ฝุ่นเยอะนักใช่มั้ย ศิลปะ (กำ) จัดให้ !

ฝุ่นเยอะนักใช่มั้ย ศิลปะ (กำ) จัดให้ !

[et_pb_section bb_built=”1″][et_pb_row][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text admin_label=”box” _builder_version=”3.0.106″ background_color=”#eaeaea” background_layout=”light”]

บทความชวนดูงานศิลปะจากโลกที่หนึ่ง ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีให้สังคมและชีวิตคนผ่านสายตานักออกแบบมัลติมีเดียจากโลกที่สามในนามกลุ่ม Eyedropper Fill

[/et_pb_text][et_pb_text _builder_version=”3.0.106″ background_layout=”light”]

Eyedropper Fill เรื่อง

สามเดือนแรกของปี 2018 เราคงหายใจเอาฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ชื่อ PM 2.5 กันเข้าไปเต็มปอด เพราะอย่างที่รู้กันว่าช่วงเวลาที่ผ่านมา กรุงเทพฯปกคลุมด้วยม่านหมอกของฝุ่นชนิดนี้เกินค่ามาตรฐานในระดับแดงเถือก สิ่งที่ตามมาพร้อมกับ PM 2.5 นอกจากอาการภูมิแพ้ ผื่นขึ้น หายใจลำบากปอด ยังแถมมาด้วยอาการปวดขมับปนเอ็นดูเมื่อได้เห็นหน่วยงานราชการออกมาแก้ปัญหานี้ด้วยการใช้ละอองน้ำฉีด และแนะนำให้ชาวบ้านดูแลตัวเองด้วยการใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูกอีก โอ๊ย !

ฝุ่น PM 2.5 รถดำเพลงฉีดน้ำ อนุเสาวรียชัยสมรภูมิ
ภาพจาก Voice TV

แต่ขณะที่กำลังก่นด่าก็เกิดอาการจุกอกขึ้นมา เพราะฉุกคิดขึ้นได้ว่าไอ้เราเองก็เอาแต่นั่งบ่น ไม่ได้ช่วยอะไรเขาเลยนี่หว่า หลายคนบอกว่า ‘การออกแบบคือการแก้ปัญหา’ แล้วเรา–ผู้เรียกตัวเองว่า ‘นักออกแบบ’ สามารถนำทักษะที่มีช่วยแก้ปัญหาอะไรให้เมือง สิ่งแวดล้อม หรืออย่างน้อยก็ชุมชนเล็กๆ ของเราดีขึ้นได้บ้างรึเปล่า ?

เพื่อตอบคำถามที่ว่า, บทความตอนแรกของ Third – Eye View จะพาทุกคนไปรู้จักกับชายชาวเนเธอแลนด์ ผู้สร้างงานศิลปะที่ช่วยฟอกอากาศ !

Smog Free Project by Daan Roosegaarde

ศิลปินแต่ละคนก็มีจุดประสงค์ในการทำงานศิลปะแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับ Daan Roosegaarde จุดประสงค์ที่ทำให้ศิลปินชาวดัทช์คนนี้ตื่นขึ้นมาทำงานทุกวันคือต้องการให้งานศิลปะเป็นช่วยสร้าง ‘อนาคตที่ดีกว่า’ ให้กับสังคมและเมืองที่เขาอยู่

Smog Free Project by Daan Roosegaarde

และจุดประสงค์ของโครงการศิลปะที่ชื่อ ‘SMOG FREE PROJECT’ ก็เช่นเดียวกัน Roosegaarde เชื่อว่าเมืองที่ดีก็ต้องเริ่มต้นจากอากาศที่ดี งานศิลปะชิ้นนี้จึงสร้างขึ้นเพื่อลดมลภาวะทางอากาศในประเทศเนเธอแลนด์ที่เขาอยู่ และสร้างประสบการณ์ที่ทำให้คนในเมืองเกิดแรงบันดาลใจอยากจะมีอากาศที่ดีในอนาคต

พูดมาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะงงว่างานศิลปะเนี่ยนะจะช่วยลดมลพิษได้ ? ภาพจำของศิลปินที่เรารู้จักต้องเป็นคนหมกมุ่นเก็บตัวทำงานในสตูดิโอไม่ใช่เหรอ ? งานศิลปะทำประโยชน์อื่นนอกจากความสวยงามได้จริงรึเปล่า ? เราขอเล่าไปถึงวิธีการทำงานของคุณ Roosegaarde กันซักหน่อย

Studio Roosegaarde ที่เขาก่อตั้งเมื่อปี 2007 ออกแบบมาเพื่อทำงานร่วมกันระหว่าง Roosegaarde, นักออกแบบ และวิศวกรที่เชียวชาญด้านเทคโนโลยี ทีมงานในสตูดิโอจึงมีทั้งส่วนผสมของนักคิดสร้างสรรค์และคนลงมือทำ โดยวิธีการทำงานของพวกเขาจะเริ่มต้นจากการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างคนและเมืองที่อยู่ โดยใช้เทคโนโลยีเข้าไปมีส่วนช่วยให้เกิดประโยชน์อะไรบางอย่าง ผลงานที่ออกมาจึงมีส่วนผสมของงานออกแบบที่ใช้สอยได้จริง บวกกับสุนทรียะและสร้างประสบการณ์บันดาลใจในแบบงานศิลปะ

