fbpx
เพลงของเคท

เพลงของเคท

[et_pb_section bb_built=”1″][et_pb_row][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text _builder_version=”3.0.106″ background_layout=”light” background_color=”#eaeaea”]

‘เมื่อเวลามาถึง’ คอลัมน์ของ ธิติ มีแต้ม ที่หยิบแง่มุมของบทเพลงและเรื่องราวของศิลปินมาเล่าให้ลูกวัยยังไม่ถึงขวบฟัง คู่ขนานไปกับเรื่องราวของความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในครอบครัว เพื่อน และสังคม ท่ามกลางตำราฮาวทูเลี้ยงเด็กที่มีอยู่จำนวนมาก ผู้เขียนคิดว่าเมื่อเวลาผ่านไปเราจะลืมตำราพวกนั้น แต่เพลงจะยังบรรเลงอยู่กับพวกเราตลอดไป พบกับคอลัมน์นี้กันได้ทุกวันเสาร์สิ้นเดือนพร้อมๆ กัน

[/et_pb_text][et_pb_text _builder_version=”3.0.106″ background_layout=”light”]

 

 

ธิติ มีแต้ม เรื่อง

 

เฉพาะครึ่งปีแรกของปี 2018 มีข่าวครูทำร้ายเด็กมากเหลือเกิน ลูกยังเล็กมากที่จะเข้าใจได้ว่าทำไมถึงมีโรงเรียนให้เด็กๆ ที่โตกว่าลูกไม่กี่ปี กินข้าวกลางวันด้วยขนมจีนกับน้ำปลา ทั้งที่โรงเรียนมีเงินหาอาหารดีกว่านี้ให้พวกเขากิน

พ่อคิดว่านอกจากความลึกลับมืดดำในถ้ำแล้ว ที่ไม่น้อยไปกันก็คือโรงเรียนนี่แหละ เราไม่มีทางแน่ใจเลยว่าเมื่อเวลาเติบโตขึ้น พวกเราจะออกจากถ้ำได้หรือยัง, ทำไมน่ะเหรอ ก็เพราะมีคนไม่น้อยเลยที่คิดว่าความมืดในถ้ำสามารถใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องก่อไฟ

และที่ผ่านมา ไม่ใช่แค่พ่อที่ถูกถามว่า “วางอนาคตการเรียนของลูกไว้อย่างไร” ครอบครัวที่มีลูกวัยกำลังหัดเดินคงถูกถาม และคงกำลังขบคิดหาที่ทางให้อนาคตของลูกเช่นเดียวกัน

พูดแบบไม่อาย ตอนนี้ (ที่กำลังเขียนถึงลูก) พ่อไม่ได้วางแผนอนาคตการเรียนของลูกเลย แม้จะมีคนพูดถึง “การศึกษาทางเลือก” กันมามากแล้วก็ตาม โชคดีที่อย่างน้อยพ่อกับแม่ก็ไม่ได้ลนลาน ไม่ได้ Panic มากแบบที่มีคนเป็นกังวล เราเปิดเพลงฟัง หายใจลึกๆ และหลายครั้งก็เปิดเบียร์จิบไปด้วย แม้เพลงจะไม่ใช่ทางออกอะไรของโจทย์นี้ แต่พ่อแค่คิดว่าอย่างน้อยภาษาของมันก็น่าฟังกว่าคำของนักการศึกษาหลายๆ คน

บ่นมาหลายบรรทัดแล้ว เปิดเพลงฟังดีกว่า พ่อกับแม่ได้แผ่นเสียงของ Kate Bush อัลบั้ม Never for Ever มาราวๆ กลางปี 2016 มันเซอร์ไพรส์เรามาก แม้อัลบั้มนี้จะออกตั้งแต่ปี 1980 แล้วก็ตาม

