fbpx

การต่อสู้กับการตรวจสกัดสื่อในนอร์เวย์

นอร์เวย์ประกาศใช้รัฐธรรมนูญตั้งแต่ 17 พฤษภาคม 1814 หลังจากที่ได้รับเอกราชจากเดนมาร์ก

ในมาตรา 100 ของรัฐธรรมนูญนอร์เวย์ ประกาศถึงเสรีภาพของสื่อว่า

“สื่อจะต้องมีเสรีภาพ จะต้องไม่มีใครที่ถูกลงโทษจากข้อเขียน ไม่ว่าจะมีเนื้อหาอะไรที่เขาเป็นผู้ทำให้เกิดการตีพิมพ์ เว้นเสียว่าเขาเองจะเป็นผู้ฝ่าฝืนกฎหมายโดยจงใจด้วยตนเองหรือชักชวนผู้อื่นฝ่าฝืน การหมิ่นศาสนา ศีลธรรม อำนาจรัฐธรรมนูญ หรือต่อต้านระเบียบ หรือกล่าวหาด้วยความเท็จและหมิ่นประมาทผู้อื่น คนทุกคนจะต้องมีเสรีภาพที่จะแสดงความเห็นของตนอย่างตรงไปตรงมาต่อการบริหารรัฐ และในหัวข้อใดๆ ก็ตาม…รัฐจะต้องสร้างบรรยากาศให้เกิดการแลกเปลี่ยนถกเถียงอย่างเปิดเผยและเป็นเหตุเป็นผลในสาธารณะ”

มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงข้อจำกัดที่มีอยู่ในมาตรานี้มาก ประเด็นที่สำคัญคือมีการเสนอแก้มาตรานี้อยู่เรื่อยๆ เพื่อนำไปเสนอต่อรัฐสภา ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ เพื่อจุดประสงค์จะแก้ไขกฎหมายให้เหมาะสมกับโลกปัจจุบัน เช่นในปี 2004 มีการเสนอเพิ่มเติมประเด็นที่ว่าด้วยเด็กและเยาวชนเข้าไปให้ชัดเจน

การควบคุมการตรวจสกัดการออกอากาศ

มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายครั้งสำคัญในปี 2000 โดยกำหนดว่ากิจการออกอากาศแห่งชาตินอร์เวย์ (NRK – Norsk rikskringkasting) จะต้องไม่ตรวจสกัดรายการใดๆ และใครก็ตามที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการผลิตรายการจะไม่มีอำนาจในการขอเนื้อหาของรายการก่อนจะออกอากาศ ซึ่งหมายความถึงการห้ามแทรกแซงโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดๆ กับเนื้อหารายการสาธารณะ

นอกจากนี้การโฆษณาจะถูกจำกัดเพียงร้อยละ 15 ของการออกอากาศแต่ละวัน รวมไปถึงจะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเนื้อหารายการในหนึ่งชั่วโมง ทั้งยังห้ามใช้โฆษณาเฉพาะเจาะจงไปยังเด็ก ห้ามใช้ในการส่งเสริมระบบความเชื่อใดๆ หรือใช้ในการหาเสียง โฆษณายังห้ามเข้าไปแทรกอยู่ในช่วงข่าว ช่วงสารคดี หรือช่วงรายการพิธีกรรมทางศาสนา เป็นต้น

เป็นที่น่าสนใจที่เดียวว่าโทรทัศน์ของนอร์เวย์ตั้งแต่เริ่มต้นนั้น ห้ามการโฆษณายาวนานมาจนถึงปี 1992 ทีเดียว

สำนักงานหลักแห่งหนึ่งของ NRK ในออสโล ที่มาภาพ: wikimedia.org

สื่อสารมวลชน

แม้หนังสือพิมพ์แรกๆ ของนอร์เวย์จะย้อนไปได้ถึงปี 1767 ก็ตาม แต่หนังสือพิมพ์สมัยใหม่กำเนิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 และหนังสือพิมพ์เหล่านี้เริ่มต้นมาในฐานะการเคลื่อนไหวทางการเมืองมากกว่าจะเป็นกระบอกเสียงแห่งการโฆษณาให้แก่นายทุนเพียงอย่างเดียว

