fbpx
#futurisingthailand สร้างอนาคตไทยให้ทันโลก ด้วยการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน

#futurisingthailand สร้างอนาคตไทยให้ทันโลก ด้วยการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน

การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างอนาคตไทยให้ทันโลกอย่างไร หาคำตอบได้จากอัลบั้มภาพ #futurisingthailand ชุดนี้

 

โลกอนาคตเต็มไปด้วยความปั่นป่วนไม่แน่นอน 
แล้วอะไรคือเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เศรษฐกิจไทยพร้อมรับมือโลกอนาคต แข่งขันได้ มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม ยั่งยืน และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

มาตะลุยสร้างอนาคตไทยให้ทันโลกไปด้วยกัน ผ่านการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน

 

 

โดยพื้นฐานแล้ว ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ คือ ความสามารถในการใช้ทุนมนุษย์ ทุนกายภาพ และทรัพยากรที่มีอยู่ ให้เกิด ‘มูลค่าเพิ่ม’ กับสินค้าและบริการ และความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ซึ่งเรียกรวมกันว่า ‘ผลิตภาพ’

 

 

นั่นคือ การที่เราผลิตของได้เก่งขึ้น เร็วขึ้น มีคุณภาพมากขึ้น โดนใจผู้บริโภค และมีนวัตกรรมใหม่ๆ ทำให้เราขายของได้ราคาดี ที่สำคัญ การผลิตของเราต้องไม่ไปทำร้ายโลก แต่ควรเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและใส่ใจในความยั่งยืน … ถึงเรียกได้ว่าเป็นการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างแท้จริง

 

 

ในปัจจุบัน องค์กรระหว่างประเทศหลายหน่วยงานจัดทำดัชนีชี้วัดความสามารถในการแข่งขันของแต่ละประเทศ เช่น World Economic Forum (WEF) และ International for Management Development (IMD) นอกจากนี้ ยังมีดัชนีที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เช่น ดัชนีความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) ที่จัดทำโดยธนาคารโลก เป็นต้น

 

 

การวัดขีดความสามารถแข่งขันจะดูจากทุกๆ ปัจจัยที่ทำให้เราเก่งขึ้น และมีคุณภาพมากขึ้น โดยนำมาจัดระเบียบให้เป็นระบบ ดูง่ายขึ้น เช่น ดัชนี GCI 4.0 ของ WEF (The Global Competitive-ness Index 4.0) มองว่า มี 12 เสาหลักที่จะเป็นตัวกำหนดว่าเศรษฐกิจทำงานได้ดีแค่ไหน เช่น โครงสร้างพื้นฐาน เสถียรภาพของเศรษฐกิจ ระบบสาธารณสุข ทักษะ นวัตกรรม เป็นต้น

เรียกได้ว่า เหมือนมี ‘เข็มทิศ’ ที่ช่วยนำทางในโลกใหม่ ให้ภาคส่วนต่างๆ ทั้งรัฐ เอกชน และประชาชน รู้ว่าต้องทำอะไร ด้านไหน อย่างไร เพื่อช่วยกันยกระดับการพัฒนาประเทศให้ทันโลก ให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ไม่น้อยหน้าประเทศอื่นเขา

 

 

แม้การประเมินขีดความสามารถในการแข่งขันของแต่ละประเทศจะทำผ่านการจัดอันดับว่าใครอยู่ที่เท่าไหร่ แต่นั่นไม่ใช่แก่นหลักของเรื่องทั้งหมด การยกระดับขีดความสามารถไม่ได้เป็นแค่เกมตัวเลขที่แต่ละประเทศแข่งกัน โดยหวังผลแพ้ชนะ

เราใช้คะแนนต่างๆ เป็นเครื่องมือทำความเข้าใจว่า ตอนนี้สถานะของประเทศอยู่ตรงไหน ควรวางแผน และเดินหน้าอย่างไร ต้องลงมือทำอะไรเพื่อให้ชีวิตของประชาชนและประเทศดีขึ้น ซึ่งภาครัฐไม่สามารถตอบโจทย์ยากๆ เหล่านั้นฝ่ายเดียว ต้องอาศัยส่วนร่วมจากทั้งสังคมมาร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

 

 

น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี การศึกษาเยี่ยม อินเทอร์เน็ตเร็ว อาชญากรรมต่ำ สื่อมีเสรีภาพ ประชาชนสุขภาพแข็งแรง อากาศไม่มีพิษ อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ ฯลฯ ล้วนเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งสิ้น

ถึงจะฟังดู ย้าก ยาก แต่จริงๆ แล้ว ขีดความสามารถในการแข่งขันเป็นเรื่องในชีวิตประจำวันของพวกเรานี่เอง

 

การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันในปี 2018 ช่วยให้เราเข้าใจเศรษฐกิจไทยในหลายมิติ
.
ไทยมีจุดแข็งหลายด้าน เช่น เสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาค (90 คะแนน) ระบบสาธารณสุข (87 คะแนน) และระบบการเงิน (84 คะแนน) ในขณะที่โครงสร้างพื้นฐาน (70 คะแนน) ขนาดของตลาด (75 คะแนน) และพลวัตภาคธุรกิจ (71 คะแนน) ก็นับว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้จุดแข็งเหล่านี้เป็นผลมาจากกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงกว่า 60 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ไทยยังมีช่องว่างให้พัฒนาได้อีกมากในหลายเสาหลัก เช่น สถาบัน (55 คะแนน) การปรับตัวตามเทคโนโลยีสารสนเทศ (57 คะแนน) ตลาดสินค้า (53 คะแนน) และสมรรถนะด้านนวัตกรรม (42 คะแนน) เป็นต้นหากยึดคะแนนเต็ม 100 เป็นเป้าหมายในอุดมคติ ไทยยังสามารถยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันได้ในแทบทุกเสาหลัก อย่าลืมว่า ในโลกใหม่ความสามารถในการแข่งขันเกิดขึ้นจากทุกปัจจัย ไม่ได้มีแต่มิติทางเศรษฐกิจ แต่รวมถึงเรื่องสวัสดิการสังคม ระบบกฎหมาย การพัฒนาคน ความยั่งยืนของระบบนิเวศ ด้วย

