fbpx
เราจะวัดความเป็นชาติเดียวกันจากตรงไหน ?

เราจะวัดความเป็นชาติเดียวกันจากตรงไหน ?

วิโรจน์ ศุขพิศาล เรื่อง

 

ในปีที่ผ่านมา ‘กระแสชาตินิยม’ กลายเป็นกระแสที่แพร่กระจายไปทั่วโลก สะท้อนได้จากผลการลงประชามติ Brexit ที่อังกฤษ ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ รวมไปถึงกระแสต่อต้านผู้อพยพในหลายประเทศของภาคพื้นยุโรป ทำให้เกิดประเด็นถกเถียงกันว่า แล้วอะไรที่จะบอกว่าเราเป็นคนชาติเดียวกัน ความเป็นคนชาติเดียวกันจะวัดจากตรงไหน

 

Pew Research Centre หน่วยงาน Think Tank จากสหรัฐ ได้ทำการสำรวจคนจาก 14 ชาติ จำนวน 14,514 ตัวอย่าง โดยวัดความเป็นชาติเดียวกัน (national identity) ว่าเราจะวัดกันที่ตรงไหน ซึ่งหลักเกณฑ์ที่ทาง Pew Research กำหนดขึ้นมาวัดความเป็นชาติเดียวกันมีทั้ง ภาษาที่ใช้ ขนบธรรมเนียม (เช่น อาหารที่ทาน เสื้อผ้าที่สวมใส่ นิทานที่เล่าให้เด็กฟัง) การนับถือศาสนา ประเทศที่เกิด เป็นต้น

ผลการสำรวจบอกว่า สถานที่เกิด ดูจะไม่ได้เป็นหลักเกณฑ์สำคัญที่บ่งบอกความเป็นชาติเดียวกันในหลายประเทศ อย่างในออสเตรเลียมีเพียง 13% ที่เห็นว่าสถานที่เกิดเป็นหลักเกณฑ์สำคัญจะบอกว่าเป็นคนชาติเดียวกัน หรืออย่างในแคนาดาและสหรัฐ ก็มีคนเห็นด้วยเพียง 32% และ 33% ตามลำดับ ขณะที่หลักเกณฑ์ที่หลายประเทศให้ความสำคัญในการวัดว่าเป็นคนชาติเดียวกันดูจะเป็นเรื่องภาษาที่ใช้มากกว่า ในยุโรปผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 77% เห็นว่าภาษาที่ใช้เป็นเกณฑ์สำคัญในการบอกว่าเป็นคนชาติเดียวกัน ในญี่ปุ่นและสหรัฐ ก็ให้ผลเดียวกันคือ 70%

 

 

วัยที่แตกต่างกันก็มีมุมมองเรื่องความเป็นชาติที่แตกต่างกันด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือในญี่ปุ่นที่วัยรุ่น และคนสูงวัย ที่มองต่างกันอย่างมากเรื่องสถานที่เกิดเป็นเกณฑ์สำคัญที่จะบอกว่าเป็นคนชาติเดียวกัน โดยคนหนุ่มสาว (อายุ 18-34) เห็นว่าเรื่องสถานที่เกิดเป็นเกณฑ์สำคัญเพียง 29% ขณะที่คนสูงวัยเห็นว่าสถานที่เกิดเป็นเกณฑ์สำคัญถึง 59%

น่าสนใจว่าประเทศที่เพิ่งมีประเด็นเรื่องการรับผู้ลี้ภัย ก็มีมุมมองเรื่องความเป็นชาติเดียวกันที่ให้ความสำคัญกับเกณฑ์เรื่องขนบธรรมเนียมที่แตกต่างกันออกไป

ผู้ตอบแบบสอบถามจากฮังการี และกรีซ ซึ่งในปีที่แล้วประเทศทั้งสองมีการรับผู้ลี้ภัยจากตะวันออกกลางเป็นจำนวนมาก ให้ความสำคัญกับเรื่องขนบธรรมเนียมถึง 68% และ 6% ตามลำดับ ขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามจากเยอรมนีให้ความสำคัญเพียง 29%

หลายตัวชี้วัดที่ทาง Pew Research ไม่ได้นำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น ความนิยมเผด็จการ หรือการยึดมั่นในค่านิยมบางอย่าง ซึ่งน่าคิดว่าหาก Pew Research มาทำการสำรวจที่ประเทศไทยและเพิ่มหลักเกณฑ์บางอย่างเข้าไป ผลการสำรวจ ‘เราเป็นคนชาติเดียวกัน’ นี้จะออกมาเป็นแบบไหน

 

อ่านเพิ่มเติม

-งานวิจัย What It Takes to Truly Be ‘One of Us’ ของ Bruce Stokes จาก Pew Research Center, February 1, 2017

MOST READ

World

1 Oct 2018

แหวกม่านวัฒนธรรม ส่องสถานภาพสตรีในสังคมอินเดีย

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก สำรวจที่มาที่ไปของ ‘สังคมชายเป็นใหญ่’ ในอินเดีย ที่ได้รับอิทธิพลสำคัญมาจากมหากาพย์อันเลื่องชื่อ พร้อมฉายภาพปัจจุบันที่ภาวะดังกล่าวเริ่มสั่นคลอน โดยมีหมุดหมายสำคัญจากการที่ อินทิรา คานธี ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก

1 Oct 2018

World

16 Oct 2023

ฉากทัศน์ต่อไปของอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่สั่นสะเทือนระเบียบโลกใหม่: ศราวุฒิ อารีย์

7 ตุลาคม กลุ่มฮามาสเปิดฉากขีปนาวุธกว่า 5,000 ลูกใส่อิสราเอล จุดชนวนความขัดแย้งซึ่งเดิมทีก็ไม่เคยดับหายไปอยู่แล้วให้ปะทุกว่าที่เคย จนอาจนับได้ว่านี่เป็นการต่อสู้ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่รุนแรงที่สุดในรอบทศวรรษ

จนถึงนาทีนี้ การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ยังดำเนินต่อไปโดยปราศจากทีท่าของความสงบหรือยุติลง 101 สนทนากับ ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงเงื่อนไขและตัวแปรของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น, ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและรัฐอาหรับ, อนาคตของปาเลสไตน์ ตลอดจนระเบียบโลกใหม่ที่ก่อตัวขึ้นมาหลังยุคสงครามเย็น

พิมพ์ชนก พุกสุข

16 Oct 2023

World

9 Sep 2022

46 ปีแห่งการจากไปของเหมาเจ๋อตง: ทำไมเหมาเจ๋อตง(โหด)ร้ายแค่ไหน คนจีนก็ยังรัก

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์ เขียนถึงการสร้าง ‘เหมาเจ๋อตง’ ให้เป็นวีรบุรุษของจีนมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าเขาจะอยู่เบื้องหลังการทำร้ายผู้คนจำนวนมหาศาลในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์

9 Sep 2022

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save