เมธิชัย เตียวนะ เรื่องและภาพ
หากพูดถึงการทำงาน ภาพแรกที่หลายคนคิดถึงอาจจะเป็นภาพโต๊ะทำงาน คอมพิวเตอร์ มีเอกสารกองสูงตั้งเรียงราย แต่ในความเป็นจริง พื้นที่การทำงานมีความหลากหลายมากกว่านั้น จนอาจพูดได้ว่า ในทุกพื้นที่มีคนกำลังทำงาน ไม่ว่าจะเป็นบนท้องถนน ในรถ ในห้องครัว บนเวทีร้านเหล้า หรือแม้กระทั่งบ้าน ก็สามารถกลายเป็น ‘ที่ทำงาน’ ได้ในปัจจุบัน
เมื่อเป็นเช่นนี้ แนวคิดการทำงานของอาชีพหนึ่งอาจจะไม่สามารถนำมาใช้กับอาชีพหนึ่งได้ เพราะพื้นที่ในการทำงานมีความยืดหยุ่น คนทำงานมีความหลากหลายมากขึ้น แต่ไม่ว่าคนทำงานจะเป็นใคร มีอาชีพอะไร หรือทำงานที่ไหน สิ่งสำคัญที่สุดคือ ทุกคนควรมีพื้นที่ทำงานที่ดีและมีคุณภาพ
…อาจไม่ใช่ workplace ที่สมบูรณ์ แต่เป็น workspace ที่ยืดหยุ่นและเหมาะสมกับงานของตัวเอง
101 ลงพื้นที่พูดคุย สำรวจจักรวาลของคนทำงานหลากหลายอาชีพ – เรื่องราวของพวกเขาเป็นอย่างไร ที่ทำงานที่ดีของพวกเขาควรมีหน้าตาเป็นแบบไหน – หาคำตอบได้ในอัลบั้มภาพนี้
ไพวรรณ์ อรัญทม แม่บ้านหอศิลป์กรุงเทพ
“เมื่อก่อนป้าเคยเป็นแม่บ้า นคอนโด ก็ไปนั่งอยู่ใต้บันไดกับทาง หนีไฟนี่แหละ แต่พอมาอยู่ที่นี่ก็ดีขึ้นน ะ เขาก็มีห้องไว้ให้แม่บ้านได ้กินข้าว มีห้องเก็บของแม่บ้าน สำหรับป้าแค่นี้ก็พอแล้ว เป็นแม่บ้านจะคิดอะไรมากมาย จะขอห้องใหญ่ๆ มันก็เว่อร์ไป แค่ให้เก็บของได้ก็ดีแล้ว ทำงานเราให้มันดีอย่าให้เขา มาว่าได้ก็โอเคแล้ว”
ธนัช ธเนศจินดารัตน์ นักดนตรีอิสระ
“ในมุมมองของผมนักดนตรีก็อย ู่ในฐานะเดียวกับคนที่มาเที ่ยวแหละ บางร้านไม่ได้มองว่าเราเป็น พนักงานของเขา เราก็ต้องจอดรถไกลมาก เวลาเข้าร้านก็ต้องเดินฝ่าค นเข้าไป”
“ผมเป็นมือกลองก็จะมีสัมภาร ะเยอะกว่าคนอื่นๆ ในวง เวลาไปถึงก็ไม่ได้มีห้องพัก ให้นักดนตรี ยกเว้นร้านใหญ่ๆ ที่จะมีห้องพักศิลปินซึ่งบา งครั้งนักดนตรีก็มีโอกาสได้ ใช้ร่วมบ้าง แต่บางร้านก็ไม่เปิดให้เราเ ข้าไปใช้ ต้องไปยืนรอข้างๆ ร้าน”
“เรื่องคนตีกันในร้านก็เคยเจอ ถ้าร้านไหนมีการ์ดก็จะปลอดภ ัยขึ้นมาหน่อย ซึ่งเป็นความปลอดภัยของคนที ่มาเที่ยวด้วย นักดนตรีก็ได้สิทธินั้นไปด้ วย การ์ดก็จะดูแลทุกคน แต่ถ้าร้านไหนไม่มีการ์ดแล้ วเกิดเหตุการณ์แบบนี้ก็ซวยเ หมือนกัน”
“ถ้าถามว่าที่ทำงานที่ดีสำห รับนักดนตรีกลางคืนเป็นยังไ ง อย่างแรกก็คือเรื่องความปลอ ดภัย ควรมีที่จอดรถให้นักดนตรี และอยากให้มองว่านักดนตรีเป ็นพนักงานคนหนึ่งของร้าน”
