จากงานวิจัย “ตรวจดีได้ ตรวจร้ายเสีย” ของโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) สู่อัลบั้มชุดข้อมูลฉบับอ่านง่าย แชร์สะดวกให้คนที่คุณรักได้อ่านเพื่อรู้เท่าทัน ไม่ให้การตรวจสุขภาพกลายเป็นโศกนาฏกรรม
แนะนำแนวทางการตรวจสุขภาพที่เหมาะสมว่า ควรตรวจอะไร เมื่อไหร่ดี อะไรคือสิทธิตรวจฟรีที่มักไม่มีใครรู้ และอะไรที่ไม่ควรตรวจ เพราะอาจส่งผลเสียต่อร่างกายหรือเสียเงินเปล่า
อ่านแล้วอาจจะพบว่าความรักที่แสดงออกได้ด้วยการพาคนรักไปใกล้มือหมอนั้น อาจเผลอทำร้ายเค้าเหล่านั้นโดยไม่รู้ตัว
อ่านบทความ “ตรวจดีได้ ตรวจร้ายเสีย” : ตรวจสุขภาพอย่างไรไม่ให้ทำร้ายคนที่คุณรัก ฉบับเต็มได้ ที่นี่
*ข้อมูลจากงานวิจัยโดย HITAP ‘เช็คระยะสุขภาพ ตรวจดีได้ ตรวจร้ายเสีย’ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่
ตรวจดีได้ ตรวจร้ายเสีย ตรวจสุขภาพอย่างไรไม่ให้ทำร ้ายคนที่คุณรัก
*ข้อมูลจากงานวิจัยโดย HITAP ‘เช็คระยะสุขภาพ ตรวจดีได้ ตรวจร้ายเสีย’ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่ https://www.the101.world/ wp-content/uploads/2017/10/ mycheckup.pdf
ตรวจสุขภาพดีจริงหรือ?
คนไทยจำนวนไม่น้อยให้ความสำ คัญกับการตรวจสุขภาพ และนิยมเลือกซื้อแพ็กเกจตรว จสุขภาพที่รวบรวมโปรแกรมการ ตรวจที่หลากหลายไว้ด้วยกัน
‘การตรวจคัดกรองสุขภาพ’ คือ การซักถามหรือตรวจอย่างเป็น ระบบในเบื้องต้น เพื่อค้นหาความเสี่ยงหรือโร ค และลดความเสี่ยงหรือภาวะแทร กซ้อนจากโรคลง
รู้หรือไม่ว่า การตรวจคัดกรองบางอย่างเท่า นั้นที่มีประโยชน์ แต่การตรวจคัดกรองทุกชนิดส่ งผลเสียได้หากใช้ไม่เหมาะสม และบางอย่างก็มีควรตรวจเลย!
ข้อเท็จจริงก็คือ การตรวจทุกประเภทไม่สามารถใ ห้ผลที่มีความถูกต้อง 100%
● ทุกครั้งที่ตรวจมีโอกาสที่ผ ลตรวจของผู้ที่มีความผิดปกต ิและจะเป็นโรคในอนาคตบางคนจ ะแสดงผลว่าไม่เป็นอะไร ทำให้ไม่ได้รับการป้องกันแล ะดูแลอย่างถูกต้อง
● ทุกครั้งที่ตรวจมีโอกาสที่ค นปกติซึ่งไม่มีความผิดปกติแ ละจะไม่เป็นโรคในอนาคตบางรา ยอาจแสดงผลว่าเป็น คนกลุ่มนี้จะถูกส่งต่อเพื่อ รับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติ ม ซึ่งมักเป็นการตรวจที่มีควา มเสี่ยงและอันตรายเพิ่มขึ้น อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตา มมา
● ไม่ใช่ผู้ป่วยทุกรายที่มีคว ามผิดปกติความผิดปกติทางพยา ธิวิทยา (คือการความผิดปกติของเซลล์ หรือการทำงานของอวัยวะ) แล้วจะเกิดความเจ็บป่วยจากโ รคนั้นๆ ทุกราย เช่น พบเซลล์มะเร็งแต่ไม่ได้ลุกล ามจนเป็นโรคหรือเสียชีวิต ดังนั้นคนกลุ่มนี้แม้จะได้ร ับผลการตรวจที่ถูกต้อง แต่กลับไม่ได้ประโยชน์ และอาจต้องพบกับความเสี่ยงห รือผลข้างเคียงจากการรักษาโ รค (ที่ไม่ควรรักษา) ซึ่งในบางครั้งอาจรุนแรงถึง ชีวิต
อะไรบ้างที่ควรตรวจ และตรวจอย่างไรจึงเหมาะสม
• ตรวจเบาหวาน
• ตรวจภาวะ “น้ำหนักเกิน” หรือโรคอ้วน
