fbpx
รีวิวชีวิตดีๆ ในกรุงเทพฯ Bangkok-บางคอก with friendly people

รีวิวชีวิตดีๆ ในกรุงเทพฯ Bangkok-บางคอก with friendly people

 

รีวิวชีวิตดีๆ ที่กรุงเทพฯ กับ friendly people

ซีรีส์ Bangkok-บางคอก ขอเสนอภาพวาดการ์ตูนจากนักวาดคนใหม่แห่ง 101 ที่จะเสิร์ฟภาพน่ารักๆ ให้คุณทุกเดือนเป็นประจำหลังจานี้

ประเดิมภาพชุดแรกด้วยเรื่องราวของกรุงเทพฯ – รถติดอย่างไม่มีที่สิ้นสุด, ฟุตปาธที่ให้เราได้เล่นเกมหลบระเบิดกันทุกวัน, คนแน่นเอี้ยดที่ป้ายรถประจำทาง, โครงการทิ้งร้างบนถนนใหญ่, รถเมล์ที่ผ่านไปหลายปีก็ยังเหมือนเดิม, หลุมกว้างบนถนนที่ให้อารมณ์เหมือนอยู่ดวงจันทร์ และประชาชนอีกนับพันที่รอขึ้นรถขบวนเดียวกันกับเรา

 

 

B รถติดอย่างไม่มีวันสิ้นสุด

 

สถานที่ที่คนกรุงเทพใช้เวลาชีวิตหมดไปมากที่สุดสถานที่หนึ่ง คือ ท้องถนน ทั้งผู้ที่ใช้รถส่วนตัว หรือรถโดยสารประจำทาง ล้วนแล้วแต่ทอดเวลาไปบนถนนที่มีรถติดยาวอย่างน่าเสียดาย หากความรู้สึกที่ใช้บอกเวลาสรุปได้ความว่า ‘นาน’  รายงานการประเมินสภาพจราจรทั่วโลก ประจำปี 2560 จาก INRIX Global Traffic Scorecard บริษัทที่วัดผลการจราจรในช่วงเวลาเร่งด่วนและช่วงเวลาอื่นๆ ในแต่ละวันของ 1,360 เมืองทั่วโลก ก็ถือเป็นเครื่องย้ำความยาวนาน ด้วยผลสำรวจที่ระบุว่า ไทยเป็นประเทศที่มีการจราจรติดขัดมากที่สุดในโลก โดยเสียเวลาเฉลี่ยราว 56 ชั่วโมงต่อปีไปกับรถติดบนถนน และครองการเป็นแชมป์ต่อเนื้องถึงสองปี จากปี 2559 ด้วย

 

ที่มาภาพ : http://thaflysociety.com/

 

 

A ฟุตปาธที่ให้เราได้เล่นเกมหลบระเบิดกันทุกวัน

 

ฟุตปาธ พังๆ ใช้การไม่ได้ ให้ความรู้สึกไม่ปลอดภัยเหมือนอยู่ในเกมหลบระเบิด กลายเป็นภาพชินตาของคนกรุงเทพฯ แม้ฟุตปาธและคุณภาพการเดินจะเป็นมาตรวัดที่สำคัญของการเป็นเมืองที่ดี แต่ดูเหมือนสภาพที่ใช้ไม่ได้นี้ก็ยังคงเรื้อรังในเมืองหลวงของเรา หากแต่ความชินตานั้นไม่ใช่ความนิ่งเฉย เพราะชาวกรุงเทพฯ นั้นร้อนใจกับปัญหานี้ไม่น้อย สถิติการร้องเรียนที่เปิดเผยโดย นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าฯกทม.พบว่า ฟุตปาธเป็นส่วนหนึ่งที่ประชาชนร้องเรียนเข้ามากทม. อย่างต่อเนื่อง ในปี 2560 มีการร้องเรียนปัญหาทางเท้าผ่านช่องทางสายด่วนกทม. 1555 กว่า 1,191ครั้ง

