fbpx
บล็อกเอ๋ยบล็อกเชน จงมาจองเวรกับคอร์รัปชัน!

บล็อกเอ๋ยบล็อกเชน จงมาจองเวรกับคอร์รัปชัน!

[et_pb_section admin_label=”section”][et_pb_row admin_label=”row”][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text admin_label=”Text” background_layout=”light” text_orientation=”left” use_border_color=”off” border_color=”#ffffff” border_style=”solid”]

เทคโนโลยีแห่งศตวรรษซึ่งกำลังเป็นที่พูดถึงและกำลังจะเข้ามาเปลี่ยนโลกในตอนนี้คงหนีไม่พ้น “บล็อกเชน” (Blockchain)

 

ดอน แท็ปสก๊อตต์ (Don Tapscott) กูรูด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ผู้ร่วมเขียนหนังสือ Blockchain Revolution ได้กล่าวไว้ว่าบล็อกเชนคือเทคโนโลยีที่จะปฏิวัติโลก มันเป็นเครื่องมือสร้างที่จะสร้างความมั่งคั่งใหม่ๆ ไม่ต่างจากอินเทอร์เน็ตยุคเดิมที่สร้างโอกาสทางธุรกิจมากมายในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา แต่ที่สำคัญก็คือโอกาสแห่งความมั่งคั่งนี้สามารถกระจายไปยังทุกคนอย่างเท่าเทียมได้กว่าเดิม

วินาทีนี้ทุกสายตาจึงจับจ้องไปที่บล็อกเชน ใครกันจะอยากพลาดโอกาสรวย ด้วยความไม่อยากตกขบวนเสียโอกาสทางธุรกิจ องค์กรธุรกิจและการเงินทั่วโลกต่างหาความรู้และหาทางทดลองพัฒนานำเทคโนโลยีนี้มาใช้ก่อนใคร แค่ในปี 2016 ที่ผ่านมา ก็มีบล็อกเชนสตาร์ทอัปเกิดขึ้นใหม่นับร้อยๆ เจ้า

แต่ไม่ใช่แค่โอกาสทางธุรกิจเท่านั้น ศักยภาพของบล็อกเชนกำลังเป็นที่จับตามองในฐานะเทคโนโลยีที่จะปฏิวัติสังคมในหลายมิติ รวมทั้งการแก้ปัญหาคอร์รัปชันด้วย

 

บล็อกเชน ความหวังในการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีการพูดถึงการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่แก้ปัญหาคอร์รัปชัน ไม่ว่าจะเป็น การใช้บิ๊กดาต้า (Big Data) วิเคราะห์ความโปร่งใสของกระบวนการธุรกรรม การ ‘ขุดข้อมูล’ (Data Mining) เพื่อตรวจจับการทำผิดในกระบวนการของรัฐ  การใช้แอปพลิเคชั่นมือถือ สร้างระบบการตรวจสอบและชี้เป้าการคอร์รัปชัน และการใช้เครื่องมือทางดิจิทัลในการสืบสวนการกระทำผิด (Forensic Tools)

บล็อกเชนในฐานะเทคโนโลยีใหม่ที่อยู่บนฐานความไว้วางใจและความโปร่งใส ก็ถูกมองเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาคอร์รัปชันได้

เจน สมิธ (Jane Smith) ที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการ บริษัท Ernst & Young เขียนบทความไว้น่าสนใจในเว็บไซต์ของ Transparency International สรุปแนวทางที่นวัตกรรมบล็อกเชนจะเข้ามามีส่วนในการแก้ปัญหาคอร์รัปชันไว้ดังนี้

อย่างแรกคือบล็อกเชนจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหา ‘การโกง’ ในกระบวนการให้เงินช่วยเหลือต่างๆ ได้ ซึ่งในเรื่องนี้ บัน คีมุน เลขาธิการสหประชาชาติเคยประมาณไว้ว่า พวกเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศที่ส่งไปช่วยเหลือผู้คนที่ตกทุกข์ได้ยากในโครงการต่างๆ นั้น มักจะสูญหายไปกว่า 30% ซึ่งก็มาจากจากการคอร์รัปชันของเหล่า ‘ตัวกลาง’ นี่แหละ