• การวัดดัชนีมวลกาย (BMI) และการวัดเส้นรอบเอว
• โรคหัวใจขาดเลือดและโรคหลอด เลือดสมอง
• ภาวะโลหิตจาง
• ไวรัสตับอักเสบบี
• ตรวจหาเชื้อเอชไอวี
• ตรวจมะเร็งปากมดลูก
• ตรวจมะเร็งเต้านม
• มะเร็งลำไส้
ตรวจเบาหวาน
เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่ อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจแ ละโรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้นความมุ่งหวังของการร ักษาโรคเบาหวาน คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือ ดให้อยู่ตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะแทร กซ้อนลง
ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของโรค เบาหวาน ได้แก่ เบาหวานขึ้นประสาทตา โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอ ดเลือดสมอง โรคไตจากเบาหวาน การสูญสียเท้าจากบาดแผลเบาห วาน
สำหรับคนที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดโ ดยการเจาะเลือดหลังการงดอาห าร 8 ชั่วโมง ตรวจทุก 5 ปี
แต่ถ้าเป็นผู้มีความเสี่ยง เช่น เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือ ทานยาลดความดันโลหิต มีประวัติครอบครัวสายตรงเป็ นโรคเบาหวาน มีอายุเกิน 45 ปีขึ้นไป น้ำหนักเกินหรืออ้วน สามารถตรวจได้ถี่ขึ้น
**การโกหกตัวเองโดยการงดอาห ารประเภทแป้งหรือของหวานๆ ก่อนตรวจระดับน้ำตาลในเลือก อาจส่งผลร้าย ทำให้เกิดความมั่นใจผิดๆ ถ้าไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการกิ นและการออกกำลังกายอาจเกิดค วามเสี่ยงอยู่ดี
ตรวจภาวะ “น้ำหนักเกิน” หรือโรคอ้วน (มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เบาหวาน)
การวัดดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI) และการวัดเส้นรอบเอว (Waist Circumference)
การวัดดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI)
การวัดดัชนีมวลกายเป็นการคำ นวณจากน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตรยกกำลังสอง)
ดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 23-24.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร ถือว่า “น้ำหนักเกิน”
ถ้าเกิน 25 กิโลกรัม/ตารางเมตร ถือว่าเป็นโรค “อ้วน”
การวัดเส้นรอบเอว (Waist Circumference)
การวัดเส้นรอบเอวเพื่อพิจาร ณาภาวะอ้วนลงพุง สามารถประเมินได้จากเส้นรอบ เอว เกณฑ์ภาวะลงพุงในผู้หญิงและ ผู้ชายจะแตกต่างกัน
ผู้หญิงจะอยู่ในภาวะ “อ้วนลงพุง” หากเส้นรอบเอวมากกว่า 80 เซนติเมตร (32 นิ้ว) และผู้ชายจะอยู่ในภาวะอ้วนล งพุงหากเส้นรอบเอวมากกว่า 90 เซนติเมตร (36 นิ้ว)
โรคหัวใจขาดเลือดและโรคหลอด เลือดสมอง
โรคนี้เป็นสาเหตุการเสียชีว ิตลำดับต้นๆ ของคนไทย ปัจจุบันยังไม่มีการตรวจคัด กรองเพื่อหาโรคนี้โดยตรง แต่เป็นการตรวจเพื่อค้นหาปั จจัยเสี่ยงในการเกิดโรคระบบ หัวใจและหลอดเลือด เพื่อทำนายโอกาสการเกิดโรคใ นอนาคต เช่น อายุ เพศ ประวัติครอบครัว ความดัน ระดับโคเลสเตอรอล โรคร่วม และการสูบบุหรี่ เป็นต้น
