fbpx

ชวนเที่ยวงานออกแบบที่สวีเดนทางใต้

ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม แดดเริ่มออกมาสม่ำเสมอในบริเวณเลียบขั้วโลก อากาศที่อุ่นขึ้นในเวลากลางวันทำให้ผู้คนออกมาสัมผัสไอแดดที่รอกันมานานหลายเดือน

และก็เป็นช่วงเวลาเดียวกันที่เหมาะสม สำหรับหน่วยงานของภาครัฐในการจัดงานนิทรรศการหรือการรวมตัวสาธารณะต่างๆ ไปตลอดช่วงฤดูร้อน – ดังนั้น ถ้าจะมีเทศกาลดนตรีหรือเทศกาลอาหารนานาชาติใดๆ ช่วงเวลานี้คือช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด และจะเห็นมีตารางแสดงไล่เรียงกันไปตลอดหลายเดือน

งานที่เปิดแก่สาธารณะ

ไหนๆ ก็ไหนๆ เดือนนี้ผมจึงชวนผู้อ่านไปเที่ยวงาน Southern Sweden Design Days ซึ่งเป็นการรวมตัวของผู้คนในอุตสาหกรรมการออกแบบในสวีเดนทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่น เพื่อแสดงให้เห็นสถานะของการออกแบบในทางตอนใต้ของประเทศ จัดเป็นประจำทุกปีที่เมืองมัลเม่อ (Malmö)

งานนี้เป็นงานระดับนานาชาติ โดยกิจกรรมต่างๆ จัดกระจายไปทั่วพื้นที่ต่างๆ ของเมือง ซึ่งในด้านหนึ่งก็เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของเมืองไปด้วย ดังนั้นผู้อ่านท่านใดแวะไปเที่ยวโคเปนเฮเกน ก็ขอเชิญชวนข้ามไปเที่ยวมัลเม่อด้วยหากมีเวลานะครับ

สำหรับงานนี้ ผู้จัดเป็นการร่วมกันของทั้งทางหน่วยงานปกครองท้องถิ่น คือมณฑลสกัวเน (Skåne) ร่วมกับเอกชนทั้งใหญ่และเล็กหลายเจ้า โดยปีนี้เป็นปีที่สามแล้ว ทั้งยังน่าประทับใจเเมื่อพิจารณาว่างานเช่นนี้สามารถจัดได้ในช่วงวิกฤตโควิดและยังจัดต่อเนื่องมาถึงปีนี้

จุดมุ่งหมายของการจัดงาน

ประเด็นเรื่อง Gender ในการออกแบบเฟอร์นิเจอร์

งาน Southern Sweden Design Days นี้เป็นงานประจำปีที่มุ่งเน้นและสร้างองค์ความรู้เรื่องดีไซน์ โดยเน้นอยู่ที่ ความยั่งยืน การร่วมมือ การพัฒนา และ การคิดค้น

โดยมีกิจกรรมหลากหลายในงาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดสัมมนา ประชุมเชิงปฏิบัติการ นิทรรศการ และการพบปะสร้างเครือข่าย ทั้งคนในวงการเอง รวมไปถึงบุคคลทั่วไปให้เข้าร่วม เข้าชม โดยงานมีการจัดทั้งหมดสี่วันติด ท่ามกลางแสงแดดอันอบอุ่น

นำชมงาน

The Circular Kitchen

หลังจากดูตารางการจัดงาน ผมถือโอกาสนำผู้อ่านชมบางส่วนเล็กๆน้อยๆ ถือเป็นน้ำจิ้มครับ

หนึ่งในการจัดแสดงที่ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมคือ The Circular Kitchen ซึ่งคือการออกแบบครัวที่มีหัวใจอยู่ที่การสามารถใช้ทุกสิ่งทุกอย่างในครัวได้ ผสานเข้ากับการออกแบบพื้นที่อย่างกระทัดรัด – สมกับชีวิตในเมืองของศตวรรษที่ 21

ผมเห็นการเพาะเห็ด การเก็บน้ำทิ้งเพื่อมารดน้ำต้นไม้ การหมักเศษอาหารและบดเศษธัญพืชเพื่อใช่เป็นปุ๋ย ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นความมุ่งหมายของการใช้ ‘ของเหลือ’ ทุกอย่างจากครัวให้เป็นประโยชน์สูงสุด ที่น่าสนใจยิ่งคือ ผู้จัดกล่าวว่า การออกแบบเช่นนี้วางอยู่บนฐานความคิดแบบเทเลอริสซึม (Taylorism)

อีกประเด็นที่สำคัญที่มักจะเด่นออกมาเสมอ ในการจัดงานทางองค์ความรู้ในสวีเดนและสแกนดิเนเวียโดยรวม นั้นคือเรื่องเพศและความเท่าเทียมทางเพศ

 ประเด็นเรื่อง Gender ในการออกแบบของตบแต่ง

ผมเดินชมงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ประเด็นนี้เป็นแรงบันดาลใจ ซึ่งก็จะมุ่งไปสู่การตีความของนักออกแบบ ในการหารูปแบบใหม่ๆ ด้วย นับว่าคึกคักดีครับ