ปวีรชา หนูจ้อย พนักงานออฟฟิศ (Work from home)
“ตั้งแต่มีโควิดทางบริษัทก็ เริ่มให้พนักงานเวิร์กฟรอมโ ฮม เราก็พบว่าจริงๆ แล้วเราชอบทำงานที่บ้าน เพราะรู้สึกว่ามีสมาธิ โฟกัสกับงานได้มากกว่า งานชิ้นเดียวกันถ้าทำที่ออฟ ฟิศต้องใช้เวลา 5 ชั่วโมง แต่พอมาทำที่บ้านจะทำงานเสร ็จภายใน 3 ชั่วโมง ตอนนี้เราเลยรู้สึกแฮปปี้กั บการเวิร์กฟรอมโฮม”
“เรื่องการแบ่งเวลาทำงาน โดยปกติงานจะมีเดดไลน์กำกับ อยู่แล้ว ถ้าวันนี้ทำงานน้อย พรุ่งนี้ก็ต้องทำเยอะ หรือบางวันก็ต้องทำเยอะมากๆ จนไม่ได้นอนก็เพราะเราทำตัว เอง เราไม่แบ่งเวลาให้ดีเอง แต่ท้ายที่สุดทุกคนก็ปรับตั วกับการทำงานได้
“หลายคนพูดถึงค่าไฟที่เพิ่ม ขึ้น และเราต้องมาแบกรับค่าใช้จ่ ายในส่วนนี้ ส่วนตัวเรามองว่ามันก็ไปหัก ลบกับค่าเดินทาง พอเวิร์กฟรอมโฮมเราไม่ต้องจ ่ายค่าเดินทางไปออฟฟิศ และเราไม่ได้อยู่ห้องแอร์ตล อดเวลา ถ้าร้อนมากๆ ก็เปิดแอร์ แต่สักพักก็ปิดแล้วเดินไปทำ อย่างอื่น เลยไม่ได้รู้สึกแย่กับการแบ กรับค่าไฟที่เพิ่มขึ้น
“พื้นที่การเวิร์กฟรอมโฮมที ่ดีที่สุดสำหรับเรา คิดว่าควรจะเป็นพื้นที่โล่ง ๆ ดูแล้วสบายตา มีเก้าอี้ดีๆ นั่งแล้วไม่ปวดหลัง และถ้าเป็นห้องที่มองออกไปแ ล้วเห็นวิวดีๆ ก็คิดว่าน่าจะเป็นห้องทำงาน ที่เจ๋ง”
ชาติ ผองมูน พ่อค้าผลไม้
“พื้นที่ที่ผมขายของอยู่ตอน นี้มันจำกัด ทาง กทม. มีนโยบายไม่ให้ขายของริมถนน ใหญ่ ถนนตรงนี้แยกออกมาจากถนนใหญ ่หน่อยก็พอจะขายได้ แต่อยู่ใกล้คูคลองก็จะมีกลิ ่นน้ำเสียหน่อย”
“ถ้าเป็นไปได้ กทม. ควรจะทำให้เป็นระบบขึ้น จัดพื้นที่ให้เรา จัดการเรื่องความสะอาด แต่ตอนนี้มันไม่ได้เป็นแบบน ั้น เอะอะก็จะไล่อย่างเดียวเลย ปัญหาไม่ได้ถูกแก้ที่ต้นเหต ุ”
“จริงๆ ในอนาคตก็อยากมีร้านเป็นที่ เป็นทางนะ เป็นบล็อกของตัวเอง แต่ตอนนี้ก็ได้แค่นี้ เข็นมาขาย ขายเสร็จก็เข็นกลับ”
ฤทธิไกร ดีแดง พนักงานรักษาความปลอดภัย
“ก่อนหน้านี้เคยเป็นยามหมู่ บ้าน ทำงานวันละ 12 ชั่วโมง แต่ปัจจุบันเป็นยามตึกออฟฟิ ศทำวันละ 8 ชั่วโมง ถ้าให้เปรียบเทียบกันมันก็ส บายไปคนละแบบกันนะ ยามหมู่บ้านไม่ค่อยวุ่นวาย พอเขาเข้าบ้านก็จบ”
“ที่นี่เป็นตึกออฟฟิศมีคนเข ้าออกตลอดเวลา ทำงานที่นี่ก็เหนื่อยนะ ต้องโบกรถ เดินตรวจ ลงบันทึก เงินเดือนมันก็น้อยนะ แต่สวัสดิการดี มีหอพักให้ ส่งลูกเราเรียนจนจบปริญญาตร ี อันนี้แหละที่ดีที่สุดในชีว ิตผมสำหรับคนเป็นพ่อ เราก็อยากให้ลูกเรียนสูง มันดีตรงนี้แหละ”
