fbpx
ได้เวลายาคุมผู้ชาย!

ได้เวลายาคุมผู้ชาย!

ถึงความก้าวหน้าในวิทยาศาสตร์จะล้ำไปมากแค่ไหน แต่เรื่องของการคุมกำเนิด ความล้ำดูจะหยุดไว้แค่การทำหมัน ถุงยางอนามัย และยาคุมกำเนิดสำหรับผู้หญิงที่คิดค้นกันขึ้นเมื่อนานมาแล้ว

 

(โอเคๆ เมื่อไม่กี่วันก่อน ชาวโลกเพิ่งรู้จักกับถุงยาง wearable tech ชื่อว่า i.Con ที่ช่วยวัดความเร็วของการสอดใส่ ระยะเวลาการมีเซ็กซ์ จำนวนท่าที่ใช้ และแคลอรี่ที่เบิร์นไป แต่ก็…ไม่รู้ว่าจะรู้ไปทำไมเหมือนกัน แถมไม่น่าจะนับเป็นวิทยาการของการคุมกำเนิดแบบใหม่ได้ด้วยซ้ำ!)

เอาจริงๆ นะ ต้องบอกว่าการใช้สารเคมีเพื่อคุมกำเนิดในตอนนี้ยังเป็นภาระของผู้หญิงอยู่ฝ่ายเดียว ไม่ใช่แค่ภาระเรื่องการนับวันกินยาคุม แต่การกินยาคุมยังทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม แถมยังกลายเป็นสาวขี้เหวี่ยง ฟังดูแล้วไม่ยุติธรรมเอาเลย ทำไมวิธีป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ (ที่คิดเป็น 40% ของการตั้งครรภ์ทั้งโลกจากการสำรวจเมื่อหลายปีก่อน) ถึงถูกผลักภาระให้ผู้หญิงอยู่ฝ่ายเดียว เป็นไปได้ไหมที่นักวิทยาศาสตร์จะคิดยาคุมกำเนิดสำหรับผู้ชายขึ้นมาได้บ้าง

คำตอบคือ เคยมีคนคิดมาแล้ว ด้วยวิธีเดียวกับยาคุมสำหรับผู้หญิง นั่นคือการเข้าไปยับยั้งฮอร์โมนที่จะสร้างสเปิร์ม แต่ทดลองได้ไม่นานก็ต้องหยุดไป เพราะผู้รับการทดลองบางคนพยายามฆ่าตัวตาย บางคนก็เป็นโรคซึมเศร้า และยาบางตัวที่ใช้ทดสอบกับสัตว์ทดลองก็ทำให้เป็นหมันถาวร ผิดคอนเซปต์ยาคุมกำเนิดไปหมด

ตอนนี้ มีกลุ่มนักวิทยาศาสตร์หลายกลุ่มทดลองวิธีใหม่ในการคิดค้นยาคุมสำหรับผู้ชายขึ้นมา หนึ่งในนั้นคือทีมของ มาร์ติน แมตซัค (Martin Matzuk) จาก Baylor College of Medicine ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ใช้วิธีสร้างหนูตัดแต่งพันธุกรรม เลือกยีนที่อยู่ในอัณฑะออกไป จากนั้นลองให้หนูตัวผู้ที่โดนเอายีนแต่ละชนิดออกจากอัณฑะลองไปผสมพันธุ์กับตัวเมีย ถ้าไม่ติดลูก ก็แสดงว่ายีนนั้นเป็นยีนเป้าหมายที่จะต้องหาสารเคมีมายับยั้งต่อไป เพื่อจะลองทำเป็นยาให้หนูตัวผู้ปกติกิน แล้วดูว่าจะทำให้ตัวเมียไม่ติดลูกหรือเปล่า

อีกหนึ่งทีมมาจากสหราชอาณาจักร นั่นคือทีมของ พอล แอนดรูว์ (Paul Andrews) แห่ง University of Dundee ที่สังเกตพฤติกรรมของสเปิร์มว่ามันจะสละตัวเองออกจากปลอกแคปซูลตรงส่วนหัวก่อนเข้าไปผสมกับไข่ แอนดรูว์และทีมจึงเริ่มคิดหาตัวยาที่จะทำให้สเปิร์มขยับตัวได้ยากขึ้น และไม่ปลดแคปซูลตรงหัวออก เพื่อป้องกันการปฏิสนธิ

ความท้าทายอีกอย่างหนึ่งนอกจากการหาสูตรเคมีเพื่อยับยั้งทั้งสเปิร์มและยีนก็คือ จะทำอย่างไรให้ยาออกฤทธิ์เร็วมากพอ (เพราะไม่อย่างนั้นใส่ถุงยางจะง่ายกว่าไหม) ที่สำคัญ ด้วยจำนวนสเปิร์มที่มากมายเกินจะนับ แถมสร้างขึ้นมาได้ไม่รู้จบ จะทำอย่างไรให้ยาได้ผล 100% เพราะเทียบกับยาคุมผู้หญิงที่เข้าไปทำงานกับเซลล์ไข่แค่เซลล์เดียว การทำให้สเปิร์มหมดฤทธิ์อย่างสิ้นเชิงทุกตัวจึงเป็นเป้าหมายที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ต้องทำให้สำเร็จ

ไม่ใช่เพียงให้สาวๆ ไม่ต้องแบบรับภาระกินยาทุกวัน ทุกเดือนเพียงฝ่ายเดียวอีกต่อไป แต่เพื่อไม่ให้ประชากรล้นจนทรัพยากรบนโลกไม่เพียงพอด้วย!

 

อ่านเพิ่มเติม

-บทความ This ‘Smart Condom’ Will Track Your Sex Stats if That’s Something You Want ของ Anna Langston จาก Vice, March 4 2017

-บทความ The Search for a Perfect Male Birth Control Pill ของ Emily Mullin จาก MIT Technology Review, March 3, 2017

MOST READ

Life & Culture

14 Jul 2022

“ความตายคือการเดินทางของทั้งคนตายและคนที่ยังอยู่” นิติ ภวัครพันธุ์

คุยกับนิติ ภวัครพันธุ์ ว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมการส่งคนตายในมุมนักมานุษยวิทยา พิธีกรรมของความตายมีความหมายแค่ไหน คุณค่าของการตายและการมีชีวิตอยู่ต่างกันอย่างไร

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย

14 Jul 2022

Life & Culture

27 Jul 2023

วิตเทเกอร์ ครอบครัวที่ ‘เลือดชิด’ ที่สุดในอเมริกา

เสียงเห่าขรม เพิงเล็กๆ ริมถนนคดเคี้ยว และคนในครอบครัวที่ถูกเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เรื่องราวของบ้านวิตเทเกอร์ถูกเผยแพร่ครั้งแรกทางยูทูบเมื่อปี 2020 โดยช่างภาพที่ไปพบพวกเขาโดยบังเอิญระหว่างเดินทาง ซึ่งด้านหนึ่งนำสายตาจากคนทั้งเมืองมาสู่ครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวนี้

พิมพ์ชนก พุกสุข

27 Jul 2023

Life & Culture

4 Aug 2020

การสืบราชสันตติวงศ์โดยราชสกุล “มหิดล”

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนถึงเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์ราชสกุล “มหิดล” ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สืบราชสันตติวงศ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 2475

กษิดิศ อนันทนาธร

4 Aug 2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save