fbpx
The war we cannot afford to lose - สงครามครั้งนี้ที่แพ้ไม่ได้

The war we cannot afford to lose – สงครามครั้งนี้ที่แพ้ไม่ได้

โสภณ ศุภมั่งมี เรื่อง

 

ยุโรปกำลังร้อนระอุ  กรีซ แคลิฟอร์เนีย แม้แต่ขั้วโลกเหนือที่เป็นช่องแช่แข็งของโลกใบนี้กำลังลุกเป็นไฟ โลกกำลังเข้าสู่ช่วงเวลาวิกฤต จากซีแอตเทิลรามไปถึงไซบีเรีย  ไฟป่าได้โหมไหม้ในส่วนซีกโลกทางด้านเหนือเส้นศูนย์สูตร  หนึ่งใน 18 ครั้งกวาดล้างสร้างความเสียหายครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าทีเคยมีในรัฐแคลิฟอร์เนีย

 

เหตุการณ์ครั้งนี้ก่อให้เกิดไอร้อนแผ่กระจายไปในบริเวณกว้าง  อีกครั้งหนึ่งใกล้บริเวณชายฝั่งของกรุงเอเธนส์ไม่กี่อาทิตย์ ก่อนได้คร่าชีวิตคนไป 91 ชีวิต  และหลังจากผ่านอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไม่นาน ญี่ปุ่นโดนเล่นงานอีกครั้งด้วยคลื่นความร้อนที่ผ่านจุด 40 องศาเซลเซียสเป็นครั้งแรก ทุบสถิติทุกอย่าง และมีผู้เสียชีวิตจากความร้อนระอุครั้งนี้กว่า 125 คน

จะบอกว่า ‘ไม่มีใครเตือน’ ก็คงไม่ใช่ เพราะความจริงก็คือความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมนุษย์นั้นเริ่มส่งผลกระทบต่อโลกของเรามาแล้วหลายทศวรรษ ทุกคนรู้ดีว่าเรานี่แหละที่กำลังทำลายโลกใบนี้ แต่กลับเหมือนพยายามหลอกตัวเองว่าวันหนึ่งทุกอย่างจะ ‘โอเค’ ต้องมีฮีโร่หรือเทคโนโลยีอันล้ำหน้าเข้ามาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เพราะเราคือมนุษย์ที่มีความเฉลียวฉลาดและสามารถแก้ไขทุกปัญหาด้วยก้อนไขมันสีเทาที่เรียกว่าสมอง  อืมม…อาจจะถึงเวลายอมรับข่าวร้ายแล้วนะว่ามัน ‘ไม่มี’

ภัยพิบัติเหล่านี้ ที่เคยถูกมองว่าเป็นเหตุการณ์ที่แปลกประหลาด ตอนนี้กลายเป็นสิ่งที่เราเห็นกันบ่อยมากขึ้น  นักวิทยาศาสตร์หลายต่อหลายคน งานวิจัยไม่รู้กี่ฉบับ หนังสือหลายร้อยหลายพันเล่มได้เขียนเตือนถึงสิ่งเหล่านี้  เมื่อโลกของเราร้อนขึ้น (ตอนนี้ประมาณ​ 1 องศาเซลเซียสจากยุคก่อนอุตสาหกรรม) สภาพอากาศของเราก็จะแปรปรวนและคาดเดาไม่ได้มากขึ้นเรื่อยๆ มีการวิเคราะห์ในเบื้องต้นว่าเหตุการณ์อันเลวร้ายที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกนั้นจะมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยกว่าครึ่งหนึ่งถ้าไม่ใช่เพราะฝีมือมนุษย์ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ต่อสภาพภูมิอากาศของโลก

แต่วิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศนั้นยังเป็นเรื่องที่ไม่สมบูรณ์แบบ นักวิจัยยังไม่สามารถบ่งบอกว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อจากนี้ซึ่งเป็นผลมาจากอุณหภูมิของโลกที่ร้อนขึ้น ไม่ว่าพวกเขาจะใช้โมเดลที่สร้างมาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้  เป็นสาเหตุให้กลุ่มคนที่ไม่เชื่อเรื่องโลกร้อนต่อหาว่าเป็นวิทยาศาสตร์ที่หลอกลวงอีกด้วย

ตอนนี้การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิศาสตร์กำลังเสี่ยงจะกลายเป็นโศกนาฏกรรมของมนุษยชาติ  คนที่พยายามที่หลีกเลี่ยงความจริง ปกปิดความเป็นจริงโดยไม่ให้ข้อมูลที่แท้จริงต่อสังคม หรือต่อต้านเพียงเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว ถึงเวลาต้องยอมรับแล้วว่ามันกำลังเกิดขึ้น และความเสียหายจะมีแต่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสิ่งนี้ก็มาพร้อมกับความท้าทายและปัญหาต้องแก้ไขที่โตขึ้นตามไปด้วย

