fbpx
Imperfect A.I. for the Perfect Future

Imperfect A.I. for the Perfect Future

อย่ากังวลไปว่า ในอนาคตเราจะถูกหุ่นยนต์ยึดครอง เพราะเรื่องนี้ป้องกันได้ด้วยความ ‘ไม่สมบูรณ์แบบ’

 

สถานะของ A.I. หรือปัญญาประดิษฐ์ทุกวันนี้ คือความไม่สมบูรณ์ มันยังอยู่ในขั้นเบต้าที่มนุษย์กำลังพัฒนาเพื่อไปสู่ความสมบูรณ์แบบในอนาคต

ว่าแต่…ความสมบูรณ์แบบที่เราอยากได้หน้าตาเป็นแบบไหน

มนุษย์สร้าง A.I. ขึ้นมาเพื่อเข้ามาทำให้ชีวิตของเราสะดวกสบายขึ้น ทั้งเชิงกายภาพและลดภาระทางสมอง เราสร้างรถยนต์ที่ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองเพราะเราขี้เกียจหมุนพวงมาลัยนานๆ เรามีระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ป้อนข้อมูลใส่เข้าไปให้เพื่อให้มันเรียนรู้และตอบคำถามที่ซับซ้อนด้วยความน่าจะเป็นของความถูกต้องอย่างที่มนุษย์อาจจะทำไม่ได้

ความสมบูรณ์แบบของ AI ที่เรายกทุกอย่างให้มันตัดสินใจนี่เอง ที่ทำให้ในอีกด้านหนึ่ง เราก็กลัวการมาถึงของมันอยู่ไม่น้อย มนุษย์จะโดนแย่งงานบ้างล่ะ ความเป็นส่วนตัวจะอยู่ที่ไหนเมื่อมันอยู่ในบ้านของเรา จะเชื่อสิ่งที่มันบอกเราว่าเป็นความจริงได้อย่างไร หรือไปไกลกว่านั้น ถ้า A.I. มีความรู้สึกนึกคิดขึ้นมาล่ะ มันจะทำสงครามกับเรา แล้วจับเราเป็นหนูทดลองแบบในภาพยนตร์ The Matrix ไหม

Symbiotic Autonomy หรือการควบคุมตนเองแบบอยู่ร่วมกัน (ความหมายเดียวกับศัพท์ทางชีววิทยาที่ว่าด้วยความสัมพันธ์แบบอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต) คือแนวคิดหลักของหุ่นยนต์ A.I. ที่มีชื่อว่า CoBots เป็นผลงานจากมหาวิทยาลัย Canegie Mellon ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ทีมนักวิจัยเชื่อว่าความไม่สมบูรณ์แบบของมันจะปูทางไปสู่ความสมบูรณ์แบบของอนาคตระหว่างเราและปัญญาประดิษฐ์

CoBots
ที่มาภาพ: Brink News

CoBots เป็นหุ่นยนต์ต้อนรับและช่วยเหลือแขกคล้ายกับหุ่นยนต์รีเซปชั่นทั่วไป แต่ความแตกต่างคือแทนที่มันจะสามารถทำทุกอย่างได้ด้วยตัวเองแบบที่หุ่นยนต์ทั่วๆ ไปควรจะทำได้ (เช่นการใช้แขนกลในตัวเพื่อทำอะไรบางอย่าง) CoBots จะใช้วิธี ‘เรียก’ ขอความช่วยเหลือจากมนุษย์ที่อยู่ใกล้ตัวมันแทน เช่นเมื่ออยู่ใกล้ลิฟต์ มันจะขอให้คุณช่วยกดลิฟต์ให้ หรือถ้าไม่มีคนอยู่แถวนั้นเพื่อช่วยเหลือ มันจะวางแผนเพื่อเดินทางไปหาตำแหน่งมนุษย์ที่อยู่ใกล้ตัวที่สุด เพื่อทำคำสั่งที่ได้รับมาให้สำเร็จ (อีกเหตุผลคือ มันเป็นหุ่นยนต์แขนด้วย – ฮา)

แนวคิด Symbiotic Autonomy อาจถูกมองว่าเป็นความไม่สมบูรณ์แบบอย่างที่ AI ในอนาคตควรจะเป็น เพราะสิ่งสำคัญของมันคือความสามารถในการ ‘ถาม’ มนุษย์เมื่อมันไม่แน่ใจในคำตอบ หรือเมื่อต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประมวลผลลัพธ์ที่ดีที่สุดออกมา

แต่สิ่งที่เราจะได้รับกลับมาจากความไม่สมบูรณ์พร้อมของปัญญาประดิษฐ์ช่างสงสัยนี้คือ ‘ความไว้ใจ’ ระหว่างมนุษย์และ A.I. ที่หลายคนถามหา ซึ่งน่าจะทำให้โลกเมทริกซ์ที่เรากลัวว่าจะเกิดขึ้นจริง ขยับห่างออกไปอีกนิด

 

อ่านเพิ่มเติม

-บทความ Developing the Perfect ‘Imperfect’ AI System ของ 

-บทความ Future Imperfect #18: Terrifyingly Convenient AI ของ Joshua Lasky จาก Medium, April 7, 2016

-ผลงาน CoBots: Robust Symbiotic Autonomous Mobile Service Robots จาก Carnegie Mellon University

MOST READ

Spotlights

14 Aug 2018

เปิดตา ‘ตีหม้อ’ – สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย พาไปสำรวจ ‘คลองหลอด’ แหล่งค้าประเวณีใจกลางย่านเมืองเก่า เปิดปูมหลังชีวิตหญิงค้าบริการ พร้อมตีแผ่แง่มุมเทาๆ ของอาชีพนี้ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมมาเนิ่นนาน

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Aug 2018

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save