fbpx

นอร์ดิกในยุคโรแมนติก

ในข้อถกเถียงของกลุ่มศึกษายุคสมัยโรแมนติก (ประมาณครึ่งแรกของศตวรรษที่ 19) ใจกลางของการถกเถียงคือ ด้านหนึ่ง เราจะอธิบายว่าปรากฏการณ์ทางภูมิปัญญาและศิลปะของสมัยดังกล่าวนั้นเป็นปรากฏการณ์ทั่วไปของยุโรปทั้งหมด หรือในอีกด้านหนึ่ง เราจำเป็นจะต้องเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของชาตินิยมในรัฐชาติแต่ละแห่งของยุโรปเอง

กล่าวคือ ระหว่างความเห็นที่ว่ายุคโรแมนติกนั้นเป็นเอกพจน์ ข้ามขอบเขตรัฐชาติไปได้ทั้งหมด กับความเห็นว่ายุคโรแมนติกเป็นพหูพจน์ แต่ละที่ก็มีโรแมนติกเป็นของตนเอง

มิพักต้องกล่าวว่า นักประวัติศาสตร์วัฒนธรรมชาวดัชต์อย่าง โยเอป เลียร์ส์เซ็น (Joep Leerssen) เสนอว่า ประวัติศาสตร์ของชาตินิยมนั้นเริ่มต้นที่ชาตินิยมโรแมนติก (Romantic nationalism) ก่อน ชาติจึงเป็น “การจัดประเภทหนึ่งของมนุษย์โดยธรรมชาติ กำหนดอัตลักษณ์ด้วยตัวของตัวเอง” ผ่าน​ “การแผ่ขยายและการทำให้ภาพลักษณ์รวมหมู่ ที่ได้มาจากการเปรียบเทียบกับชาติที่ต่างออกไปจากตน” ซึ่งคงจะเป็นข้อเสนอที่ถูกวิจารณ์อย่างถึงพริกถึงขิงแน่ๆ แต่คงไม่ใช่ประเด็นที่เราจะคุยกันในวันนี้

ยุคโรแมนติกในภูมิภาคเหนือไกล

ยุคสมัยที่อุดมไปด้วยสงครามการปฏิวัติและสงครามนโปเลียนเช่นยุคโรแมนติกนี้ เป็นดินแดนอันไกลโพ้นที่นักประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของนอร์ดิกเข้าไปศึกษากันอย่างคึกคักมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

มีการพยายามเชื่อมโยคยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงใหญ่ อย่างเช่น ยุคทองของเดนมาร์ก (Den danske guldalder) ถูกวิเคราะห์ว่าเป็นปรากฏการณ์เดียวกับยุคสมัยเสรีภาพของสวีเดน (Frihetstiden) ในแง่ที่ว่า ทั้งสองปรากฏการณ์ต่างเกิดการพิจารณาถึงยุคสมัยของตัวเองอย่างเข้มข้น ผ่านผลงานทางปัญญาทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นบทกวี ปรัชญา ศิลปะ ฯลฯ ซึ่งเป็นผลจากการสูญเสียสถานะการเป็นมหาอำนาจยุโรปของทั้งเดนมาร์กและสวีเดน ในกรณีหลังนี้คือการสิ้นสุดของยุคจักรวรรดิสวีเดนสองศตวรรษก่อนหน้าลงอย่างไม่มีวันกลับมาได้อีก

งานวาดของศิลปินอย่าง โยฮัน โธมัส ลุนด์บาย (Johan Thomas Lundbye, 1818-1848), ดังค์วาร์ต เดรเยอร์ (Dankvart Dreyer, 1816-1852) และคนอื่นๆ ถูกนำมาเป็นตัวแทนของยุคเช่นนี้ในเดนมาร์ก

งานวิชาการในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ก็เริ่มตามยุคตามสมัย หันไปสู่การพยายามอธิบายยุคโรแมนติกว่ามีลักษณะร่วมกันไปทั่วภูมิภาค

แต่ประเด็นที่สำคัญคือ ยุคโรแมนติกในภูมิภาคเหนือไกลนี้ เป็นจุดตั้งต้นของจินตนาการต่อ ‘โลกทางเหนือ’ ต่อมาจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งเป็นจุดตั้งต้นของความเข้าใจสมัยใหม่ถึงสแกนดิเนเวียอันมีอิทธิพลต่อมา ไม่ว่าจะเป็นทิวทัศน์ ภูมิประเทศ ผู้คน หรือกระทั่งความเข้าใจอันพลิกไพล่ที่ระบอบทางการเมืองสมัยสงครามโลกครั้งที่สองนำไปใช้ (อนุสรณ์สถานวัลฮัลลา หรือ Walhalla memorial เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนโจ่งแจ้ง) 

การแปลและการเผยแพร่

ปรากฏการณ์ทางความคิดในภูมิภาคนอร์ดิกทั้งหลายเหล่านี้ เป็นไปได้ด้วยกระบวนการแปลและการเผยแพร่ มีข้อเสนอว่ายุคโรแมนติกในภูมิภาคนอร์ดิกนั้นเริ่มตั้งแต่การพิมพ์บทกวี Digte ของ อดัม เออห์เลนชลาเกอร์ (Adam Oehlenschläger, 1779-1850) กวีชาวเดนมาร์กในปี 1802 และในอีกหกปีถัดมา มีการตีพิมพ์บทกวี Edda ในภาษาเดนมาร์กใหม่อีกครั้งหนึ่ง