3 ปีให้หลังจากที่นานาชาติได้สัญญาลงนามว่าจะช่วยกันไม่ให้อุณหภูมิของโลกสูงไปกว่า 2 องศาเซลเซียสเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม ตอนนี้ระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง รวมไปถึงการลงทุนในน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ  ปี 2017 เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปีที่ความต้องการถ่านหินเพิ่มสูงขึ้น พลังงานสะอาดอย่างลมและแสงอาทิตย์กลับหยุดนิ่งอยู่กับที่และไม่ได้รับเงินสนับสนุนเพิ่มเติม  แม้แต่พลังงานนิวเคลียร์ที่เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อมมากกว่าถ่านหินก็ได้รับความนิยมน้อยลงเพราะค่าใช้จ่ายที่สูง  มองในแง่ดี นี่อาจจะเป็นจุดพักตัวเพียงชั่วคราว และมนุษย์ซึ่งตามสัญชาติญาณต้องการมีชีวิตรอด จะกลับมาเอาชนะปัญหานี่ได้ในที่สุด  แต่ในขณะเดียวกัน…นี่อาจจะเป็นสัญญาณว่าเรากำลังพ่ายแพ้สงครามที่ไม่ควรพ่ายแพ้ครั้งนี้แล้วรึเปล่า?

แต่ถึงแม้สถานการณ์ยังดูมืดมนและหดหู่ ความก้าวหน้าเพียงเล็กน้อยก็ถือว่าเป็นความก้าวหน้าที่เราควรให้คุณค่ากับมัน  ทั้งแผงโซล่าเซลล์ กังหันลม และเทคโนโลยีเหล่านี้ราคาถูกลง ทำงานได้ดีขึ้น และก็มีคนเริ่มใช้มากขึ้นเรื่อยๆ  เมื่อปีที่แล้วเราเห็นรถยนต์ไฟฟ้าขายได้มากกว่า 1 ล้านคันทั่วโลก ในบางที่ที่แดดดีและลมพัดแรงเราก็เห็นแล้วว่าสามารถทำให้พลังงานสะอาดนั้นมีราคาที่ถูกกว่าพลังงานถ่านหินได้

จากแบบสอบถามบุคคลทั่วไปในสังคม เริ่มมีการพูดถึงเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น  ผลสำรวจจากกว่า 38 ประเทศ พบว่า 61 เปอร์เซ็นต์เห็นว่าความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาที่ใหญ่มากเลยทีเดียว เป็นรองแค่ปัญหาผู้ก่อการร้ายเท่านั้น  ประเทศทางซีกโลกตะวันตกก็เริ่มเห็นนักลงทุนหลายคนงดลงทุนกับบริษัทที่สร้างรายได้จากถ่ายหินและน้ำมัน  แม้ว่าประธานาธิบดี Donald Trump จะตัดสินใจดึงประเทศของตัวเองออกมาจากสัญญาเมืองปารีส ก็ยังมีหลายรัฐหลายเมืองยืนยันและยึดมั่นจะช่วยเหลือเท่าที่ตนเองทำได้  ผลกระทบจากควันพิษที่มีต่อประชากรทำให้ประเทศใหญ่ๆ อย่างจีนและอินเดียยังต้องคิดหนักถึงการลงทุนในถ่านหินอีกครั้งหนึ่ง

กลุ่มที่มองโลกในแง่ดีบ้างก็บอกว่าการใช้พลังงานที่ไม่ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ (decarbonisation) สามารถเกิดขึ้นได้จริงๆ และเรากำลังเข้าใกล้จุดนั้น แต่ถึงแม้ว่าจะไม่คิดถึงความยุ่งยากระหว่างทางและเป้าหมายที่ไม่ไกลเกินไป สิ่งที่พูดถึงก็ยังเป็นเรื่องที่ยากมากอยู่ดี

อย่างแรกเลยคือการพุ่งทะยานของความหิวกระหายพลังงาน โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเอเชียที่กำลังพยายามผลักดันตัวเองให้มีศักยภาพมากขึ้น  ภายในปี 2006 – 2016 ประเทศในเอเชียใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นถึง 40 เปอร์เซ็นต์  พลังงานจากถ่านหิน (ที่ถือว่าแย่ที่สุดแล้ว) เพิ่มขึ้นปีละ 3.1 เปอร์เซ็นต์ พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ 5.2 เปอร์เซ็นต์ และน้ำมัน 2.9 เปอร์เซ็นต์  แม้ว่าจะมีนักลงทุนรักษ์โลกหลายคนพร้อมจะหยุดการลงทุนในบริษัทเหล่านี้ แต่รัฐบาลของประเทศที่หนุนหลังเพื่อความมั่งคั่งทั้งในตะวันออกกลาง รัสเซีย และประเทศต่างๆ ในเอเชีย ก็ทำให้บริษัทเหล่านี้ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้ชะลอลงไปเลย ยิ่งใช้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งเลิกยากเท่านั้น  เม็ดเงินหนุนหลังพรรคการเมืองและการสนับสนุนกลับคืนเมื่อมีอำนาจ ทำให้พลังงานเหล่านี้ยังคงไม่หมดไปง่ายๆ