แต่ถ้านำบล็อกเชนเข้ามาใช้ ก็จะตัดตัวกลาง เช่นผู้มีอำนาจในท้องถิ่น คาดว่าจะทำให้เงินช่วยเหลือลงไปถึงผู้ที่มีความต้องการเต็มเม็ดเต็มหน่วยได้มากขึ้น แม้จะยังอยู่ในระยะทดลอง แต่ก็ตัวอย่างรูปธรรมให้เห็นแล้วหลายแห่ง

ตัวอย่างหนึ่งก็คือบริษัทชื่อ Aid: Tech ที่พัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชนในการแก้ปัญหาทางสังคมให้กับหน่วยงานภาครัฐ เอ็นจีโอ และองค์กรการกุศลต่างๆ บริษัทนี้ทำงานร่วมกับข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) โดยได้พัฒนาระบบการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนขึ้น

วิธีทำงานของ Aid: Tech ก็คือแต่เดิม UNHCR จะใช้ระบบการให้เงินช่วยเหลือผู้ลี้ภัยโดยใช้คูปองกระดาษแจกแก่ผู้ลี้ภัยให้นำมาแลกสินค้าจำเป็นจากร้านค้าที่ได้รับคัดเลือกไว้ แต่ปัญหาที่พบก็คือมีการโกง เช่นปลอมคูปอง หรือมีการฮั้วราคาและจำนวนคูปองระหว่างร้านค้ากับหน่วยงานที่แจกจ่ายคูปอง

เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ UNHCR จึงเปลี่ยนมาทดลองใช้คูปองแบบอิเล็กทรอนิกส์แทนกระดาษ โดย Aid:Tech เข้ามาช่วยพัฒนาระบบนี้โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ด้วยการใช้บัตรคูปองอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่เป็นทั้งบัตรประจำตัวที่ระบุตัวตนผู้ลี้ภัยได้และเป็นบัตรเดบิตชั่วคราวสำหรับซื้อสินค้าได้เลย ทำให้สามารถควบคุมและตรวจสอบได้ว่า เงินถึงตัวผู้ลี้ภัยจริง คนได้รับเงินจริง จึงป้องกันปัญหาเงินไปไม่ถึงปลายทางได้

บัตรคูปองนี้ต้นทุนไม่แพง ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน ใช้งานคู่กับมือถือได้ด้วยการแสกน QR Code ทำให้เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ที่ไม่เจริญมากนัก หรือใช้ได้แม้ในยามไม่มีกระแสไฟฟ้า AID:Tech ได้ทดลองใช้บัตรคูปองนี้จริงแล้วในปี 2015 ในเลบานอนกับกลุ่มผู้ลี้ภัยชาวซีเรียกว่า 500 คน เป็นเวลา 6 เดือน พบว่าบัตรได้ถูกใช้งานตามเป้าหมาย และไม่พบปัญหาการโกงเกิดขึ้นเลย จากความสำเร็จนี้ Aid:Tech วางแผนจะดำเนินโครงการต่อในฝรั่งเศส เซอร์เบีย ปากีสถาน และเฮติ ต่อไป

คูปองแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแก้ปัญหาการโกงโดยบริษัท AID Tech

 

อีกเรื่องหนึ่ง บล็อกเชนจะช่วยตรวจสอบเงินบริจาคได้ ว่าถูกนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เช่น เงินบริจาคเพื่อซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ แถมยังช่วยดูได้ด้วยว่ามีเงินส่วนไหนตกหล่นหายไปในระบบหรือเปล่า และในอนาคตบล็อกเชนอาจเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริจาคเงินให้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