ด้วยเหตุนี้หนังสือพิมพ์แต่ละหัวจึงสะท้อนกลุ่มทางการเมือง (หรือกลุ่มผลประโยชน์) แต่ละกลุ่ม ในขณะเดียวกัน รัฐเองจะไม่มีอำนาจในการเข้าไปแทรกแซงตรวจสกัดหนังสือพิมพ์ เพราะเป็นการขัดกับรัฐธรรมนูญ จะเห็นได้ว่าไม่มีกฎหมายควบคุมสื่อเป็นทางการในนอร์เวย์ กฎหมายที่ใช้กับสื่อสารมวลชนก็เป็นกฎหมายเดียวที่ใช้กับพลเมืองนอร์เวย์ทุกคน

กระนั้นก็ตาม การรวมตัวกันของสื่อสารมวลชนในนอร์เวย์เป็นสมาคมสื่อก็มีการผลักดันให้เกิดข้อตกลงร่วมกันด้านจริยธรรมของสื่อ ซึ่งไม่ใช่เรื่องกฎหมายอย่างเดียว แต่เป็นการมุ่งหมายหาวิถีการทำงานที่จะเคารพต่อรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นรากฐานของการอยู่ร่วมกันในสังคมการเมืองของประเทศ

ตัวอย่างแผงขายหนังสือพิมพ์ในนอร์เวย์ ที่มาภาพ: wikimedia.org

ประวัติการตรวจสกัดสิงพิมพ์

แต่ก็ใช่ว่าจะไม่เคยมีเหตุการณ์ห้ามเผยแพร่สิ่งพิมพ์ขึ้นในประเทศ ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 มีนิยายสองเล่มที่ถูกห้ามเผยแพร่คือ  Fra Kristiania-Bohemen (1886) เขียนโดยฮานส์ แยเกอร์ (Hans Jaeger) และ Albertine (1887) โดยคริสเตียน โครห์ก (Christian Krohg) นิยายทั้งสองเล่มถูกยึดและแยร์เกอร์ก็ถูกจำคุก

ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีหนังสือที่ถูกยึดเนื่องด้วยรัฐมองว่าขัดกับศีลธรรมอันดีเช่นเดียวกัน เช่น I Badedragt og Andre Nye Erotiske Digte Fraa et Mondant Badested (In Bathing Costumes and Other Erotic Poems [1922]) ของยาคอบ อังเคน พอลเซน (Jacob Anken Paulsen) และ นิยาย Massoesen forteller (The Masseuse Relates [1935]) ของซิกเน นีการ์ด (Signe Neegaard)

นอกจากนี้ยังมีงานเขียนทางการเมืองที่ถูกตรวจสกัด โดยเฉพาะที่ต้องสงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์ เช่น Farmeren og Socialismen (หรือ ‘ชาวนากับสังคมนิยม’ ปี 1918) ของโอเล่ เยลต์ (Ole Hjelt) เป็นตัวอย่างอันโดดเด่น

มิพักต้องพูดถึงว่า ในช่วงที่นอร์เวย์ถูกนาซีเยอรมนีบุกยึด (1940-1945) มีการตรวจสกัดสิ่งพิมพ์ต่อต้านระบอบอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะงานเขียนของชาวยิวหรือผู้ที่ต้องสงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์จะถือว่าเป็นงานต่อต้านระบอบแทบจะเสียทั้งนั้น

แม้กระทั่งพ้นหลังสงครามมาแล้ว ในช่วงทศวรรษที่ 1950s ถึง 1960s ก็จะเห็นการใช้ข้ออ้างเรื่องศีลธรรมอันดีในการตรวจสกัดงานเขียนอยู่บ้าง เช่น Blokk 7 (Cellblock 7: Daily Life in the Love Nest in a German Concentration Camp [1955]) โดยแอกเนส เลอเฟฟร์ (Agnes Lefevre) หรือ Uten en Trad (Without a Stitch [1966]) ของ เยนส์ บยอร์นโบ (Jens Bjørneboe) เป็นต้น