อีกเหตุผลใหญ่ๆ เลยที่ทำให้ decarbonisation เป็นเรื่องที่ยากคือมันเกี่ยวโยงกับธุรกิจอื่นๆ แทบทุกอย่าง ไม่ใช่แค่การสร้างพลังงานเท่านั้น ทั้งการทำฟาร์ม ขนส่ง ธุรกิจเหล็ก และก่อสร้าง สิ่งเหล่านี้รวมแล้วสร้างคาร์บอนมากกว่าครึ่งหนึ่งทั่วโลก เป็นเรื่องยากกว่าการสร้างพลังงานสะอาดด้วยซ้ำ (แถมยังมีเรื่องเงินหนุนหลังที่อยู่ในธุรกิจเหล่านี้อีกมากมายด้วย)  ความสำเร็จที่หลายคนพูดถึงจึงเหมือนเป็นภาพลวงตา ทั้งจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าที่ขายเพิ่มขึ้นมากกว่าล้านคัน  แต่ 2/3 ของไฟฟ้านั้นสร้างมาจากถ่านหินที่สร้างมลพิษมากกว่ารถยนต์เหล่านั้นซะอีก  อีกทั้งทฤษฎีการดึงเอา CO2 ออกจากชั้นบรรยากาศต้องทำในสเกลที่ใหญ่มากๆ ถึงจะสามารถทำให้เป้าหมายในสัญญาที่เมืองปารีสนั้นประสบผลสำเร็จ  ตอนนี้เป็นเพียงความคิดและไม่ได้รับความสนใจอะไรเท่าไหร่

แต่ก็ความหวังก็ไม่มีวันจบสิ้น กว่า 70 ประเทศ ที่รวมแล้วประมาณ 1/5 ของคาร์บอนที่ปล่อยไปในชั้นบรรยากาศ ได้เริ่มเก็บภาษีคาร์บอน  บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งพยายามคิดค้นเทคนิคในการสร้างเหล็กและซีเมนต์โดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษ (ซีเมนต์คิดค้นขึ้นมาให้สามารถดูดซับคาร์บอนได้อีกด้วย)  หรือกระทั่งไอเดียในการสร้าง ‘solar geoengineering’ ที่สะท้อนแสงอาทิตย์กลับไปในอวกาศก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย

ความหวังเพียงเล็กน้อยเหล่านี้ไม่มีทางได้มาอย่างง่ายๆ โดยไม่มีการเสียสละหลายๆ อย่างจากทุกฝ่าย กลุ่มประเทศทางตะวันตกได้รับความมั่งคั่งจากการเป็นผู้ริเริ่มของยุคอุตสาหกรรม เพราะฉะนั้นจึงเป็นเหตุผลอันดีที่พวกเขาต้องรักษาสัญญาที่ให้ไว้ที่เมืองปารีสเมื่อ 3 ปีก่อน ที่จะช่วยเหลือประเทศยากจนกว่าในการปรับตัวและพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งทางด้านข้อมูลความรู้และเงินทุนสนับสนุน

 

การปรับเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศนั้นจะตามมาด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น แม้ว่าสุดท้ายปลายทางแล้วจะคืนทุนอย่างมากมายทางด้านเศรษฐกิจ เหมือนกับครั้งหนึ่งที่รถยนต์ รถไฟ และพลังงานไฟฟ้าเคยได้ทำเอาไว้ในช่วงศตวรรษที่ 20  รัฐบาลและนักการเมืองที่มีอำนาจจะมีส่วนช่วยผลักดันให้การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เกิดขึ้นและทำให้ผลกระทบที่ตามมาในสังคม โดยเฉพาะเรื่องรายได้และสภาพเศรษฐกิจ ไม่เลวร้ายจนเกินไป  เพราะฉะนั้นความเสียหายอันเลวร้ายที่เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติทั่วโลกในเวลานี้อาจจะช่วยให้ทุกคนบนโลกเห็นว่าการต่อสู้ครั้งนี้สำคัญแค่ไหน มันเป็นสงครามที่เราแพ้ไม่ได้ เพราะหมายถึงจุดจบของทุกชีวิตบนโลกใบนี้

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save