SMOG FREE PROJECT นอกจากจะเป็นการร่วมมือกันของหลายศาสตร์ความรู้อย่างที่เล่าไป โปรเจ็กต์นี้ยังได้ร่วมมือและการสนับสนุนจากรัฐบาล, นักศึกษา และภาคอุตสาหกรรมผลิตเครื่องฟอกอากาศ รวมหัวกันสร้างผลงานชิ้นแรกในโปรเจ็กต์ที่ชื่อว่า SMOG FREE TOWER

SMOG FREE PROJECT

แท่นอลูมิเนียมสูง 7 เมตรนี้ มองเผินๆ ดูเป็นงานประติมากรรมแบบ Kinetic Art (คือประเภทหนึ่งของศิลปะประติมากรรมที่มีกลไกเคลื่อนไหวได้) เรียบเท่ ตั้งอยู่ในพื้นที่สาธารณะทั่วเมือง ในขณะที่คนในเมืองพากันเดินเข้ามากำลังดื่มด่ำความงามของงานศิลปะ ตัวมันเองก็กำลังทำหน้าที่ฟอกอากาศด้วยกลไกที่อยู่ภายใน โดยสร้างอากาศบริสุทธิ์ได้ถึง 30,000 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมงให้ผู้คนรอบๆ ได้สูดเอาอากาศบริสุทธิ์จากงานศิลปะชิ้นนี้ไปโดยปริยาย

Roosegaarde ยังเปิดโอกาสให้ทุกคนช่วยสนับสนุนโปรเจ็กต์นี้ด้วยวิธีการแสนน่าประทับใจด้วย SMOG FREE RING แหวนที่บรรจุฝุ่นมลพิษที่กรองได้จาก SMOG FREE TOWER มอบให้กับผู้สมทบทุนโปรเจ็กต์นี้ โดยเงินที่บริจาคให้กับแหวนหนึ่งวงมีส่วนช่วยให้เกิดอากาศบริสุทธิ์กว่าพันลูกบาศก์เมตรเลยทีเดียว นอกจากสนับสนุนให้เกิดอากาศบริสุทธิ์ แหวน SMOG FREE นี้ถูกบรรจุเข้าไปเป็นหนึ่งในงานศิลปะใน Stedelijk Museum ที่กรุงอัมสเตอร์ดัม และยังถูกใช้เป็นแหวนหมั้นของคู่รักหลายคู่ทั่วโลกอีกต่างหาก

Stedelijk Museum แหวนหมั้น

วิดีโอ Smog Free Tower & Smog Free Ring

SMOG FREE PROJECT ขยายโครงการไปทั่วเนเธอร์แลนด์และโปแลนด์ ก่อนจะถูกพัฒนาร่วมกับ ofo ผู้ให้บริการเช่าจักรยาน Bike Sharing Platform ในประเทศจีน จนออกมาเป็น SMOG FREE BICYCLE จักรยานที่ขณะปั่นจะดูดเอาอากาศเสียเข้าไปผ่านกลไกฟอกและปล่อยออกมาเป็นอากาศบริสุทธิ์

จักรยาน Bike Sharing Platform ในประเทศจีน จนออกมาเป็น SMOG FREE BICYCLE

ชิ้นงานสุดท้ายในโปรเจ็กต์ชิ้นนี้ Roosegaarde ตั้งใจให้มันถูกนำไปใช้ในเมืองที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้จักรยานที่มีจำนวนมากขึ้นมีส่วนช่วยทำให้เกิดอากาศบริสุทธิ์ให้แก่เมือง

ผลลัพธ์ของโปรเจ็กต์ SMOG FREE เพิ่งได้รับการรับรองจาก Eindhoven University of Technology ในเนเธอแลนด์ว่าสามารถสร้างอากาศบริสุทธิ์ได้จริง นอกจากจะเป็นคำตอบของคำถามที่เราสงสัยในตอนต้นของบทความว่าศิลปินช่วยอะไรสังคมได้ไหม Roosegaarde ยังทำให้เราเห็นบทบาทของศิลปินจากโลกที่หนึ่ง ที่ผลงานศิลปะของเขาสามารถสร้างประโยชน์และความเปลี่ยนแปลงให้สังคมที่เขาอยู่ได้

และที่สำคัญที่สุด เราได้เห็นว่าการสนับสนุนจากภาครัฐนั้นสำคัญไม่แพ้ไอเดียสร้างสรรค์ งานศิลปะที่ท้าทายโจทย์ยากอย่าง SMOG FREE PROJECT คงเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีการสนับสนุนจากรัฐบาลเนเธอร์แลนด์

อดคิดเล่นๆ ไม่ได้ว่าถ้าศิลปินแบบ Roosegaarde อาสามากำจัดฝุ่นในกรุงเทพฯ จะเป็นยังไง ?

หน่วยงานราชการบ้านเราจะเอาด้วยรึเปล่า ?

ศิลปินเพียงคนเดียวจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในเมืองชีวิตดีๆ ที่ลงตัวนี้ได้มั้ย ?

เก็บคำถามไว้นอนคิด

ส่วนตอนนี้, คงต้องเอาตัวรอดกันเองไปก่อนล่ะจ้า !

อ้างอิง

www.studioroosegaarde.net/project/smog-free-tower

https://www.studioroosegaarde.net/project/smog-free-ring

https://www.studioroosegaarde.net/project/smog-free-bicycle

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save