fbpx
แลนด์มาร์คใหม่ หญิงไทยแห่เช็คอิน (เข้าคุก) จนล้น

แลนด์มาร์คใหม่ หญิงไทยแห่เช็คอิน (เข้าคุก) จนล้น

กานต์ธีรา ภูริวิกรัย, อดิศร เด่นสุธรรม เรื่อง

Shin Egkantrong ภาพ

คุณรู้หรือไม่ หญิงไทยคว้าแชมป์ อัตราการจำคุกในผู้หญิงสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังมีอัตราการจำคุกผู้หญิงสูงที่สุด

การติดคุกของผู้หญิงเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย ผู้ต้องขังหญิงส่วนมากจะกระทำความผิดในคดีที่เบากว่าผู้ชาย บางคนมียาเสพติดไว้เสพกับคู่ครอง หรือบางคนโดนร่างแหเพราะคู่ของตนมียาเสพติดไว้ในครอบครอง หรือกรณีที่เลวร้ายที่สุดคือ ผู้หญิงบางคนโดนหลอกในเรื่องยาเสพติด โดยที่พวกเธอไม่ได้รู้เรื่องอะไรด้วยเลย!!!

จากงานวิจัยเรื่อง ‘มองผ่านเลนส์เพศภาวะและความหลากหลาย: ข้อเสนอในการพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อสุขภาวะผู้หญิง’ (กฤตยา อาชวนิจกุล, 2560) ได้ให้ข้อมูลว่า ไทยมีสัดส่วนผู้ต้องขังหญิงต่อแสนประชากรในประเทศมากที่สุดในโลก ที่จำนวนร้อยละ 73.4 หรือประมาณ 4.7 หมี่นคน จากประชากร 6.4 ล้านคน

1. คุกแตก เพราะจับกระหน่ำ

คุกแตก เพราะจับกระหน่ำ

ในปี 2013 มีหญิงไทยติดคุกกว่า 42,209 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2012 ที่มีจำนวน 37,714 คน

จุดเปลี่ยนสำคัญของจำนวนผู้ต้องขังไทยในภาพรวมเกิดขึ้น เมื่อรัฐบาลประกาศนโยบายสงครามต่อต้านยาเสพติด (War on Drugs) ซึ่งมีการจับและปราบปรามคนผิดมาลงโทษอย่างรุนแรง ทำให้ผู้หญิงประมาณ 80% เข้าคุกเพราะคดียาเสพติด

2. ภูมิหลังและพฤติกรรมเสี่ยงของผู้หญิงก่อนเข้าสู่เรือนจำ

ภูมิหลังและพฤติกรรมเสี่ยงของผู้หญิงก่อนเข้าสู่เรือนจำ

จากการสำรวจตัวอย่างผู้ต้องขังหญิงทั้งหมด 2,029 คน พบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

  • ผู้ต้องขังหญิงร้อยละ 2 มีสมาชิกในครอบครัวใช้สารเสพติด
  • ผู้ต้องขังหญิงร้อยละ 0 เสพยาเป็นประจำทุกวัน และร้อยละ 88.3 ของผู้ติดยาไม่เคยได้รับการบำบัดการใช้ยาเสพติด
  • ผู้ต้องขังหญิงร้อยละ 9 ดื่มสุราเป็นประจำทุกวัน และร้อยละ 99.8 ของผู้ที่ดื่มสุราไม่เคยได้รับการบำบัดการติด/ดื่มสุรา
  • ผู้ต้องขังหญิงร้อยละ 9 เข้าคุกเพราะทำความผิดในคดียาเสพติด โดยร้อยละ 51.8 โดนข้อหาครอบครองเพื่อจำหน่าย
  • ผู้ต้องขังหญิงร้อยละ 7 เคยถูกทำร้ายร่างกายหลายครั้งก่อนเข้ามาอยู่ในเรือนจำ

เป็นที่น่าสังเกตว่า มีผู้หญิงเกินครึ่งที่โดนตั้งข้อหาครอบครองเพื่อจำหน่ายยาเสพติด ทั้งที่ในหลายกรณีเป็นการครอบครองเพื่อเสพเท่านั้น เพราะกฎหมายไทยกำหนดลักษณะโทษตามจำนวนการครอบครอง เป็นเรื่องน่าคิดว่านี่อาจจะเป็นการลงโทษที่เกินจริงจนนำไปสู่ปัญหานักโทษล้นคุกหรือไม่

3. เส้นทางสู่เรือนจำของผู้ต้องขังหญิง

เส้นทางสู่เรือนจำของผู้ต้องขังหญิง

“ตอนเด็กๆ หนูไม่มีความสุข เราไม่ได้อยู่กันเหมือนครอบครัว … เด็กคนอื่นเขามีพ่อแม่ แต่หนูไม่มีใคร หนูโตมากับยาย หนูสนิทกับเพื่อนที่โรงเรียนและเพื่อนแถวบ้านมากกว่า”

