fbpx
อัพเดท '10 เทรนด์ฮิต ติดเรือนจำทั่วโลก' จากรายงาน Global Prison Trends 2019

อัพเดท ’10 เทรนด์ฮิต ติดเรือนจำทั่วโลก’ จากรายงาน Global Prison Trends 2019

กานต์ธีรา ภูริวิกรัย, อดิศร เด่นสุธรรม เรื่อง

ภาพิมล หล่อตระกูล ภาพประกอบ

รู้หรือไม่ว่า…

– ปัจจุบันนี้ มีผู้ต้องขังอยู่ในคุกทั่วโลกจำนวน 11 ล้านคน และครึ่งหนึ่งของนักโทษเหล่านี้ อยู่ใน 4 ประเทศ คือสหรัฐฯ จีน รัสเซีย และบราซิล

– มี 121 ประเทศที่ต้องเผชิญปัญหา ‘นักโทษล้นคุก’ หนึ่งในนั้นคือประเทศไทย โดยประเทศที่มีปัญหามากที่สุดคือฟิลิปปินส์ ที่มีนักโทษชาย 518 คน แออัดอยู่ในพื้นที่ที่รองรับได้แค่ 170 คน เท่านั้น

– มี 103 จาก 193 ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทุกคดีอาชญากรรม และมี 139 ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารในทางกฎหมายหรือทางปฏิบัติ

– มีอย่างน้อย 35 ประเทศที่ยังคงโทษประหารชีวิตไว้ในคดีการกระทำผิดที่เกี่ยวกับสารเสพติด และมี 4 ประเทศที่เพิ่งทำการประหารชีวิตในปี 2018 ด้วยคดีดังกล่าว ได้แก่ อิหร่าน จีน ซาอุดิอาระเบีย และสิงคโปร์

ข้างต้นคือข้อมูลส่วนหนึ่งที่สะท้อนสถานการณ์ในเรือนจำทั่วโลก โดยหนึ่งในปัญหาที่หลายประเทศกำลังเผชิญเหมือนกัน คือปัญหา ‘นักโทษล้นเรือนจำ’

101 พาไปอัพเดท ‘10 เทรนด์ฮิต ติดเรือนจำทั่วโลก’ จากรายงาน Global Prison Trend 2019 จัดพิมพ์โดย Penal Reform International (PRI) ร่วมกับสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) พร้อมสำรวจทางเลือกใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้แทนการจำคุก

1.

ข้อมูลจาก Institute for Criminal Policy Research (ICPR) ประมาณว่า มีผู้ต้องขังอยู่ในคุกทั่วโลกจำนวน 11 ล้านคน และครึ่งหนึ่งของนักโทษเหล่านี้อยู่ใน 4 ประเทศ คือสหรัฐฯ จีน รัสเซีย และบราซิล และหากดูสัดส่วนจำนวนผู้ต้องขังต่อจำนวนประชากร สหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีสัดส่วนจำนวนผู้ต้องขังต่อจำนวนประชากรสูดที่สุดในโลก คือ มีผู้ต้องขัง 675 คน ต่อประชากร 100,000 คน

2.

ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา จำนวนนักโทษในหลายภูมิภาคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยนักโทษในทวีปแอฟริกาเพิ่มขึ้น 29% ในทวีปเอเชียเพิ่มขึ้น 38% ทวีปอเมริกาเพิ่มขึ้น 41% ทวีปโอเชียเนียเพิ่มขึ้น 86% ขณะที่ทวีปซึ่งมีจำนวนนักโทษเพิ่มขึ้นอย่างมากคือ ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มขึ้น 122% และทวีปอเมริกาใต้ ที่เพิ่มขึ้น 175%

3.

มี 121 ประเทศที่ต้องเจอกับปัญหานักโทษล้นคุก และประเทศที่มีปัญหามากที่สุดคือฟิลิปปินส์ ที่มีนักโทษชาย 518 คน แออัดอยู่ในพื้นที่ที่รองรับได้แค่ 170 คน เท่านั้น

4.

ในช่วงปี 2000-2017 จำนวนนักโทษหญิงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยมีอัตราการเพิ่มมากกว่านักโทษชาย กล่าวคือจำนวนนักโทษหญิงมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ขณะที่นักโทษชายมีอัตราเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 20 โดยภูมิภาคที่มีสัดส่วนนักโทษหญิงเทียบกับนักโทษชายเยอะที่สุดคือ ภูมิภาคเอเชีย อาทิ ฮ่องกง (ร้อยละ 21) กาตาร์ (ร้อยละ 15) คูเวต (ร้อยละ 14)

5.