 

 

การได้คะแนนน้อยไม่ใช่เรื่องน่าเสียใจ แต่เป็นโอกาสใหม่ให้เรากลับมาทบทวนการแก้ปัญหาให้ดีขึ้

เช่น สมรรถนะด้านนวัตกรรมของไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงมาก ได้คะแนน 42 เต็ม 100 ช่องว่างนี้กำลังบอกว่า ประเทศไทยควรต้องส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การร่วมมือกันระหว่างคนกลุ่มต่างๆ การสร้างวัฒนธรรมผู้ประกอบการ การส่งเสริมความหลากหลายของผู้คน

 

 

คะแนนด้านสถาบันหรือระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของไทย ก็มีพื้นที่ให้พัฒนาได้อีกมากเช่นกัน แต่นั่นก็คอยย้ำเตือนว่า ประเทศไทยมีระบบกฎหมายที่ดีกว่านี้ได้ ปลุกให้เราต้องยกระดับธรรมาภิบาลให้สูงขึ้น – กฎกติกาโปร่งใสมากขึ้น ประชาชนมีส่วนร่วมทางสังคมมากขึ้น และระบบความรับผิดชอบทำงานให้ดีขึ้นส

 

 

คนไทยบางส่วนปรับตัวตามเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ทัน นั่นทำให้คนจำนวนมากไม่สามารถไขว่คว้าโอกาสที่มาพร้อมกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ แต่อย่าลืมว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ เราต้องทำงานหนักขึ้นในการส่งเสริมให้ผู้คนเข้าถึง รู้เท่าทัน และปรับตัวตามเทคโนโลยีสารสนเทศได้

 

 

ถ้าคนไทยได้รับบริการจากภาครัฐที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยก็เพิ่มขึ้น

ถ้าคนไทยเดินทางสะดวกขึ้น ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยก็เพิ่มขึ้น

ถ้าคนไทยมีการศึกษาและทักษะที่ดีขึ้น ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยก็เพิ่มขึ้น

ถ้าคนไทยเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีได้มากขึ้น ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยก็เพิ่มขึ้น

หัวใจของการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน คือ การสร้าง ‘ชีวิตที่ดีกว่า’ เพื่อทุกคน

#futurisingthailand #สร้างอนาคตไทยให้ทันโลก

 

—————————————–

Futurising Thailand – สร้างอนาคตไทยให้ทันโลก กับ สภาพัฒน์ 

สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ ‘สภาพัฒน์’ เป็นหนึ่งในหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่สนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย โดยมีความตั้งใจทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนในประเทศและระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิด

ติดตามเรื่องราวทั้งหมดได้ในงาน Futurising Thailand สร้างอนาคตไทย ให้ทันโลก : “โลกใหม่ ความท้าทายใหม่: ยกระดับประเทศไทยในโลก 4.0” จัดโดยสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ลงทะเบียนฟรี! ที่นี่ http://bit.ly/seminarfuturisingthailandregister

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
เวลา 09.30-12.15 น. (เริ่มลงทะเบียน 08.30 น.)
ณ ห้อง Ballroom B และ C ชั้น 6 โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท ประตูน้ำ กรุงเทพฯ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ 087 401 2225
หรือ [email protected]

#futurisingthailand #การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน #สร้างอนาคตไทยให้ทันโลก #sponsor #สภาพัฒน์

MOST READ

Projects

16 Nov 2021

‘เติมนักเรียนในช่องว่าง’ 4 หนังสั้นคนรุ่นใหม่ที่ไม่อยากให้ผู้ใหญ่พูดแทน

ถ้าเรามองว่า School Town King คือสารคดีที่เคยเล่าเรื่องราวของของเยาวชน การศึกษาและความเหลื่อมล้ำผ่านสายตาของผู้ใหญ่ เรื่องสั้นจาก ‘เติมนักเรียนในช่องว่าง’ ก็ไม่ต่างกันนัก เพียงแต่มันสื่อสารโดยตรงมาจากกลุ่ม ‘นักเรียน’ ผู้เป็นคำตอบของหลายๆ ช่องว่างในสังคมนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

16 Nov 2021

Economy

15 Mar 2018

การท่องเที่ยวกับเศรษฐกิจไทย

พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ตั้งคำถาม ใครได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวบูม และเราจะบริหารจัดการผลประโยชน์และสร้างความยั่งยืนให้กับรายได้จากการท่องเที่ยวได้อย่างไร

พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย

15 Mar 2018

Economy

23 Nov 2023

ไม่มี ‘วิกฤต’ ในคัมภีร์ธุรกิจของ ‘สิงห์’ : สันติ – ภูริต ภิรมย์ภักดี

หากไม่เข้าถ้ำสิงห์ ไหนเลยจะรู้จักสิงห์ 101 คุยกับ สันติ- ภูริต ภิรมย์ภักดี ถึงภูมิปัญญาการบริหารคน องค์กร และการตลาดเบื้องหลังความสำเร็จของกลุ่มธุรกิจสิงห์

กองบรรณาธิการ

23 Nov 2023

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save