟ้อได้ โทษอาญาเฟ้อมีสภาพและแนวโน้มเป็นอย่างไร? ทำไมการปฏิรูปลดโทษอาญาเฟ้อถึงยังไม่ค่อยมีความคืบหน้า? สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ร่วมกับ 101 PUB – 101 Public Policy Think Tank สำรวจสภาพปัญหาโทษอาญาเฟ้อ และวิเคราะห์หาเหตุปัจจัยที่ขัดขวางการลดโทษอาญาเฟ้อเพื่อตอบคำถามเหล่านี้ ปัญหาโทษอาญาเฟ้อรุนแรงมากขึ้นสวนกระแสการปฏิรูปลดโทษอาญา ปัญหาโทษอาญาเฟ้อ หมายถึงการใช้โทษอาญามากเกินไป ไม่ได้สัดส่วนกับความหนักเบาของความผิด ทำให้เกิดผลร้ายกับผู้ทำผิดมากเกินไป ซึ่งเป็นปัญหาของระบบยุติธรรมไทยที่รับรู้กันมานาน โดยใน พ.ศ. 2540 มีกฎหมายที่มีโทษอาญาบังคับใช้อยู่ 302 ฉบับ และตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมาได้เกิดกระแสการปฏิรูประบบยุติธรรมอาญาที่พยายามจะลดปัญหาโทษอาญาเฟ้อ แต่ในช่วง […]

ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์
27 Sep 2023กฎหมายออกกี่โมง?: ชำแหละความล่าช้าในการออกกฎหมาย และข้อเสนออัปสปีดสภาไทย
101 PUB ชวนสำรวจกระบวนการในการออกกฎหมายของไทยว่าใช้เวลาประมาณเท่าใด เราจะสามารถปรับปรุงแก้ไขให้กระบวนการในสภาผู้แทนราษฎรรวดเร็วขึ้นได้อย่างไร
ธันยธรณ์ โรจน์มหามงคล
15 Sep 2023ลดค่าไฟ นโยบายช่วยคนรวย?
101 PUB ชวนสำรวจนโยบายลดค่าไฟของนายกฯ เศรษฐา ว่าใครคือผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุดจากนโยบาย พร้อมทั้งแนวทางยกระดับการลดค่าไฟให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

กษิดิ์เดช คำพุช
12 Sep 2023ออกแบบ ‘สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)’ อย่างไรให้นำไปสู่รัฐธรรมนูญของประชาชน
101 PUB (101 Public Policy Think Tank) นำเสนอหลักการพื้นฐานในการออกแบบ สสร. ให้มีประสิทธิภาพและความชอบธรรม เพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญของประชาชน

เจณิตตา จันทวงษา
7 Sep 2023ฟ้องคดีแบบกลุ่ม: ความยุติธรรมที่ผู้บริโภคไม่อาจเอื้อมถึง
101 PUB ชวนสำรวจปัญหาในการเข้าถึงการฟ้องคดีแบบกลุ่มของผู้บริโภค และแนวทางการแก้ไขเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

พิชชากร เรืองเดชาวิวัฒน์
29 Aug 2023ถ้วนหน้า vs คัดกรอง: มุมมองทางการคลังต่อการจัดสรรเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
101 PUB ชวนคิดเรื่องการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบถ้วนหน้าและแบบคัดกรองผ่านมุมมองทางการคลัง แต่ละรูปแบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

ฉัตร คำแสง
18 Aug 2023การกดปราบผู้ลี้ภัยข้ามชาติ: ปัญหาและทางออกใต้เงาพันธมิตรเผด็จการอาเซียน
‘การกดปราบข้ามชาติ’ ปรากฏการณ์ไล่ล่าผู้ลี้ภัยการเมืองที่เกิดขึ้นทั่วโลกและสะท้อนถึงความร่วมมือระหว่างรัฐเผด็จการ โดยเฉพาะ ‘พันธมิตรเผด็จการอาเซียน’ ที่ร่วมมือคุกคามคนเห็นต่างในภูมิภาคตลอดมา 101 PUB ชวนทำความเข้าใจปรากฏการณ์ดังกล่าว พร้อมขบคิดถึงทางออกนโยบายที่รับมือกับการกดปราบและคุ้มครองผู้ลี้ภัย

เจณิตตา จันทวงษา
19 Jul 2023ตรวจระบบเลือกตั้ง: พรรคการเมืองได้ ส.ส. ตรงกับเสียงที่เราให้ไปแค่ไหน?
101 PUB ชวนคิดเรื่อง ‘ระบบเลือกตั้ง’ สำรวจ ‘ความไม่สอดคล้อง’ ระหว่างจำนวนที่นั่ง ส.ส. กับคะแนนเสียงของพรรคการเมืองภายใต้ระบบปัจจุบัน ผ่านผลเลือกตั้งครั้งล่าสุด