เราย้อนไปฟังอัลบั้มแรก The kick Inside ปี 1978 ในยูทูป โดยเฉพาะเพลง Wuthering Heights เคท บุชในชุดเดรสสีแดงพร้อมดอกไม้แดงทัดหู ร้องไปเต้นไปในป่าเขา ตอนดูมิวสิควิดีโอครั้งแรก แม่ของลูกพูดคำแรกว่า “เพลงบ้าอะไรเนี่ย เสียงสูงๆ ต่ำๆ สวิงไปมาราวกับคนที่เล่านิทานไปกรีดร้องโหยหวนไป แถมยังเต้นเหมือนผีอีก” แต่หลังจากนั้นเราก็แทบคลั่งไคล้เพลงของเคทไปเลย

 

Kate Bush ภาพจาก www.thefamouspeople.com

 

เคทเกิดปี 1958 เธอเขียนเพลง Wuthering Heights ขึ้นตั้งแต่อายุไม่ถึง 20 ปี เพราะได้แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมโรแมนติกดราม่าในชื่อเดียวกันปี 1847 ของนักเขียนชาวอังกฤษนาม Emily Brontë ซึ่งทั้งคู่เกิดวันเดียวกันคือ 30 กรกฎาคม เพียงแต่ห่างกัน 140 ปี และเพลงนี้ก็เพิ่งครบรอบ 40 ปีในปี 2018 นี้ด้วย

หรือแม้แต่ในเพลง Flowers of the mountain อัลบั้ม The sensual world ปี 1989 เธอก็ได้รับแรงบันดาลใจจาก Ulysses วรรณกรรมแนวกระแสสำนึกจากนักเขียนชาวไอริชอย่าง James Joyce โดยเคทหยิบเอาตอนท้ายของเรื่องมาเล่าอยู่ในเพลงนี้ผสมกับดนตรีแนวมาซิโดเนีย

เคท บุช ศิลปินชาวอังกฤษที่เรารู้สึกวาบแรกว่าเธอเพี้ยนนั้น แน่นอนว่าเธอเป็นนักอ่าน และยังมีอิทธิพลต่อคนในวงการออกแบบแฟชั่นแบรนด์ดังไม่น้อย เช่น Olympia Le Tan, Veronique Branquinho, Louis Vuitton และ Miu Miu เป็นต้น

พ่อของเธอเป็นนายแพทย์และแม่ของเธอเป็นนักเต้นชาวไอริช การเข้าสู่โลกแห่งดนตรีของเธอจริงๆ ต้องให้เครดิต Paddy Bush พี่ชายของเธอที่เป็นนักดนตรีเช่นเดียวกัน

ตอนที่เคทอายุ 15 ปี พรรคพวกของพี่ชายเธอก็ได้พาเดวิด กิลมัวร์ มือกีตาร์วง Pink Floyd ซึ่งมีชื่อเสียงแล้วมาที่บ้าน และกิลมัวร์ก็ได้ลองฟังเพลงของเด็กสาวคนนี้

ผมไปที่บ้านเธอ เจอพ่อแม่ของเธอ พอได้ยินเสียงเธอ มันเป็นเสียงที่แปลกมาก เธอเล่นเพลงให้ผมฟังเกือบ 50 เพลง และผมคิดว่าควรจะสนับสนุนเธอคนนี้ กิลมัวร์เคยให้สัมภาษณ์ไว้ หลังจากนั้นปีต่อมาเคทก็ได้เซ็นต์สัญญากับค่าย EMI แต่ยังไม่ได้ออกอัลบั้มโดยทันที

เสียงและท่วงทำนองอันแปลกประหลาดของเธอที่มีทั้งแหลมสูงและทุ้มต่ำ สร้างความคาดเดาได้ยากยิ่งว่าเธอจะร้องแบบไหนต่อ หลายเพลงที่เราตั้งใจฟังและจะฮัมเพลงตามแต่ปรากฏว่าเราเดาผิด จังหวะของเพลงได้พาไปอีกทาง ราวกับคนกำลังเล่นยิมนาสติกที่เราไม่อาจรู้ได้ว่าจะม้วนหน้า ม้วนหลัง หรือตีลังกาใส่เกลียวตอนไหน

นอกจากทำนองและเนื้อเพลงที่เธอสร้างขึ้นราวกับโลกจินตนาการในบทกวีและวรรณกรรม เธอยังแสดงการเล่าเรื่องราวผ่านเพลงต่างๆ ด้วยการใช้ใบหน้าและการเต้น เพื่อดึงคนดูให้ดำดิ่งลงไปกับความหมายของเพลง