แนะนำให้ตรวจสำหรับผู้ที่อา ยุมากกว่า 35 ปี และควรตรวจประเมินความเสี่ย งโดยรวมกับแพทย์เป็นประจำทุ ก 5 ปี หากอายุมากกว่า 65 ปี ควรตรวจคัดกรองโรคหัวใจเต้น ผิดจังหวะชนิด Atrial Fibrillation ด้วยการตรวจวัดชีพจรด้วย
ใครอายุ 35 ขึ้นไปสามารถตรวจสอบอายุหัว ใจเบื้องต้นเพื่อประเมินควา มเสี่ยงต่อโรคนี้ได้ที่ http:// www.mycheckup.in.th/hitap/ check_age.php
ภาวะโลหิตจาง
เกิดจากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุที่พบได้บ่อยและเป ็นปัญหาสำคัญ คือ โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยเฉพาะในเด็กทารกและหญิงต ั้งครรภ์ที่มีความต้องการธา ตุเหล็กสูง เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ทารกที่มีภาวะโลหิตจางจะเจ็ บป่วยได้ง่าย มีการเจริญเติบโตและพัฒนากา รเรียนรู้ช้า
หญิงตั้งครรภ์ควรฝากครรภ์ใน สถานพยาบาลตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อได้รับการดูแลป้องกันภ าวะโลหิตจาง และแนะนำให้พาบุตรหลานอายุ 9-12 เดือน ไปตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเล ือด (Complete blood count : CBC) หรือตรวจปริมาตรเม็ดเลือดแด งอัดแน่น (Hematocrit : Hct)
ไวรัสตับอักเสบบี
สาเหตุหนึ่งของโรคมะเร็งตับ คือการติดเชื้อไวรัสตับอักเ สบบี
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เด็กทุกคนจะได้รับการฉีดวัค ซีนป้องกันไว้รัสตับอักเสบบ ี 3 ครั้ง ตามแผนของกระทรวงสาธารณสุข ทำให้มีภูมิป้องกันโรค แต่ผู้ที่เกิดก่อนปี พ.ศ. 2535 และยังไม่เคยได้รับวัคซีน ยังมีความเสี่ยงต่อการติดเช ื้อ
ดังนั้น ผู้ที่อายุตั้งแต่ 31-40 ปี และยังไม่เคยได้รับการฉีดวั คซีนป้องกัน ควรได้รับการตรวจคัดกรองเพื ่อรักษาและป้องกันตั้งแต่เร ิ่มต้น ก่อนจะพัฒนาไปเป็นมะเร็งตับ ตับวาย หรือตับแข็ง
ตรวจหาเชื้อเอชไอวี
เป็นไวรัสที่ทำลายภูมิคุ้มก ันของร่างกายมนุษย์ ทำให้ติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอด ภัยเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ
หากติดเชื้อ การรักษาด้วยยาต้านไวรัสและ การดูแลสุขภาพด้านอื่นๆ จะให้ผลดีก็ต่อเมื่อทราบว่า ติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในระยะเ ริ่มแรก และเข้ารับการรักษาแต่เนิ่น ๆ
สามารถตรวจฟรีในโรงพยาบาลรั ฐทุกแห่ง ไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มเสี่ยงห รือไม่
ตรวจมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที ่พบมากเป็นอันดับสองในสตรีไ ทย โดยสาเหตุหลักของการเกิดโรค มาจากการติดเชื้อไวรัสเอชพี วี (HPV)
ปัจจุบันพบว่า มะเร็งปากมดลูกมีโอกาสรักษา ให้หายขาดได้สูง หากพบในระยะเริ่มต้น
สตรีอายุ 30-60 ปี ตรวจฟรี และแนะนำให้ตรวจทุก 5 ปี
ตรวจมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งในระ บบสืบพันธุ์ที่พบบ่อยที่สุด
การตรวจคัดกรองเดียวที่มีหล ักฐานว่าสามารถลดโอกาสเสียช ีวิตด้วยมะเร็งเต้านมของผู้ หญิงที่รับการตรวจได้ คือการตรวจด้วยเครื่องแมมโม แกรม (Mammogram)
การคัดกรองด้วยการคลำเต้านม มักพบก้อนมะเร็งในระยะลุกลา มแล้ว ซึ่งอาจสายเกินไปที่จะรักษา
ทั้งนี้ควรพิจารณาด้วยว่า มะเร็งเต้านมไม่ได้มีความร้ ายแรงกับผู้หญิงทุกคน ผู้หญิงบางรายที่มีมะเร็งนี ้อยู่อาจไม่ได้เสียชีวิตด้ว ยมะเร็งเต้านมนี้
แนะนำให้ตรวจด้วยเครื่องแมม โมแกรม ตั้งแต่อายุ 40-70 ปี ตรวจทุก 3-5 ปี
มะเร็งลำไส้
มะเร็งลำไส้เป็นมะเร็งที่พบ บ่อยเนื่องจากพฤติกรรมการกิ นและวิถีชีวิตของคนเปลี่ยน เช่นกินเนื้อสัตว์มาก รับประทานผลไม้น้อย
การตรวจคัดกรองทำได้ลายวิธี วิธีที่ได้รับการยอมรับในวง กว้างว่ามีประโยชน์มากกว่าโ ทษ ช่วยลดโอกาสการเสียชีวิตจาก โรคมะเร็งได้ 15% เมื่อเทียบกับไม่ได้รับการค ัดกรองเลย คือ การตรวจหาเลือกที่ปนมาในอุจ จาระ
แนะนำให้ตรวจสำหรับผู้มีอาย ุ 60-70 ปี โดยการตรวจหาเลือดในอุจจาระ ทุก 1-2 ปี
อะไรบ้างที่ตรวจแล้วมีโทษ มากกว่าประโยชน์
• การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลู กหมากด้วย PSA
• เอ็กซ์เรย์ปอด
การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลู กหมากด้วย PSA
ระบบประกันสุขภาพและสมาคมแพ ทย์เกือบทั่วโลกไม่แน่นำให้ ตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหม าก
การคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมา กด้วย PSA ทำให้เกิดการวินิจฉัยและรัก ษาคนไข้เกินความจำเป็น ทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตจากโ รคนี้ไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยส ำคัญ เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นมะเร็งที่ไม่รุนแรง และคนไข้หลายรายไม่เสียชีวิ ต การรักษาจึงไม่ได้ประโยชน์อ ะไร แต่กลับเกิดโทษหากมีการวินิ จฉัยเพิ่มเติมและรักษา เช่น การตรวจชิ้นเนื้ออาจนำไปสู่ การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ไ ด้ หรือบางรายถึงขั้นเสียชีวิต จากโรคแทรกซ้อน
นอกจากนี้ PSA ไม่มีความจำเพาะต่อมะเร็งต่ อมลูกหมาก เพราะระดับ PSA อาจสูงขึ้นจากสาเหตุอื่นๆ ก็ได้
ข้อเสียของการคัดกรองมะเร็ง ต่อมลูกหมากด้วย PSA
• 1 ใน 8 ของผู้ชายที่ตรวจคัดกรองด้ว ย PSA จะพบความผิดปกติทั้งที่ไม่ไ ด้เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
• ร้อยละ 76 ของผู้ชายกลุ่มนี้ ได้ตรวจชิ้นเนื้อลูกหมากแล้ ว พบว่าไม่ได้เป็นมะเร็งต่อมล ูกหมาก
ข้อเสียของการคัดกรองมะเร็ง ต่อมลูกหมากด้วย PSA
• ต้องคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหม ากด้วย PSA จำนวน 1,000 ราย จะป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยมะเร ็งต่อมลูกหมากตายได้ 1 ราย แต่ในทางตรงกันข้าม ในจำนวนคนที่เหลือ 999 คน พบว่า