 

ที่มาภาพ : https://www.facebook.com/js100radio/

 

 

N คนแน่นเอี้ยดที่ป้ายรถประจำทาง

 

แม้รายงานประจำปีขององค์การขนสงมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ในปี พ.ศ. 2560 จะระบุว่าผู้คนใช้ช้บริการรถเมล์ถึงวันละ 584,997 คน แต่ป้ายรถเมล์ที่คนกว่าห้าแสนใช้นั้น ไม่สามารถรองรับพวกเขาได้ ทั้งปริมาณ และคุณภาพ เช่นเดียวกับที่รอรถให้บริการอื่นๆ ทั่วกรุงเทพ หากฟ้าฝนกระหน่ำลงมา เป็นที่รู้กันว่าผู้ใช้บริการรถโดยสารจะต้องเปียกปอน นอกจากนั้นการก้าวออกจาฟุตปาธและป้ายรถ เพื่อขึ้นรถนั้นก็แสนลำบาก เลนในที่ชิดกับฟุตปาธ เป็นที่รู้กันว่าคือเลนที่รถประจำทางจะเคลื่อนตัวมาจอดตามป้าย แต่…ก็เป็นที่รู้กันในทางปฏิบัติอย่างจำยอมว่า รถมักจะจอดห่างออกไปจากป้ายหนึ่งเลน ผู้ใช้บริการต้องเดินลงไปบนถนนเพื่อได้ขึ้นรถ ยังไม่ต้องพูดถึงว่าใช้เวลายืนรอเท่าไหร่ บวกกับเวลาบนท้องถนนที่รถติดอีกเท่าไหร่

 

ที่มาภาพ 1 https://twitter.com/fm91trafficpro ที่มาภาพ 2 https://www.facebook.com/js100radio/

 

 

G โครงการทิ้งร้างบนถนนใหญ่

 

โครงการโฮปเวลล์ หรือ โครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร กลับไม่เวลสมชื่อ จากที่จะยกระดับรถไฟเพื่อแก้ปัญหาการตัดกันของรถยนต์และทางรถไฟบนท้องถนน กลับกลายเป็นเสาตอม่อที่ปักหลักคร่อมทางรถไฟเลียบถนนวิภาวดีรังสิตโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ ถูกรื้อถอนในปี 2556 และเป็นหลักฐานความล้มเหลวของการพัฒนาเมืองที่ทิ้งเวลากว่า 15 ปี โดยปีนี้ศาลได้ตัดสินให้กระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับเอกชน คือบริษัทโฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด รวม 11,888 ล้านบาท อีกครั้งที่เงินและเวลาสูญเสียไปโดยไร้ประโยชน์ที่นี่ ที่กรุงเทพมหานคร

 

ที่มาภาพ 1 : https://www.thairath.co.th/ ที่มาภาพ 2 : https://thaipublica.org/

 

 

K รถเมล์ที่ผ่านไปหลายปีก็ยังเหมือนเดิม

 

หลายครั้งที่พาดหัวข่าวเกี่ยวกับอันตรายของรถเมล์นั้น ต้องใช้คำว่า ‘อีกแล้ว’ อีกแล้วที่ขับเร็ว อีกแล้วที่เกิดอุบัติเหตุ สายนี้อีกแล้ว และสายรถที่เรามักได้ยินเสียงร้องเรียนกันมากที่สุดคือ สาย 8 แฮปปี้แลนด์-สะพานพุทธ ซึ่งได้รับอนุมัติให้เดินรถได้ตั้งแต่ปี 2475 จนถึงวันนี้ รวมทั้งสิ้น 87 ปี แต่ดูเหมือนว่า การพัฒนาดูจะไม่แปรผันตามระยะเวลาให้บริการ