ในโลกของการแสดง Lindsay Kamp นักละครหน้าขาวเป็นผู้มีอิทธิพลสำคัญในงานแสดงเพลงของเคท หลังจากเธอได้ดูการแสดงละครใบ้เรื่อง Flower ของเขา มันเหมือนเป็นโลกใหม่ที่ฉันค้นพบ เป็นโลกที่แสดงออกด้วยท่าทาง เคทบอก

ส่วนลินด์เซ่เคยพูดถึงเคทว่า เธอได้มาเข้าชั้นเรียนเต้นกับเขาก่อนที่จะออกอัลบั้ม เธอมีความมุ่งมั่นในการฝึกมาก และเขาไม่เคยรู้มาก่อนว่าเคททำเพลง จนกระทั่งวันหนึ่งมีแผ่นเสียงมาส่งที่หน้าบ้านเขา มันคือแผ่นอัลบั้ม The kick Inside ซึ่งมีเพลงที่เคทเขียนถึงเขาด้วยคือเพลง Moving

ส่วนแผ่นอัลบั้ม Never for Ever ที่พ่อกับแม่ได้มาฟังนั้น ยิ่งชวนให้เรารู้สึกว่าเหมือนได้หนังสือพร้อมโรงละครรวมกันมาไว้ที่บ้าน เคทเคยบอกว่าเธอสร้างอัลบั้มขึ้นมาด้วยแรงบันดาลใจจากอัลบั้มอมตะอย่าง The Wall ของ Pink Floyd ที่ออกมาก่อนอัลบั้ม Never for Ever ได้หนึ่งปี

โดยเฉพาะเพลง Breathing ที่ภาคดนตรีมีกลิ่นอายแบบ Pink Floyd ไว้อย่างไม่เขินอายเคทเคยบอกว่าเธอเขียนเพลงนี้อย่างตามใจตัวเอง จนมารู้สึกในภายหลังว่ามันเชื่อมโยงกับจิตวิญญาณของตัวเธอ แม้คนฟังอย่างพ่ออาจจะรู้สึกแรกๆ ว่าแพลงน่าจะพูดถึงมลพิษทางอากาศที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยเฉพาะสงครามนิวเคลียร์

ก็ใช่ส่วนหนึ่ง แต่พอดูมิวสิควิดีโอเพลง เราถึงเข้าใจมากขึ้น เพลงเริ่มบรรยายตอนที่เธอเป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดา พยายามหายใจและมีชีวิตรอดจากสารพิษและระเบิด มีบางช่วงของเพลงเป็นเสียงบรรยายจากสารคดีศึกษาระเบิดนิวเคลียร์ พอฉากสุดท้ายก็ตัดไปที่ภาพจินตนาการเธอนั่งอยู่กับเพื่อนแล้วมีแสงระเบิดวาบขึ้น เธอหันมามองที่กล้องราวกับจะพูดว่า แสงนั่นกลับมาแล้ว

เคทเคยพูดถึง Breathing ว่าเพลงนี้เกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ คือการเข่นฆ่ากันเอง เธอคิดว่าการสูบบุหรี่ก็เป็นเรื่องเล็กๆ ที่สะท้อนถึงหลายอย่างมาก เพราะเธอเองก็สูบบุหรี่แม้จะรู้ว่ามันอันตรายก็ตาม เหมือนเบื้องลึกของจิตใต้สำนึกมนุษย์นั้นมีความต้องการทำลายตัวเองอยู่แล้ว

อัลบั้ม Never for Ever ที่อุดมไปด้วยความสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจทั้งเรื่องความใคร่ ความแค้น สังคม จิตวิญญาณ มีเพลงดังหลายอีกเพลง เช่น Infant Kiss, Babooska, The wedding list และ Army Dreamers แต่ละเพลงมีเอกลักษณ์เนื้อหาที่แหลมคมแตกต่างกัน แต่ยังคงคอนเซ็ปต์ไว้เหมือนกันคือความไม่แน่นอนเหมือนชื่ออัลบั้ม