Charities Aid Foundation ได้ออกรายงานเรื่องการบริจาคกับการใช้ระบบบล็อกเชนมาเมื่อปี 2016 ที่ผ่านมา ตั้งข้อสังเกตว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนจะช่วยให้การบริจาคเงินเพื่อการกุศลมีความโปร่งใสและน่าเชื่อถือมากขึ้น ผู้บริจาคและสาธารณะสามารถติดตามได้ว่าเงินที่บริจาคไปนั้นถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร และจะช่วยลดต้นทุนและเวลาในการบริจาค รวมถึงต้นทุนในการตรวจสอบลงได้อย่างมาก

แนวทางสำคัญอีกแนวทางหนึ่ง คือช่วยแก้ปัญหาการโกงคะแนนโหวตได้ จากที่เราเคยโหวตด้วยกระดาษนั้น ทำให้มีช่องว่างมากมายที่จะทำให้เกิดการโกง การใช้บล็อกเชนกับระบบการโหวตลงคะแนนอาจสามารถช่วยลดโอกาสในการโกงลง และทำให้การเลือกตั้งเป็นธรรมมากขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนับคะแนน เพราะไม่สามารถมีใครโกงคะแนนเลือกตั้งได้โดยไม่ทิ้งร่องรอยใดๆ ไว้ภายใต้ระบบบล็อกเชน

นอกจากนี้ยังจะช่วยทำให้การเลือกตั้งสะดวกขึ้นและเข้าถึงคนได้มากขึ้นส่งเสริมกระบวนการประชาธิปไตย ในแง่ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เทคโนโลยีบล็อกเชนสามารถออกแบบการเข้ารหัสเพื่อปกปิดตัวตนรักษาความเป็นส่วนตัวและข้อมูลการมีส่วนร่วมทางการเมืองได้อีกด้วย

ตัวอย่างการนำบล็อกเชนมาใช้ในการโหวตมีแล้วในบางประเทศ เช่น เอสโตเนีย ทดลองใช้ระบบ e-Voting แบบบล็อกเชน ด้วยการพัฒนาของบริษัท Nasdaq สำหรับประชาชนที่เป็นผู้ถือหุ้นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้สามารถโหวตออนไลน์ในการประชุมผู้ถือหุ้นได้ เป็นต้น

ถึงบล็อกเชนจะยังอยู่ในระยะทดลอง แต่บล็อกเชนก็เป็นความหวังให้เรา ที่ดีก็คือ ตอนนี้ผู้คนกำลังตื่นตัวเรื่องบล็อกเชนกันขนานใหญ่ มีการเร่งหาความรู้และพัฒนาระบบบล็อกเชนให้เกิดประโยชน์ได้จริง ในอนาคตอันใกล้ บล็อกเชนจึงน่าจะกลายเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่จะทำให้เกิดความ ‘โปร่งใส’ ได้มากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

บล็อกเอ๋ยบล็อกเชน-จงมารีบจองเวรกับนักคอร์รัปชั่นแต่โดยเร็วเถิดหนา!

 

[/et_pb_text][et_pb_text admin_label=”box” background_layout=”light” text_orientation=”left” background_color=”#eaeaea” use_border_color=”off” border_color=”#969696″ border_style=”solid” custom_margin=”|10px||10px” custom_padding=”10px|10px|10px|10px”]

รู้จักบล็อกเชน

สำหรับคนที่ยังงงว่าบล็อกเชนคืออะไรกันแน่

บล็อกเชนคือระบบการจัดการฐานข้อมูล ที่ทำให้ผู้คนสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะการโอนเงิน การซื้อขายสินทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน สินเชื่อ การทำสัญญาหรือข้อตกลง หรือแม้กระทั่งการยืนยันตัวตนบุคคลและเอกสาร ทำได้ง่ายสะดวกรวดเร็วขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง เช่น ธนาคาร นายหน้า หรือหน่วยงานภาครัฐ อีกต่อไป

หัวใจของระบบการแลกเปลี่ยนไม่ว่าแบบใดก็ตามคือ “ความไว้วางใจ” (Trust) ใครล่ะจะยอมโอนเงินผ่านระบบอะไรก็ไม่รู้ที่ไม่มีอะไรรับประกันได้ว่าเงินเราจะไปถึงที่หมายได้ถูกต้องจริง ปัจจุบันเรามีตัวกลางต่างๆ ที่มีระบบที่น่าเชื่อถือคอยสร้างความไว้วางใจนี้ให้เกิดขึ้นในการทำธุรกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกออนไลน์ แต่ระบบเหล่านี้ช้าและมีขั้นตอนมากมาย