ในปี 2556 กระทรวงคมนาคมได้เปิดเผยสถิติร้องเรียนปัญหาการให้บริการรถเมล์ ขสมก. และรถเอกชนร่วมบริการ ผ่านสายด่วน 1384  พบว่า มีการร้องเรียนเข้ามาทั้งสิ้น 3,863 ครั้ง โดยสายรถเมล์ที่ถูกร้องเรียนมากที่สุดคือสายแปด ตั้งแต่ปัญหาพนักงานขับรถไม่หยุดรับ-ส่ง ขับเร็วปาดซ้ายแซงขวา เบรกแรง ขับประมาทหวาดเสียว ขับรถขวางการจราจร ไปจนถึง ปิดประตูหนีบผู้โดยสาร

 

ที่มาภาพ 1 : https://www.posttoday.com/ ที่มาภาพ 2 : https://www.posttoday.com/

 

 

O หลุมกว้างบนถนนที่ให้อารมณ์เหมือนอยู่ดวงจันทร์

 

ท้องถนนในกรุงเทพมหานครและในประเทศไทยนั้น ไม่เพียงต้องระแวดระวังผู้ใช้รถบนถนนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐานของเมืองอย่างสภาพถนนด้วย ‘หลุม’ ที่เกิดขึ้นบนถนนนั้นเป็นตัวอย่างของวิถีชีวิตแบบอาศัยโชค เพราะไม่รู้เมื่อไหร่จะมีใครได้รับอันตรายถนนที่บกพร่องนี้บ้าง ที่ผ่านมาผู้ใช้ถนนบางส่วนเคยขับรถตกลงไปในหลุมบนถนนกลางกรุงมาแล้ว และหากเราคาดคะเนไม่ถูกว่าถนนที่ชำรุดเช่นนี้มีมากขนาดไหน ก็ให้ตัวเลขงบประมาณซ่อมแซมยืนยันได้ เพราะในปี 2017 กระทรวงกลาโหมใช้งบไปถึง 1,013 ล้านบาท ในการซ่อมแซมถนน และอุดหลุมรวม 129 เส้นทาง

 

ที่มาภาพ 1 : https://www.wikiwand.com/ ที่มาภาพ 2 : https://www.facebook.com/js100radio/

 

K ประชาชนอีกนับพันที่รอขึ้นรถขบวนเดียวกันกับเรา

 

แม้จะไม่ต้องเผชิญรถติดยาวนานบนถนน แต่รถไฟฟ้าในนกรุงเทพมหานครก็มีผู้ใช้จำนวนมาก ในเวลาเร่งด่วนหรือเวลากลับบ้านการต่อแถวรอรถท่ามกลางผู้คนที่อัดกันกลายเป็นความเหนื่อยหน่ายอีกรูปแบบที่คนเมืองต้องเผชิญ ตัวเลขล่าสุดที่ระบุผู้ใช้งานรถไฟฟ้าคือเมื่อปี 2556 บริษัท BEM ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT ระบุว่าเมื่อสิ้นปี 2556 ผู้โดยสารทั้ง BTS และ MRT มีผู้ใช้บริการรวมกัน 760,458 เที่ยว ต่อวัน

ในจำนวนผู้โดยสารที่มากขนาดนี้ อาจทำให้ผู้คนจำนวนมาต้องชะลอการเดินทางของตัวเอง ไม่สามารถคะเนระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางได้แม้จะอยู่ในชั่วโมงเร่งรีบ ยิ่งเมื่อประสบเหตุการณ์อย่างปี 2561 ที่รถไฟฟ้าทำงานขัดข้อง เสียงบ่นระงมของผู้คนก็แพร่ไปทุกช่องทางโซเชียลมีเดีย สะท้อนให้เห็นว่าคนเมืองพึ่งพาการเดินทางสาธารณะที่ทั้งคาดการณ์ไม่ได้ ไม่สะดวกต่อการวางแผนชีวิตประจำวัน และอาจไม่เพียงพอต่อการใช้งานของทุกคนด้วย

 

ที่มาภาพ 1 : teenee.com ที่มาภาพ 2 : js100.mthai.com

 

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save