ผู้ต้องขังหญิงร้อยละ 44 เข้าสู่เรือนจำ เพราะมีประสบการณ์เลวร้ายตอนเด็ก ประสบการณ์เลวร้าย หมายถึง เหตุการณ์ชีวิตที่ก่อให้เกิดความรุนแรงหรือสร้างบาดแผลจิตใจในช่วงวัยเด็ก ทั้งการถูกทำร้าย ทอดทิ้ง และปัญหาครอบครัว ซึ่งผู้ต้องขังหญิงเข้าสู่เรือนจำด้วยเส้นทางนี้มากที่สุด จากการวิจัยยังพบว่าผู้ต้องขังหญิงเกือบทุกคนเคยใช้ยาเสพติดเป็นประจำ มีคนที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว และคนที่ถูกพรากจากบุตร

ผู้หญิงเข้าเรือนจำ

“หนูไม่เคยยุ่งกับยาเสพติดจนกระทั่งมาเจอเพื่อนกลุ่มนี้ … ถ้าไม่ได้เจอเพื่อนพวกนี้หนูก็คงไม่ลอง ไม่ขายยา…”

ผู้ต้องขังหญิงร้อยละ 28 เข้าสู่เรือนจำจากการถูกเพื่อนชักชวนไปในทางที่ผิด ผู้ต้องขังหญิงในกลุ่มนี้ไม่มีช่วงชีวิตวัยเด็กที่เลวร้ายเหมือนกลุ่มแรก พวกเธอเติบโตมาในครอบครัวที่อบอุ่น มั่นคง แต่ต่อมาโดน “ดึงออก” จากครอบครัว โดยกลุ่มเพื่อนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง และได้เข้าสู่วงจรยาเสพติด โดยเริ่มจากการทดลองใช้และชื่นชอบจนกลายเป็นพฤติกรรมเสพติดในเวลาต่อมา บางคนพบคนรัก และถลำลึกลงไปในวงจรยาเสพติดมากขึ้น

ผู้หญิงค้ายา

“ตอนที่แฟนทิ้ง ฉันรู้สึกเครียดมากๆ เงินค่าอาหาร ค่าเรียนลูก ก็ไม่มี… พอมาเจอเพื่อนคนนี้ ฉันเลยไปขายยากับเขา ถ้าตอนนั้นครอบครัวอยู่กันแบบที่เคยเป็น ฉันก็คงไม่ต้องทำงานหนักเพื่อหาเงิน…และไม่หันมาขายยา”

ผู้ต้องขังหญิงร้อยละ 17 เข้าสู่เรือนจำจากการกระตุ้นเร้าทางเศรษฐกิจ ผู้ต้องขังที่เข้าสู่เรือนจำด้วยเส้นทางนี้ สาเหตุหลักมาจากภาระการดูแลครอบครัว ส่วนมากค้ายาเพราะความขัดสนทางการเงิน และความจำเป็นในการเลี้ยงดูครอบครัว ทุกคนล้วนเติบโตขึ้นในครอบครัวที่มีฐานะยากจน มีวัยเด็กที่เลวร้าย และคบเพื่อนไม่ดีขณะที่สถิติบ่งชี้ว่า ผู้ต้องขังในประเทศไทยกว่า 50% มีรายได้น้อยกว่า 30,000 บาทต่อปี ซึ่งสนับสนุนข้อสังเกตข้างต้นเช่นกัน

ผู้หญิงถูกหลอกลวง

“ชีวิตก่อนหน้าที่จะมาเจอสามีมันก็โอเคอยู่แล้ว ถ้าเราไม่มาเจอคนๆ นี้ เราก็คงไม่มาติดคุกแบบนี้”

ผู้ต้องขังหญิงร้อยละ 11 เข้าสู่เรือนจำเพราะความไร้เดียงสาและการถูกหลอกลวง เส้นทางนี้พบเฉพาะในกลุ่มผู้ต้องขังหญิงเท่านั้น โดยทุกคนล้วนโตมาในครอบครัวที่อบอุ่น มั่นคง ไม่คบหากับกลุ่มเพื่อนที่เกเร และไม่เคยใช้ยาเสพติด กล่าวคือพวกเธอเป็นคนธรรมดาที่เคารพกฎหมาย และปฏิบัติตามกฎหมายมาตลอดชีวิต แต่เพราะความไม่รู้และไร้เดียงสา ซึ่งอาจมาจากการขาดประสบการณ์ชีวิตและการเรียนจบที่ไม่สูงนัก ทำให้พวกเธอถูกหลอกและต้องเข้ามาใช้ชีวิตในเรือนจำ

4. ปัญหาคุกแตก สามารถแก้ได้

ปัญหาคุกแตก สามารถแก้ได้

นโยบายอาชญากรรมต้องดูควบคู่ไปกับนโยบายทางสังคม

“การดูนโยบายอาชญากรรมต้องดูควบคู่ไปกับนโยบายทางสังคมเพราะถ้าเรามีนโยบายทางสังคมที่ดี เราก็จะลดจำนวนคนที่เข้ามาอยู่ในเรือนจำโดยไม่จำเป็นได้ และถ้าเรามีนโยบายทางอาญาที่ดีโดยเฉพาะเรื่องยาเสพติด ซึ่งสะท้อนโลกความเป็นจริงว่าคนที่เข้ามาอยู่ในเรือนจำไม่ใช่คนขาย แต่เป็นคนเสพ และถ้าคนเหล่านี้เข้าสู่การบำบัดทางการแพทย์ ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข ก็จะช่วยลดจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำเช่นเดียวกัน” ชลธิช ชื่นอุระ หัวหน้ากลุ่มโครงการส่งเสริมการอนุวัติข้อกำหนดกรุงเทพ และการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์กรมหาชน) (TIJ)