– 120 คน จะได้ผลบวกลวง (คือผู้ตรวจไม่ได้เป็นอะไร แต่ผลกลับแสดงว่าเป็น)
– 30 คน จาก 120 คนนี้ได้รับผลกระทบจากการวิ นิจฉัยและรักษาจนหย่อนสมรรถ ภาพทางเพศ
– 20 คนกลายเป็นคนกลั้นปัสสาวะหร ืออุจจาระไม่ได้
– 2 คน เกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจแล ะหลอดเลือดอย่างรุนแรง
– 1 รายที่ไม่ป่วยก็ต้องเสียชีว ิตจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
เอ็กซ์เรย์ปอด
จากการที่วัณโรคส่วนใหญ่มัก เกิดที่ปอดและระบบทางเดินหา ยใจ เป็นเหตุให้ “การถ่ายภาพรังสีทรวงอก” หรือที่รู้จักกันดีว่า “การเอ็กซ์เรย์ปอด” ถูกนำมาบรรจุไว้ใน “ชุดตรวจร่างกาย” ที่สถานพยาบาลให้บริการกันอ ย่างแพร่หลาย ราวกับเป็นการตรวจ “ภาคบังคับ” ที่ขาดไม่ได้ ทั้งๆ ที่ไม่มีหลักฐานทางวิชาการส นับสนุนให้ทำ
เพราะการเอ็กซ์เรย์ปอดของคน ทั่วไป เพื่อหาวัณโรคในคนที่ไม่มีอ าการนั้น มีโอกาสตรวจพบวัณโรคน้อยมาก ในทางตรงข้าม รังสีเอ็กซ์เพิ่มความเสี่ยง ต่อมะเร็ง และยังให้ผลบวกลวง (คือผู้ตรวจไม่ได้เป็นอะไร แต่ผลกลับแสดงว่าเป็น) ทำให้ต้องวินิจฉัยเพิ่มขึ้น เช่น ต้องส่องกล้องเข้าไปในระบบท างเดินหายใจ ผ่าตัดทรวงอก ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้บางครั้ งทำให้เกิดการบาดเจ็บ ทุพพลภาพหรือเสียชีวิตได้
การตรวจที่แม้จะไม่เป็นอันต ราย แต่ก็เป็นการเสียเงินไปเปล่ า
• ตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานขอ งอวัยวะ
• อัลตราซาวด์ช่องท้อง
• ค้นหาโรคไตอักเสบ และนิ่วในไต
ตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานขอ งอวัยวะ
ถือเป็นการตรวจแบบเหวี่ยงแห เช่น ตรวจการทำงานของตับ หรือตรวจการทำงานของไตในผู้ ไม่มีอาการหรือประวัติความเ สี่ยง จากการวัดระดับยูเรียไนโตรเ จน (BUN) และครีอะตินีน (Creatinine) เนื่องจากสองอย่างนี้ไม่มีค วามจำเพาะ อาจเกิดจากการขาดน้ำ เสียเหงื่อ กินยาหรือเนื้อสัตว์บางชนิด อีกทั้งการตรวจแบบนี้จะให้ผ ลว่ามีความผิดปกติก็ต่อเมื่ อโรคลุกลามไปมากแล้ว ซึ่งถึงตอนนั้นก็สายเกินแก้ เสียแล้ว
การตรวจแบบเหวี่ยงแหเช่นนี้ ยังอาจทำให้เกิดความมั่นใจผ ิดๆ ว่าตนเองไม่ได้เป็นโรคหรือไ ม่มีความเสี่ยง หรือหากได้รับผลบวกลวง (คือผู้ตรวจไม่ได้เป็นอะไร แต่ผลกลับแสดงว่าเป็น) ทำให้ต้องสูญเงินเพื่อตรวจเ พิ่มเติมและอาจมีความเสี่ยง และได้รับอันตราย
อัลตราซาวด์ช่องท้องบางส่วน
เป็นการตรวจที่พบอย่างแพร่ห ลายในชุดตรวจสุขภาพของโรงพย าบาลต่างๆ
การตรวจโดยทั่วไปในผู้ที่ไม ่มีอาการหรือประวัติความเสี ่ยงของโรคต่างๆ ไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่ามีป ระโยชน์ แต่เมื่อตรวจแล้วกลับสร้างค วามกังวลใจทั้งที่อาจยังไม่ ต้องรักษา
แต่สำหรับเพศชายอายุมากกว่า 65 ปี แนะนำให้มีการตรวจอัลตราซาว ด์ช่องท้องทั้งหมด เพื่อวินิจฉัยภาวะเส้นเลือด แดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพองก่ อนที่จะแตก
