fbpx

ความยุติธรรมจากมุมมองพัฒนาการเด็ก

เป็นที่วิจารณ์กันว่าระบบยุติธรรมวันนี้กำลังมีปัญหา

คำว่า ยุติธรรม (justice) เป็นคำศัพท์เชิงนามธรรม โดยทฤษฎีพัฒนาการ เด็กๆ ไม่ควรเข้าใจคำนี้ได้ดีนักจนกว่าจะอายุ 12-13 ปี นั่นคือวัยรุ่นตอนต้น 

ดังนั้นหากเราต้องการให้คนรุ่นใหม่เข้าใจคำนี้ดีกว่าผู้ใหญ่วันนี้ เราควรสร้างระบบที่เอื้อต่อพัฒนาการเด็กและวัยรุ่นให้เหมาะสมกว่าที่เคยเป็นและเป็นอยู่

กล่าวคือสร้างคนรุ่นใหม่ที่ดีกว่า

คำว่ายุติธรรมมักใช้ในบริบทของกฎหมาย แต่เราใช้คำนี้ได้ในบริบทอื่นๆด้วย เช่น “คุณพ่อไม่ยุติธรรม” ยังมีอีกคำหนึ่งที่ให้ความหมายใกล้เคียงกันและหลายครั้งที่เราใช้คำสลับไปมา นั่นคือคำว่า ความเท่าเทียม (equity) เช่น คุณแม่แบ่งขนมไม่เท่าเทียม ไปจนถึง คุณย่าแบ่งสมบัติไม่เท่ากัน เป็นต้น

คำว่าเท่าเทียมหรือไม่เท่าเทียมเป็นคำศัพท์เชิงนามธรรมเช่นกัน นอกเหนือจากคำว่ายุติธรรม เท่าเทียม ไม่เท่าเทียม ยังมีคำอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน ได้แก่ ความเหลื่อมล้ำ คุณค่า อุดมคติ จริยธรรม จิตสาธารณะ เป็นต้น 

คำเหล่านี้พัฒนามาพร้อมๆ กัน และกว่าจะพอรู้เรื่องบ้างคือที่อายุประมาณ 12-13 ปีเช่นเดียวกัน นั่นคือประถมปลายต่อมัธยมต้น ดังนั้นเรามาทบทวนพัฒนาการเด็กอย่างสั้นและดูว่าเราควรสร้างระบบอย่างไรเพื่อให้เด็กไทยรุ่นต่อไปพัฒนาความคิดในเรื่องเหล่านี้ดีที่สุดเท่าที่จะดีได้

มีความอยุติธรรมในทุกประเทศ มีความฉ้อฉลในการเมืองทั่วโลก มีการผูกขาดและทุจริตในรัฐบาลประชาธิปไตยไม่เว้นประเทศพัฒนาแล้ว จะเห็นว่าไม่มีประเทศใดที่เป็นอุดมคติ อย่างไรก็ตามระบบที่ดีกว่าป้องกันเรื่องเหล่านี้ได้ดีกว่า มีตัวชี้วัดด้านความเท่าเทียมหรือความยุติธรรมที่มากกว่า มีความเหลื่อมล้ำน้อยกว่า ไปจนถึงความผิดพลาดในระบบยุติธรรมที่น้อยกว่า 

หรือแม้แต่ตัวชี้วัดเองก็มิได้มีตัวชี้วัดที่เรียกว่าสมบูรณ์แบบไร้ข้อบกพร่อง แต่ก็เป็นตัวชี้วัดที่ดีที่สุดเท่าที่ระบบจะสร้างขึ้นมาได้

พัฒนาการเด็กมิใช่เพื่อให้ได้เด็กดีสมบูรณ์แบบ แต่เพื่อให้เด็กพัฒนาได้ดีเท่าที่จะดีได้

เพื่อให้เข้าใจง่าย เราแบ่งพัฒนาการเด็กที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความยุติธรรม ความเท่าเทียม ความเหลื่อมล้ำ คุณค่า อุดมคติ จริยธรรม และจิตสาธารณะ เหล่านี้ออกเป็น 3 ช่วง


ช่วงที่ 1 เมื่อเด็กอายุ 0-7 ปี

เด็กควรลดความเป็นศูนย์กลางของจักรวาล (egocentrism) ลงได้มากพอสมควร เห็นมนุษย์คนอื่นมากขึ้นตามเวลา และมีความฉลาดด้านมิติสัมพันธ์ สามารถจัดความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งรอบตัวได้ดีพอสมควร (spatial relation intelligence)

จะเป็นเช่นนี้ได้เมื่อพ่อแม่มีเวลาเลี้ยงลูกด้วยตนเองมากพอทั้งปริมาณและคุณภาพ ดังนั้นจึงควรสร้างระบบสวัสดิการแม่-ลูกที่ดีกว่าที่เป็นอยู่วันนี้