โอเล่ เยลต์ ผู้เขียน ‘ชาวนากับสังคมนิยม’ ที่มาภาพ: https://lokalhistoriewiki.no
หนังสืออีกเล่มหนึ่งของเยลต์ ที่มาภาพ: http://peel.library.ualberta.ca/

กฎหมายปกป้องข้อมูลส่วนตัว

การออกกฎหมายปกป้องข้อมูลส่วนตัวในปี 2000 เป็นสิ่งสำคัญของประวัติการต่อสู้กับการตรวจสกัดในนอร์เวย์มากอยู่เหมือนกัน กฎหมายนี้มุ่งหมายคุ้มครองบุคคลจากการถูกละเมิดความเป็นส่วนตัว ซึ่งถือเป็นสิทธิพื้นฐาน

รัฐ หรือผู้ใช้อำนาจรัฐ (ยกตัวอย่างเช่น ตำรวจ) จะต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบมากมายหากต้องการจะเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองใดๆ รวมทั้งต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลนั้นหรือตัวแทนของบุคคลนั้น

ดังนั้น การจะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของใครก็ตาม ผู้ที่มุ่งหมายจะกระทำการดังกล่าวก็มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องแจ้งแก่บุคคล เพื่อรับความยินยอมจากปัจเจกบุคคลเสียก่อน

แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นอยู่ ในเรื่อง ‘ความมั่นคงของชาติ’ หรือเรื่อง ‘การปกป้องชาติ’ ฯลฯ

ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็ยังอยู่บนฐานของรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นรากฐานของการสร้างรัฐประชาชาตินอร์เวย์ 


อ้างอิง

– คำแปล censorship ว่า ‘ตรวจสกัด’ นำมาจากคำแปลของ อ.บัญชา สุวรรณานนท์ ดู ความจำเป็นยิ่งชีวิตของการต่อต้านเผด็จการ โดย จอร์จ ออร์เวล (แปลปี 2562) 

– Jonathon Green and Nicholas J. Karolides (eds.) Encyclopedia of Censorship (2005)

MOST READ

World

1 Oct 2018

แหวกม่านวัฒนธรรม ส่องสถานภาพสตรีในสังคมอินเดีย

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก สำรวจที่มาที่ไปของ ‘สังคมชายเป็นใหญ่’ ในอินเดีย ที่ได้รับอิทธิพลสำคัญมาจากมหากาพย์อันเลื่องชื่อ พร้อมฉายภาพปัจจุบันที่ภาวะดังกล่าวเริ่มสั่นคลอน โดยมีหมุดหมายสำคัญจากการที่ อินทิรา คานธี ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์

ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก

1 Oct 2018

World

16 Oct 2023

ฉากทัศน์ต่อไปของอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่สั่นสะเทือนระเบียบโลกใหม่: ศราวุฒิ อารีย์

7 ตุลาคม กลุ่มฮามาสเปิดฉากขีปนาวุธกว่า 5,000 ลูกใส่อิสราเอล จุดชนวนความขัดแย้งซึ่งเดิมทีก็ไม่เคยดับหายไปอยู่แล้วให้ปะทุกว่าที่เคย จนอาจนับได้ว่านี่เป็นการต่อสู้ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่รุนแรงที่สุดในรอบทศวรรษ

จนถึงนาทีนี้ การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ยังดำเนินต่อไปโดยปราศจากทีท่าของความสงบหรือยุติลง 101 สนทนากับ ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงเงื่อนไขและตัวแปรของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น, ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและรัฐอาหรับ, อนาคตของปาเลสไตน์ ตลอดจนระเบียบโลกใหม่ที่ก่อตัวขึ้นมาหลังยุคสงครามเย็น

พิมพ์ชนก พุกสุข

16 Oct 2023

World

9 Sep 2022

46 ปีแห่งการจากไปของเหมาเจ๋อตง: ทำไมเหมาเจ๋อตง(โหด)ร้ายแค่ไหน คนจีนก็ยังรัก

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์ เขียนถึงการสร้าง ‘เหมาเจ๋อตง’ ให้เป็นวีรบุรุษของจีนมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าเขาจะอยู่เบื้องหลังการทำร้ายผู้คนจำนวนมหาศาลในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม

ภัคจิรา มาตาพิทักษ์

9 Sep 2022

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save