ค้นหาโรคไตอักเสบ และนิ่วในไต
แม้จะเป็นโรคที่ร้ายแรง แต่ข้อมูลขากงานวิจัยในปัจจ ุบันชี้ให้เห็นว่าการตรวจปั สสาวะและเลือดเพื่อหาโรคทั้ งสองในคนทั่วไปพบว่าไม่มีปร ะโยชน์ ควรตรวจเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจและหลอดเลือด
การตรวจสุขภาพมีทั้งตรวจดีไ ด้และตรวจร้ายเสีย ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่ อจะได้รับประโยชน์จากการป้อ งกันหรือการรักษาโรค ข้อมูลความรู้อาจมีการเปลี่ ยนแปลงได้ เช่นเดียวกันกับความรู้ที่แ พทย์หลายท่านเคยได้รับทราบม าในอดีตและไม่มีโอกาสรับทรา บข้อมูลใหม่ที่ค้นพบในปัจจุ บัน
ทุกคนควรมีความรู้พื้นฐาน ตระหนักถึงความสำคัญและผลเส ียของการตรวจคัดกรองสุขภาพ และไม่ตั้งความหวังของการมี สุขภาพดีทั้งหมดไว้ที่แพทย์ และโรงพยาบาล ดังนั้น ทุกคนต้องเป็นผู้สร้างสุขภา พที่ดีของตนเอง
อ่านบทความ “ตรวจดีได้ ตรวจร้ายเสีย” : ตรวจสุขภาพอย่างไรไม่ให้ทำร้ายคนที่คุณรัก ฉบับเต็มได้ที่ https://www.the101.world/thoughts/information-for-health-check-up/
และผลสรุปจากงานวิจัยโดย HITAP ‘เช็คระยะสุขภาพ ตรวจดีได้ ตรวจร้ายเสีย’ ได้ที่ https://www.the101.world/wp-content/uploads/2017/10/mycheckup.pdf
Related Posts
วิธีอ่าน 101 ศุภมิตร ปิติพัฒน์ หัวหน้าภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดคอลัมน์ 'อ่านโลก แบบ 101' ทุกวันศุกร์ที่ 2 ของเดือน "ครูสอนอ่านของผมท่านสอนวิธีอ่านงานวิชาการในสาขาที่ผมเรียนว่า ดนตรีไทยเขามี 3…
Thoughts: Editor's Note "ทีมคอลัมนิสต์ 101" เปิดตัวทีมคอลัมนิสต์ เซกชัน Thoughts ของ 101 : พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย-พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม-วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร-สฤณี อาชวานันทกุล-อธึกกิต แสวงสุข-อายุษ ประทีป ณ ถลาง-เวียง…
วิธีอ่านสถานการณ์ 101 ศุภมิตร ปิติพัฒน์ เปิดเคล็ดวิชา "การอ่านสถานการณ์ 101" สำหรับอ่านสถานการณ์การเมืองโลก ตั้งแต่ "อ่านการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์" จนถึง "อ่านลงไปในตัวสถานการณ์"
วิธีอ่าน 101 ศุภมิตร ปิติพัฒน์ หัวหน้าภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดคอลัมน์ 'อ่านโลก แบบ 101' ทุกวันศุกร์ที่ 2 ของเดือน "ครูสอนอ่านของผมท่านสอนวิธีอ่านงานวิชาการในสาขาที่ผมเรียนว่า ดนตรีไทยเขามี 3…
วิธีอ่าน 101 ศุภมิตร ปิติพัฒน์ หัวหน้าภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดคอลัมน์ 'อ่านโลก แบบ 101' ทุกวันศุกร์ที่ 2 ของเดือน "ครูสอนอ่านของผมท่านสอนวิธีอ่านงานวิชาการในสาขาที่ผมเรียนว่า ดนตรีไทยเขามี 3…
สุขภาพ Health ความไม่รู้ด้านสุขภาพ ตรวจดีได้ ตรวจร้ายเสีย รู้ทันสุขภาพ health101 ตรวจสุขภาพ