และแน่นอนว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมและพลังงานทางเลือกเป็นอีกประเด็นหลักของงานดีไซน์สแกนดิเนเวีย ก็ยังจะหนีไม่พ้นการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ของเครื่องใช้ภายในบ้านเรือนที่ปรับให้เข้ากับสภาพอากาศด้วย ประเด็นนี้คงจะอยู่ในใจกลางของอุตสาหกรรมดีไซน์ต่อไป

ผมอยากทิ้งท้ายว่า การที่งานเช่นนี้สามารถจัดขึ้นและลุล่วงไปตามความประสงค์ได้ในแง่หนึ่งก็เพราะการสนับสนุนอย่างแข็งขันของเทศบาล และองค์กรการปกครองท้องถิ่น จึงเป็นผลมาจากการกระจายอำนาจทำให้งานนานาชาติต่างๆ ไม่กระจุกตัวอยู่แต่เมืองหลวงเท่านั้น

ข้อวิพากษ์วิจารณ์

เครื่องครัวสไตล์สแกนดิเนเวีย

อันที่จริงแล้ว ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเออออห่อหมกไปกับการจัดงานนานาชาติเช่นนี้ ในหะแรก ดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายชนะหมด กล่าวคือ ต่างได้สิ่งที่ตนเองต้องการกันทั้งหมด

แต่แท้จริงแล้วนั้นอาจจะไม่ใช่ เพราะการจัดงานในลักษณะเช่นนี้ เป็นโอกาสของนักการเมืองและธุรกิจใหญ่โตทั้งหลาย ที่จะเข้ามายึดเอาหัวหาดชีวิตทางวัฒนธรรมของบริเวณหนึ่งๆ เมืองหนึ่งๆ ภูมิภาคหนึ่งๆ

จากที่เมืองหนึ่งๆ เคยมีวัฒนธรรมที่เติบโตจากท้องถนน จากศิลปิน จากนักกราฟิตี้ ศิลปินยึดแนวทางอนาธิปไตย ฯลฯ  ในที่สุดก็จะถูกตีกรอบให้กลายเป็นประเด็นที่นักการเมืองและนายทุนต้องการ เพราะมันขายได้ ทำกำไรได้ หาเสียงทางการเมืองได้

ว่าก็ว่าเถิด ความยั่งยืนและการรักษาสิ่งแวดล้อมที่พ่นออกมาจากปากนักการเมืองกับนายทุน ไม่เหมือนกันกับที่ชาวเมืองและชาวบ้านร้านช่องเขากระทำกันเสมอไป หลายครั้งก็ไม่เคยถูกเรียกว่า ‘ความยั่งยืน’ หรือ ‘เขียว’ แต่อย่างใด


อ้างอิง

  • https://southernswedendesigndays.com/en
  • https://www.sydsvenskan.se/2023-05-27/nej-gor-inte-malmo-till-europeisk-kulturhuvudstad

MOST READ

World

1 Oct 2018

แหวกม่านวัฒนธรรม ส่องสถานภาพสตรีในสังคมอินเดีย

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก สำรวจที่มาที่ไปของ ‘สังคมชายเป็นใหญ่’ ในอินเดีย ที่ได้รับอิทธิพลสำคัญมาจากมหากาพย์อันเลื่องชื่อ พร้อมฉายภาพปัจจุบันที่ภาวะดังกล่าวเริ่มสั่นคลอน โดยมีหมุดหมายสำคัญจากการที่ อินทิรา คานธี ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก

1 Oct 2018

World

16 Oct 2023

ฉากทัศน์ต่อไปของอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่สั่นสะเทือนระเบียบโลกใหม่: ศราวุฒิ อารีย์

7 ตุลาคม กลุ่มฮามาสเปิดฉากขีปนาวุธกว่า 5,000 ลูกใส่อิสราเอล จุดชนวนความขัดแย้งซึ่งเดิมทีก็ไม่เคยดับหายไปอยู่แล้วให้ปะทุกว่าที่เคย จนอาจนับได้ว่านี่เป็นการต่อสู้ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่รุนแรงที่สุดในรอบทศวรรษ

จนถึงนาทีนี้ การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ยังดำเนินต่อไปโดยปราศจากทีท่าของความสงบหรือยุติลง 101 สนทนากับ ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงเงื่อนไขและตัวแปรของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น, ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและรัฐอาหรับ, อนาคตของปาเลสไตน์ ตลอดจนระเบียบโลกใหม่ที่ก่อตัวขึ้นมาหลังยุคสงครามเย็น

พิมพ์ชนก พุกสุข

16 Oct 2023

World

9 Sep 2022

46 ปีแห่งการจากไปของเหมาเจ๋อตง: ทำไมเหมาเจ๋อตง(โหด)ร้ายแค่ไหน คนจีนก็ยังรัก

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์ เขียนถึงการสร้าง ‘เหมาเจ๋อตง’ ให้เป็นวีรบุรุษของจีนมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าเขาจะอยู่เบื้องหลังการทำร้ายผู้คนจำนวนมหาศาลในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์

9 Sep 2022

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save