นอกจากนี้เด็กควรมีการเตรียมความพร้อมพัฒนาการด้านการคิด (cognitive development) ที่ดีพอ ซึ่งทำได้ด้วยการเล่นและการทำงานในช่วงอายุ 3-7 ปีที่มากพอ ดังนั้นเราควรรื้อระบบการศึกษาอนุบาลแบบเร่งเรียนออก แล้วเปลี่ยนเป็นระบบการศึกษาแบบเตรียมความพร้อมหรือบูรณาการ


ช่วงที่ 2 เมื่อเด็กอายุ 7-12 ปี

ช่วงนี้คือวัยประถม เด็กควรมีความสามารถทำงานเป็นทีม (industry &collaboration) ทำได้ด้วยการรื้อระบบการศึกษาแบบท่อง จำ ติว สอบ และแพ้คัดออก เปลี่ยนเป็นการศึกษาโดยใช้โจทย์ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เพื่อแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 ด้วยทักษะศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills)


ช่วงที่ 3 เมื่อวัยรุ่นอายุ 13-18 ปี

ช่วงนี้คือวัยมัธยม วัยรุ่นควรมีความสามารถมองเห็นคุณค่าของตนเอง (self-value) ซึ่งจะนำไปสู่การมองเห็นคุณค่าของผู้อื่น มีจิตสาธารณะ (public mind) อันจะเป็นรากฐานของพัฒนาการเรื่องความเท่าเทียม ความยุติธรรม จริยธรรม (ethics&moral) และอุดมคติ (ideality) ทำได้ด้วยการปฏิรูปกระบวนการการศึกษามัธยมทั้งระบบ รวมทั้งสร้างระบบอาสาสมัคร (volunteer) ที่เป็นจริงและเข้าถึงได้จริง

มิได้ว่าระบบยุติธรรมต้องเลิศและสมบูรณ์แบบ  แต่ควรดีกว่านี้และดีที่สุดเท่าที่จะดีได้  เพราะแท้จริงแล้วแม้แต่เรื่องความยุติธรรมก็เป็นจิตใต้สำนึก ซึ่งคนเราสามารถเล่นตลกกับมันได้เสมอ นั่นแปลว่าความยุติธรรมอยู่ใต้ร่มโครงสร้างของจิตใจคือ อิด อีโก้ ซูเปอร์อีโก้ (id, ego, superego) ด้วยเช่นกัน

ซิกมันด์ ฟรอยด์เขียนว่าสำหรับจิตใต้สำนึกแล้ว ความยุติธรรมหมายถึง “ถ้าเราไม่ได้รับอนุญาตให้ทำ คนอื่นไม่ควรได้รับอนุญาตด้วยเช่นกัน” [1]

ฟรอยด์เขียนต่อไปว่าความยุติธรรมสัมพันธ์กับคำว่าสมมาตรด้วย “ถ้าอะไรเกิดกับมือขวาก็จะต้องเกิดกับมือซ้ายด้วย หากมีอะไรเกิดขึ้นกับเด็กก็ควรเกิดขึ้นกับพี่น้องด้วยเช่นกัน” [2]


                                      

อ้างอิง

Otto Fenichel.The Psychoanalytic Theory of Neurosis,1946.

References
1 According to Freud the unconscious basis of the concept of justice is the idea: ”What I am not permitted to do, no one else should be permitted, either”
2 There is a relationship between justice and symmetry. “It is fair that what happened to the right must happen to the left.” “Symmetry is achieved if what happened to a child happens to the other brothers and sisters as well.”

MOST READ

Social Issues

9 Oct 2023

เด็กจุฬาฯ รวยกว่าคนทั้งประเทศจริงไหม?

ร่วมหาคำตอบจากคำพูดที่ว่า “เด็กจุฬาฯ เป็นเด็กบ้านรวย” ผ่านแบบสำรวจฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และความเหลื่อมล้ำ ในนิสิตจุฬาฯ ปี 1 ปีการศึกษา 2566

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

9 Oct 2023

Education

20 Jul 2023

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ในวิกฤต (?)

ข่าวการปรับหลักสูตรของอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ชวนให้คิดถึงอนาคตของการเรียนการสอนสายมนุษยศาสตร์ เมื่อตลาดแรงงานเรียกร้องทักษะสำหรับการทำงานจริง จนมีการลดความสำคัญวิชาพื้นฐานอันเป็นการฝึกฝนการวิเคราะห์วิพากษ์เพื่อทำความเข้าใจโลกอันซับซ้อน

เสียงเล็กๆ จากประชาคมอักษร

20 Jul 2023

Social Issues

5 Jan 2023

คู่มือ ‘ขายวิญญาณ’ เพื่อตำแหน่งวิชาการในมหาวิทยาลัย

สมชาย ปรีชาศิลปกุล เขียนถึง 4 ประเด็นที่พึงตระหนักของผู้ขอตำแหน่งวิชาการ จากประสบการณ์มากกว่าทศวรรษในกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการในสถาบันการศึกษา

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

5 Jan 2023

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save