ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์ เรื่อง
เมธิชัย เตียวนะ ภาพวีดีโอ
วันที่ 24 กันยายน 2519 เป็นวันครบรอบที่ ชุมพร ทุมไมย และวิชัย เกศศรีพงษ์ศา ช่างไฟฟ้าสองคน เสียชีวิตและถูกแขวนคอที่ประตูบ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม หลังจากออกไปติดโปสเตอร์ต่อต้านการบวชกลับเข้าประเทศของจอมพล ถนอม กิตติขจร
ภายหลัง ประตูเหล็กเก่าค่ำคร่าที่มีสนิมสีแดงกระจายอยู่รอบ ประตูที่อยุติธรรมประจานตัวเองด้วยการแขวนร่างประชาชน ถูกขนานนามว่า ‘ประตูแดง’
5 ตุลาคม 2519 นักศึกษาชมรมนาฏศิลป์และการละคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงละครจำลองเหตุการณ์แขวนคอดังกล่าวที่ลานโพธิ์ ก่อนที่ภาพการแสดงจะถูกเผยแพร่และถูกใช้เป็นชนวน โหมความรุนแรงสู่นักศึกษาในวันที่ 6 ตุลาคม 2519
เกือบ 43 ปี หลังจากเหตุการณ์แขวนคอ ในวันที่ 18 มิถุนายน 2562 ประตูแดงถูกขนย้าย เพื่อนำไปเก็บรักษา รอจัดแสดงเป็นหนึ่งในวัตถุทางประวัติศาสตร์ของ “โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลา” พิพิธภัณฑ์ที่จะจัดแสดง เผยแพร่องค์ความรู้ เหตุการณ์แวดล้อม และความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลา ทั้งหมด เพื่อสร้างความทรงจำร่วม และชวนให้สังคมทบทวนความรุนแรงทางการเมืองที่ไม่ต้องการให้เกิดซ้ำ
101 Documentary “จากประตูแดง สู่พิพิธภัณฑ์ 6 ตุลา” สะท้อนภาพและความรู้สึกของการจัดการความทรงจำครั้งใหม่ในนาม ‘พิพิธภัณฑ์ 6 ตุลา’ ผ่านบรรยากาศวันถอดรื้อประตูแดง และบทสัมภาษณ์ อ้อ – ภัทรภร ภู่ทอง ผู้ประสานงานโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลา
Related Posts
ประตูแดง: การย้ายออกจากสถานที่ของความทรงจำธนาวิ โชติประดิษฐ เขียนถึงการเคลื่อนย้าย 'ประตูแดง' วัตถุพยานสำคัญที่นำไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ พร้อมวิเคราะห์ผลที่ตามมา โดยเฉพาะในแง่การรื้อสร้าง-สถาปนาความทรงจำทางประวัติศาสตร์
'ตุลา' ที่ไม่น่าจำนับแต่ 14 ตุลาคม 2516 เป็นต้นมา คนไทยต้องเผชิญความสูญเสียในเดือนตุลาครั้งแล้วครั้งเล่า เช่นเดียวกับความสูญเสียครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 -- ด้วยเหตุนี้ เดือนตุลาจึงเป็นเดือนที่ใครหลายคนไม่อยากจำ แต่ก็ไม่อาจลืม
อานุภาพแห่งกล้องวงจรปิดจากการวิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิ ป่าแส ถึงการขุดเปลี่ยนหมุดคณะราษฎรเป็นหมุดหน้าใส กล้องวงจรปิด หรือ cctv กลายเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับการกล่าวขวัญอย่างแพร่หลายที่สุด จากอุปกรณ์เพื่อการค้นหาความจริงกลายเป็นอุปกรณ์เพื่อปกปิดความจริง จากเครื่องมือวิทยาศาสตร์กลายเป็นเครื่องมือทางการเมือง วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เขียนถึงการเมืองเรื่องกล้องวงจรปิด
-
การเดินทางของ 'คนเดือนตุลา' กับประชาธิปไตยแบบไทยๆพันธวัฒน์ เศรษฐวิไล พาไปสำรวจเส้นทางชีวิตของ 'คนเดือนตุลา' พร้อมหาคำตอบว่า เหตุใดประชาชน-นักศึกษาที่เคยร่วมต่อสู้และมีอุดมการณ์บางอย่างร่วมกัน กลับขัดแย้งกันอย่างสุดขั้ว โดยเฉพาะในวิกฤตการเมืองไทยช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
การเกิดครั้งที่ 3 ของคณะราษฎร?ธนาพล อิ๋วสกุล เขียนถึงการกลับมาเกิดใหม่ของอุดมการณ์คณะราษฎร หลังจากที่ความทรงจำเรื่องคณะราษฎรกับการอภิวัฒน์สยาม 2475 ถูกทำให้ลบเลือนหายไปจากสังคมไทย ตั้งแต่ครั้งรัฐประหาร 2490
โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลา พิพิธภัณฑ์ 6 ตุลา ภัทรภร ภู่ทอง 6 ตุลา ประตูแดง 6 ตุลาคม 2519
เรียนจบนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สนใจวิถีชีวิตผู้คน ดนตรี สิทธิมนุษยชน และความเหลื่อมล้ำ ชอบเล่าเรื่องผ่านงานภาพถ่ายและวิดีโอ