แต่เครื่องมือที่สำคัญของกระบวนการนี้เป็นภาษาฝรั่งเศส เพราะเมื่อถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ภาษาฝรั่งเศสก้าวขึ้นมาเป็นภาษากลาง (lingua franca) ในการเผยแพร่ความคิดทางวิทยาศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรมในยุโรป ตัวอย่างของสำนักพิมพ์ Société typographique de Neuchâtel แสดงให้เห็นประเด็นนี้

สำนักพิมพ์นี้มีส่วนสำคัญในการทำให้วัฒนธรรมสแกนดิเนเวียคลาสสิกเข้าไปอยู่ในที่รับรู้ของสาธารณะยุโรป และเป็นพลังหนึ่งของการพัฒนาไปของยุคโรแมนติกโดยรวม นั่นคือประวัติศาสตร์เดนมาร์กที่รวมรวมโดย พอล อองรี มิลเล็ต (Paul Henri Millet, 1730-1807)

มิลเล็ตเองยังได้แปลบทกวี Edda และนิทานสวีเดน ออกเป็นภาษาฝรั่งเศสในปี 1756  และนี่เป็นครั้งแรกที่บทกวี Edda ถูกแปลออกเป็นภาษาหลักสมัยใหม่ของยุโรป (ก่อนหน้านี้มีเป็นภาษาละติน) ต่อมาก็ถูกแปลออกเป็นภาษาเยอรมันและอังกฤษตามลำดับ

นอกจากนี้ ก็ยังมีการแปลมหากาพย์ Ossian โดยชาวสกอต เจมส์ แม็กเฟียร์สัน (James Macpherson, 1736-1796) เป็นภาษาอังกฤษ และต่อมาเป็นภาษาอื่นๆ ซึ่งเมื่อพิมพ์ออกมาแล้วก็กลายเป็นที่นิยมในทันที และแฟนนักอ่าน Ossian นี่ก็มีตั้งแต่เกอเธยันนโปเลียนเลยทีเดียว

นอกจากภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมันก็เป็นอีกภาษาหนึ่งที่ทำให้บทกวีนอร์ดิกเข้าไปอยู่ในยุคโรแมนติก อย่างเช่น โยฮันน์ ก็อตต์ฟริด เฮอร์เดอร์ (Johann Gottfried Herder) เขียนถึงบทกวีเหล่านี้ในปี 1773 และตีพิมพ์ใจความบทกวี Ossian ในหนังสือ Volkslieder (1778-1779) ของเขา

นี่เป็นตัวอย่างเล็กๆ ของการเคลื่อนไหวทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมขนาดใหญ่ ซึ่งหลายครั้งถูกมองว่าข้ามรัฐข้ามชาติ และบางครั้งก็ถูกมองว่าเป็นของชาตินั้นชาตินี้

ปัจจุบันเป็นอย่างไร ดินแดนอันไกลโพ้นก็จะเป็นเช่นนั้น


อ้างอิง

Cian Duffy and Robert W. Rix, Nordic Romanticism: Translation, Transmission, Transformation (2022)

MOST READ

World

1 Oct 2018

แหวกม่านวัฒนธรรม ส่องสถานภาพสตรีในสังคมอินเดีย

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก สำรวจที่มาที่ไปของ ‘สังคมชายเป็นใหญ่’ ในอินเดีย ที่ได้รับอิทธิพลสำคัญมาจากมหากาพย์อันเลื่องชื่อ พร้อมฉายภาพปัจจุบันที่ภาวะดังกล่าวเริ่มสั่นคลอน โดยมีหมุดหมายสำคัญจากการที่ อินทิรา คานธี ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก

1 Oct 2018

World

16 Oct 2023

ฉากทัศน์ต่อไปของอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่สั่นสะเทือนระเบียบโลกใหม่: ศราวุฒิ อารีย์

7 ตุลาคม กลุ่มฮามาสเปิดฉากขีปนาวุธกว่า 5,000 ลูกใส่อิสราเอล จุดชนวนความขัดแย้งซึ่งเดิมทีก็ไม่เคยดับหายไปอยู่แล้วให้ปะทุกว่าที่เคย จนอาจนับได้ว่านี่เป็นการต่อสู้ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่รุนแรงที่สุดในรอบทศวรรษ

จนถึงนาทีนี้ การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ยังดำเนินต่อไปโดยปราศจากทีท่าของความสงบหรือยุติลง 101 สนทนากับ ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงเงื่อนไขและตัวแปรของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น, ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและรัฐอาหรับ, อนาคตของปาเลสไตน์ ตลอดจนระเบียบโลกใหม่ที่ก่อตัวขึ้นมาหลังยุคสงครามเย็น

พิมพ์ชนก พุกสุข

16 Oct 2023

World

9 Sep 2022

46 ปีแห่งการจากไปของเหมาเจ๋อตง: ทำไมเหมาเจ๋อตง(โหด)ร้ายแค่ไหน คนจีนก็ยังรัก

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์ เขียนถึงการสร้าง ‘เหมาเจ๋อตง’ ให้เป็นวีรบุรุษของจีนมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าเขาจะอยู่เบื้องหลังการทำร้ายผู้คนจำนวนมหาศาลในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์

9 Sep 2022

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save