ส่วนการอัดเสียงนั้น เธอได้เทคนิคการอัดเสียงแบบ Fairlight เป็นการอัดสียงแยกแล้วนำไปดัดแปลงลงเพลง โดยเฉพาะเสียงการปาแก้วแตกปรากฏอยู่ในเพลง Babooska แม้แต่ปกอัลบั้มนี้ที่เป็นภาพวาดสัตว์ประหลาดต่างๆ เธอก็ได้แรงบันดาลใจมาจากศิลปินในศตวรรษที่ 15 นาม Pieter Breughal

 

 

Elton John เป็นหนึ่งในสาวกและเพื่อนของเคท เคยให้สัมภาษณ์กับบีบีซีว่า เพลงของเคทนั้นลึกลับ เป็นปริศนา” 

พ่อคิดว่าเคทไม่ได้ถูกไฮไลท์แบบศิลปินเพื่อสังคมอย่างบ็อบ ดีแลน หรือ นีล ยัง แต่เพลงของเธอสะท้อนว่าเธอเป็นศิลปินที่ล่อลวงเราให้เข้าใจตนเองและสังคมอย่างแยบยล เพลงของเธอไม่ใช่เรื่องความรักของหญิงชายทั้งแบบหอมหวานหรือเศร้าโศกเท่านั้น แต่เป็นทั้งความดิบ ความใคร่ ความแค้น และความโลภรายล้อมอยู่

เคทไม่ใช่ศิลปินที่มีผลงานจำนวนมาก ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา เธอมีเพียง 10 อัลบั้มเท่านั้น แต่ความลึกลับและปริศนาในเพลงของเคทอย่างที่ Elton John บอก ก็มากมายพอที่เราจะให้เวลาค้นหาความหมายที่ซ่อนอยู่

เมื่อปี 2016 เคทเอาเพลง And Dream of Sheep ในอัลบั้ม Hounds of Love ปี 1985 ของเธอมาบันทึกมิวสิกวิดีโอใหม่ เธอเล่าเรื่องตัวเองกำลังใส่ชูชีพสีส้มมีไฟสัญญาณขอความช่วยเหลือกระพริบลอยตัวอยู่ในน้ำ และแม้โดยที่เคทจะไม่พูดอะไรมาก แต่เรากลับรู้สึกว่าภาพมันชวนให้นึกถึงผู้อพยพซีเรียที่หนีสงครามมาลอยคอขอความช่วยเหลืออยู่กลางทะเล

สำหรับพ่อกับแม่ ถ้าเพลงของ Carole King ออกแนวฟังสนุกสบาย ถ้า Whitney Houston บ่งบอกถึงความเนี้ยบและหรูหรา และ Lady Gagaให้ความตื่นตาตื่นใจ เพลงของเคทก็อาจเป็นโลกอีกใบที่เรานิยามไม่ได้

ลูกอาจจะสงสัยว่าแล้วเรื่องการศึกษาหรืออนาคตการเรียนของลูก เกี่ยวอะไรกับเพลงของเคทด้วย, อ้อ พ่อลืมบอกไป เคทไม่ได้เรียนสูง เธอออกจากระบบการศึกษาตอนเรียนแค่ระดับต้นไฮสคูลเท่านั้น

เคทเคยพูดว่า “School was a very cruel environment, and I was a loner. But I learnt to get hurt, and I learned to cope with it.

พ่อไม่ได้จะบอกว่าคนที่เรียนหนังสือมาตามระบบจะเลวร้าย เพียงแค่ไม่แน่ใจว่าถ้าเคทไม่ออกจากโรงเรียนมา เราจะได้ตื่นตะลึงกับเพลงของเธอหรือไม่ และแน่นอนว่าเมื่อเวลามาถึง ลูกก็ต้องเลือกเอง

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

22 Feb 2022

คราฟต์เบียร์และความเหลื่อมล้ำ

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เขียนถึงอุตสาหกรรมเบียร์ไทย ที่ผู้ประกอบการคราฟต์เบียร์รายเล็กไม่อาจเติบโตได้ เพราะติดล็อกข้อกฎหมาย และกลุ่มทุนที่ผูกขาด ทั้งที่มีศักยภาพ

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

22 Feb 2022