ในขณะที่บล็อกเชนสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นด้วยการกระจายการตรวจสอบและจัดเก็บข้อมูล

คุณสฤณี อาชวานันทกุล ได้เคยอธิบาย ในบทความ “รู้จักบล็อกเชน (Blockchain) เทคโนโลยีปฏิวัติสังคม” ไว้ว่า บล็อกเชนคือระบบจัดการฐานข้อมูลที่ “บัญชีการทำธุรกรรม” (Ledger) จะถูกกระจายไปเก็บไว้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์เซิฟเวอร์ส่วนบุคคลจำนวนมหาศาล ที่ใครก็ตามในเครือข่ายสามารถเห็นได้ ในเวลาทันทีทันใดที่ธุรกรรมนั้นเกิดขึ้น

โดยโหนดต่างๆ ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้ จะเก็บบัญชีธุรกรรมที่เกิดขึ้นจะถูกเก็บในลักษณะ “บล็อก” (Block) และเชื่อมโยงกันตั้งแต่ธุรกรรมแรกที่ถือกำเนิดขึ้นมาเป็นห่วงโซหรือที่เรียกว่า “เชน” (Chain) ซึ่งแต่ละบล็อกในห่วงโซ่จะถูกปิดผนึกอีกทีด้วยการใช้สมการคณิตศาสตร์ชั้นสูงเพื่อความปลอดภัย เหมือนกับการปิดผนึกด้วยครั่งประทับตราเฉพาะบนซองจดหมาย ไว้ยืนยันว่าธุรกรรมนั้นเกิดขึ้นจริงและยืนยันธุรกรรมหลังจากนั้นว่าถูกต้อง

เป็นแบบนี้แล้วธุรกรรมต่างๆ จึงสามารถเกิดขึ้นได้รวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือ โปร่งใส จากระบบตัวกลางแบบเดิมๆ ที่ต้องส่งสำเนาข้อมูลต่างๆ ระหว่างกันเพื่อสร้างความไว้วางใจ คุณดอนถึงกับกล่าวไว้ว่า ในโลกแห่งการทำธุรกรรม บล็อกเชนคืออินเทอร์เน็ตแห่งมูลค่า (Internet of value) ของธุรกรรมจริงๆ  ที่กำลังมาแทนที่ยุคอินเทอร์เน็ตแห่งข้อมูล (Internet of information)

ด้วยระบบนี้การปลอมแปลงธุรกรรมในแต่ละบล็อกจึงทำได้ยาก เพราะแค่เปลี่ยนตัวอักษรเดียวก็จะรู้ได้ทันทีกระทบไปทั้งห่วงโซ่ แถมด้วยเครือข่ายของเซิฟเวอร์ที่ใหญ่โตมโหฬารที่ช่วยกันเก็บและประมวลผล ยังเป็นไปได้ยากมากที่แฮคเกอร์จะแฮคบล็อกเชนเข้าไปได้

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Social Issues

9 Oct 2023

เด็กจุฬาฯ รวยกว่าคนทั้งประเทศจริงไหม?

ร่วมหาคำตอบจากคำพูดที่ว่า “เด็กจุฬาฯ เป็นเด็กบ้านรวย” ผ่านแบบสำรวจฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และความเหลื่อมล้ำ ในนิสิตจุฬาฯ ปี 1 ปีการศึกษา 2566

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

9 Oct 2023

Social Issues

5 Jan 2023

คู่มือ ‘ขายวิญญาณ’ เพื่อตำแหน่งวิชาการในมหาวิทยาลัย

สมชาย ปรีชาศิลปกุล เขียนถึง 4 ประเด็นที่พึงตระหนักของผู้ขอตำแหน่งวิชาการ จากประสบการณ์มากกว่าทศวรรษในกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการในสถาบันการศึกษา

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

5 Jan 2023

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save