กลุ่ม LGBTI ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเลสเบี้ยน (Lesbian) เกย์ (Gay) ไบเซ็กชวล (Bisexual) กลุ่มคนข้ามเพศ (Transgender) และกลุ่มคนที่มีภาวะเพศกำกวม (Intersexual) เป็นกลุ่มนักโทษที่มีจำนวนไม่มาก แต่มีแนวโน้มจะตกเป็นเหยื่อทางเพศ มีปัญหาสุขภาพ และโดนขังเดี่ยว อีกทั้งยังเจอกับการเลือกปฏิบัติในรูปแบบต่างๆ เพราะเพศสภาพ อัตลักษณ์ และการแสดงออกทางเพศ

6.

ปัจจุบัน มี 103 จาก 193 ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทุกคดีอาชญากรรม และมี 139 ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารในทางกฎหมายหรือทางปฏิบัติ

7.

มีอย่างน้อย 35 ประเทศที่ยังคงโทษประหารชีวิตไว้ในคดีการกระทำผิดที่เกี่ยวกับสารเสพติด และมี 4 ประเทศที่เพิ่งทำการประหารชีวิตในปี 2018 ด้วยคดีดังกล่าว ได้แก่ อิหร่าน จีน ซาอุดิอาระเบีย และสิงคโปร์

8.

เรือนจำทั่วโลกต้องเจอกับปัญหาความรุนแรง หรือการที่นักโทษก่อจลาจลขึ้นในคุก โดยภูมิภาคหรือประเทศที่นักโทษก่อจลาจลมากที่สุดคือ ลาตินอเมริกา บราซิล กัวเตมาลา และเวเนซุเอลา

9.

แม้การใช้อินเทอร์เน็ตในเรือนจำหลายแห่งยังถูกห้าม หรือถูกควบคุมอย่างเข้มงวด แต่การใช้ social media ของนักโทษก็เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงสองสามปีมานี้ โดยเคยมีกรณีที่นักโทษรายงานเหตุการณ์การเกิดจลาจลแบบสดๆ ผ่านทางทวิตเตอร์ ในทางตอนใต้ของอังกฤษมาแล้ว

10.

มีความพยายามในการหาทางเลือกมาใช้แทนจำคุก เช่น

1) การจ่ายค่าปรับ

2) การสวมเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว หรือการคุมประพฤติ

3) การทำงานบริการสังคม ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น

  • การทำงานบริการสังคมแบบรายบุคคล จัดให้ผู้กระทำผิดบริการสังคมตามความรู้ความสามารถ ทำงานที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานหรือชุมชน
  • การทำงานบริการสังคมแบบกลุ่ม เช่น การพัฒนาหรือทำความสะอาดสถานที่สาธารณะ เช่น วัด โรงเรียน การให้ความบันเทิงแก่คนพิการ เด็กกำพร้า คนชรา ในสถานสงเคราะห์ หรือ ฝึกสอนวิชาชีพอื่นๆ เช่น สอนซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้ารถจักรยานยนต์ เป็นต้น

ทั้ง 3 ทางเลือกที่ว่า ถือเป็นตัวอย่างในความพยายามที่สามารถช่วยแก้ปัญหานักโทษล้นคุก และเอื้อให้นักโทษสามารถกลับคืนสู่สังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวโน้มเทรนด์ต่างๆ ในเรือนจำ สามารถติดตามได้ที่ : Global Prison Trend 2019


ผลงานชิ้นนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) (TIJ) และ The101.world

MOST READ

Social Issues

9 Oct 2023

เด็กจุฬาฯ รวยกว่าคนทั้งประเทศจริงไหม?

ร่วมหาคำตอบจากคำพูดที่ว่า “เด็กจุฬาฯ เป็นเด็กบ้านรวย” ผ่านแบบสำรวจฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และความเหลื่อมล้ำ ในนิสิตจุฬาฯ ปี 1 ปีการศึกษา 2566

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

9 Oct 2023

Social Issues

5 Jan 2023

คู่มือ ‘ขายวิญญาณ’ เพื่อตำแหน่งวิชาการในมหาวิทยาลัย

สมชาย ปรีชาศิลปกุล เขียนถึง 4 ประเด็นที่พึงตระหนักของผู้ขอตำแหน่งวิชาการ จากประสบการณ์มากกว่าทศวรรษในกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการในสถาบันการศึกษา

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

5 Jan 2023

Social Issues

27 Aug 2018

เส้นทางที่เลือกไม่ได้ ของ ‘ผู้ชายขายตัว’

วรุตม์ พงศ์พิพัฒน์ พาไปสำรวจโลกของ ‘ผู้ชายขายบริการ’ ในย่านสีลมและพื้นที่ใกล้เคียง เปิดปูมหลังชีวิตของพนักงานบริการในร้านนวด ร้านคาราโอเกะ ไปจนถึงบาร์อะโกโก้ พร้อมตีแผ่แง่มุมลับๆ ที่ยากจะเข้าถึง

กองบรรณาธิการ

27 Aug 2018

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save