fbpx

ก่อนสิ้นรัชสมัย

เมื่อ 10 ปีก่อน ในช่วงเวลาที่สหราชอาณาจักรเฉลิมฉลองพัชราภิเษกสมโภช Diamond Jubilee ในวโรกาสสมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงรับบรมราชาภิเษกมาครบ 60 ปี Alastair Stewart (2012) ตั้งข้อสังเกตในบทความของเขาไว้ดังนี้

1

การเปลี่ยนแปลงในระยะ 60 ปีที่ผ่านมา ส่วนที่น่าจะประจักษ์ชัดที่สุดในสายพระเนตรของสมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เรื่องหนึ่งน่าจะได้แก่ การเสื่อมถอยลงของอำนาจและบทบาทในเวทีโลกของสหราชอาณาจักร จากการเป็นมหาอำนาจเจ้าจักรวรรดินิยม มาเป็นประเทศที่เหลือเพียงสถานะมหาอำนาจแต่เฉพาะในคณะมนตรีความมั่นคงในสหประชาชาติ และบางเวทีที่ยังให้เกียรติรับรองอังกฤษ

2

ถ้าเชื่อตาม Hans J. Morgenthau เมื่อมาถึงศตวรรษที่ 20 และหลังจากโลกผ่านสงครามใหญ่มาแล้ว 2 ครั้ง สถานะและเกียรติภูมิของประเทศมิใช่ปัจจัยที่จะมีใครในการเมืองระหว่างประเทศเห็นว่ามีพลังส่งผลอะไรได้อย่างมีนัยสำคัญอีกต่อไปแล้ว ต่างจากการเมืองระหว่างประเทศในสมัยที่กษัตริย์และขุนนาง-พระกับชนชั้นสูงเป็นคนดำเนินวิเทโศบาย แต่ Stewart เห็นต่างออกไปจากมอร์เกนธาวว่า ข้อเสนอของมอร์เกนธาวในเรื่องนี้ ยังต้องพิจารณาเป็นกรณีไป และในกรณีของสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพที่มีสมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นองค์พระประมุข ไม่อาจตัดความสำคัญของพลังทางวัฒนธรรมที่มีอำนาจจับจิตใจดลของสถาบันพระมหากษัตริย์ผ่านการปฏิบัติหน้าที่ของสมเด็จพระบรมราชินีนาถได้

3

Stewart เทียบให้เห็นว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้นำรัฐบาลอังกฤษพยายามหาทางยื้อการเป็นเจ้ามหาอำนาจและคงสถานะการเป็นเจ้าจักรวรรดินิยมโดยใช้กำลังความรุนแรงเป็นเครื่องมือ เช่น ในกรณี Mau Mau และกรณี Suez แต่ลำพังการใช้แต่กำลังปราบปรามหรือการบีบบังคับด้วยกำลังแบบนั้นไม่มีทางประสบผลสำเร็จกับคนที่ต้องการปกครองตัวเองและปฏิเสธความชอบธรรมของอำนาจจักรวรรดินิยม

Stewart เทียบวิธีการอีกแบบหนึ่งที่มีสะสมอยู่ในคลังวิเทโศบายของรัฐบาลอังกฤษนั่นคือการเลือกดำเนินนโยบายตามแนวทางที่ David Lloyd George ได้ริเริ่มไว้ ด้วยการเปิดทางให้แต่ละประเทศในเครือจักรภพ แยกลงนามรับรองสนธิสัญญาแวร์ซายส์ อันเป็นการแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ว่าแต่ละประเทศเขตแดนของประเทศในเครือจักรภพได้รับการรับรองว่าแต่ละแห่งต่างเป็นคนละส่วนและมีอัตลักษณ์เฉพาะของตัวเอง โดยหลักที่ Lloyd George เป็นคนเริ่มต้นไว้นี้ในเวลาต่อมาไม่นานจากนั้นก็ตามมาด้วย The Statute of Westminster ในปี 1931 ที่ให้การรับรองอัตตาณัติและสถานะที่เท่าเทียมกันแก่ประเทศในเครือจักรภพ สายสัมพันธ์เดียวที่ยึดโยงระหว่างประเทศในเครือจักรภพกับอำนาจที่ลอนดอนคือสายสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม “as represented by a shared commitment to the British Monarchy”

บททดสอบความรักสมัครใจของประเทศ dominions ในจักรวรรดิบริติชมาถึงเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 Stewart พบว่าแม้ประเทศในเครือจักรภพจะไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมายให้ต้องสนับสนุนจักรวรรดิในการทำสงครามก็จริง แต่ประเทศในเครือจักรภพทั้งหมด ยกเว้นก็แต่ Irish Free State (ที่เป็น dominion มาจนถึงปี 1949) ก็เลือกสนับสนุนการทำสงครามของรัฐบาลบริเตนใหญ่

4

Stewart ทบทวนทั้งหมดข้างต้นมาเพื่อที่จะเสนอว่า สมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จพระราชสมภพมาในสมัยที่การจัดการสถานะจักรวรรดิในสังคมระหว่างประเทศกำลังเปลี่ยนรูปไป และไม่มีทางกลับไปเป็นเหมือนสมัยสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิคตอเรีย ทั้งนี้ ก็เป็นไปตามกฎธรรมชาติของ Gibbon ที่เขาได้มาจากการศึกษาประวัติศาสตร์จักรวรรดิโรมันว่า :  “nothing is more averse to nature and reason than to hold in obedience remote countries and foreign nations, in opposition to their inclination and interest.”