“ถ้าไม่มีโควิดมันจะดีกว่าน ี้นะ พอมีโควิดเข้ามาเราก็ทำโอที ไม่ได้ จากที่เคยตั้งเป้าไว้ว่าจะไ ด้เท่านั้นเท่านี้ ก็ไม่ได้ ตอนนี้ก็ได้แค่เงินเดือน”
“ยามก็ควรจะมีวิทยุสื่อสารอ ันนี้สำคัญที่สุด อย่างอื่นก็ควรจะมี เช่น พัดลม ทีวี ยากันยุง ถ้าเป็นหน้าฝนก็ต้องมีรองเท ้าบูท ที่นี่เขาก็เตรียมให้เราทุก อย่าง”
ประภาสพงษ์ เล้าอติมาน ช่างภาพอิสระ
“งานหลักๆ ของผมคืองานแต่งภาพ พอทำงานที่บ้านนานๆ รู้สึกว่ามันตันและขี้เกียจ เพราะโต๊ะทำงานอยู่ใกล้กับท ี่นอน ก็เลยออกมาหาร้านกาแฟนั่งทำ งาน รู้สึกว่ามันโล่งกว่าที่บ้า น ทำงานได้ดีกว่าอยู่บ้าน ได้เจอผู้คนบ้าง ดีกว่าอยู่ในห้องคนเดียว”
“ช่วงแรกๆ ผมเคยลองเข้าไปใช้ห้องสมุดป ระชาชนนะ แต่เรารู้สึกว่ามันเก่า ไม่ค่อยโอเค เหมือนขาดการดูแลอย่างต่อเน ื่อง พอเป็นอย่างนี้ก็ไม่ตอบโจทย ์เรา ก็เลยเลือกที่จะนั่งร้านกาแฟ”
“การนั่งทำงานที่ร้านกาแฟก็ มีข้อเสีย หนึ่งคือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้ น เราออกมาครั้งนึงกาแฟแก้วละ ร้อย สองคือที่จอดรถ บางร้านก็มีที่ให้จอด บางร้านก็ต้องหาที่จอดซึ่งก ็เป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้ น แต่มาคิดดูก็บาลานซ์กับค่าจ ๊อบของผมนะ เพื่อให้งานออกมาดีก็โอเคที ่จะจ่าย
“ถ้าพูดถึงที่ทำงานในฝัน สำหรับผมมันควรจะโล่งกว้าง มีปลั๊กไฟ ข้างนอกควรจะมีต้นไม้ เพราะเวลาจ้องคอมฯ นานๆ เราควรจะมีที่พักสายตา ผมอยากได้ห้องกระจกในสวน มีกาแฟดีๆ สักแก้ว นี่แหละคือที่ทำงานในฝันที่ ผมอยากได้”
วิทวัส เดโชศาสตร์ Youtuber ช่อง GUZAP
“สตูดิโอแรกของช่อง GUZAP ผมใช้ไฟหลอดตะเกียบ 1 หลอด ลังกระดาษ 1 ลัง กล้องคอมแพค และขาตั้งกล้องอันละ 99 บาท อุปกรณ์ทั้งหมด 4 อย่างกับคนอีก 1 คน จุดด้อยในตอนนั้นผมไม่สามาร ถเข้าถึงมือถือใหม่ๆ ที่อยากจะเอามารีวิวได้ ก็ต้องทำเท่าที่ทำได้ ก็คือยืมมือถือน้อง มือถือเพื่อนมารีวิว แล้วก็ทำมาเรื่อยๆ ช่องก็โตขึ้นเรื่อยๆ”
“ตอนนี้มีพนักงาน 12 คน มีสตูดิโอผลิตงานที่มีคุณภา พได้ เข้าถึงวัตถุดิบที่จะนำมารี วิวได้ทั้งหมด ต่อสู้ด้วยตัวเองมาโดยตลอด แล้วก็เอามาพัฒนาให้หลายอย่ างดีขึ้น”