วรดร เลิศรัตน์
11 Jul 2023เข้าใจตัวตน-ความคิดของ ‘เด็กสมัยนี้’: คุณค่าและทัศนคติเยาวชนไทยจากผลสำรวจ คิด for คิดส์
คิด for คิดส์ ชวนทำความเข้าใจ ‘คุณค่า-ทัศนคติ’ ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองของ ‘เยาวชนไทย’ จากผลสำรวจเยาวชนสองหมื่นคนทั่วประเทศ หาคำตอบว่าพวกเขาคิดฝันอะไร เป็นใคร และมีพฤติกรรมอย่างไร

วรดร เลิศรัตน์
22 Jun 2023บ้านไม่ใช่เซฟโซนสำหรับทุกคน: เข้าใจปัญหาพื้นที่ปลอดภัยผ่านแบบสำรวจเยาวชน 2022
คิด for คิดส์ ชวนสำรวจปัญหาพื้นที่ปลอดภัยภายในบ้านชองเยาวชน โดยวิเคราะห์จากผลสำรวจเยาวชน 2022

กษิดิ์เดช คำพุช
6 Jun 2023ในโลกประชาธิปไตย… ‘ประธานสภา’ มาจากไหน?
101 PUB ชวนสำรวจว่า ‘ประธานสภาผู้แทนราษฎร’ ในต่างประเทศมีที่มาจากพรรคการเมืองใด อายุเท่าไร และมีประสบการณ์งานสภามากน้อยเพียงใด เพื่อเข้าใจและร่วมขบคิดว่า ‘ประธานสภาคนต่อไปของไทยควรมาจากไหน?’

วรดร เลิศรัตน์
30 May 2023ไปให้ไกลกว่า ‘นิรโทษกรรม’ พาสังคมไทยเปลี่ยนผ่านสู่ความยุติธรรม
แค่ ‘ก้าวข้ามความขัดแย้ง’ หรือ ‘นิรโทษกรรม’ ยังไม่พอ 101 PUB ชวนทำความเข้าใจ ‘ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน’ พร้อมข้อเสนอสู่ทางออกจากวงจรความรุนแรงในการเมืองไทยที่ไม่เพิกเฉยต่อความยุติธรรม

เจณิตตา จันทวงษา
5 May 20234 ปีสภาตามสั่ง?: กระบวนการนิติบัญญัติไทยในรัฐบาลประยุทธ์ 2
101 PUB ร่วมกับ WeVis ชวนดูการทำงานของกระบวนการนิติบัญญัติของสภาประยุทธ์ในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่การเสนอจนถึงการประกาศกฎหมายบังคับใช้จริง

พิชชากร เรืองเดชาวิวัฒน์
24 Apr 2023ตกงานต้องไม่ตกอับ: ยกระดับ ‘เงินประกันการว่างงาน’ สร้างชีวิตมั่นคงในโลกผันผวน
101 PUB ชวนสำรวจแนวคิดและความสำคัญของ ‘เงินประกันการว่างงาน’ ในฐานะหลักประกันคุณภาพชีวิต – มิใช่เพียงสำหรับผู้ว่างงาน แต่รวมถึงเราทุกคนในระบบเศรษฐกิจเดียวกัน – ก่อนชวนวิเคราะห์ปัญหาของระบบประกันของไทย พร้อมเสนอแนวทางยกระดับหลักประกันนี้

วรดร เลิศรัตน์
10 Apr 2023เช็กสุขภาพประเทศไทย ผ่าน 12 ภาพ ผลงาน 101 PUB
ชวนเช็กสุขภาพประเทศไทยผ่าน 12 ภาพผลงาน 101 PUB ที่ชี้ปัญหาใหญ่ประเทศ ทั้งมิติการบริหารจัดการ คุณค่า และความสัมพันธ์เชิงอำนาจ

ฉัตร คำแสง
29 Mar 2023‘บ้านโอบอุ้ม’ ทางเลือกใหม่ที่พักอาศัยให้คนไทยสูงวัยในชุมชน
ชวนสำรวจทางเลือกที่พักอาศัยของสังคมสูงวัยในไทยและต่างประเทศ พร้อมเสนอทางเลือกในการสร้าง ‘บ้าน’ ให้ผู้สูงอายุเข้าถึงได้อย่างทั่วถึง และใช้ชีวิตบั้นปลายได้อย่างเต็มศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