ในการจัดการกับสถานะจักรวรรดิ ถ้าชาวบริติชยังปรารถนาจะคงความเข้าใจตัวเองที่สืบต่อกับอดีตความยิ่งใหญ่เอาไว้  -ซึ่งก็มีความต้องการเช่นนั้นอยู่จริง ๆ- ก็ต้องใช้วิธีอันแนบเนียนละเอียดอ่อนในการส่งพลังเกียรติภูมิไปจับจิตใจดลคนทั่วโลกผ่านสถาบันทางวัฒนธรรมและสายสัมพันธ์ทางจิตใจและความรู้สึก ซึ่งสำหรับบริเตนใหญ่ไม่มีอะไรจะทรงพลังดังกล่าวใหญ่ไปกว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ก็ทรงตระหนักถึงบทบาทความสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ของพระองค์ในด้านการต่างประเทศนี้อย่างดียิ่ง

Stewart สรุปบทความของเขาที่นำเสนอในวาระพัชราภิเษกสมโภชเมื่อ 10 ปีก่อนว่า

The supreme irony, but the great accomplishment of the Queen’s reign, is the maintaining of the British Monarchy as a transcendental institution operating concurrently with the UK’s foreign policy. The British Empire may have faded, but the means by which it evolved are still alive, as the Queen’s powerful reconciliation trip to the Republic of Ireland demonstrate.

ข้าพเจ้าได้ข้อสรุปจาก Stewart ว่านี่คือตัวอย่างการส่งพลังของอดีตมาเป็นแรงสนับสนุนให้แก่ปัจจุบัน เพื่อที่ปัจจุบันจะได้ข้อคิดว่า การดำเนินการไปสู่อนาคตให้สำเร็จอย่างดีตามที่วาดหวังตั้งใจไว้นั้น คนมีหน้าที่พึงทำและพึงครองบทบาทของตนอย่างไรตามสถานะที่ดำรงเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในองคาพยพใหญ่ ไม่ว่าจะเรียกและมีจินตนาการถึงองคาพยพนั้นว่าเป็น จักรวรรดิ จักรภพ สหราชอาณาจักร บริเตนใหญ่ หรือในที่สุดจินตภาพจะลดลงเหลือเพียง อังกฤษ ก็ตาม


อ้างอิง

Stewart, Alastair. (2012). 2012 demonstrates the triumph of Britain without empire. Think Scotland, August 17.

MOST READ

World

1 Oct 2018

แหวกม่านวัฒนธรรม ส่องสถานภาพสตรีในสังคมอินเดีย

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก สำรวจที่มาที่ไปของ ‘สังคมชายเป็นใหญ่’ ในอินเดีย ที่ได้รับอิทธิพลสำคัญมาจากมหากาพย์อันเลื่องชื่อ พร้อมฉายภาพปัจจุบันที่ภาวะดังกล่าวเริ่มสั่นคลอน โดยมีหมุดหมายสำคัญจากการที่ อินทิรา คานธี ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก

1 Oct 2018

World

16 Oct 2023

ฉากทัศน์ต่อไปของอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่สั่นสะเทือนระเบียบโลกใหม่: ศราวุฒิ อารีย์

7 ตุลาคม กลุ่มฮามาสเปิดฉากขีปนาวุธกว่า 5,000 ลูกใส่อิสราเอล จุดชนวนความขัดแย้งซึ่งเดิมทีก็ไม่เคยดับหายไปอยู่แล้วให้ปะทุกว่าที่เคย จนอาจนับได้ว่านี่เป็นการต่อสู้ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่รุนแรงที่สุดในรอบทศวรรษ

จนถึงนาทีนี้ การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ยังดำเนินต่อไปโดยปราศจากทีท่าของความสงบหรือยุติลง 101 สนทนากับ ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงเงื่อนไขและตัวแปรของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น, ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและรัฐอาหรับ, อนาคตของปาเลสไตน์ ตลอดจนระเบียบโลกใหม่ที่ก่อตัวขึ้นมาหลังยุคสงครามเย็น

พิมพ์ชนก พุกสุข

16 Oct 2023

World

9 Sep 2022

46 ปีแห่งการจากไปของเหมาเจ๋อตง: ทำไมเหมาเจ๋อตง(โหด)ร้ายแค่ไหน คนจีนก็ยังรัก

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์ เขียนถึงการสร้าง ‘เหมาเจ๋อตง’ ให้เป็นวีรบุรุษของจีนมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าเขาจะอยู่เบื้องหลังการทำร้ายผู้คนจำนวนมหาศาลในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์

9 Sep 2022

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save