“ออฟฟิศในฝันของผมก็คือออฟฟ ิศที่เป็นบ้าน 2 ชั้น มีที่รอบบ้านเยอะๆ พนักงานมาทำงานแค่วันศุกร์ว ันเดียว วันอื่นๆ ให้เวิร์กฟรอมโฮม อันนี้คือปลายทางที่เราอยาก ทำให้ได้ สำหรับผมการทำงานที่เหมือนก ารไม่ทำงานอันนี้คือที่สุดแ ล้ว”
ไสว มหิมา คนขับแท็กซี่
“ผมขับรถวันละ 10 ชั่วโมง พักกินข้าวตอนเที่ยงไม่ถึงห นึ่งชั่วโมง รถคันนี้เป็นเกียร์ออโต้มัน ก็ดีหน่อยนะ ขับง่าย เมื่อก่อนขับเกียร์ปกติ พอลงจากรถขาข้างนึงก็ชาไปเล ย”
“เมื่อก่อนผมเคยมีรถของตัวเ อง เอามาขับแท็กซี่ แต่พอหมดสัญญาก็ไม่ได้ไปต่อ สัญญา เลยมาเช่ารถเขาขับ บางครั้งเราก็ได้รถไม่ดี ขับไปมันก็มีปัญหาวิ่งไปเดี ๋ยวก็ดับ บางครั้งก็ดับบนทางด่วน เราก็ต้องรออยู่ในรถตลอดเลย รอให้เขามายกรถเราลงจากทางด ่วน”
“คนขับรถแท็กซี่เช่าก็ต้องก ารแค่รถสภาพดีๆ แอร์เย็น รถไม่มีปัญหาจุกจิก”
นงค์นุช ถือศิล พนักงานทำอาหาร
“ปกติจะใช้เวลาอยู่ในครัวปร ะมาณ 4 ชั่วโมง พัก 1 ชั่วโมง แล้วเข้าครัวต่ออีก 4 ชั่วโมง แอร์หรือพัดลมก็ไม่สามารถเข ้ามาถึงอยู่แล้ว ก็จะร้อนนิดนึง แต่เราไม่ได้อยู่ในครัวตลอด เวลา ช่วงที่ไม่มีออเดอร์ก็สามาร ถเดินออกมาเตรียมของข้างนอก หรือออกไปเดินรับอากาศบ้างก ็ได้”
“ครัวที่ดีควรจะมีพื้นที่กว ้าง ไม่แออัดเกินไป และอากาศถ่ายเทสะดวก ถ้าเป็นคูหาหรือตึกก็ควรจะม ีเครื่องดูดควัน ที่นี่เขาก็มีที่ดูดควันนะ สำหรับเราถ้าไม่มีปัญหาเรื่องอากาศก ็โอเคแล้ว”
Related Posts
กินเนื้อย่างสะเทือนถึงไฟป่าแอมะซอน วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงของการกินเนื้อกับไฟป่าแอมะซอน เมื่อพื้นที่ป่าในบราซิลถูกเปลี่ยนเป็นไร่ข้าวโพดและถั่วเหลืองสำหรับอาหารสัตว์เพื่อตอบสนองการบริโภคเนื้อที่เพิ่มขึ้น
ไม่ไหวบอกไหว นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เขียนถึงปัญหาในวัฒนธรรมราชการที่มีส่วนทำให้ปัญหาฝุ่นควันภาคเหนือไม่ถูกแก้ไข
วอนขอความร่วมมือ นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ชวนมองประเด็น 'การคิดถึงประโยชน์ส่วนรวม' ในห้วงเวลาที่เสียงเรียกร้องความรับผิดชอบจากคนยากจนดังระงม จากสถานการณ์โคโรนาไวรัส
อาชีพยุคใหม่ พนักงานออฟฟิศ ที่ทำงานยุคใหม่ ฉันรักงาน งานรักฉันไหม ชมรมคนรักงาน แรงงานนอกระบบ work from home COVID 19 ที่ทำงาน ผลกระทบจาก COVID-19
เรียนจบนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สนใจวิถีชีวิตผู้คน ดนตรี สิทธิมนุษยชน และความเหลื่อมล้ำ ชอบเล่าเรื่องผ่านงานภาพถ่ายและวิดีโอ