การแก้ไขปัญหานักโทษล้นคุกเป็นงานหนึ่งที่รัฐบาลพยายามขับเคลื่อน โดยแต่เดิม การลงโทษผู้ที่มีความผิดในคดียาเสพติดนั้นจะใช้วิธีการนับเม็ดและปริมาณสาร จนนำไปสู่การลงโทษที่ล้นเกินความจำเป็น (overcriminalisation) แต่พระราชบัญญัติยาเสพติดใหม่จะมีการจำแนกที่ละเอียดอ่อนกว่าเดิม โดยเปิดช่องให้ผู้พิพากษาใช้ดุลยพินิจแยก “ผู้เสพ” กับ “ผู้ขาย” ออกจากกัน

ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงสำคัญ เช่น การเปิดโอกาสให้ผู้ที่ครอบครองยาเสพติดจำนวนน้อยสามารถ “เลือก” ที่จะเข้ารับการบำบัดจนสิ้นสุดกระบวนการ แลกกับการไม่ต้องรับโทษอาญา แต่ยังคงมีประวัติยาเสพติดอยู่[1] หรือการแก้ไขโทษของ “การผลิต นำเข้า และส่งออกเพื่อขาย” จากที่เคยมีแต่โทษประหารสถานเดียว ก็มีการปรับเป็นจำคุกตลอดชีวิต และปรับ 1-5 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอให้ศูนย์ฟื้นฟูผู้ติดยาสามารถเข้ามาทำหน้าที่แทนเรือนจำได้ เพื่อลดภาระหน้าที่ของเรือนจำ[2]

มีศูนย์ฟื้นฟูผู้ติดยาที่สามารถเข้ามาทำหน้าที่แทนเรือนจำ

นอกจากความพยายามแก้ไขปัญหาในภาพใหญ่แล้ว อีกหนึ่งทางแก้ที่สำคัญต้องเริ่มที่ ‘สังคม’ โดยเริ่มจากการเปลี่ยนกระบวนการทางความคิด (mindset) ของสังคม ว่า ‘ผู้เสพ’ คือ ‘ผู้ป่วย’ และมีช่องทางให้พวกเขาสามารถเข้าสู่ระบบบำบัดฟื้นฟูทางการแพทย์ที่เหมาะสม หากเป็นเช่นนี้ ประกอบกับระบบยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพ และกฎหมายที่มองเห็นความละเอียดอ่อนในความเป็นมนุษย์ ปัญหานักโทษล้นคุกที่ว่ามาย่อมถูกบรรเทาเบาบางได้ตามลำดับ และกระบวนการยุติธรรมจะเป็นกระบวนการที่มอบความยุติธรรมให้ทุกคนอย่างแท้จริง

อ้างอิง

[1] พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2560 http://www.thailawforum.com/drugs-act/

[2] ผ่านแล้ว! กฎหมายยาเสพติดใหม่ เปิดช่องคนขายไม่ถูกประหาร เพิ่มโอกาสให้ผู้ต้องหาพิสูจน์ความบริสุทธิ์https://ilaw.or.th/node/4352


ผลงานชิ้นนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) (TIJ) และ The101.world

MOST READ

Social Issues

9 Oct 2023

เด็กจุฬาฯ รวยกว่าคนทั้งประเทศจริงไหม?

ร่วมหาคำตอบจากคำพูดที่ว่า “เด็กจุฬาฯ เป็นเด็กบ้านรวย” ผ่านแบบสำรวจฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และความเหลื่อมล้ำ ในนิสิตจุฬาฯ ปี 1 ปีการศึกษา 2566

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

9 Oct 2023

Social Issues

5 Jan 2023

คู่มือ ‘ขายวิญญาณ’ เพื่อตำแหน่งวิชาการในมหาวิทยาลัย

สมชาย ปรีชาศิลปกุล เขียนถึง 4 ประเด็นที่พึงตระหนักของผู้ขอตำแหน่งวิชาการ จากประสบการณ์มากกว่าทศวรรษในกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการในสถาบันการศึกษา

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

5 Jan 2023

Social Issues

27 Aug 2018

เส้นทางที่เลือกไม่ได้ ของ ‘ผู้ชายขายตัว’

วรุตม์ พงศ์พิพัฒน์ พาไปสำรวจโลกของ ‘ผู้ชายขายบริการ’ ในย่านสีลมและพื้นที่ใกล้เคียง เปิดปูมหลังชีวิตของพนักงานบริการในร้านนวด ร้านคาราโอเกะ ไปจนถึงบาร์อะโกโก้ พร้อมตีแผ่แง่มุมลับๆ ที่ยากจะเข้าถึง

กองบรรณาธิการ

27 Aug 2018

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save